ประวัติศาสตร์โลก

ประวัติศาสตร์โลก
World History

ประวัติศาสตร์โลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์โลกหรือประวัติศาสตร์มนุษยชาติเริ่มต้นที่ยุคหินเก่า ประวัติศาสตร์โลกไม่รวมประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่ไม่ใช่มนุษย์และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยา ยกเว้นตราบเท่าที่โลกธรรมชาตินั้นกระทบต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก ประวัติศาสตร์โลกประกอบด้วยการศึกษาทางโบราณคดีและหลักฐานลายลักษณ์อักษรตั้งแต่สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์โบราณที่มีบันทึกเริ่มต้นจากการประดิษฐ์การเขียน ทว่า รากเหง้าแห่งอารยธรรมมีมาแต่ก่อนการประดิษฐ์การเขียน สมัยก่อนประวัติศาสตร์เริ่มต้นในยุคหินเก่า ต่อด้วยยุคหินใหม่และการปฏิวัติเกษตรกรรม(ระหว่าง 8000 ถึง 5000 ปีก่อนคริสตกาล) ในวงพระจันทร์เสี้ยวไพบูลย์ (Fertile Crescent) การปฏิวัติเกษตรกรรมเป็นเครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมนุษย์เริ่มต้นทำการเกษตร คือ กสิกรรมและการเลี้ยงสัตว์อย่างเป็นระบบ เมื่อเกษตรกรรมก้าวหน้าขึ้น มนุษย์ส่วนมากเปลี่ยนจากวิถีชีวิตเร่ร่อนมาเป็นตั้งถิ่นฐานเป็นเกษตรกรในนิคมถาวร การเร่ร่อนยังมีอยู่ในบางที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลซึ่งมีพืชที่เพาะปลูกได้ไม่กี่ชนิด แต่ความมั่นคงสัมพัทธ์และผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นจากกสิกรรมทำให้ชุมชนมนุษย์ขยายเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่า ซึ่งความก้าวหน้าในการขนส่งก็มีส่วนช่วย

เมื่อกสิกรรมพัฒนา การเพาะปลูกธัญพืชมีความซับซ้อนขึ้นและทำให้มีการแบ่งงานกันทำเพื่อเก็บอาหารระหว่างฤดูเพาะปลูก จากนั้นการแบ่งงานทำให้เกิดชนชั้นสูงที่สุขสบายและพัฒนาการนคร สังคมมนุษย์ที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ระบบการเขียนและการบัญชีมีความจำเป็น หลายนครพัฒนาบนตลิ่งทะเลสาบและแม่น้ำ ตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เกิดนิคมโดดเด่นและมีการพัฒนาดียุคแรก ๆในเมโสโปเตเมีย ริมตลิ่งแม่น้ำไนล์แห่งอียิปต์ และหุบแม่น้ำสินธุ อาจมีอารยธรรมคล้ายกันพัฒนาขึ้นตามแม่น้ำสำคัญในจีน แต่หลักฐานทางโบราณคดีของการสร้างเมืองอย่างกว้างขวางในที่นั้นชัดแจ้งน้อยกว่า

ประวัติศาสตร์โลกเก่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน) โดยทั่วไปแบ่งเป็นยุคโบราณ ถึง ค.ศ. 476, สมัยกลาง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 15 ซึ่งรวมยุคทองของอิสลาม (ประมาณ ค.ศ. 750-1258) และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยายุโรปตอนต้น (เริ่มต้นประมาณ ค.ศ. 1300), ยุคใหม่ตอนต้น ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งรวมยุคเรืองปัญญา และยุคใหม่ตอนปลาย นับแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมถึงปัจจุบัน รวมทั้งประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ตะวันออกใกล้โบราณ กรีซโบราณและโรมโบราณมีความโดดเด่นในยุคโบราณ ในประวัติศาสตร์ยุโรปตะวันตก การเสียกรุงโรมมักยึดเป็นการสิ้นสุดของยุคโบราณและการเริ่มต้นของสมัยกลาง ขณะที่ยุโรปตะวันออกมีการเปลี่ยนผ่านจากจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งรุ่งเรืองต่อมาอีกเป็นเวลานาน กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 การประดิษฐ์การพิมพ์สมัยใหม่ของโยฮันน์ กูเทนแบร์ก ซึ่งใช้การสื่อสารแบบเคลื่อนที่ได้และเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง เป็นจุดสิ้นสุดของยุคกลางและนำไปสู่การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 การสะสมความรู้และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ได้ถึงจำนวนวิกฤต (critical mass) อันนำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม

ในส่วนอื่นของโลก เช่น ตะวันออกใกล้โบราณ จีนโบราณ และอินเดียโบราณ เส้นเวลาทางประวัติศาสตร์ได้คลี่ออกต่างกัน อย่างไรก็ดี จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากการค้าโลกที่ขยายตัวและการล่าอาณานิคม ทำให้ประวัติศาสตร์ของอารยธรรมโลกส่วนมากสานเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนา ในช่วงสองร้อยกว่าปีล่าสุด การเติบโตของความรู้ เทคโนโลยี การพาณิชย์ และศักยภาพการทำลายล้างของสงครามได้เร่งให้เกิดขึ้น ก่อให้เกิดโอกาสและอันตรายซึ่งปัจจุบันกำลังเผชิญชุมชนมนุษย์ที่อยู่อาศัยบนดาวเคราะห์ดวงนี้

แปลจากหนังสือ World History โดย...Mcdougal Littel
ผู้แปล...ทรงศักดิ์ สายหยุด

กรุงโรมและจักรวรรดิโรมันล่มสลาย

การทรุดโทรมและมรดกของโรม

โรมและศาสนาคริสต์

          ความเชื่อทางศาสนาของชาวโรมันได้รับอิทธิพลจากศาสนาของวัฒนธรรมยุคแรก ในขณะที่ศาสนาคริสต์แผ่กระจายไปทั่วโลกยุคโบราณก่อนคริสต์ศักราช 100 แต่โรมพยายามที่จะควบคุมศาสนาใหม่
แผนที่ลำดับเหตุการณ์โรมและโลก
แผนที่แสดงลำดับเหตุการณ์โรมและโลก
แผนที่การแบ่งแยกจักรวรรดิโรมัน
แผนที่การแบ่งแยกจักรวรรดิโรมัน  ค.ศ. 395
พื้นที่สีเหลือ คือ จักรวรรดิโรมันตะวันตก
พื้นที่สีม่วง คือ จักรวรรดิโรมันตะวันออก
แผนที่ลำดับเหตุการณ์โรมและโลก
แผนที่แสดงลำดับเหตุการณ์สมัยโรมโบราณและโลก

นโยบายของกรุงโรมที่มีต่อศาสนาคริสต์

          โดยทั่วไป โรมอดทนต่อการปฏิบัติกิจทางศาสนาของผู้คนจนได้รับชัยชนะ ยกตัวอย่างเช่น โรมไม่ต้องการให้ชาวยิวนมัสการพระเจ้าจักรพรรดิและเทพเจ้าโรมันอื่น ๆ อย่างไรก็ตามโรมจะไม่ปล่อยให้ศาสนาของราษฎรก่อการจลาจล  สำหรับเหตุผลนั่น เมื่อการประท้วงของชาวยิวเริ่มขึ้นในกรุงเยรูซาเล็ม โรมันได้ทำลายวิหารของชาวยิวในคริสต์ศักราช 70

ภัยคุกคามของศาสนาคริสต์ การปฏิเสธที่จะบูชาเทพเจ้าโรมันของชาวคริสเตียนถูกมองว่าเป็นรูปแบบของการก่อจลาจล  นอกจากนี้ การเรียกร้องของศาสนาคริสต์ที่มีต่อทาสและผู้หญิงก่อให้เกิดสัญญาณการเตือนภัย ในที่สุด การพูดคุยเกี่ยวกับผู้นำที่จะสร้างอาณาจักรใหม่ ดูเหมือนจะบ่งบอกถึงการสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมัน ในขณะที่ผู้ที่ไม่ใช่ยิวหรือบุคคลที่ไม่ใช่ยิวจำนวนมากกว่า ได้เข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางศาสนาคริสต์โดยการเปลี่ยนให้ไปนับถือศาสนาคริสต์ ชาวโรมันก็รู้สึกว่าถูกคุกคาม
มหาวิหารนักบุญเปโดร
มหาวิหารนักบุญเปโดร (St. Peter's Basilica)  เป็นหนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวคริสต์
การข่มเหงของชาวโรมัน ในไม่ช้า ความหวาดกลัวศาสนาคริสต์ของชาวโรมัน ได้นำไปสู่การเป็นศัตรูที่คุกรุ่น ผู้ปกครองโรมันบางคนกล่าวหาชาวคริสเตียนทางการเมืองและปัญหาทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น จักรพรรดิเนโร (หรือ นีโร – Nero) กล่าวหาว่าชาวคริสเตียนจุดไฟเผากรุงโรมจนราบเรียบเป็นส่วนมากในคริสต์ศักราช 64 ในช่วงศตวรรษที่สอง การประหัตประหารชาวคริสต์ ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น หลายคนถูกคุมขังหรือฆ่าเพราะศาสนาของพวกเขา กระนั้น คนเป็นจำนวนมาก ก็ยังเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์
ชาวคริสเตียนพวกอื่น ๆ และแม้ผู้ที่ไม่คริสเตียนบางพวก ได้ยกย่องให้ชาวคริสเตียนผู้ถูกข่มเหงว่าเป็นผู้ยอมพลีชีพเพื่อศาสนา   Martyrs คือ บุคคลที่มีความยินดีที่จะเสียสละชีวิตของพวกเขาเพื่อประโยชน์ของความเชื่อหรือความมุ่งหมาย ในระหว่างการข่มเหงของชาวโรมัน ผู้ยอมพลีชีพเพื่อศาสนาชาวคริสเตียนมักจะถูกฝังในสุสานใต้ดิน ที่เรียกว่า catacombs (สุสาน) ชาวคริสเตียน ได้รวมตัวกันในสุสานเพื่อเฉลิมฉลองงานศพของผู้ยอมพลีชีพเพื่อศาสนา เช่นเดียวกับพิธีกรรมและพิธีอื่น ๆ
สุสานใต้ดิน
สุสานใต้ดินในกรุงโรมมีซอกฝังศพติดกำแพงและภาพวาดพระเยซู

ศาสนาของโลก แม้จะมีการประหัตประหารเหล่าสาวกของศาสนาคริสต์  ศาสนาคริสต์ก็ได้กลายเป็นมีพลังที่ทรงประสิทธิภาพ ประมาณตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 2  มีชาวคริสต์ล้านคน อาศัยอยู่ในจักรวรรดิโรมันและไกลออกไป  ศาสนาคริสต์เป็นที่นิยมด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น
ศาสนาโอบอุ้มทุกคน ทั้งชายและหญิง ผู้ที่เป็นทาส คนจนและขุนนาง
ให้ความหวังแก่ผู้หมดหนทาง
จิตวิญญาณของความเชื่อทำให้ผู้ที่ถูกรังเกียจจากรูปแบบการดำเนินชีวิตที่หรูหราของเศรษฐีชาวโรมันให้สนใจ
ศาสนาคริสต์ให้ความสัมพันธ์ส่วนตัวกับความรักของพระเจ้า
คำสอนของศาสนาคริสต์ส่งประกายให้ชีวิตนิรันดร์หลังความตาย
ในขณะที่ศาสนาขยายตัว ชุมชนที่นับถือศาสนาคริสต์ให้การสนับสนุนสมาชิกของพวกเขา ชาวคริสเตียน ได้จัดตั้งโรงพยาบาล โรงเรียน และการบริการสังคม อื่น ๆ เป็นผลให้ความเชื่อมั่นของพวกเขาดึงดูดเหล่าสาวกมากยิ่งขึ้น ในไม่ช้าก็เร็ว จำนวนของเหล่าสาวกจะรวมผู้ศรัทธาที่มีประสิทธิภาพมากให้เป็นหนึ่ง

การเปลี่ยนศาสนาของจักรพรรดิคอนสแตนติน

ในคริสต์ศักราช 306 จักรพรรดิคอนสแตนติ (KAHN•stuhn•TEEN) กลายเป็นจักรพรรดิแห่งกรุงโรม ตอนแรก จักรพรรดิคอนสแตนติอนุญาตให้ประหัตประหารชาวคริสต์ อย่างไรก็ตาม ในคริสต์ศักราช 312 พระองค์ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายที่มีต่อศาสนาคริสต์ ในขณะที่พระองค์กำลังต่อสู้กับคู่แข่งสามคนเพื่อการเป็นผู้นำของกรุงโรม

ไม้กางเขนเป็นสัญลักษณ์ ในท่ามกลางการต่อสู้ จักรพรรดิคอนสแตนติน ได้อธิษฐานเพื่อขอความช่วยเหลือ หลังจากนั้น พระองค์ก็รายงานว่าได้มองเห็นไม้กางเขนของชาวคริสต์ในท้องฟ้าพร้อมกับคำพูดเหล่านี้: "ด้วยสัญลักษณ์นี้ ท่านจะพิชิต" พระองค์ได้สั่งทหารของพระองค์ นำสัญลักษณ์ไม้กางเขนไปติดไว้บนโล่และธงรบ จักรพรรดิคอนสแตนตินและกองกำลังของพระองค์ได้ชัยชนะการต่อสู้ จักรพรรดิผู้ได้รับชัยชนะได้ให้ความชื่อถือว่าความสำเร็จของพระองค์มาจากพระเจ้าของศาสนาคริสต์

การให้อำนาจตามกฎหมายแก่ศาสนาคริสต์ จักรพรรดิคอนสแตนตินได้หยุดการประหัตประหารชาวคริสต์ในทันที จากนั้นในพระราชกฤษฎีกาที่รู้จักกันว่า พระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) พระองค์ได้ทำให้ศาสนาคริสต์เป็นหนึ่งในศาสนาที่ต้องถูกตามกฎหมายของจักรวรรดิ จักรพรรดิคอนสแตนตินได้สร้างวิหาร ใช้สัญลักษณ์คริสเตียนบนเหรียญ และทำให้วันอาทิตย์เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ของการพักผ่อนและการเคารพบูชา แต่จักรพรรดิที่นับถือศาสนาคริสต์ของกรุงโรมองค์แรก ได้ขยายเวลาการเปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์อย่างเป็นทางการของพระองค์เองจนสิ้นสุดพระชนม์ชีพของพระองค์
แผนที่การเผยแพร่ศาสนาคริสต์
แผนที่การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ในจักรวรรดิโรมัน  ค.ศ. 600
---------------------------------------------

ผู้สร้างประวัติศาสตร์

จักรพรรดิคอนสแตนติน (มีชีวิตระหว่างคริสต์ศักราช 280 – 337)

จักรพรรดิคอนสแตนติน
ภาพโมเสกจักรพรรดิคอนสแตนติน
          จักรพรรดิคอนสแตนตินเป็นนักรบที่อำมหิตและประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็นนักศึกษาผู้เคร่งครัดศาสนาใหม่ของพระองค์ คือ ศาสนาคริสต์ พระองค์ได้เขียนคำอธิษฐานพิเศษสำหรับกองกำลังของพระองค์และพระองค์ยังได้เดินทางไปพร้อมกับโบสถ์เคลื่อนย้ายในเต็นท์ จักรพรรดิคอนสแตนติออกคำสั่งให้สร้างโบสถ์คริสต์เป็นจำนวนมากในจักรวรรดิโรมัน
จักรพรรดิคอนสแตนติน ได้ก่อตั้งเมืองคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople – ปัจจุบันนี้ คือ กรุงอิสตันบูล, ตุรกี) เป็นเมืองหลวงใหม่ เป็นศูนย์กลางของศาสนาคริสต์เป็นเวลาถึงหนึ่งพันปีถัดมา พระองค์ถูกฝังอยู่ในโบสถ์ของผู้เผยแพร่ศาสนาในกรุงคอนสแตนติโนเปิล ในคริสต์ศักราช 337 อนุสาวรีย์ที่อุทิศให้กับอัครสาวก 12 คนล้อมรอบหลุมฝังศพของจักรพรรดิคอนสแตนติน  จักรพรรดิคอนสแตนติน ซึ่งเป็นจักรพรรดิคริสเตียนคนแรก ถือว่าตัวเองเป็นอัครสาวกของพระเยซูองค์ที่ 13
----------------------------------------------
ศาสนาคริสต์เปลี่ยนแปลงกรุงโรม ในคริสต์ศักราช 380 จักรพรรดิธีโอโดเซียส (Theodosius) ได้ทำให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาอย่างเป็นทางการของกรุงโรม สิบเอ็ดปีต่อมา จักรพรรดิธีโอโดเซียส ได้ปิดโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นศาสนาคริสต์ทั้งหมด พระองค์กล่าวว่า "ประชาชนทุกชาติที่เราปกครองควรจะปฏิบัติศาสนาที่ปีเตอร์อัครสาวกส่งไปยังชาวโรมัน"

การเริ่มต้นของนิกายโรมันคาธอลิก ศาสนาคริสต์ในเมืองโรมันได้รับเอาโครงสร้างทั่วไป พระสงฆ์และผู้ดูแลวัดเชื่อฟังพระสังฆราช (bishops) หรือผู้นำคริสตจักรท้องถิ่น ตามประเพณีโรมันคาทอลิก บิชอปคนแรกของกรุงโรม คือ อัครสาวกปีเตอร์  ต่อมา บิชอปผู้ใหญ่แห่งกรุงโรมจะกลายเป็นบาทหลวงที่สำคัญที่สุดหรือสมเด็จพระสันตะปาปา (Pope) นี่เป็นจุดเริ่มต้นของนิกายโรมันคาทอลิก นิกายศาสนาคริสต์นิกายหนึ่งที่ก่อรากฐานในกรุงโรม คาทอลิก (Catholic )หมายความว่า "สากล"
นักเขียนคริสเตียนในยุคแรกบางคน ที่ได้รับการเรียกว่าบิดาแห่งคริสตจักร ได้พัฒนาลัทธิความเชื่อหรือสภาวะของความเชื่อ ลัทธิความเชื่อนี้ได้ทำให้ความเชื่อเด่นขึ้นในรูปตรีเอกานุภาพ (สำหรับชาวคริสเตียน ชาวคริสตัง เรียกว่า ตรีเอกภาพ – Trinity) หรือการรวมกันเป็นหนึ่งในภาวะอันเป็นทิพย์สามภาวะ คือ พระบิดา พระบุตร (พระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ในพระเจ้าองค์เดียว ออกัสติน บิดาแห่งคริสตจักรจากแอฟริกาเหนือ สอนว่ามนุษย์ต้องการพระกรุณาคุณของพระเจ้าที่จะได้รับความคุ้มครอง  ต่อมาเขาก็สอนว่าคนไม่สามารถที่จะได้รับพระกรุณาคุณของพระเจ้าจนกว่าพวกเขาจะเป็นคริสตจักร
คริสตจักรยังได้พัฒนาพิธีกรรมทางศาสนาตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตของพระเยซู การล้างบาป ซึ่งเป็นพิธีการทำให้บริสุทธิ์โดยน้ำ ได้ส่งสัญญาณการเข้ามาในคริสต์ของพระเยซู  พิธีเป็นสัญลักษณ์การยอมรับผู้ศรัทธาทุกคนเข้ามาในศาสนา

เพื่อจะมีชีวิตอยู่แบบชีวิตคริสเตียนที่ดีเลิศและเพื่อเฉลิมฉลองการให้ศีลเหล่านี้พร้อมกัน ผู้ชายและผู้หญิงที่นับถือศาสนาคริสต์ ได้ก่อให้เกิดชุมชนที่เรียกว่า monasteries ขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป เหล่าผู้ชายก็ได้เข้ามาสู่การบรรพชาที่สูงส่งของคริสตจักร กลายเป็นหัวหน้าบาทหลวง นักบวชและพระลูกวัด  ศาสนาคริสต์เปลี่ยนจากนิกายขนาดเล็กไปสู่ศาสนาที่มีประสิทธิภาพ อุดมสมบูรณ์
    อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ศาสนาคริสต์เจริญขึ้น จักรวรรดิโรมันก็เสื่อมลง
นกพิราบ
ภาพนกพิราบที่หน้าต่างกระจกมหาวิหารนักบุญเปโดร
มักจะใช้เป็นสัญลักษณ์พระวิญญาณบริสุทธิ์เสมอ

การเสื่อมโทรมและล่มสลายของจักรวรรดิ

ความอ่อนแอในจักรวรรดิ

          ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 จักรวรรดิยังคงดูเหมือนจะแข็งแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนมีคนมากที่สุด แต่เริ่มจะมีปัญหาภายในคุกคามการดำรงอยู่ของกรุงโรมมาเรื่อย ๆ
ผู้บุกรุกชาวเจอร์มานิก
กรุงโรมไม่สามารถหยุดการบุกรุกของชนเผ่าเจอร์มานิกที่บุกมาเป็นระลอก ๆ ได้
รูปปั้นทหารขี่ม้านี้ เป็นชนเผ่าเจอร์มานิก ที่เรียกกันว่า Lombards (ชนชาวแคว้นลอมบาร์ดี้)
ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาบางส่วนของกรุงโรมมาจากเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 1 จักรวรรดิหยุดการขยายตัว การสิ้นสุดของชัยชนะครั้งใหม่หมายถึงการสิ้นสุดการขยายตัวไปยังแหล่งความมั่งคั่งแห่งใหม่  เป็นผลให้รัฐบาลเพิ่มภาษี สร้างความยากลำบากให้กับประชาชน  การเสื่อมโทรมในภาคเกษตรยังทำให้จักรวรรดิอ่อนแออีกด้วย การศึกสงครามและการใช้มากเกินไปมีอย่างต่อเนื่องทำให้พื้นที่เกษตรถูกทำลาย นอกจากนี้เทคโนโลยีก็ไม่ได้รับการปรับปรุง เพราะเกษตรกรต้องพึ่งพาทาสมากกว่าเครื่องมือใหม่ ๆ ในการทำงาน ทำให้เกิดการขาดแคลนอาหาร อันก่อให้เกิดจากความไม่สงบ
กำแพงเฮเดรียน
กำแพงเฮเดรียนในเกาะบริเตนเป็นเขตแดนทางตอนเหนือของจักรวรรดิโรมัน
ปัญหาทางด้านทหาร ในขณะเดียวกัน ครั้งหนึ่ง วงการทหารที่มีประสิทธิภาพของกรุงโรม เริ่มแสดงอาการมีปัญหา จักรวรรดิทำสงครามกับคนเร่ร่อนในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ตลอดเวลาและกับคนที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนตะวันออกอีกด้วย โรมต้องการกองทัพขนาดใหญ่เพื่อรับผิดชอบต่อภัยคุกคามจำนวนมากเช่นนั้น จึงได้ว่าจ้างทหารรับจ้างต่างประเทศ ทหารรับจ้าง (mercenary - MUR •suh•NEHR•ee) คือ ทหารที่ได้รับจ้างวาน ทหารรับจ้างมักจะไม่มีความจงรักภักดีต่อจักรวรรดิ เมื่อเวลาผ่านไปทหารโรมันทั่วไปที่มีระเบียบวินัยและมีความจงรักภักดีมีจำนวนน้อยกว่า พวกเขาให้สัตย์ปฏิญาณจะจงรักภักดีไม่ใช่ต่อโรม แต่จะจงรักภักดีต่อผู้นำทหารแต่ละคน

ปัญหาทางด้านการเมืองและสังคม ขนาดที่แท้จริงของจักรวรรดิโรมันทำให้ยากที่จะบริหาร เจ้าหน้าที่ของรัฐมีปัญหาในการรับข่าวเกี่ยวกับกิจการในภูมิภาคที่ห่างไกลของจักรวรรดิ นี่เองที่ทำให้มันยากขึ้นที่จะทราบว่าที่ใดมีปัญหาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ของรัฐหลายคนยังทุจริต แสวงหาเพียงเพื่อที่จะเสริมสร้างตัวเองให้ร่ำรวย ปัญหาทางการเมืองเหล่านี้ ได้ทำลายความรู้สึกความเป็นพลเมืองของผู้คน ชาวโรมันหลายคนไม่มีความรู้สึกในภาระหน้าที่ต่อจักรวรรดิอีกต่อไป ด้านอื่น ๆ ของสังคมโรมันยังได้รับความเดือดร้อนเช่นกัน  ค่าใช้จ่ายการศึกษาเพิ่มขึ้นจนชาวโรมันที่ยากจนเห็นว่ามันยากที่จะได้รับการศึกษา ประชาชนได้รับการพัฒนาทางด้านข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องประชาสังคมน้อยลง

กรุงโรมแบ่งออกเป็นตะวันออกและตะวันตก

การเปลี่ยนแปลงของจักรพรรดิที่เป็นไปเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว ทำให้รัฐบาลอ่อนแออีกด้วย  ในช่วง 49 ปี ตั้งแต่ คริสต์ศักราช 235-284  โรมมีจักรพรรดิ 37 คน ในจำนวนนี้ 34 คน เสียชีวิตในสงครามกลางเมืองหรือถูกลอบสังหาร เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจักรพรรดิบ่อยขึ้น ชาวโรมันจึงมีความสำนึกเล็กน้อยต่อการปกครองที่เป็นระเบียบเรียบร้อย

การแบ่งแยกจักรวรรดิ ในคริสต์ศักราช 284  จักรพรรไดโอคลีเซียน (Diocletian - DY•uh•KLEE•shuhn) ได้ยึดอำนาจ พระองค์ได้ฟื้นฟูระเบียบให้กับจักรวรรดิโดยการปกครองด้วยกำปั้นเหล็กและทนความขัดแย้งเล็ก ๆ น้อย ๆ ไดโอเชียนได้เปลี่ยนแปลงวิธีการให้กองทัพดำเนินการโดยการวางกองกำลังอย่างถาวรที่พรมแดนจักรวรรดิ นอกจากนี้เขายังแนะนำให้ปฏิรูปเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น เพื่อช่วยในการเลี้ยงคนยากจน พระองค์ยังคงราคาอาหารให้ต่ำไว้
นอกจากนี้ ไดโอเชียนได้ตระหนักว่าพระองค์ไม่สามารถปกครองอาณาจักรขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในคริสต์ศักราช 285 พระองค์ได้แบ่งอาณาจักรออกเป็นส่วนตะวันออกและส่วนตะวันตก พระองค์เองปกครองส่วนทางทิศตะวันออก และได้เลือกพื้นที่นี้เพื่อความมั่งคั่งและการค้าขายที่ใหญ่ขึ้น และให้เป็นเมืองที่งดงาม ไดโอเชียนได้แต่งตั้งแม็กซิมิเลียน (Maximilian) ให้ปกครองจักรวรรดิตะวันตก บุรุษทั้งสองได้ปกครองเป็นเวลา 20 ปี

เมืองหลวงแห่งใหม่ ในคริสต์ศักราช 306 สงครามกลางเมืองได้ระอุไปทั่วจักรวรรดิ ผู้บัญชาการกองทัพสี่คน ได้ต่อสู้เพื่อการควบคุมส่วนแบ่งทั้งสองส่วน หนึ่งในผู้บัญชาการเหล่านี้ คือ คอนสแตนติน (Constatine) เขาได้เข้าควบคุมในช่วงสงครามกลางเมืองและกลายเป็นจักรพรรดิ
การกระทำที่สำคัญครั้งที่สองของคอนสแตนตินปรากฏในคริสต์ศักราช 330 เมื่อพระองค์ได้ย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิจากกรุงโรมไปยังเมืองกรีกโบราณ ชื่อ ไบแซนเทียม (Byzantium - bih•ZAN•shee•uhm) คอนสแตนตินได้เปลี่ยนชื่อเมือง เป็นคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) ที่สี่แยกระหว่างตะวันออกและตะวันตก เมืองได้ตั้งอยู่อย่างมั่นคงเพื่อการป้องกันและการค้าขาย เมืองหลวงแห่งใหม่ ได้ส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงอำนาจจากส่วนตะวันตกของจักรวรรดิไปยังส่วนตะวันออก
เมืองอิสตันบูล
คอนสแตนติโนเปิล คือ เมืองอิสตันบูลของตุรกีในปัจจุบัน
ในภาพจะมองเห็นสุเหร่าสีฟ้า  (Blue Mosque) ในเมืองอิสตันบูล

จักรวรรดิตะวันตกล่มสลาย

          นอกจากปัญหาภายใน ชาวโรมันต้องเผชิญกับปัญหาที่สำคัญอีก กลุ่มชาวต่างชาติก็รุมล้อมอยู่รอบ ๆ ชายแดนของกรุงโรม ในไม่ช้าพวกเขาก็ได้บุกรุก และจักรวรรดิที่เสื่อมลงอย่างช้า ๆ กลับหายนะอย่างรวดเร็ว
แผนที่การบุกรุกจักรวรรดิโรมัน
แผนที่การบุกรุกจักรวรรดิโรมัน  ค.ศ. 350 - 500
การบุกรุกและชัยชนะ ประชาชนดั้งเดิมจำนวนหนึ่งและกลุ่มอื่น ๆ ได้อาศัยอยู่ทางชายแดนของกรุงโรม ชาวโรมันดูหมิ่นกลุ่มคนเหล่านี้ แต่ยังกลัวพวกเขา สำหรับชาวโรมัน ประชาชนดั้งเดิมเป็นคนป่าเถื่อน สำหรับชาวโรมันโบราณ คำว่า อนารยชน (barbarian) หมายถึง บางคนที่เป็นคนดั้งเดิมและไม่มีวัฒนธรรม ชาวโรมันใช้คำนั้นกับใครก็ได้ที่อาศัยอยู่นอกอาณาจักร
ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 3 กลุ่มชนดั้งเดิมนี้เริ่มผลักดันเข้าไปดินแดนโรมัน เหตุผลของการบุกรุกแตกต่างกัน บางคนมามองหาดินแดนที่ดีกว่าหรือหาวิธีการที่จะมีส่วนร่วมกับความมั่งคั่งของกรุงโรม คนอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก หนีกลุ่มผู้บุกรุกที่โหดร้ายจากเอเชียที่รู้จักกันว่าชาวฮั่น (Huns – เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน)

กรุงโรมล่มสลาย ในคริสต์ศักราช 410 ประชาชนดั้งเดิม (คือชาวนอร์สเม็น หมายความว่า ผู้มาจากทางเหนือและเป็นคำที่ใช้สำหรับชนนอร์ดิคที่เดิมมาจากทางตอนไต้และตอนกลางของสแกนดิเนเวีย ชาวนอร์สได้ตั้งถิ่นฐานและอาณาบริเวณการปกครองในดินแดนต่าง ๆ ที่รวมทั้งบางส่วนของหมู่เกาะฟาโร อังกฤษสกอตแลนด์ เวลส์ ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ ไอร์แลนด์ รัสเซีย อิตาลี แคนาดา กรีนแลนด์ฝรั่งเศส ยูเครน เอสโตเนีย ลัตเวีย และ เยอรมนี) ได้โจมตีและปล้นกรุงโรม ปล้นหมายถึงการแย่งชิงหรือการถือเอาสิ่งต่าง ๆ โดยการบังคับขู่เข็ญ  เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่กอลยึดกรุงโรม เมื่อ 390 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งผู้เข้ามารุกรานเป็นเผ่าเร่ร่อนที่เข้ามาสู่กรุงโรม ในที่สุด ชาวฮั่นก็จบุกรุกจักรวรรดิ ในคริสต์ศักราช 476 ชนเผ่าดั้งเดิมพิชิตโรม ยุคนี้นับเป็นการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก
กระโหลกศีรษะชาวเจอร์มานิก
กระโหลกศีรษะชาวเจอร์มานิกยังมีเส้นผมติดอยู่
ขมวดผมเป็นลักษณะเฉพาะของชาวเจอร์มานิก
ผลพวงจากการล่มสลายของกรุงโรม ในหลายปีต่อมา การครอบครองครั้งสุดท้ายของอำนาจโรมันในส่วนตะวันตกก็ล่มสลาย ในคริสต์ศักราช 486 โคลวิส (Clovis - KLOH•vihs) ผู้นำของกลุ่มดั้งเดิมที่รู้จักกันว่า ชนแฟรงค์ (Franks) ได้พิชิตดินแดนที่เหลือของโรมันในจังหวัดกอล (ปัจจุบัน คือ ฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์) และก่อตั้งอาณาจักรแฟรงค์ขึ้น
หลังจากการล่มสลายของกรุงโรม การดำเนินชีวิตในยุโรปตะวันตก ได้เปลี่ยนแปลงไปหลายแนวทาง ถนนและอาคารสาธารณะอื่น ๆ ทรุดโทรมลง และการค้าและการพาณิชย์ได้เสื่อมลง ราชอาณาจักรดั้งเดิม ได้เรียกร้องสิทธิ์ดินแดนของชาวโรมันในอดีต และนิกายโรมันคาทอลิกก็รวมกันและมีประสิทธิภาพ
แม้ว่าส่วนตะวันตกของจักรวรรดิได้ล่มสลาย ส่วนตะวันออกก็ยังคงอยู่รอด ซึ่งจักรวรรดินี้ก็ได้กลายเป็นที่รู้จักกันว่า จักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire)

อาณาจักรไบแซนไทน์ (Byzantine)

          คอนสแตนตินได้ย้ายเมืองหลวงจากจักรวรรดิไปยังไบแซนเทียม และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นกรุงคอนสแตนติโนเปิล นักประวัติศาสตร์ได้ตั้งชื่ออาณาจักรไบแซนไทน์ตามชื่อเดิมของเมือง

อาณาจักรยังคงอยู่ต่อไป

         จักรวรรดิไบแซนไทน์ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 1,000 ปีหลังจากที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลาย จักรพรรดิแห่งอาณาจักรไบแซนไทน์เป็นผู้ปกครองเผด็จการ นั่นหมายความว่าเขามีอำนาจสิทธิขาด  เช่นเดียวกับเหล่าจักรพรรดิของจักรวรรดิตะวันตก เหล่าจักรพรรดิไบแซนไทน์ก็พยายามที่จะให้ประชาชนดั้งเดิมและผู้บุกรุกอื่น ๆ ออกจากดินแดนของพวกเขา แม้จะมีความพยายามของพวกเขา ดินแดนไบแซนไทน์ส่วนมากก็ล่มสลาย
ภาพโมเสกของจักรพรรดิจัสติเนียน
ภาพโมเสกของจักรพรรดิจัสติเนียน
จักรพรรดิจัสติเนียน ผู้ปกครองที่เกรียงไกรชื่อจัสติเนียนก็สามารถฟื้นฟูการควบคุมบางส่วนของที่ดินโรมที่ล่มสลายไห และได้ขยายจักรวรรดิไบแซนไทน์ จัสติเนียนปกครอง ตั้งแต่คริสต์ศักราช 527-565 ภรรยาของเขา จักรพรรดินีธีโอโดรา (Theodora) เป็นผู้ปกครองที่ทรงประสิทธิภาพเช่นกัน กองทัพของจัสติเนียนได้พิชิตดินแดนสูญเสียไปคืนมา รวมทั้งอิตาลี แอฟริกาตอนเหนือ และชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศสเปน
ฮาเยียโซเฟีย
ฮาเยียโซเฟียหรือฮาเจียโซเฟีย สร้างโดยจักรพรรดิจัสติเนียน
เป็นโบสถ์ที่ใหญ่ที่สุดในคอนสแตนติโนเปิล  ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ในเมืองอิสตันบูล
การสร้างกรุงคอนสแตนติโนเปิลขึ้นมาใหม่ จัสติเนียนเริ่มสร้างกรุงคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งได้รับความเสียหายในระหว่างการประท้วงอีกด้วย เขาสร้างกำแพงเมืองขึ้นมาใหม่และสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล ศาลและโบสถ์ โบสถ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือสุเหร่าโซเฟีย (Hahia Sohpia - HAY•ee•uh•Soh•FEE•uh) ชื่อของมันหมายถึง "ปัญญาอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Wisdom)" คอนสแตนติโนเปิลก็กลับมาเป็นเมืองที่รุ่งเรืองอีกครั้ง

การอนุรักษ์วัฒนธรรมโรมัน จัสติเนียนได้รับการจดจำได้ดีที่สุดเกี่ยวกับประมวลกฎหมายที่ได้รับการพัฒนาในช่วงการปกครองของเขา เขาได้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสร้างประมวลกฎหมายบนพื้นฐานของกฎหมายโรมัน ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ได้ละทิ้งกฎหมายที่ล้าสมัยและเขียนกฎหมายอื่น ๆ ขึ้นมาใหม่เพื่อทำให้กฎหมายเหล่านั้นชัดเจน ใหม่ ประมวลกฎหมายที่เหมือนกันนั้น เรียกว่า ประมวลกฎหมายจัสติเนียน (Justinian Code) มันรวมถึงกฎหมายการแต่งงาน การเป็นทาส ทรัพย์สิน สิทธิสตรีและความยุติธรรมทางอาญา
แม้ว่าพวกเขาจะพูดภาษากรีก ชาวไบแซนไทน์ก็คิดว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประเพณีของชาวโรมัน นักเรียนนักศึกษาชาวไบแซนไทน์ วรรณกรรมและประวัติศาสตร์ละติน กรีกและโรมัน  ด้วยวิธีนี้ อาณาจักรทางทิศตะวันออกก็ได้อนุรักษ์วัฒนธรรมกรีกและโรมันไว้ ในอาณาจักรทางทิศตะวันตกสมัยก่อน  วัฒนธรรม ประชาชนดั้งเดิมได้ผสมผสานวัฒนธรรมโรมันกับวัฒนธรรมของพวกเขาเอง   อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้สูญเสียความรู้ทางวิทยาศาสตร์และปรัชญา ของชาวกรีกและโรมันเป็นอันมาก
---------------------------------------------

ผู้สร้างประวัติศาสตร์

จักรพรรดินีธีโอโดรา (มีชีวิตระหว่างคริสต์ศักราช 500 – 548)

ภาพโมเสกจักรพรรดินีธีโอโดรา
ภาพโมเสกจักรพรรดินีธีโอโดรา
          ธีโอโดราเป็นจักรพรรดินีของไบแซนเทียม ซึ่งผิดปกติ เมื่อพิจารณาภูมิหลังของเธอ  ธีโอโดราเป็นนางละคร และสังคมไบแซนไทน์ก็ดูหมิ่นนางละคร แต่จัสติเนียน ผู้เป็นรัชทายาทแห่งบัลลังก์ ได้แต่งงานกับธีโอโดรา ในคริสต์ศักราช 525 ทางเลือกของเขาเป็นทางเลือกที่ดี
จัสติเนียนและธีโอโดรากลายเป็นจักรพรรดิและจักรพรรดินีในคริสต์ศักราช 527  ในคริสต์ศักราช 532 ผู้ก่อการจลาจลขู่ว่าจะคว่ำรัฐบาล ธีโอโดราได้กระตุ้นให้จัสติเนียนไม่ให้หนี ตัวเธอเองก็ไม่ยอมหนี ความกล้าหาญของเธอเป็นแรงบันดาลใจจัสติเนียนและแม่ทัพของเขาได้ตีกบฏให้พ่ายแพ้
ต่อมา ธีโอโดราได้ผ่านกฎหมายที่ช่วยเหลือหญิง ผู้หญิงที่หย่าร้างได้รับสิทธิมนุษยชนมากกว่า เธอได้ก่อตั้งบ้านเพื่อจะดูแลเด็กผู้หญิงที่ยากจน เธอยังได้เสนอการป้องกันชนกลุ่มน้อยทางศาสนาอีกด้วย


ธีโอโดรา ราชินีแห่งโรม มเหสีของพระเจ้าจัสติเนียน เกิดที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ราว ค.ศ. 508 บิดามีอาชีพเป็นคนเลี้ยงสัตว์ป่า และถูกหมีกัดตาย ธีโอโดรามีพี่น้อง 3 คน หลังพ่อตายเด็กทั้งสามจึงออกไปรับทำงานต่ำๆ ในโรงละครสัตว์เพื่อหาเงินเลี้ยงตนเองกับแม่
          คนโรมันในนครแห่งนี้นับว่าเป็นผู้คลั่งไคล้การละเล่นต่าง ๆ มาก การจัดการแสดงจะต้องจัดที่ฮิบโดรม จะมีการจัดเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายสีเขียว และ ฝ่ายสีน้ำเงิน ที่ฮิปโดรมให้การสนับสนุน
          ครอบครัวของธีโอโดร่าเดิม น่าจะมาจากไซปรัส หรือซีเรีย และเป็นชนชั้นต่ำเตี้ยที่สุดในบีแซนไทน์  พ่อของธีโอโดรา ทำงานฝ่ายสีเขียวเป็นคนเลี้ยงหมี  แต่เขาก็ตเสียชีวิตไปเมื่อบุตรสาวผู้นี้อายุได้เพียง 5 ขวบเท่านั้น  พอพ่อตาย ครอบครัวที่เหลืออยู่ ธีโอโดรา แม่ และพี่หนทางรอด

         ทว่างานตำแหน่งคนเลี้ยงหมี ก็มีคนชิงตัดหน้า แม่ของธีโอโดราถึงขนาดโวยวายต่อหน้าฝูงชนเพื่อขอความเมตตา ทั้งสามแทบก้มกราบฝ่ายสีเขียวเพื่อขอความปรานี แต่ปรากฏว่ามือที่ยื่นมาช่วยกลับไม่ไช่คนของฝ่ายสีเขียว  กลับเป็นคนของฝ่ายสีน้ำเงินที่ต้องการหักหน้า จึงรับสามีใหม่ของแม่ไว้ทำงาน

          เมื่อธีโอโดราอายุ 10 ขวบ ก็เข้าทำงานกับสำนักนางคณิกากับพี่สาวพออายุได้ 12 ก็เริ่มฝึกเป็นนางละครถึงจะไม่มีชื่อเสียงว่าเป็นศิลปินเช่นกับคนอื่นๆ นางก็สามารถดึงดูดความสนใจจากบรรดาชายหนุ่มและไม่หนุ่มทั้งหลายที่พากันมาเป็นแขกของนางธีโอโดรารับแขกได้หลายคนตลอดวันอย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเพราะเธอเป็นผู้หญิงที่มีรูปสวย ปัญญาดี แต่ธีโอโดราก็ไม่ได้ปล่อยจิตใจให้อยู่กับชายใดและมีความยินดีที่จะติดต่อกับชายคนใหม่ที่ดีกว่าต่อเสมอ มารดาของธีโอโดราเฝ้าตักเตือนให้นึกถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง แต่ธีโอโดรบอกกับแม่ของเธอว่าเธอยินดีจะต้อนรับทั้งความยินดีและความโชคร้ายที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ชื่อเสียงของเธอเป็นที่เลื่องลือไปทั่วจนธีโอโดรากลายเป็นสาวสังคม ไม่ว่าจะมีงานอะไร ที่ไหน ธีโอโดราถูกจ้างให้ไปเเสดง

          เมื่ออายุได้ 15 ธีโอโดรา กลายเป็นดาวรุ่งคนใหม่ของฮิปโปโดรม  ไม่เพียงแต่ร้องเพลงเก่ง เต้นรำได้ แต่เธอเป็นนักเล่าเรื่องขบขันและล้อเลียนที่ประชาชนนิยมชมชอบด้วย  ยิ่งกว่านั้น เธอยังเป็นนักระบำเปลื้องผ้าที่มีชื่อเสียงโด่งดังทั่วนคร
          ธีโอโดรา ทำเงินจากการเป็นนักระบำเปลื้องผ้ามากมาย ยิ่งกว่านั้น เธอยังยอมเป็นโสเภณีตามคำชักชวนของแอนโตนินา ผู้เป็นหัวหน้าสำนักโสเภณี ที่ชักชวนให้เธอเข้าสู่โสเภณีอาชีพชั้นสูง  นางใช้ชีวิตวนเวียนอยู่เช่นนี้หลายปี  จนเป็นที่รู้จักในหมู่ขุนนางและพ่อค้าผู้ร่ำรวย
           แต่สำหรับธีโอโดราแล้ว ชื่อเสียงที่ปรากฎ หรือเงินทองที่หลั่งไหลเข้ามาไม่ได้ทำให้เธอพอใจ ในทางตรงกันข้าม เธอพยายามจับผู้ชายรวย ๆ เพื่อให้ชีวิตยามขาลงยังคงสบายเหมือนเดิม แม้จะมีกฎต้องห้ามว่า ห้ามนักแสดงหรือโสเภณีแต่งงานกับชายสูงศักดิ์  แต่นางก็ไม่ยอมปล่อยใจกับผู้ชายทุก ๆ คนที่ได้พบปะพูดคุย...

          ในที่สุด โชคชะตาก็นำพาเธอให้ไปได้ดีกับพ่อค้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งนครแอนทิอ็อค  ทว่า หลังจากทราบว่าธีโอโดรากำลังตั้งครรภ์ เขาก็ตัดสินใจทิ้งเธอไปในทันที  ธีโอโดราเสียใจกับเรื่องที่เกิดขึ้น ทว่า นางกลับกระทำสิ่งที่เห็นแก่ตัวไม่แพ้กัน โดยการทิ้งบุตรชายที่พึ่งถือกำเนิดไว้หน้าประตูบ้าน แล้วก็ออกเดินทางค้นหาสิ่งที่ต้องการต่อไป

          ธีโอโดราได้ท่องเที่ยวไปทั่วทั้งเมดิเตอเรเนียน กับคนรักที่มากหน้าหลายตา  ทั้งนครอเล็กซานเดรียและเมืองเบงกาซี ที่อยู่ทางตอนเหนือของลิเบีย ณ ที่แห่งนี้เองที่นางพบกับ "เฮเคโบลัส" ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการแห่งแพนธาโดพลิส ในวันที่มีงานเลี้ยงฉลองที่เขาได้รับตำแหน่งใหม่และธีโอโดราจึงถูกเชิญไปในงานนี้การพบกับเฮเคโบลัสทำให้ความตั้งใจเปลี่ยนไปเธอยอมเป็นภรรยาของเขาพร้อมทั้งอยู่กินกับเขาอย่างเงียบๆ

          ไม่นานนักธีโอโดราจึงเกิดความเบื่อหน่ายที่ต้องถูกทิ้งที่ต้องอยู่ตามลำพังเธอจึงตัดสินใจแอบติดสินบนให้หัวหน้าคนใช้หาชายหนุ่มมาพูดคุยกับนางตอนที่สามีไม่อยู่บ้าน  เฮเคโบลัสได้เห็นเข้าในวันหนึ่ง  นางจึงถูดทอดทิ้งและไม่ให้เงินแม้แต่บาทเดียวนางจึงไปหาเพื่อนของนางเซโดเนียที่เคยแสดงละครด้วยกัน

          ธีโอโดรา กลับจากคอนสแตนติโนเปิล  ก็ไม่ได้กลับไปทำงานที่ฮิปโปโดรมอีก  แต่ซื้อบ้านเล็ก ๆ ใกล้กับพระราชวัง  ปั่นขนสัตว์ขายเลี้ยงชีพ  แต่แล้วโชคชะตากลับไม่ได้ปล่อยให้เธอตกอับอยู่นาน

          เมื่ออายุได้ 25 ปี ก็ได้พบจัสติเนียน เป็นครั้งแรก  ในฐานะที่จัสติเนี่ยนเป็นทั้งผู้สูงศักดิ์และกงสุลผู้ให้การสนับสนุนสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นเส้นทางที่ทำให้เขาได้พบกับธีโอโดรา  ตอนนั้นพระองค์มีพระชนมายุได้ 40 พรรษา แก่กว่าธีโอโดรา 15 ปี  พระองค์ทรงพระทัยเย็น  ทรงเป็นนักอนุรักษ์  แต่ก็ทะเยอทะยาน ที่สำคัญทรงเป็นเจ้าชายรัชทายาทของพระปิตุลาหรือองค์จักรพรรดิจัสติน

          ทรงรับนางเข้ามาเป็นสนมลับในวังทันที  พระองค์ทรงเห็นว่าธีโอโดราเป็นส่วนเติมเต็มในสิ่งที่พระองค์ขาด  ทรงเป็นคนฉลาด คาดคะเนเก่ง  อดทน และเป็นนักยุทธศาสตร์ แต่ขาดความมั่นใจในการตัดสินใจ  ไม่เหมือนกับธีโอโดรา ที่ทุกอย่างของนางปราศจากความกลัว  เธอจึงเป็นเหมือนส่วนเติมเต็ใของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ ทั้งสองจึงเกิดความรักในกันและกันอย่างลึกซึ้ง
          แต่ทว่า ความคิดที่ว่าไม่อาจเป็นไปได้ด้วยกฎข้อห้าม ว่าชายสูงศักดิ์ห้ามแต่งงานกับนักแสดง  จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง  ดังนั้นจัสติเนี่ยนจึงแก้ปัญหาด้วยการเพียรพยายามข้อร้องให้องค์จักรพรรดิจัสตินเปลี่ยนกฎ จนในที่สุด ความพยายามก็เป็นผลสำเร็จใน ค.ศ. 524 ทั้งสองทรงอภิเษกสมรสกันในปี ค.ศ. 525 ในโบสถ์ที่สง่างามแห่งซานตา โซเฟียในคอนสแตนติโนเปิล  
          สองปีต่อมา จักรพรรดิจัสติน ทรงประชวร ได้สถาปนา พระเจ้าจัสติเนี่ยนขึ้นครองราชย์ โดยปกครองร่วมกับพระองค์ และธีโอโดราจึงได้เป็นราชินี ทำให้เธอมีชื่อเสียงมาก เพราะเธอไม่ใช่ราชินีธรรมดา เธอเฉลียวฉลาดจึงเป็นที่ปรึกษาที่ดีของสามี แต่นางเป็นคนโลภมากและขี้อิจฉา ไม่ต้องการใครดีไปกว่าตน เมื่อเห็นใครดีกว่าผู้นั้นจะถูกฆ่าตายด้วยการวางยาพิษหรือจับถ่วงน้ำ หรือไม่ก็เชิญให้เป็นแขกผู้มีเกียรติด้วยการมอมเหล้าให้คนฆ่าตาย พระนางสิ้นเมื่ออายุได้ 40 ปี ที่ตำบลปี่เนียนเป็นที่พระองค์ทรงเสด็จไปรักษาตัว 
---------------------------------------------
แผนที่จักรวรรดิไบแซนไทน์
แผนที่จักรวรรดิไบแซนไทน์  ค.ศ. 565

ความเหลื่อมล้ำกันแบ่งแยกศาสนาคริสต์

          การแบ่งแยกจักรวรรดิยังเกิดผลกระทบศาสนาคริสต์ด้วย การปฏิบัติทางศาสนาต่าง ๆ ได้พัฒนาในโบสถ์คริสต์ในจักรวรรดิตะวันออกและตะวันตก การปฏิบัติทางวัฒนธรรมและการติดต่อจำกัด ระหว่างสองภูมิภาคก่อให้เกิดความแตกต่างเหล่านี้

การแยกนิกาย ความแตกต่างอย่างหนึ่งจะต้องทำกับเจ้าหน้าที่ของจักรพรรดิในเรื่องคริสตจักร ในจักรวรรดิตะวันออก จักรพรรดิมีอำนาจเหนือหัวของคริสตจักร ในจักรวรรดิตะวันตกไม่มีจักรพรรดิ เป็นผลให้สมเด็จพระสันตะปาปาเริ่มอุปโลกน์ความรับผิดชอบมากในฐานะผู้นำของจักรวรรดิตะวันตกในอดีต
ปัญหาระหว่างนิกายทั้งสองเริ่มที่จะเติบโตขึ้น สมเด็จพระสันตะปาปา อ้างว่าเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจเหนือนิกายทั้งในจักรวรรดิตะวันตกและตะวันออก อย่างไรก็ตาม เหล่าจักรพรรดิไบแซนไทน์คิดว่าพระองค์เองเป็นผู้มีอำนาจคนสุดท้ายในเรื่องศาสนา ผู้ได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระสันตะปาปาพยายามที่จะเคลื่อนย้ายหัวหน้าทางนิกายตะวันออก  นิกายทางตะวันออกได้ตอบโต้โดยการปฏิเสธที่จะยอมรับอำนาจของสมเด็จพระสันตะปาปา
สุดท้าย ในคริสต์ศักราช 1054 นิกายในคริสต์ศาสนาได้แบ่งออกเป็นสองนิกาย คือ นายกายตะวันตก ที่รู้จักกันว่า นิกายโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) และสาขาของคริสต์ศาสนาที่พัฒนาในจักรวรรดิโรมันตะวันออก รู้จักกันว่า นิกายออร์ธอดอกซ์ตะวันออก (Eastern Orthodox Church) ออร์โธดอกซ์ หมายถึง "การถือครองความเชื่อที่จัดตั้งขึ้นแล้ว”  เมื่อเวลาผ่านไป การแตกแยก ได้นำไปสู่การพัฒนาของอารยธรรมยุโรปแยกจากกันสองสาย  สายหนึ่งอยู่ในตะวันออกและสายหนึ่งอยู่ในตะวันตก

ศาสนาและรัฐ หลังจากที่แยกเป็นสองนิกาย สมเด็จพระสันตะปาปาก็อ้างว่ามีอำนาจเหนือจักรพรรดิและพระมหากษัตริย์ชาวคริสเตียน อำนาจนี้อนุญาตให้นิกายโรมันคาทอลิกมีอิทธิพลต่อรัฐบาลซึ่งอยู่ในดินแดนที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ความขัดแย้งระหว่างคริสต์จักรกับพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิบางคนของยุโรปตะวันตกจะก่อให้เกิดความขัดแย้งที่สำคัญในเวลาต่อมา
ดังที่ได้ทราบแล้ว จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์เป็นผู้ปกครองเผด็จการ เขามีอำนาจเหนือคริสตจักรเช่นเดียวกับที่มีเหนือรัฐบาล นั่นหมายความว่าพระมหากษัตริย์ปกครองพระสังฆราช ซึ่งเป็นผู้นำของนิกายออร์ธอดอกซ์ตะวันออก กล่าวโดยสรุป เหล่าจักรพรรดิไบแซนไทน์มีอำนาจมากกว่าจักรพรรดิหรือกษัตริย์ในจักรวรรดิตะวันตก
----------------------------------------------------------------------

เปรียบเทียบนิกายทั้้้งสองของศาสนาคริสต์  

โรมันคาทอลิก
ทั้งสองนิกาย
อิสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
1. ผู้นำทางศาสนา เรียกว่า สมเด็จพระสันตะปาปา (Pope)  มีอำนาจเหนือบิชอป
1. ศรัทธาในพระเยซูและคัมภีร์ไบเบิล
1.  ผู้นำเรียกว่าพระสังฆราช (Patriarch) และบิชอปบริหารคริสตจักรเป็นกลุ่ม
2. สมเด็จพระสันตะปาปา มีอำนาจเหนือกษัตริย์และจักรพรรดิทั้งหมด
2.  ผู้นำเป็นพระและบิชอป
2.  จักรพรรดิมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ของคริสตจักร
3.  พระอาจจะไม่แต่งงาน
3. ทั้งสองนิกายต้องการเปลี่ยนคนให้มานับถือศาสนาคริสต์
3.  พระอาจจะแต่งงาน
4.  ใช้ภาษาละติน

4.  ใช้ภาษาท้องถิ่น เช่น กรีก รัสเซีย ฯลฯ

 จักรวรรดิไบแซนไทน์ล่มสลาย

หลังจากจักรพรรดิจัสติเนียนสิ้นพระชนม์ในคริสต์ศักราช 565 จักรวรรดิไบแซนไทน์ประสบความเสื่อมเป็นอันมาก มีการจลาจลบนถนน การทะเลาะทางศาสนา สงครามแย่งราชบัลลังก์และโรคภัยไข้เจ็บ นอกจากนี้อาณาจักรก็เผชิญกับภัยคุกคามอย่างต่อเนื่องจากศัตรูต่างชาติ
การโจมตีมาจากทุกทิศทุกทาง ชนชาวสลาฟได้ทำการโจมตีพรมแดนทางภาคเหนืออย่างต่อเนื่อง ชาวเปอร์เซียที่เกรียงไกรได้โจมตีทางทิศตะวันออก  ในคริสต์ศตวรรษที่ 6  ศาสนา ที่เรียกว่า อิสลาม เกิดขึ้นในอารเบีย  กองทัพอาหรับ ได้ลุกขึ้นและโจมตีดินแดนใกล้เคียงและกรุงคอนสแตนติโนเปิล ต่อมา สงครามกลางเมือง ตลอดจนการโจมตีของพวกเติร์กและพวกเซิร์บ ทำให้จักรวรรดิอ่อนแอมากขึ้น
จักรวรรดิไบแซนไทน์ค่อย ๆ หดตัวภายใต้ผลกระทบของการโจมตีเหล่านี้ ประมาณคริสต์ศักราช 1350 ส่วนที่เหลือเป็นส่วนเล็ก ๆ ของคาบสมุทรอนาโตเลียและดินแดนแถบทะเลดำและทะเลอีเจียนยังคงหลงเหลืออยู่  กำแพงเมือง กองทัพเรือ และสถานที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ ทำให้กรุงคอนสแตนติโนเปิล ได้ยืนหยัดมาอีก 100 ปี สุดท้ายในคริสต์ศักราช 1453 กองทัพของพวกเติร์กก็ได้ยึดเมืองหลวง การพิชิตเมืองเป็นจุดจบของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ประมาณพันปีหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตก
ม้าแห่งมหาวิหารซันมาร์โก
ม้าแห่งมหาวิหารซันมาร์โก  (Horses of St. Mark's Basilica)
ในระหว่างการโจมตีในคริสต์ศตวรรษที่ 12  ชาวเมืองเวนิซได้ยึดม้าสัมฤทธิ์เหล่านี้
จากกรุงคอนสแตนติโนเปิลและนำกลับไปยังเมืองเวนิซ

มรดกของโรม

            ดังที่ได้ทราบแล้วว่า กรีซเป็นอารยธรรมที่โดดเด่นที่สุดในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนก่อนโรมัน  ชาวโรมันพิชิตกรีก แต่ลึก ๆ แล้วก็ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมของกรีก
หน้ากากโรมัน
ภาพวาดฝาผนังหน้ากากละครของชาวโรมันนี้
สะท้อนให้เห็นการใช้หน้ากากในโรงละครของกรีกโบราณ

วัฒนธรรมโรมัน

          วัฒนธรรมโรมันขึ้นอยู่กับคุณค่าของความแข็งแรง ความจงรักภักดีและการปฏิบัติจริง  ชาวโรมันได้รับความคิดของกรีกเกี่ยวกับการเขียนและอุดมคติทางศิลปะแห่งความงามที่สมบูรณ์แบบ นอกจากนี้ศิลปินและนักเขียนโรมัน ได้สร้างสไตล์เป็นของตนเอง ผลที่ได้เป็นวัฒนธรรมที่ผสมผสานการปฏิบัติจริงของโรมันกับองค์ประกอบของอุดมคตินิยมของกรีก

ศิลปะ ชาวโรมันนิยมประเภทของศิลปะก่อนหน้านี้ที่เรียกว่า โมเสค (Mosaic) โมเสค คือ ภาพที่ทำขึ้นโดยการวางหิน กระเบื้องหรือกระจกสีชิ้นเล็ก ๆ บนพื้นผิว  ตัวอย่างของโมเสคสามารถพบได้ในโบสถ์และอาคารอื่น ๆ ทั่วโลก
ชาวโรมันได้เรียนรู้เกี่ยวกับประติมากรรมจากกรีก แต่ไม่ปฏิบัติตามประเพณีของกรีกที่แสดงรูปแบบมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบเท่านั้น แต่ชาวโรมันสร้างประติมากรรมที่เป็นจิตรกรรมที่เหมือนจริงเป็นรูปปั้นนูนต่ำ (bas-relief - BAH rih•LEEF)  ปฏิมากรรมที่ยกขึ้นเล็กน้อยจะโดดเด่นบนพื้นหลังที่ราบเรียบในรูปปั้นนูนต่ำ
ภาพโมเสก
ภาพโมเสก เป็นศิลปะการตกแต่งด้วยชิ้นแก้ว, หิน, หรือกระเบื้องชิ้นเล็ก ๆ
ภาพโมเสกของชาวโรมันนี้ค้นพบที่ซีเรีย
วรรณคดี ชาวกรีกยังมีอิทธิพลต่อวรรณคดีโรมันอีกด้วย  นักเขียนโรมันได้นำรูปแบบของมหากาพย์ ซึ่งเป็นบทกวียาวเกี่ยวกับการผจญภัยของพระเอก มาใช้  คำฉันท์ อินี-อิด (Aeneid) โดยกวีชาวโรมัน ชื่อ Virgil เป็นมหากาพย์โรมันที่รู้จักกันดี  Virgil เอาแบบอย่างบทกวีของเขาในมหากาพย์กรีกสองบท คือ  โอดิสซีและอีเลียด (the Odyssey and the Iliad)  โอดิสซี เล่าเรื่องการผจญภัยของวีรบุรุษ ชื่อ อีเนียส (Aeneas) ผู้รอดชีวิตจากสงครามโทรจันและแล่นเรือไปยังอิตาลี
ดังที่ได้ทราบแล้วว่า งานเขียนและสุนทรพจน์ของซิเซโร (Cicero) ให้ภาพของชีวิตโรมันและเพิ่มความรู้แก่เราด้านประวัติศาสตร์โรมัน  ซิเซโรเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสุนทรพจน์ ซึ่งเป็นศิลปะการพูดในที่สาธารณะ สุนทรพจน์ คือ วิธีการที่สำคัญในการชักชวนสำหรับนักการเมืองโรมัน
ชาวโรมันยังเขียนเกี่ยวกับปรัชญาอีกด้วย จักรพรรดิ มาร์กุส เอาเรลิอุส (Marcus Aurelius) ได้เขียนงานชิ้นสำคัญ “Meditations”  ซึ่งเป็นผลงานที่อธิบายแนวความคิดของลัทธิสโตอิก (Stoicism - STOH•ih•SIHZ•uhm) ลัทธิสโตอิก ที่พัฒนาขึ้นโดยนักปรัชญากรีก เน้นความสำคัญของคุณธรรม ความรับผิดชอบและความอดทนในการใช้ชีวิต

ภาษา ละติน (Latin) ซึ่งเป็นภาษาของกรุงโรม เป็นอีกหนึ่งแง่มุมที่ยั่งยืนของวัฒนธรรมโรมัน เมื่อเวลาผ่านไปละตินกลายเป็นกลุ่มของภาษาที่เรียกว่า ภาษาโรแมนติก (Romance languages)  (คำว่า Romance มาจากคำว่า Roman) ปัจจุบันนี้ ภาษาโรแมนติก ได้พูดกันในหลาย ๆ ประเทศที่มีดินแดนที่ครั้งหนึ่งเคยปกครองโดยโรม

เปรียบเทียบรากศัพท์ที่มาจากภาษาละตินของคำในกลุ่มภาษาโรมานซ์ (Romance Words) 


ภาษา
พ่อ
ดี
ชีวิต
แม่
อังกฤษ
father
good
life
mother
ละติน
pater
bonus
vita
mater
สเปน
padre
bueno
vida
madre
ฝรั่งเศส
pѐre
bon
vie
mѐre
โปรตุเกส
pai
bom
vida
mᾶe
อิตาลี
padre
buono
vita
madre
โรมาเนีย
tᾶta
bun
viatậ
mamậ

ต้นฉบับภาษาละติน
ต้นฉบับระบายสีประกอบนี้เขียนเป็นภาษาละตินในประเทศงกฤษ ในคริสต์ศตวรรษที่ 11

สถาปัตยกรรมและวิศวกรรม

          สถาปัตยกรรมกรีกโรมันมีอิทธิพลกับสิ่งก่อสร้างโรมัน ดังที่ได้ทราบแล้วเกี่ยวกับรูปแบบอาคารกรีก ที่มีการใช้เสาหิน  จั่ว และสัดส่วนที่สง่างาม ชาวโรมันใช้องค์ประกอบเหล่านี้ แต่เพิ่มความคิดของตัวเองเข้าไปด้วย ผู้ชมจากทั่วทุกมุมอาณาจักรประหลาดใจสถาปัตยกรรมของกรุงโรม โค้งโดมและคอนกรีตมารวมกันสร้างโครงสร้างอันน่าตื่นเต้น เช่น โคลอสเซียม (Colosseum)

รูปแบบใหม่ของสถาปัตยกรรม สถาปนิกผู้สร้างโรมันเป็นวิศวกรที่ยอดเยี่ยม พวกเขาพบวิธีการใหม่ในการปรับปรุงโครงสร้างของอาคาร  ความคิดเหล่านี้รวมถึงซุ้มประตู หลังคาโค้ง และโดม หลังคาโค้ง คือ เส้นโค้งที่ก่อรูปแบบเป็นเพดานหรือหลังคา
การพัฒนาในการก่อสร้างอาคารของชาวโรมันทำให้มีศักยภาพในการสร้างอาคารขนาดใหญ่สูง อาคารสมัยใหม่มากมาย ได้ยืมองค์ประกอบของการออกแบบและโครงสร้างของชาวโรมัน  โดมของอาคารหน่วยงานของรัฐในสหรัฐฯ (the Dome of the U.S. Capitol Building) เป็นตัวอย่างที่รู้จักกันดี

วัสดุก่อสร้างใหม่ ชาวโรมันได้พัฒนารูปแบบคอนกรีตที่ทั้งเบาและแข็งแรง พวกเขาเทส่วนผสมลงในกำแพงกลวงหรือบนรูปแบบโค้งเพื่อจะสร้างหลังคาโค้งที่แข็งแกร่ง คอนกรีต คือ วัสดุก่อสร้างทั่วไปในปัจจุบันนี้

ท่อระบายน้ำ ดังที่ได้ทราบแล้วว่า ชาวโรมันสร้างท่อระบายน้ำขึ้นเพื่อนำน้ำไปยังเมือง ท่อระบายน้ำหลักสิบเอ็ดท่อ ได้นำน้ำไปยังกรุงโรม ท่อน้ำที่ยาวที่สุด ยาว 57 ไมล์ ท่อน้ำยังสามารถพบได้ในประเทศฝรั่งเศสและสเปน ดินแดนที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน

ถนน ชาวโรมันมีชื่อเสียงโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านคุณภาพของถนนของพวกเขา ในช่วงเวลา 312 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวโรมันได้สร้างถนนเส้นแรกในบรรดาถนนหลายสายขึ้น เรียกว่า แอปเปียนเวย์ (Appian Way) และทอดตรงไปยังตะวันออกเฉียงใต้จากกรุงโรม ในเวลานั้น ระบบของถนนทอดกระจายไปทั่วจักรวรรดิ โรมเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายนี้
ถนนของโรมันหลายสาย สร้างขึ้นเพื่อให้ทหาร สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างรวดเร็วไปยังสถานที่ในอาณาจักรที่พวกเขาต้องการ ระบบถนนยังเพิ่มการค้าขายขึ้น เพราะเหล่าพ่อค้าและนักธุรกิจ สามารถขนย้ายสินค้าของพวกเขาได้ง่ายขึ้น แม้ว่าระบบถนนได้ช่วยเชื่อมจักรวรรดิโรมันเข้าด้วยกัน มันก็เป็นการง่ายขึ้นสำหรับศัตรูของจักรวรรดิที่จะการบุกรุก
การก่อสร้างถนนของชาวโรมัน
ถนนของชาวโรมันจะสร้างเป็นหลายชั้น
ความกว้างเฉลี่ยของถนนอยู่ที่ 15 ถึง 18 ฟุต

ศาสนาและกฎหมาย

อารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ทิ้งเครื่องหมายผ่านความคิดและสิ่งของที่เราสามารถสัมผัสและเห็นได้  จักรวรรดิโรมันสร้างคุณูปการที่ยั่งยืนในสาขาวิชาศาสนาและกฎหมาย
รูปปั้นเทพียุติธรรม
ปฏิมากรรมแห่งความยุตินี้ตั้งอยู่บนยอดตึกศาลของสหรัฐ (Court House)
มีตราชั่งวัดความผิดและความถูก ดาบเอาไว้ตัดสินความผิด
ผ้าปิดตา หมายความว่า ความยุติธรรมเป็นความเสมอภาค
การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ จักรวรรดิโรมันมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ มิชชันนารีชาวคริสต์ได้เปลี่ยนคนในจักรวรรดิเป็นอันมากมานับถือศาสนาคริสต์  และถึงแม้ว่าผู้นำชาวโรมันจะต่อต้านศาสนาคริสต์ในช่วงแรก ๆ  ต่อมา พวกเขาก็อ้าแขนรับคำสอนของศาสนาคริสต์และทำให้เป็นศาสนาอย่างเป็นทางการ ในฐานะที่เป็นอาณาจักรที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลกในเวลานั้น โรมได้ช่วยพัฒนาให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่สำคัญ
เมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกตกล่มสลาย คริสต์ศาสนาก็รุ่งเรืองอย่างต่อเนื่องในดินแดนอดีตของจักรวรรดิ พระราชาและพระราชินีดั้งเดิมกลายเป็นคริสเตียน นอกจากนี้จักรวรรดิไบแซนไทน์ก็ได้ส่งเสริมศาสนาคริสต์ในจักรวรรดิตะวันออก ศาสนาคริสต์จึงมีอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบันนี้  ปัจจุบัน ผู้คนประมาณหนึ่งในสามในโลกเป็นชาวคริสเตียน

กฎหมายและรัฐบาลโรมัน บางทีมรดกที่ยั่งยืนและแพร่กระจายอย่างกว้างขวางมากที่สุดของกรุงโรม ก็คือระบบของกฎหมาย ผู้พิพากษาและผู้นำทางการเมืองชาวโรมัน ได้จัดตั้งกฎหมายที่สะท้อนให้เห็นอุดมการณ์สโตอิกเกี่ยวกับหน้าที่และคุณธรรม  พวกเขาเน้นความเป็นธรรมและสามัญสำนึก
กฎหมายโรมันได้ส่งเสริมหลักการปฏิบัติเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายและข้อสันนิษฐานว่าผู้ ที่ถูกกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรมเป็นผู้บริสุทธิ์   หลักการของกฎหมายโรมันได้ยั่งยืนก่อเป็นรูปแบบของระบบกฎหมายในหลายประเทศในยุโรปและในประเทศสหรัฐอเมริกา          ในที่สุด กรุงโรมได้จัดตั้งรูปแบบรัฐบาลโดยผู้แทนราษฎรที่หลายประเทศใช้อยู่ในปัจจุบัน   โรมได้เริ่มต้นในฐานะเป็นสาธารณรัฐซึ่งประชาชนทั่วไปถืออำนาจมาก ในระหว่างเวลานี้ ชาวโรมันได้จัดตั้งสภาต่าง ๆ ขึ้น รวมทั้งวุฒิสภาเพื่อออกกฎหมายและแสดงความคิดเห็นของประชาชน  ปัจจุบันนี้ สภามีอยู่ในหลายประเทศทั่วโลก เช่น ในสหรัฐอเมริกาสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา คือ สภาที่เป็นตัวแทนหลักทั้งสองสภาของประเทศ พลเมืองของประเทศเลือกตั้งสมาชิกสภาและวุฒิสภา สมาชิกของแต่ละสภา ทำงานรังสรรค์และผ่านกฎหมายตามความต้องการของประชาชนที่พวกเขาเป็นตัวแทน

อิทธิพลของโรมันในปัจจุบัน

สหรัฐอเมริกาได้ยืมแนวความคิดบางอย่างของชาวโรมันเกี่ยวกับโครงสร้างของการปกครอง แต่ชาวโรมันยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมในประเทศสหรัฐอเมริกาในรูปแบบอื่น ๆ แนวความคิดของพวกเขาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและการสร้างถนนสามารถเห็นได้ในอาคารและระบบทางหลวงของสหรัฐ แนวความคิดของพวกเขาเกี่ยวกับการปกครองและความเป็นพลเมืองก็ยังเหลือเป็นมรดกที่สำคัญ
โดม
โดมสถาปัตยกรรมโรมัน
โดมสถาปัตยกรรมโรมัน
อดีต สถาปนิกโรมันทดลองใช้รูปโค้งเป็นวงกลมเป็นชุด ๆ ในการสร้างโดม โดมของวิหารแพนนธีอัน สูง 142 ฟุต วิหารแพนธีอันสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่พระเจ้า ต่อมาก็กลายเป็นคริสตจักรและในที่สุดก็เป็นวิหารแห่งชาติในอิตาลี

โดมตึกรัฐสภาแห่งสหรัฐ
โดมตึกรัฐสภาแห่งสหรัฐ
ปัจจุบัน สถาปัตยกรรมสำหรับตึกรัฐสภาของสหรัฐฯ ใช้แนวความคิดของโดมโรมัน โดมของรัฐสภา สูง 287 ฟุต เสริมยอดด้วยรูปปั้นสูงเกือบ 20 ฟุตที่เรียกว่าอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ
ความแข็งแกร่งของโดมเปรียบเหมือนไข่
ความแข็งแกร่งของโดมเหมือนกับไข่
ถ้าเราเอามือกดไข่ตามแนวตั้ง ไข่จะไม่แตก (เหมือนภาพ)
ถนน
ถนนของโรมันโบราณ
ถนนของโรมันโบราณ
อดีต ถนนโรมันสร้างขึ้นเพื่อให้กองกำลังทหารสามารถเคลื่อนทัพได้อย่างง่ายดายทั่วจักรวรรดิ ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิไดโอคลีเชียน จักรวรรดิโรมันมีถนนสายหลัก 372 เส้น ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 53,000 ไมล์

ถนนในสหรัฐ
ระบบถนนในสหรัฐ
ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ยังอยู่ในความขับเคลื่อน มีถนนยาวเกือบ 4 ล้านไมล์ ระบบระหว่างรัฐครอบคลุม 46,467 ไมล์

ความเป็นพลเมือง
รูปปั้นเซเนกา
รูปปั้นเซเนกา
อดีต ชาวโรมันมากมายมีความรู้สึกที่แข็งแกร่งแห่งความเป็นพลเมืองหรือความมุ่งมั่นที่จะช่วยกันและสังคม ความรู้สึกของหน้าที่นี้ถูกปลูกฝังโดยนักปรัชญาสโตอิกส์แห่งโรมัน เช่น เซเนกา  เซเนกาและสโตอิกกลุ่มอื่น ๆ สนับสนุนประชาชนให้ใช้บทบาทอย่างแข็งขันในกิจการสาธารณะ

การลงคะแนนเสียงในสหรัฐ
การลงคะแนนเสียงในสหรัฐ แสดงหน้าที่ความเป็นพลเมือง
ปัจจุบัน แนวความคิดของลัทธิสโตอิกเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของประชาชนยังคงช่วยส่งเสริมความเป็นพลเมือง ตัวอย่างของการเป็นพลเมืองที่ดีในประเทศสหรัฐอเมริการวมถึงการลงคะแนนและกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อทุกคนในสังคม เช่น การรีไซเคิล