ประวัติศาสตร์โลก

ประวัติศาสตร์โลก
World History

ประวัติศาสตร์โลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์โลกหรือประวัติศาสตร์มนุษยชาติเริ่มต้นที่ยุคหินเก่า ประวัติศาสตร์โลกไม่รวมประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่ไม่ใช่มนุษย์และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยา ยกเว้นตราบเท่าที่โลกธรรมชาตินั้นกระทบต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก ประวัติศาสตร์โลกประกอบด้วยการศึกษาทางโบราณคดีและหลักฐานลายลักษณ์อักษรตั้งแต่สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์โบราณที่มีบันทึกเริ่มต้นจากการประดิษฐ์การเขียน ทว่า รากเหง้าแห่งอารยธรรมมีมาแต่ก่อนการประดิษฐ์การเขียน สมัยก่อนประวัติศาสตร์เริ่มต้นในยุคหินเก่า ต่อด้วยยุคหินใหม่และการปฏิวัติเกษตรกรรม(ระหว่าง 8000 ถึง 5000 ปีก่อนคริสตกาล) ในวงพระจันทร์เสี้ยวไพบูลย์ (Fertile Crescent) การปฏิวัติเกษตรกรรมเป็นเครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมนุษย์เริ่มต้นทำการเกษตร คือ กสิกรรมและการเลี้ยงสัตว์อย่างเป็นระบบ เมื่อเกษตรกรรมก้าวหน้าขึ้น มนุษย์ส่วนมากเปลี่ยนจากวิถีชีวิตเร่ร่อนมาเป็นตั้งถิ่นฐานเป็นเกษตรกรในนิคมถาวร การเร่ร่อนยังมีอยู่ในบางที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลซึ่งมีพืชที่เพาะปลูกได้ไม่กี่ชนิด แต่ความมั่นคงสัมพัทธ์และผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นจากกสิกรรมทำให้ชุมชนมนุษย์ขยายเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่า ซึ่งความก้าวหน้าในการขนส่งก็มีส่วนช่วย

เมื่อกสิกรรมพัฒนา การเพาะปลูกธัญพืชมีความซับซ้อนขึ้นและทำให้มีการแบ่งงานกันทำเพื่อเก็บอาหารระหว่างฤดูเพาะปลูก จากนั้นการแบ่งงานทำให้เกิดชนชั้นสูงที่สุขสบายและพัฒนาการนคร สังคมมนุษย์ที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ระบบการเขียนและการบัญชีมีความจำเป็น หลายนครพัฒนาบนตลิ่งทะเลสาบและแม่น้ำ ตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เกิดนิคมโดดเด่นและมีการพัฒนาดียุคแรก ๆในเมโสโปเตเมีย ริมตลิ่งแม่น้ำไนล์แห่งอียิปต์ และหุบแม่น้ำสินธุ อาจมีอารยธรรมคล้ายกันพัฒนาขึ้นตามแม่น้ำสำคัญในจีน แต่หลักฐานทางโบราณคดีของการสร้างเมืองอย่างกว้างขวางในที่นั้นชัดแจ้งน้อยกว่า

ประวัติศาสตร์โลกเก่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน) โดยทั่วไปแบ่งเป็นยุคโบราณ ถึง ค.ศ. 476, สมัยกลาง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 15 ซึ่งรวมยุคทองของอิสลาม (ประมาณ ค.ศ. 750-1258) และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยายุโรปตอนต้น (เริ่มต้นประมาณ ค.ศ. 1300), ยุคใหม่ตอนต้น ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งรวมยุคเรืองปัญญา และยุคใหม่ตอนปลาย นับแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมถึงปัจจุบัน รวมทั้งประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ตะวันออกใกล้โบราณ กรีซโบราณและโรมโบราณมีความโดดเด่นในยุคโบราณ ในประวัติศาสตร์ยุโรปตะวันตก การเสียกรุงโรมมักยึดเป็นการสิ้นสุดของยุคโบราณและการเริ่มต้นของสมัยกลาง ขณะที่ยุโรปตะวันออกมีการเปลี่ยนผ่านจากจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งรุ่งเรืองต่อมาอีกเป็นเวลานาน กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 การประดิษฐ์การพิมพ์สมัยใหม่ของโยฮันน์ กูเทนแบร์ก ซึ่งใช้การสื่อสารแบบเคลื่อนที่ได้และเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง เป็นจุดสิ้นสุดของยุคกลางและนำไปสู่การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 การสะสมความรู้และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ได้ถึงจำนวนวิกฤต (critical mass) อันนำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม

ในส่วนอื่นของโลก เช่น ตะวันออกใกล้โบราณ จีนโบราณ และอินเดียโบราณ เส้นเวลาทางประวัติศาสตร์ได้คลี่ออกต่างกัน อย่างไรก็ดี จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากการค้าโลกที่ขยายตัวและการล่าอาณานิคม ทำให้ประวัติศาสตร์ของอารยธรรมโลกส่วนมากสานเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนา ในช่วงสองร้อยกว่าปีล่าสุด การเติบโตของความรู้ เทคโนโลยี การพาณิชย์ และศักยภาพการทำลายล้างของสงครามได้เร่งให้เกิดขึ้น ก่อให้เกิดโอกาสและอันตรายซึ่งปัจจุบันกำลังเผชิญชุมชนมนุษย์ที่อยู่อาศัยบนดาวเคราะห์ดวงนี้

แปลจากหนังสือ World History โดย...Mcdougal Littel
ผู้แปล...ทรงศักดิ์ สายหยุด

กรีซยุคโบราณ

กรีซยุคโบราณ
ภูมิประเทศของกรีซ

ภูมิประเทศได้ก่อรูปร่างวิถีชีวิตของชาวกรีกโบราณ
แผนที่ลำดับเหตุการณ์กรีซและโลกสมัยโบราณ
เแผนที่ลำดับเหตุการณ์กรีซและโลกสมัยโบราณ

แผนที่การค้าขายของกรีซโบราณ
ผนที่การค้าขายของกรีซโบราณ
แผนที่ลำดับเหตุการณ์กรีซและโลกสมัยโบราณ
แผนที่ลำดับเหตุการณ์กรีซและโลกสมัยโบราณ

หมายเหตุ:  โปรดทราบ คำว่า กรีก (Greek) เป็นชื่อของคน (People)  ส่วนคำว่า กรีซ (Greece) เป็นชื่อของประเทศ (Land, Country)  Greek ใช้เป็นคุณศัพท์ของประเทศก็ได้ เช่น Greek people = ชนชาติกรีซ หรือ ชนชาติกรีก อย่าสับสน จะกรีก หรือ กรีซ บางทีก็อาจใช้แทนกันได้ เหมือนคำว่า English เป็นชื่อของ People  England เป็นชื่อของประเทศ Thai เป็นชื่อของ People  Thailand เป็นชื่อของประเทศ เป็นต้น


          แผ่นดินใหญ่ของกรีซยื่นออกไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นคาบสมุทร กายภาพของแผ่นดินเกือบจะถูกล้อมรอบด้วยน้ำ กรีซยังมีเกาะหลายพันเกาะ
  อ่าวเกือบจะแบ่งคาบสมุทรกรีกออกเป็นสองส่วน ปลายสุดทางตอนใต้ ก่อรูปแบบเป็นคาบสมุทรส่วนที่สองเรียกว่า Peloponnesus (PEHL•uh•puh•NEE•suhs) ริ้วแคบ ๆ ของแผ่นดิน ที่เรียกว่า คอคอด (Isthmus - IHS•muhs) เชื่อมโยงคาบสมุทรเพลอปปอนเนซุสเข้ากับส่วนที่เหลือของประเทศกรีซ

ภูมิประเทศและภูมิอากาศ  เทือกเขาครอบคลุมประเทศกรีซเป็นส่วนมากและแบ่งประเทศออกเป็นหลายภูมิภาค  ไม่มีแม่ขนาดน้ำใหญ่  ภูมิทัศน์ที่ขรุขระและไม่มีแม่น้ำขนาดใหญ่ ทำให้การขนส่งในสมัยโบราณลำบาก ภูมิประเทศที่ขรุขระยังทำให้ชาวกรีกรวมกันอยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวได้ยากลำบาก
จานเคลือบดินเผา
จานเคลือบดินเผา ในกรีซโบราณสมบูรณ์ไปด้วยอาหารทะเลดังภาพวาดในจานเก่าใบนี้
กรีซมีฤดูฝน ฤดูหนาวและฤดูร้อนที่ไม่รุนแรง   ส่วนมากระดับอุณหภูมิในกรีซในช่วงฤดูหนาวจะอยู่ที่ประมาณ 50°F ในช่วงฤดูร้อน ประมาณ 80°F สภาพภูมิอากาศที่อบอุ่นสนับสนุนการดำเนินชีวิตแบบกลางแจ้งในกรีซโบราณ ตัวอย่างเช่น การแข่งกีฬากลางแจ้ง เช่น การแข่งขันความเร็วเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมกรีก
ชายฝั่งทะเลของกรีซ
เนื่องประเทศกรีซมีชายฝั่งทะเลยาวมาก จึงมีท่าเรือมากมาย
ในภาพเป็นท่าเรือ Palea Epidavros ใกล้กรุงเอเธนส์เมืองหลวงและเมืองเก่ากรีซ 
-------------------------------------------------------------------------
ภูมิประเทศและประวัติศาสตร์

การใช้ประโยชน์ที่ดินในประเทศกรีซ

แผนที่การใช้ที่ดินของกรีซ
แผนที่การใช้ที่ดินของกรีซ

          เทือกเขาครอบคลุมประเทศกรีซ 70-80 เปอร์เซ็นต์ เป็นผลให้ที่ดินของประเทศกรีซมีเพียงประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ใช้ในการทำนาได้ดี แต่กระนั้น ชาวกรีกโบราณก็หาวิธีทำให้ที่ดินที่พวกเขามีอยู่ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด
พวกเขาปลูกข้าวบนที่ราบโล่งเล็กน้อย ปลูกต้นมะกอก (Olive) บริเวณขอบของที่ราบเหล่านั้น
ชาวกรีกปลูกองุ่นบริเวณที่ลาดชันของภูเขา
แพะและแกะกินหญ้าอยู่บนที่ดินที่มีหินมากหรือไม่มีความอุดมสมบูรณ์ในการปลูกพืช
---------------------------------------------------------------------------

เกษตรกรรม  แผ่นดินกรีกเต็มไปด้วยหิน  ดังนั้น จึงมีอาณาบริเวณเพียงส่วนเล็ก ๆ เท่านั้นที่เหมาะสมสำหรับการทำเกษตรกรรม  แต่กระนั้น ชาวกรีกมากกว่าครึ่งหนึ่งก็เป็นเกษตรกรหรือเป็นคนเลี้ยงปศุสัตว์  การทำการเกษตรส่วนใหญ่เกิดขึ้นในหุบเขา ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างภูเขา
ในสังคมกรีก  เจ้าของที่ดินเป็นส่วนหนึ่งของสังคมชั้นสูง โดยทั่วไป ผู้ชายเท่านั้นเป็นเจ้าของทรัพย์สิน คนที่เป็นเจ้าของที่ดินสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เขามีความมั่งคั่งพอที่จะซื้ออุปกรณ์ เช่น หมวกนิรภัย โล่และดาบ ข้อนี้ทำให้เขาส่งเสริมกองทัพและปกป้องบ้านเกิดของเขา เป็นผลให้เจ้าของที่ดินมีสถานภาพที่สูงขึ้นในสังคมมากกว่าพ่อค้าหรือคนยากจน
เพื่อให้ได้พื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น  ชาวกรีกได้ก่อตั้งอาณานิคมขึ้นในภูมิภาคอื่น ๆ ทางด้านตะวันตกของอนาโตเลียมีที่ราบกว้างขวางและแม่น้ำมาก ชาวกรีกจึงได้ก่อตั้งอาณานิคมที่นั่น

ทรัพยากร การขาดแคลนพื้นที่เพาะปลูกไม่ได้เป็นปัญหาอย่างเดียว ประเทศกรีซ ยังขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ เช่น โลหะมีค่าอีกด้วย   เป็นผลให้ชาวกรีกต้องไปค้นหาทรัพยากรเหล่านั้นในสถานที่อื่น ๆ
กรีซมีทรัพยากรที่สำคัญ สองอย่าง  คือ   หินสำหรับการก่อสร้างที่อุดมสมบูรณ์ และชายฝั่งทะเลที่เหมาะสมมากมายสำหรับทำเป็นท่าเรือ

การค้าขายช่วยให้กรีซประสบความสำเร็จ

แม่น้ำมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมอันเก่าแก่อื่น ๆ ฉันใด ทะเลก็มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตในยุคกรีกโบราณ ฉันนั้น กรีซมีชายฝั่งทะเลที่ยาว และสถานที่ส่วนมากในกรีซมีน้อยกว่า 100 ไมล์นับจากชายฝั่ง ในความเป็นจริงหลาย ๆ เมืองถูกสร้างขึ้นเป็นท่าเรือโดยตรง

คนเดินเรือ  ทะเลต่าง ๆ มีบทบาทสำคัญในชีวิตของกรีซสมัยโบราณ ทะเลที่ใหญ่ที่สุดคือทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งอยู่ทางตอนใต้  ทะเลโยนก (Ionian) และทะเลอีเจียน (Aegean) เป็นสาขาของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลโยนกอยู่ทางทิศตะวันตกของกรีซ และทะเลอีเจียนอยู่ทางทิศตะวันออก
ทะเลเหล่านี้ "เป็นเส้นทางคมนาคมสายสำคัญทางน้ำ (Highways of water)” เชื่อมโยงพื้นที่ส่วนใหญ่ของกรีซให้ถึงกัน ชาวกรีกได้ใช้ทะเลเป็นเส้นทางขนส่ง และพวกเขากลายเป็นนักเดินเรือและนักต่อเรือที่มีความชำนาญ พวกเขาสร้างเรือพายสำหรับการต่อสู้และเรือสำเภาสำหรับการค้าขาย เรือรบบางลำมีสองหรือสามระดับฝีพายในแต่ละด้าน เรือสำเภาส่วนใหญ่มีเสาเดียวและใบสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ทะเลโยนกและทะเลอีเจียนไม่ได้มีขนาดใหญ่มาก เรือขนาดเล็กสามารถแล่นเรือรอบทะเลเหล่านั้นได้ โดยอยู่ใกล้ชายฝั่งหรือโดยการล่องเรือจากเกาะหนึ่งไปยังเกาะหนึ่ง เมื่อชาวกรีกได้เรียนรู้เส้นทางเหล่านี้พวกเขาก็สามารถแล่นเรือไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ได้
ทะเลเป็นแหล่งที่มาของปลา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของอาหารกรีก ชาวกรีกค้าขายปลาสดที่ได้จากทะเลส่งไปยังท่าเรือท้องถิ่นตามชายฝั่ง  พวกเขายังตากแห้งปลาบางชนิด เพื่อให้สามารถขนส่งไปได้ในระยะทางที่ไกลแสนไกล

การค้าขายและการพาณิชย์  กรีซไม่ได้ผลิตข้าวมากมาย  แต่บางภูมิภาคผลิตน้ำมันมะกอก  ไวน์  ขนสัตว์และเครื่องปั้นดินเผาอันวิจิตรอย่างเหลือเฟือ  นครรัฐกรีก ได้ซื้อและขายสินค้าฟุ่มเฟือยให้แก่กันและกัน นอกจากนี้ ชาวกรีกยังส่งสินค้าเหล่านี้ไปค้าขายยังภูมิภาคอื่น ๆ รอบ ๆ ทะเลดำ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รวมทั้งอียิปต์และอิตาลี
สินค้าหลักที่ชาวกรีกสั่งซื้อคือข้าว ไม้แปรรูปสำหรับก่อสร้าง หนังสัตว์และทาส ชาวกรีกมีการค้าขายถั่ว มะเดื่อ เนยแข็งและต้นป่านซึ่งพวกเขาใช้ในการทำผ้าลินิน
เรือใบกรีก
เรือใบกรีก ในสมัยกรีกโบราณอาจจะใช้หาปลา

ชาวกรีกยุคแรกสุด

         วัฒนธรรมการแล่นเรือใบและการค้าขายของกรีกได้พัฒนามามากกว่าหลายพันปี ชาวกรีกยุคแรกสุดได้ย้ายเข้ามาสู่คาบสมุทรกรีก ประมาณ  2,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช

อารยธรรมไมซีนี อารยธรรมกรีก อารยธรรมแรก ก่อตั้งขึ้นบนคาบสมุทรเพลอปปอนเนซุส  ตั้งชื่อตามชื่อเมืองที่สำคัญที่สุด คือ เมือง ไมซีนี (Mycenae - my•SEE•nee) ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ท่ามกลางเนินเขา ล้อมรอบด้วยกำแพงสำหรับป้องกัน กำแพงนี้ค่อนข้างจะสามารถต้านทานการโจมตีใด ๆ ก็ได้ กษัตริย์ปกครองเมืองแต่ละเมืองของกรีซไมซีนี ตลอดจนบริเวณรอบหมู่บ้านและไร่นา
ขุนนางที่อาศัยอยู่ภายในป้อมปราการในเมืองไมซีนี มีชีวิตอยู่อย่างหรูหรา สนุกสนานกับงานเลี้ยงที่ยิ่งใหญ่ในห้องโถงขนาดใหญ่สำหรับรับประทานอาหาร พวกเขาดื่มด้วยถ้วยทองและกำอาวุธสัมฤทธิ์  คนชั้นสามัญชนส่วนมากในกรีซไมซีนีสร้างเครื่องมือจากวัสดุที่มีราคาไม่แพง เช่น หินและไม้
ชาวไมซีนีเป็นพ่อค้า วัฒนธรรมของพวกเขาให้ความสำคัญกับการเขียน, เครื่องประดับทอง,  อาวุธสัมฤทธิ์, และเครื่องปั้นดินเผาอันวิจิตร  อารยธรรมของพวกเขาทรุดตัวลงประมาณ 1,200 ก่อนคริสต์ศักราช  บางทีอาจเป็นเพราะมีผู้บุกรุก
หลังจากการล่มสลายของอารยธรรมไมซีนี วัฒนธรรมกรีกได้เสื่อถอยลง ผู้คนเก็บรักษาการบันทึกที่เป็นลายลักษณ์ไว้ได้ไม่นาน เมื่อไม่มีการบันทึกดังกล่าว นักประวัติศาสตร์ก็รู้เรื่องราวในระยะเวลาระหว่าง 1,200-750 ปี ก่อนคริสต์ศักราชเพียงเล็กน้อย


-------------------------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบวัฒนธรรม

ตัวอักษร

เปรียบเทียบตัวอักษร
ตารางเปรียบเทียบตัวอักษรภาษากรีกโบราณและอังกฤษสมัยใหม่
          ระบบการเขียนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ชาวกรีกได้ยืมตัวอักษรฟินิเชียน  22 ตัวอักษรมาใช้ แต่เขียนสัญลักษณ์แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ชาวกรีกยังได้เพิ่มตัวอักษรสองตัว ตัวอักษรของชาวกรีกโบราณวิวัฒนาการเป็นตัวอักษร 26 ตัวอักษรที่ใช้ในภาษาอังกฤษในปัจจุบันนี้
-------------------------------------------------------------------------------

ความก้าวหน้าใหม่ในวัฒนธรรมกรีก ในขณะนั้น วัฒนธรรมกรีกเริ่มเจริญอีกครั้ง เหตุผลหนึ่งในเรื่องนี้ก็คือว่า ชาวกรีกได้เรียนรู้จากคนอื่น ๆ เช่น ชาวฟีนิเซียน(fih•NIHSH•uhnz)  ชาวฟีนิเซียเป็นนักค้าขายที่สำคัญ อาศัยอยู่บนชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในฐานะที่เป็นพ่อค้า  ชาวฟีนีเซียต้องการวิธีการบันทึกการทำธุรกรรมทางการค้าได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว พวกเขาได้พัฒนาระบบที่ใช้สัญลักษณ์ 22 ตัวสำหรับใช้แทนเสียง  ระบบของสัญลักษณ์ดังกล่าว เรียกว่า ตัวอักษร(alphabet) โดยการค้าขายกับคนอื่น ๆ  ชาวฟีนีเซียก็ได้แพร่กระจายระบบการเขียนของพวกเขา
ชาวกรีกได้รับเอาตัวอักษรฟีนิเชียน ในช่วงระหว่าง 900 และ 800 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกเขาได้เปลี่ยนชื่อตัวอักษรบางตัวเพื่อให้เหมาะกับภาษาของตน ต่อมาอักษรกรีกได้วิวัฒนาการเป็นอักษร 26 ตัวในภาษาอังกฤษ
เหรียญกระษาปณ์ของกรีก
เหรียญกระษาปณ์ของกรีกโบราณ ด้านหน้าเป็นรูปเทพีอธีนาที่กรุงเอเธนส์ตั้งชื่อตาม
ด้านหลังเป็นรูปนกฮูก อันเป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญาของเทพีอธีนา
ชาวกรีกยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับเหรียญกษาปณ์จากการค้าขายกับคนอื่น ๆ   เหรียญกษาปณ์ประดิษฐ์ขึ้นประมาณ 650 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ในอนาโตเลีย ชาวกรีกส่วนมากได้สร้างหรียญกษาปณ์ของตนเอง ประมาณ 500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  ในที่สุดชาวกรีกยังได้พัฒนารูปแบบใหม่ของวรรณคดีและการปกครองอีกด้วย

การดำรงชีวิตในประเทศกรีซโบราณ

           ชาวกรีกก็เหมือนกับคนโบราณชาติอื่น ๆ มีความเชื่อในพระเจ้ามากมาย  ความเชื่อนี้จะเรียกว่า ศาสนาซึ่งนับถือพระผู้เป็นเจ้าหลายองค์ (Polytheism) แต่เราจะไม่เห็นพระเจ้ากับหัวสัตว์ในกรีซเหมือนในอียิปต์ เทพเจ้ากรีกมองดูเหมือนมนุษย์  ยิ่งไปกว่านั้น เทพเจ้ายังมีอำนาจและสวยงามกว่ามนุษย์

เทพเจ้าและตำนานกรีก

เทพเจ้าไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่อยู่ไกลแสนไกลสำหรับชาวกรีก  เทพเจ้ามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้คน และชาวกรีกชอบเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพวกเทพเจ้า นิทานที่สดใสเหล่านี้พรรณนาเหล่าทวยเทพที่อาจจะเป็นขุนนางหรือนักปราชญ์ แต่อาจจะโหดร้ายหรือเห็นแก่ตัวอีกด้วย
แจกันกรีกโบราณ
แจกันกรีกโบราณ แสดงฉากหนึ่งในตำนานกรีกโบราณ
 เล่าเรื่อง วีรบุรุษเฮราคลีส หรือ เฮอร์คิวลีส ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งของกรีก
เทพเจ้าของกรีซ  เทพเจ้ากรีกมีทั้งลักษณะเป็นเทพเจ้าและเป็นมนุษย์  ตัวอย่างเช่นพวกเขามีอำนาจมากและสามารถกำหนดเหตุการณ์ให้กับมนุษย์  แต่พวกเขามีอารมณ์แบบมนุษย์หลากหลาย มีทั้งความรักความโกรธและความหึงหวง เหล่าทวยเทพและเทพธิดาแห่งกรีซมีการแข่งขันกับเทพอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง

ซูส (หรือซีอุส – Zeus – ZOOS) เป็นเทพเจ้าชั้นปกครองของเทพเจ้าทั้งหลาย ชาวกรีกเชื่อว่า เทพซูสและเทพเจ้าที่สำคัญอื่น ๆ อีก 11 องค์ และเทพธิดาอาศัยอยู่บนภูเขาโอลิมปัส (Olympus - uh•LIHM•puhs) ภูเขาที่สูงที่สุดในกรีซ ชาวกรีกยังบูชาเทพเจ้าที่สำคัญน้อยอีกมากมาย
แต่ละเมืองมีเทพเจ้าหรือเทพธิดาเป็นพิเศษเพื่อปกป้องตนเอง  ตัวอย่างเช่น อธีนา (Athena) (หนึ่งในเทพเจ้า 12 องค์ที่อาศัยอยู่บนภูเขาโอลิมปัส) เป็นผู้พิทักษ์แห่งเอเธนส์ เธอเป็นเทพีแห่งภูมิปัญญานักรบ และผู้มีพระคุณของงานฝีมือเช่นการทอผ้า
ยอดเขาโอลิมปัส
ยอดเขาโอลิมปัส  เป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าสำคัญ ๆ ในตำนานกรีกโบราณ
ผู้คนจึงนิยมเรียกว่า เทพเจ้าแห่งยอดเขาโอลิมปัส
ตำนานเทพเจ้ากรีก  ตำนานคือเรื่องราวที่คนบอกเล่าเพื่ออธิบายความเชื่อเกี่ยวกับโลกของตนเอง ตำนานมักจะเริ่มต้นเป็นเรื่องราวบอกเล่า หลังจากนั้นอาจจะมีการบันทึกไว้
ชาวกรีกได้พัฒนาตำนานเพื่ออธิบายการสร้างโลกและมนุษย์  ตำนานดังกล่าวตำนานหนึ่ง เล่าเรื่องเกี่ยวกับแพนดอร่า (Pandora) สตรีคนแรกในโลกมนุษย์ เทพซูให้ขวดที่ปิดสนิทใบหนึ่งแก่แพนดอร่า แต่บอกเธอว่าอย่าเปิดมัน แม้จะมีคำเตือน เธอก็ได้เปิดขวด ปล่อยความเจ็บป่วย ความโลภและความชั่วร้ายอื่น ๆ ทั้งหมดลงบนแผ่นดินโลก จิตวิญญาณดวงหนึ่งยังคงอยู่ในขวด คือ ความหวัง
ขวดในตำนานกรีก
ขวดที่เทพซู ประทานให้แพนดอรา สตรีคนแรกของโลกในตำนานกรีกตำนานหนึ่ง

หลายตำนานอธิบายเทพเจ้าและเทพี และวิธีการที่พวกเทพสัมพันธ์กับเทพอีกองค์หนึ่งและต่อมนุษย์ ตัวอย่างเช่นตำนานของโพรมีธีอุส (Prometheus - pruh•MEE•thee•uhs) บอกวิธีที่ตัวเองขโมยไฟจากพระเจ้าและเอามาให้มนุษย์ เทพซูได้ลงโทษเขาโดยการผูกมัดเขาติดกับหิน ทุก ๆ วัน นกอินทรีจะกินตับของเขาที่งอกกลับมาทุกคืน
ตำนานอื่น ๆ ได้พรรณนาวีรบุรุษและวีรสตรีชาวกรีก ตำนานแบบนั้นตำนานหนึ่งอธิบายเทพีอตาลันตา (Atalanta) ผู้ที่แม่หมีและนายพรานผู้มีใจอารีเลี้ยงมาจนทำให้เธอเป็นนักล่าและนักวิ่งที่มีความชำนาญ

การให้เกียรติแก่เทพเจ้า

          ชาวกรีก ก็เหมือนกับคนโบราณชาติอื่น ๆ มีความเชื่อว่าการให้เกียรติเทพเจ้าเป็นสิ่งสำคัญ  เทพเจ้าพิโรธอาจก่อให้เกิดปัญหา ชาวกรีกได้สร้างรูปปั้นเทพเจ้าและสร้างวิหารขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ให้เทพเจ้าสถิตอยู่  นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมพิเศษเพื่อเป็นเกียรติแก่เทพเจ้าอีกด้วย
เทพเจ้าสำคัญของกรีก
รูปซ้ายเป็นเทพซูส ประมุขแห่งเทพทั้งหลาย  รูปขวาเป็นเทพอธีนา เทพีแห่งปัญญาและ
นักรบ กำเนิดมาจากส่วนหัวของเทพซูส  
เทศกาลศักดิ์สิทธิ์  บางวันในแต่ละเดือนเป็นวันศักดิ์สิทธิ์สำหรับเหล่าทวยเทพและเทพธิดาต่าง ๆ หรือแง่มุมของธรรมชาติ  ประชาชนจะมีการเฉลิมฉลองวันสำคัญทางศาสนาด้วยความเสียสละและด้วยพิธีสาธารณะ
เทศกาลที่สำคัญที่สุด มีการสรรเสริญเทพเจ้าแห่งภูเขาโอลิมเปีย  ตัวอย่างเช่น  มีงานเทศกาลที่ยิ่งใหญ่เพื่อเป็นการสรรเสริญเทพีอธีนา เสื้อคลุมใหม่ถูกถักทอไว้สำหรับรูปปั้นเทพีอธีนา (เอเธนา) ในวิหารสำคัญ  เทศกาลนี้ประกอบไปด้วยขบวนแห่ การแข่งและเกมกีฬาอื่น ๆ และการสาธยายบทกวี
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
เทพีดีมีเตอร์ เป็นเทพีแห่งการเกษตร ของปลูกข้าว
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก  ในกรีซ การละเล่นมักจะเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลทางศาสนาเสมอ งานที่ใหญ่ที่สุดและละเอียดประณีตมากที่สุดของการละเล่นเหล่านี้ คือ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก  กีฬาโอลิมปิกจะจัดขึ้นทุก ๆ สี่ปี  เป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาลสำคัญซึ่งเป็นการยกย่องเทพซู  ชาวกรีกจะจัดขึ้นในสนามกีฬาที่สร้างขึ้นในเมืองโอลิมเปีย มีเพียงผู้ชายเท่านั้นที่เข้าร่วมในการแข่งขันเหล่านี้
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
การแข่งกีฬาโอลิมปิก ซึ่งแต่ก่อนเป็นเทศกาลหนึึ่งของกรีซ แต่ปัจจุบัน
เป็นการแข่งขันระดับโลกไปแล้ว
บันทึกผู้ชนะเลิศการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เก่าแก่ที่สุดบันทึกไว้เมือ 776 ปี ก่อนคริสต์ศักราช แต่กีฬาอาจจะคงดำเนินไปเป็นเวลาหนึ่งศตวรรษก่อนหน้านั้น  การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกมีเพียงการแข่งขันวิ่งเท่านั้น  เมื่อเวลาผ่านไป จึงเพิ่มการแข่งขันและกิจกรรมอื่น ๆ มากขึ้น มีมวยปล้ำ กระโดดไกล พุ่งแหลนและขว้างจักร  กีฬาเหล่านี้เป็นการทดสอบทักษะที่มีคุณค่าให้กับทหาร
งานเทศกาลเพื่อเป็นเกียรติแก่เทพีเฮร่า (Hera) ภรรยาของเทพซุสได้จัดขึ้นในเวลาเดียวกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล  เด็กผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานก็เข้าแข่งขันในการแข่งขันเดินเท้า  การแข่งขันที่จัดขึ้นสำหรับประเภทอายุที่แตกต่างกันสามประเภทจัดขึ้นในสนามกีฬาโอลิมปิค

วรรณคดีกรีกยุคแรก

นอกจากเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้าแล้ว  กรีกยังได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวีรบุรุษโบราณ ของพวกเขา พวกเรารู้เรื่องมากมายเกี่ยวกับกรีกยุคแรกจากเรื่องราวที่เล่าต่อ ๆ  กันมาหลายยุคและจากบทกวีเรื่องยาวที่เล่าเรื่องราวของกรีก บทกวีที่มีความยาวเหล่านี้ เรียกว่ามหากาพย์ (epics) ตามประเพณี  คนตาบอดคนหนึ่งชื่อโฮเมอร์ (Homer) ได้ประพันธ์บทกวี มหากาพย์ที่มีชื่อเสียงที่สุด ซึ่งก็ยังถือว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของวรรณคดี

มหากาพย์ของโฮเมอร์  กวีมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่สองบทของโฮเมอร์ คือ อีเลียดและโอดิสซีย์ (Iliad and Odyssey) ฉากหลังของบทกวีทั้งสองเป็นสงครามเมืองทรอย (Trojan War) สงครามได้เริ่มขึ้น เพราะเมืองทรอย ได้ขโมยภรรยาของกษัตริย์กรีกไป ชาวกรีกได้รวบรวมกองทัพขนาดใหญ่และแล่นเรือไปยังเมืองทรอย ล้อมเมืองไว้และใช้เวลามากกว่าเก้าปีต่อสู้เมืองทรอยและพยายามยึดเมือง
มหากาพย์อีเลียด มีชื่อเสียงเพื่อให้เห็นภาพของวีรบุรุษโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักรบกรีก ชื่อ อคีลลีส (Achilles - uh•KIHL•eez) ในขณะที่เขายังเป็นทารก แม่ของเขาได้จับส้นเท้าของเขาจุ่มลงในแม่น้ำพิเศษ น้ำสัมผัสส่วนใด ส่วนนั้นจะไม่ได้รับบาดเจ็บ อคีลลีสดูเหมือนจะไม่มีใครเอาชนะได้ในการสู้รบ แต่เมื่อลูกศรพุ่งไปถูกจุดอ่อนของเขา คือ ส้นเท้า เขาจะเสียชีวิต
เป็นเวลาหลายศตวรรษ ที่ผู้คนคิดว่าสงครามเมืองทรอยเป็นเรื่องโกหก  ประมาณคริสต์ศักราช 1870 นักโบราณคดีได้ค้นพบซากปรักหักพังของเมืองทรอยโบราณ  สงครามที่แท้จริงได้เกิดขึ้นที่นั่น  แต่มันไม่ได้เกิดขึ้นตรงตามที่มหากาพย์อีเลียดพรรณนาไว้
มหากาพย์ที่สำคัญอีกบทหนึ่งของโฮเมอร์ คือโอดิสซีย์ ได้อธิบายการผจญภัยของวีรบุรุษกรีก ชื่อ โอดิสซุส (Odysseus - oh•DIHS•yoos) เมื่อเขาเดินทางกลับบ้านหลังจากที่สงครามเมืองทรอยสิ้นสุดลง โอดิสซุส โกรธเคืองโพไซดอน (Poseidon) เทพเจ้าแห่งทะเลของกรีก ในการแก้แค้น เทพเจ้าได้บันดาลให้การเดินทางของโอดิสซุสใช้เวลาถึงสิบปี ในช่วงเวลานั้น โอดิสซุสและคนของเขาเดินทางผ่านดินแดนที่อัศจรรย์และลึกลับ และประสบอันตรายเป็นอันมาก โอดิสซุสได้ใช้ปัญญาและกลอุบายของเขาเพื่อเอาตัวรอดจากการเดินทางอันยาวนาน
เรื่องราวโบราณเหล่านี้ยังคงมีอิทธิพลต่อการพูดและศิลปะในปัจจุบันนี้  ตัวอย่างเช่น วลีที่ว่า “ส้นเท้าของอคีลลีส (Achilles’ heel)” จะใช้ในการอ้างถึงบริเวณที่อ่อนแอ (จุดอ่อน) ของคน คำว่า Odyssey หมายถึง การเดินทางที่ท้าทายหรือการผจญภัย
ไซคลอปส์
รูปปั้นยักษ์ตาเดียว ในมหากาพย์ของโฮเมอร์ ขื่อ โอดิสซีย์
ยักษ์นี้มีชื่อว่า ไซคลอปส์ ได้จับโอดิสซูสและพรรคพวก แล้วกินพรรคพวก
ของโอดิสซูสมากมาย ก่อนที่โอดิสซูสจำทำให้มันตาบอดและขับไล่ไป
นิทานอีสป (Aesop’s Fables) นิทาน คือ เรื่องราวสั้น ๆ ที่มักจะเกี่ยวข้องกับสัตว์ ซึ่งสอนบทเรียนด้านศีลธรรม นิทานจำนวนมากที่เล่ากันอยู่ทุกวันนี้ ได้ให้ความไว้วางใจกับชาวกรีกที่ชื่ออีสป (EE•suhp) นักประวัติศาสตร์โบราณหลายคน บอกว่า อีสปเป็นทาสที่อาศัยอยู่ในประเทศกรีซและได้เขียนนิทานไว้ แต่นักวิชาการสมัยใหม่ เชื่อว่าไม่น่าเป็นไปได้ที่อีสปมีตัวตนอยู่จริง ๆ น่าจะเป็นชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับนักเขียนนิทานโบราณหลายเรื่องมากว่า
นิทานที่รู้จักกันดีเรื่องหนึ่งของอีสปคือ "กระต่ายกับเต่า (the Hare and the Tortoise)" ในนิทานเรื่องนี้ กระต่าย (ป่า) ตัวหนึ่ง รู้สึกขำขันที่เต่าเดินช้า  เต่าก็ท้าทายให้กระต่ายมาวิ่งแข่งกัน กระต่ายคิดว่าเป็นความท้าทายที่ไร้สาระ มันแน่ใจมากว่า มันจะชนะ จึงตัดสินใจล้มตัวลงนอนและหลับไป แต่เต่าไม่เคยหยุดนิ่ง เดินไปอย่างช้า ๆ แต่มั่นคงจนถึงเส้นชัย  เมื่อกระต่ายตื่นขึ้นมา  ก็รู้สึกตัวว่าสายเกินไปที่จะใช้ความเร็วช่วยตนเอง และเต่าเดินช้าก็ชนะการแข่งขัน ทุกวันนี้ผู้คนยังคงอ้างถึงบทเรียนในนิทานเรื่องนี้ เพื่อส่งเสริมให้คนทำงานอย่างต่อเนื่อง แม้ว่างานดูเหมือนว่าไม่มีทางจะประสบผลสำเร็จก็ตาม
นิทานอีสปเรื่องกระต่ายกับเต่า
ภาพวาดการ์ตูนนิทานเรื่องกระต่ายกับเต่าของอีสป
ซึ่งโด่งดังไปทั่วโลก

นครรัฐและประชาธิปไตย

การเกิดขึ้นของนครรัฐ

          ตามเราทราแล้วว่า สภาพทางภูมิศาสตร์แบ่งประเทศกรีซออกเป็นภูมิภาคขนาดเล็ก ด้วยเหตุนี้รูปแบบพื้นฐานของรัฐบาลในประเทศกรีซจึงเป็นแบบนครรัฐ (the city-state) โดยปกติ นครรัฐรวมถึงหมู่บ้านเป็นจำนวนมาก อาณานิคมที่ก่อตั้งโดยชาวกรีกรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนก็เป็นนครรัฐ
การเนรเทศ
ประชาชนชาวเอเธนส์จะออกเสียงขับไล่คนบางคน
โดยการสลักชื่อของคนนั้นบนเครื่องปั้นดินเผา ที่เรียกว่า Ostracon
นครรัฐกรีก นครรัฐกลายเป็นเรื่องธรรมดาในกรีซประมาณ 700 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ในภาษากรีก คำว่า นครรัฐ คือ polis นครรัฐส่วนมากมีขนาดเล็ก ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เช่น ภูเขา ได้จำกัดขนาดของนครรัฐ กรุงเอเธนส์และกรุงสปาร์ตาเป็นนครรัฐของกรีกที่ใหญ่ที่สุด ดินแดนของนครรัฐเหล่านั้น รวมถึงที่ราบที่ล้อมรอบใจกลางเมือง
นครรัฐกรีกส่วนมากปกครองดินแดนตั้งแต่ 50 ถึง 500 ตารางไมล์ (1 ไมล์ประมาณ 1.6 กิโลเมตร) และมีจำนวนผู้อยู่อาศัยน้อยกว่า 20,000 คน  เพราะนครรัฐทั่วไปค่อนข้างเล็ก คนที่อาศัยอยู่ที่นั่นกลายเป็นชุมชนที่สนิทใกล้ชิดกัน
สถานชุมนุมทางการเมือง
หลายเมืองของกรีซส่วนมาก จะมีสถานที่ประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เรียกว่า Agora
ภาพนี้เป็นซากปรักหักพังของ agora กรีซโบราณ
แผนผังของเมือง ศูนย์กลางของการดำเนินชีวิตชาวเมืองเป็นเวที พื้นที่เปิดโล่ง ซึ่งผู้คนมาทำธุรกิจและการชุมนุมของประชาชน พลเมืองชายพบกันที่นั่นเพื่อหารือเกี่ยวกับการเมือง เทศกาลและการแข่งขันกีฬาถูกจัดขึ้นที่นั่น งานปฏิมากรรมวิหารและอาคารสาธารณะอื่น ๆ พบได้ในและรอบ ๆ เวที
ภาพวาดกรุงเอเธนส์
ภาพวาดกรุงเอเธนส์โบราณมุมมองทางอากาศ เป็นภาพวาดสีน้ำ ตามจินตนาการของ
ศิลปินสมัยใหม่  สังเกตป้อปราการ อโครโพลิส (Acropolis) มีความสูงกว่าทุกสิ่งในกรุงเอเธนส์
หลายเมืองมียอดเขาเป็นป้อมปราการ เรียกว่า acropolis (ป้อมปราการที่อยู่บนเทือกเขาสูง)  คำนั้น หมายถึง "เมืองที่อยู่บนที่สูง (high city)"  ตอนแรก ผู้คนใช้ป้อมปราการนั้นด้วยวัตถุประสงค์ทางทหารเป็นหลัก สถานที่สูงง่ายกว่าสำหรับป้องกันศัตรู  ต่อมาชาวกรีกได้สร้างวิหารและพระราชวังบนยอดราบแบนของภูเขาเหล่านี้ บ้านของคนธรรมดาสามัญได้ถูกสร้างขึ้นตามฐานของเนินเขา

รูปแบบของการปกครอง แต่ละนครรัฐของกรีซเป็นอิสระจากกัน  ประชาชนของแต่ละนครรัฐ ช่วยกันขบคิดว่า การปกครองชนิดใดใช้งานได้ดีที่สุดสำหรับพวกเขา เป็นผลให้ นครรัฐต่าง ๆ ใช้ระบบการเมืองแตกต่างกัน บางนครรัฐรักษาระบบการปกครองแบบเดียวกันไว้นานหลายศตวรรษ นครรัฐอื่น ๆ ได้เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง

พระมหากษัตริย์และขุนนาง รูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดของการปกครองในกรีซ คือ การปกครองแบบกษัตริย์ พระมหากษัตริย์ คือ กษัตริย์หรือพระราชินีผู้มีอำนาจสูงสุด  สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นการปกครองที่กษัตริย์หรือพระราชินีปกครอง นครรัฐกรีกส่วนมากเริ่มปกครองแบบกษัตริย์ แต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่รูปแบบอื่น ๆ อยู่ตลอดเวลา
ขุนนาง (Aristocracy - AR•ih•STAHK•ruh•see) คือ การปกครองที่ปกครองโดยชนชั้นสูงของสังคมหรือคนสูงศักดิ์ ในกรีซขุนนางเป็นคนที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่เกิดในตระกูลสูง ขุนนางบางคนอ้างว่าบรรพบุรุษของตนเองเป็นวีรบุรุษในตำนาน
นครรัฐกรีกโครินธ์ (Corinth) เริ่มปกครองโดยสถาบันพระมหากษัตริย์ ต่อมาก็ถูกปกครองโดยชนชั้นสูง นครรัฐกรีกอื่น ๆ หลายนครรัฐ ก็ทำตามแนวทางเดียวกัน ประมาณ 700-799 ปี ก่อนคริสต์ศักราช การปกครองส่วนใหญ่ของนครรัฐกรีกมีการเปลี่ยนแปลงจากกษัตริย์ไปเป็นขุนนาง

คณาธิปไตย  บางนครรัฐพัฒนาระบบการเมืองที่เรียกว่า คณาธิปไตย (oligarchy - AHL•ih•GAHR•kee) คณาธิปไตย หมายถึง "การปกครองโดยคนไม่กี่คน" มันคล้ายกับระบบขุนนางเพราะในทั้งสองกรณี ชนกลุ่มน้อยควบคุมการปกครอง
ความแตกต่างส่วนใหญ่ระหว่างชนระบบชั้นสูงและคณาธิปไตยคือพื้นฐานสำหรับอำนาจของชนชั้นปกครอง เมื่อขุนนางปกครอง พวกเขาปกครองเป็นมรดกตกทอด  ในระบบคณาธิปไตยประชาชนปกครองด้วยความเป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือที่ดิน ในบางนครรัฐของกรีก ระบบคณาธิปไตยเข้ามาแทนที่การปกครองระบบขุนนาง นครรัฐอื่น ขุนนางและผู้มีอำนาจแบ่งอำนาจกัน

ทรราช คนจนไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองในระบบกษัตริย์ ขุนนาง หรือ ระบบคณาธิปไตย   บ่อยครั้งที่คนยากจนไม่พอใจที่ถูกปิดกั้นจากอำนาจและในบางครั้งพวกเขาก็แสดงให้เห็นถึงความไม่พอใจโดยการก่อกบฏ
บางครั้งคนที่ร่ำรวยอยากจะยึดอำนาจก็ใช้ความไม่พอใจนของคนจนนั้นมาสนับสนุนตนเองให้เป็นผู้นำ ผู้นำดังกล่าวถูกเรียกว่า ทรราช (Tyrant)  ในกรีซ ทรราช คือ บางคนที่เข้ามากุมอำนาจในทางที่ผิดกฎหมาย ทุกวันนี้ คำว่า ทรราช หมายถึงการเป็นผู้นำที่โหดร้าย สำหรับชาวกรีก ทรราชเป็นใครก็ได้รับความสำเร็จทางอำนาจพระมหากษัตริย์โดยไม่ต้องเกิดเป็นพระราชา ทรราชกรีกบางคนทำงานเพื่อช่วยคนยากจนหรือสร้างโครงการเพื่อให้คนมีงานทำ ทรราชอื่น ๆ ตรากฎหมายยกเลิกหนี้ที่คนจนเป็นหนี้คนรวย
ทรราชมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการปกครองโดยประชาชน พวกเขาช่วยกันโค่นล้มระบบคณาธิปไตย และยังแสดงให้เห็นว่าถ้าคนทั่วไปรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตามหลังผู้นำ ก็จะได้รับอำนาจที่จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลง

เอเธนส์สร้างประชาธิปไตยแบบจำกัด

          โดยการช่วยให้ทรราชขึ้นสู่อำนาจ ประชาชนที่อยู่ในชั้นต่ำตระหนักว่า พวกเขาสามารถมีอิทธิพลต่อการปกครอง เป็นผลให้พวกเขาเริ่มที่จะเรียกร้องอำนาจทางการเมืองมากขึ้น

สิทธิการเป็นพลเมือง มรดกที่สำคัญของกรีกโบราณอย่างหนึ่ง คือแนวความคิดของความเป็นพลเมืองซึ่งชาวกรีกนำมาใช้ ในโลกปัจจุบัน พลเมืองเป็นคนที่มีความจงรักภักดีต่อประเทศและเป็นผู้ที่มีสิทธิได้รับการคุ้มครองโดยรัฐบาลของประเทศนั้น  ในสมัยกรีกโบราณ  ผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่เท่านั้น จึงสามารถเป็นพลเมืองได้ ข้อจำกัดอื่น ๆ ในความเป็นพลเมืองก็แตกต่างกันในนครรัฐที่แตกต่างกัน บางนครรัฐจำกัดความเป็นพลเมืองให้กับเจ้าของที่ดิน นครรัฐอื่น ๆ ต้องการมีบรรพบุรุษที่เป็นพลเมืองอิสระ
ในยุคกรีกโบราณส่วนมาก ประชาชนทั้งวรรณะสูงและต่ำก็เป็นพลเมือง แต่พลเมืองชั้นบนเท่านั้นกุมอำนาจ โดยเรียกร้องอำนาจทางการเมือง ประชาชนชั้นต่ำ กำลังเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้กับสังคมของพวกเขา การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  ในช่วงยุคศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช ผู้นำทั้งสองในเอเธนส์ทำการปฏิรูปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้อำนาจส่วนมากเป็นของประชาชน ผู้นำเหล่านั้น คือ โซลอน (Solon) และ ไคลส์ธีนีส (Cleisthenes - KLYS•thuh•neez)

โซลอน ในช่วงยุคศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช เริ่มเกิดปัญหาในเอเธนส์ เกษตรกรที่ยากจนจำนวนมาก เป็นหนี้ที่ค้างชำระเงินมาก เนื่องจากพวกเขาถูกบังคับให้ทำงานในที่ดินของตนเองเพื่อคนบางคน หรือมิฉะนั้นก็จะบังคับให้เป็นทาส  ชนชั้นต่ำกำลังเกิดความโกรธแค้นต่อผู้ปกครอง
ประมาณ 594 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ขุนนางได้เลือกโซลอนเป็นผู้นำเอเธนส์ โซลอนได้ทำการปฏิรูปเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้คนยากจนประท้วง ครั้งแรก เขาได้ปล่อยประชาชนที่กลายเป็นทาสเพราะหนี้สินให้เป็นอิสระ และออกฎหมายไม่ให้ประชาชนถูกกดขี่
โซลอนยังได้แบ่งประชาชนออกเป็นสี่ชนชั้นขึ้นอยู่กับความมั่งคั่ง ไม่ใช่ขึ้นกับชาติกำเนิด คนที่ร่ำรวยที่สุดมีอำนาจมากที่สุด แต่กระนั้น ข้อนี้ก็ยังคงเป็นระบบที่ยุติธรรมมากกว่าระบบเก่าที่จำกัดอำนาจให้กับคนที่เกิดในตระกูลชั้นสูง การเปลี่ยนแปลง ได้จัดตั้งขึ้นโดยโซลอน โดยให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการประชุมร่างกฎหมายและเพื่อช่วยในการคัดเลือกผู้นำ เขายังปฏิรูปกฎหมายเพื่อให้ประชาชนก่อความรุนแรงน้อยลง

ไคลส์ธีนีส ประมาณ 500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ไคลส์ธีนีส เพิ่มอำนาจของพลเมืองชาวเอเธนส์ให้มากยิ่งขึ้น เขาจัดชุมนุมเพื่อขับไล่อำนาจออกไปจากขุนนาง เขาจัดให้ประชาชนเป็นสิบกลุ่ม ที่รู้จักกันว่า ชนเผ่า ชนเผ่าอยู่บนพื้นฐานของถิ่นที่อยู่แทนความมั่งคั่งหรือความสัมพันธ์ทางครอบครัว
ไคลส์ธีนีส ได้จัดตั้งแม่ทัพนายกองสิบคนเป็นกลุ่มนำทหาร แต่ละกลุ่มก็เลือกตั้งแม่ทัพนายกองคนหนึ่งเพื่อให้บริการเป็นเวลาหนึ่งปี ไคลส์ธีนีสยังปฏิรูปสภา เพื่อช่วยให้การชุมนุมเพื่อการปกครอง จึงเป็นที่รู้จักกันว่า สภาห้าร้อย (Council of Five Hundred)
------------------------------------------
ผู้สร้างประวัติศาสตร์
โซลอน (Solon – มีชีวิตอยู่ระหว่าง 630 – 560 ปี ก่อนคริสต์ศักราช)
ภาพวาดกรุงเอเธนส์
รูปปั้นโซลอน 
โซลอนได้รับการชูเกียรติว่า เป็นหนึ่งในนักปราชญ์เจ็ดคนของกรีซ แม้ว่าเขาเป็นบุตรชายของตระกูลขุนนาง เขาก็ลดอำนาจของขุนนาง เขาเป็นที่รู้จักในด้านการปฏิรูปทางการเมืองและบทกวี บทกวีเป็นวิธีการที่เขาใช้สื่อสารกับประชาชน
ประมาณ 600 ปี ก่อนคริสต์ศักราช โซลอนท่องบทกวีให้กำลังใจชาวเอเธนส์ในสงคราม เขาได้ชักชวนชาวเอเธนส์กลับสู่สงครามอีกครั้งและบันทึกเกียรติยศของชาวเอเธนส์ไว้
การปฏิรูปของโซลอน ไม่ได้ทำให้ชาวเอเธนส์ทั้งหมดมีความสุข ขุนนางอยากให้เขาทำการเปลี่ยนแปลงน้อยลง เกษตรกรที่ยากจน ปรารถนาจะให้เขาประทานที่ดินให้  ด้วยความเบื่อหน่ายที่จะต้องแสดงความเห็นว่าการปฏิรูปถูกต้อง โซลอนจึงได้ออกเดินทางท่องเที่ยวเป็นเวลาสิบปี เขาเดินทางไปยังประเทศอียิปต์และไซปรัสท่ามกลางสถานที่อื่น ๆ  และได้เขียนบทกวีพรรณนาการเดินทางของตนเอง
---------------------------------------------------------------------------------

ประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) สภาห้าร้อยสร้างสรรค์ขึ้นจากบุรุษ 500 คน บุรุษ 50 คนมาจาก 10 เผ่า พลเมืองคนใด อายุมากกว่า 30 ปี ก็มีคุณสมบัติที่จะเป็นสมาชิก แต่ละเผ่าจะเลือกบุรุษด้วยการจับสลาก หรือสุ่มเลือกเอาเพื่อรับใช้ประชาชนเป็นระยะเวลาหนึ่งปี สมาชิกอาจจะได้รับเลือกตั้งอีกเพียงครั้งเดียว การหมุนเวียนประจำปีได้ให้ประชาชนชาวเอเธนส์จำนวนมากมีส่วนร่วมในการปกครองในระดับสูง
แผนการของไคลส์ธีนีส อนุญาตให้สมาชิกของสภาห้าร้อยแนะนำกฎหมายให้กับการชุมนุมสำหรับการอภิปรายและการผ่านกฎหมายที่เป็นไปได้ สภาแนะนำการชุมนุม กฎหมายก็ผ่านโดยคะแนนเสียงข้างมากในการชุมนุม
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้กระตุ้นให้กรุงเอเธนส์ไปสู่รูปแบบเริ่มต้นของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ประชาธิปไตย (Democracy) คือการปกครองที่ประชาชนทำการตัดสินใจทางการเมืองอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งโดยตรงหรือผ่านผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้ง ในระบบเช่นนั้น รูปแบบประชาธิปไตยของกรุงเอเธนส์ เรียกว่าประชาธิปไตยโดยตรง   ในระบบเช่นนั้น พลเมืองทุกคน จะประชุมกันเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับกฎหมาย (ประชาธิปไตยโดยอ้อมที่คนเลือกผู้แทนมาออกกฎหมาย ก็คือ ประชาธิปไตยที่ใช้กันอยู่เป็นอันมากในปัจจุบันนี้ สหรัฐอเมริกาเป็นตัวอย่างในด้านนี้)

ประชาธิปไตยแบบจำกัดและการคว่ำบาตร  แม้ว่ากรุงเอเธนส์จะจัดตั้งประชาธิปไตยโดยตรงขึ้น สิทธิพิเศษของระบบก็ถูกจำกัด รัฐไม่ได้รวมถึงคนที่อาศัยอยู่ในนครรัฐ ทั้งหมด เฉพาะบุรุษที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีอิสระเท่านั้น ซึ่งเป็นพลเมือง จึงสามารถมีส่วนร่วมในรัฐบาล  สตรีที่ตกเป็นทาสและชาวต่างชาติ ไม่สามารถมีส่วนร่วม  ผู้ที่ไม่ใช่พลเมืองในเอเธนส์ไม่ได้รับอนุญาตเป็นพลเมือง
สภาห้าร้อย
สภาห้าร้อย  พบในอาคารในอโกรา  ซากปรักหักพังนี้แสดงรากฐานที่โดดเด่น
ประชาธิปไตยของกรุงเอเธนส์รวมถึงระบบที่เรียกว่าการคว่ำบาตร ในระบบนี้ สมาชิกสภาคนใดที่คิดว่าบุคคลใดเป็นอันตรายต่อนครรัฐ ก็สามารถส่งชื่อของบุคคลนั้นเพื่อประชุมลงคะแนน ถ้าคนนั้น ได้รับคะแนนเสียงให้คว่ำบาตรเป็นจำนวนมาก  ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงก็จะถูกขับไล่ไสส่งออกไปเป็นเวลาสิบปี
ความรับผิดชอบของประชาชน พลเมืองชาวเอเธนส์มีความรับผิดชอบมาก พวกเขาจะต้องทำหน้าที่ในกองทัพเมื่อใดก็ตามที่กองทัพต้องการ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงซึ่งนำโดยไคลส์ธีนีส  เผ่าแต่ละเผ่าในบรรดาสิบเผ่า ปรารถนาให้ประชาชนทำหน้าที่ทหาร ประชาชนชาวเอเธนส์ได้รับการฝึกฝนเพื่อการศึกสงครามและถูกเรียกตัวไปปฏิบัติหน้าที่ในช่วงสงครามจริง
พลเมืองชาวเอเธนส์ยังทำหน้าที่ในคณะลูกขุนอีกด้วย   เพื่อให้มีสิทธิที่จะให้บริการ  พลเมืองจะต้องมีอายุอย่างน้อย 30 ปี คณะลูกขุนมักจะให้คนหลายร้อยคน มาฟังข้อกล่าวหาต่อบุคคลคนหนึ่งเสมอ ในกรุงเอเธนส์ ประชาชนทั้งหมด เสมอภาคกันในศาล ไม่มีทนายความหรือผู้พิพากษามืออาชีพ ประชาชนจะถกเถียงคดีโดยตรงก่อนคณะลูกขุน ครั้นแล้ว คณะลูกขุนก็จะออกเสียงตัดสินใจว่าคนคนนั้นมีความผิดหรือไม่

สปาร์ต้าและเอเธนส์

รัฐทหารของสปาร์ต้า

          ประมาณ 715 ปี ก่อนคริสต์ศักราช นครรัฐสปาร์ตาได้พิชิตพื้นที่ใกล้เคียงเข้าครอบครองดินแดนเหล่านั้น  ชาวสปาร์ต้าได้บังคับให้ผู้คนที่ตนเองพิชิตมาให้เป็นทาส เรียกว่า ชนชั้นทาส (helot - HEHLuhtz)  ส่วนใหญ่คนเหล่านั้นจะทำงานในนาและต้องเอาพืชผลของตนครึ่งหนึ่งให้ชาวสปาร์ต้า     พวกทาสได้ก่อกบฏหลายต่อหลายครั้ง  ถึงแม้ว่าส่วนมากพวกเขาจะมีจำนวนมากกว่าชาวสปาร์ต้าและต่อสู้อย่างหนัก ชาวสปาร์ต้าก็ปราบปรามการปฏิวัติได้ ความกลัวต่อการปฏิวัติเหล่านี้ได้นำนครรัฐสปาร์ต้าให้เป็นรัฐที่ทำทุกอย่างเพื่อการสร้างกองทัพให้แข็งแกร่ง

รัฐบาลและสังคม นครสปาร์ตามีการปกครองที่เป็นราชาธิปไตยส่วนหนึ่ง เป็นคณาธิปไตยส่วนหนึ่ง และประชาธิปไตยส่วนหนึ่ง กษัตริย์สองพระองค์ปกครองนครสปาร์ตาและห้าพระองค์ได้เลือกตั้งผู้บังคับบัญชาให้บริหารรัฐ  พฤฒิสภาหรือวุฒิสภา (Council of Elders) ซึ่งแต่งตั้งจากประชาชนที่สูงอายุจำนวน 30 คน ได้เสนอกฎหมาย พลเมืองชาวสปาร์ต้าทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของสภา ซึ่งได้เลือกตั้งเจ้าหน้าที่และได้ออกเสียงเกี่ยวกับกฎหมายที่เสนอโดยสภา
กลุ่มทางสังคม 3 กลุ่มทำให้เกิดเป็นสังคมของชาวสปาร์ต้า คือ ประชาชนทั่วไป  ชาวต่างด้าวที่อยู่อย่างอิสระ และชนชั้นทาส ประชาชนทั่วไป คือ ลูกหลานที่สืบทอดมาจากประชาชนที่อาศัยอยู่ดั้งเดิมในภูมิภาคนี้ พวกเขาอาศัยอยู่ในเมือง และใช้เวลาทั้งหมดด้วยการฝึกฝนเพื่อเป็นทหาร  ชาวต่างด้าวที่อยู่อย่างอิสระ ผู้ที่ไม่มีสิทธิทางสังคม ได้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านถัดไป กลุ่มชนชั้นต่ำที่สุด คือ ชนชั้นทาส  แรงงานของพวกเขาได้หล่อเลี้ยงชาวสปาร์ต้า ทำให้ชาวสปาร์ต้ามีเวลาเต็มที่ในการเป็นทหาร
รูปปั้นนักรบสปาร์ตา
รูปปั้นทหารสปาร์ตา แสดงถึงความแข็งแกร่ง
การศึกษา เป้าหมายของสังคมชาวสปาร์ต้า คือ การมีกองทัพที่แข็งแกร่ง ตอนอายุเจ็ดขวบ เด็กผู้ชายจะย้ายเข้าไปอยู่ในบ้านทหาร ที่เรียกว่า ค่ายทหาร (barracks) การศึกษาของพวกเขา จะเน้นระเบียบวินัย หน้าที่ ความแข็งแรงและทักษะทางทหาร  เด็กผู้ชายเรียนรู้การอ่านเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ
พลเมืองชายทั้งหมดเข้าไปอยู่ในกองทัพเมื่ออายุ 20 ปี และทำหน้าที่จนกว่าพวกเขาอายุ 60 ปี แม้ว่าจะแต่งงานแล้ว พวกผู้ชายก็ต้องอยู่กินกับเพื่อนทหารของตน

บทบาทของสตรีี สังคมสปาร์ต้าคาดหวังจะให้ผู้หญิงเป็นผู้แข็งแกร่งทั้งทางด้านอารมณ์และทางด้านร่างกาย เหล่าผู้เป็นแม่บอกลูกชายของตนเองว่า "จงนำเอาโล่ใบนี้กลับไปด้วยตนเองหรือไม่ก็นำตนเองกลับมาหาโล่ใบนี้"(ชาวสปาร์ต้านำนักรบที่ตายแล้วกลับสู่บ้านพร้อมกับโล่ของพวกเขา) การศึกษาสำหรับเด็กผู้หญิงในสปาร์ต้า มุ่งเน้นทำให้เด็กผู้หญิงแข็งแกร่งทางด้านร่างกาย มีการฝึกอบรมทางด้านกีฬาและเรียนรู้ในการปกป้องตนเอง
การให้ความสำคัญกับกองทัพทำให้ชีวิตครอบครัวในสปาร์ตามีความสำคัญน้อยกว่าในนครรัฐกรีกอื่น ๆ ในนครรัฐสปาร์ต้า สามีและภรรยาใช้เวลาอยู่ห่างกันเสียเป็นส่วนมาก  ผู้หญิงมีอิสระมากกว่า พวกเธอได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน ภรรยาได้รับการคาดหวังว่าจะดูแลทรัพย์สมบัติของสามีของตน ถ้าสามีอยู่ในภาวะสงคราม
------------------------------------------

แหล่งความรู้ปฐมภูมิ

ไลเคอร์กัส
ภาพวาดในคริสต์ศตวรรษที่ 16  ไลเคอร์กัสกำลังสนทนาด้านการศึกษา
ประวัติความเป็นมา  พลูตาร์ค (Plutarch - PLOO•tahrk) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกที่มีชีวิตอยู่ระหว่างคริสต์ศักราช 46 และประมาณคริสต์ศักราช 120  บุคคลที่เขาเขียนถึงคนหนึ่ง คือ ไลเคอร์กัส (Lycurgus - ly• KUR•guhs) ผู้นำของสปาร์ตาที่สร้างสถาบันทหารให้แข็งแกร่ง  ข้อความตอนนี้อธิบายถึงวิธีที่เด็กผู้ชายได้รับการฝึกฝนในสปาร์ตาโดยถูกกักไว้ในกองร้อยหรือหน่วยทหาร
 “...ทันทีที่เด็กผู้ชายมีอายุได้เจ็ดขวบ ไลเคอร์กัส ก็พาพวกเขาออกจากพ่อแม่และลงทะเบียนไว้ในกองร้อย ณ ที่นี่พวกเด็กผู้ชายจะใช้ชีวิตและกินร่วมกัน ตลอดจนให้เด็กเล่นและทำงานเป็นเวลา ผู้ที่มีความสง่างามและกล้าหาญจะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้กำกับเด็กผู้ชายทั้งหมด และพวกเขาเองในแต่ละกองร้อย จะเลือกผู้ที่ฉลาดที่สุดและกล้าหาญที่สุดเป็นหัวหน้า  พวกเด็กเหล่านั้น จะรอรับคำสั่งจากหัวหน้า เชื่อฟังคำสั่งของเขาและอดทนต่อการลงโทษของเขาเพื่อที่จะเรียนรู้การเชื่อฟังคำสั่งแม้ว่าจะอยู่ในวัยเด็ก…”
จากหนังสือชีวิตคู่ขนาน (Parallel Lives) ของพลูตาร์ค
-------------------------------------------

วิถีชีวิตประชาธิปไตยของชาวเอเธนส์

สังคมของชาวเอเธนส์ ชาวเอเธนส์แบ่งออกเป็นชนชั้นหลักสี่ชนชั้น คือ พลเมือง(citizen) ผู้หญิง (women) บุคคลที่เป็นอิสระที่เป็นคนต่างด้าว (noncitizen free persons) และคนเป็นทาส (enslaved people) อย่างไรก็ตามภายในแต่ละชนชั้นก็มีชนชั้นขนาดเล็กลงไปอีก ยกตัวอย่างเช่น ชนชั้นที่เป็นพลเมืองก็เป็นพลเมืองหลายระดับ โดยทั่วไปแล้ว จะขึ้นอยู่กับความมั่งคั่ง
คนที่เป็นทาสมีหนึ่งในสามของประชากร  โดยทั่วไป ชาวเอเธนส์จะเอาคนที่ถูกจับในสงครามไปเป็นทาส ลูก ๆ ขอคนที่เป็นทาส ก็จะเป็นทาสอีกด้วย คนเป็นทาสในเอเธนส์จะทำงานในบ้าน เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และเหมืองแร่ และมักจะทำงานควบคู่ไปกับเจ้านายของพวกเขา บางคนถึงกับได้รับค่าจ้างและมีความสามารถในการซื้ออิสรภาพของตนเอง
ผู้หญิงเล่นหมากเก็บ
รูปปั้นผู้หญิงเล่นหมากเก็บ
การศึกษา ในเอเธนส์ การศึกษาได้รับการออกแบบมาเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก ๆ ในการเป็นพลเมืองที่ดี เด็กจากครอบครัวเศรษฐีเริ่มเรียนตอนอายุหกหรือเจ็ดขวบ โดยการศึกษาตรรกศาสตร์และการพูดในที่สาธารณะเพื่อจะช่วยให้พวกเขาอภิปรายในสภาเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ เด็กเหล่านั้นยังได้เรียนรู้การอ่าน การเขียน บทกวี คณิตศาสตร์ และดนตรี  กิจกรรมด้านกีฬาช่วยให้พวกเขาการพัฒนาความแข็งแรงและการประสานงาน

บทบาทของสตรี ผู้หญิงไม่ได้มีส่วนร่วมในการปกครองกรุงเอเธนส์ ผู้หญิงชาวเอเธนส์ได้รับการคาดหวังว่าจะเป็นภรรยาและมารดาที่ดี พวกเธอก็ยอมรับบทบาทเหล่านี้เพราะพวกเธอจะช่วยกันรักษาครอบครัวและสังคมให้เข้มแข็ง นอกจากนี้ผู้หญิงบางคนมีบทบาทความสำคัญทางศาสนา โดยบวชเป็นนักบวชผู้หญิงในวัด  ทั้ง ๆ ที่พวกเธอก็มีความสำคัญกับสังคม ผู้หญิงชาวเอเธนส์มีอิสระน้อยกว่าผู้หญิงชาวสปาร์ตา
ผู้หญิงสามารถสืบทอดทรัพย์สมบัติได้เฉพาะในกรณีที่บิดาของพวกเธอไม่มีบุตรชาย บุตรสาวไม่ได้เข้าเรียนในโรงเรียน พวกเธอได้เรียนรู้หน้าที่ในครัวเรือนด้วยการปฏิบัติจากมารดาของตนเอง  มีเด็กผู้หญิงไม่กี่คนที่ได้เรียนรู้การอ่านและเขียน

สงครามเปอร์เซีย

          เปอร์เซียพิชิตเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ได้มากมาย ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช  เปอร์เซียพิชิตอนาโตเลีย ร่วมกับอาณานิคมกรีกจำนวนมาก เมื่อ 499 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ชาวกรีกบางพวกในอนาโตเลียไม่เห็นด้วยกับการปกครองของเปอร์เซีย เอเธนส์ได้ส่งเรือและทหารไปช่วยเหลือพวกเขา การประท้วงล้มเหลว แต่เปอร์เซียตัดสินใจลงโทษเอเธนส์เพื่อการแทรกแซง เมื่อ 490 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เปอร์เซียเดินทางมาใกล้เอเธนส์ ณ ที่ราบ มาราธอน (Marathon) เอเธนส์ส่งคนส่งข่าวไปขอร้องให้สปาร์ตามาช่วยเหลือ แต่ชาวสปาร์ตามาสายเกินไป
แผนที่สงครามเปอร์เซีย
แผนที่สงครามเปอร์เซีย 490 - 479 ปี ก่อน ค.ศ.

  ชาวเอเธนส์มีจำนวนมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นพวกเขาจึงต้องใช้แผนอย่างชาญฉลาด อันดับแรก พวกเขาดึงเปอร์เซียไปยังศูนย์กลางเส้นแบ่งกรีก แล้วชาวกรีกก็ล้อมชาวเปอร์เซียและโจมตี ในการต่อสู้อย่างประชิด หอกของกรีกมีประสิทธิภาพมากกว่าลูกศรเปอร์เซีย เปอร์เซียสูญเสียกำลังไป 6,400 คน ชาวกรีกสูญเสียไปเพียง 192 คน
ตำนานเล่าว่าทหารคนหนึ่งวิ่งออกมาจากที่ราบมาราธอนประมาณ 25 ไมล์ (1 ไมล์ เท่ากับ 1.609 กิโลเมตร 25 ไมล์ ประมาณ 40 กิโลเมตร 225 เมตร) ไปยังกรุงเอเธนส์เพื่อบอกชัยชนะ หลังจากที่เขานำข่าวมาถึงเอเธนส์ก็ทรุดตัวลงและเสียชีวิต การวิ่งมาราธอนในยุคปัจจุบัน มีพื้นฐานมาจากการวิ่งระยะยาวของทหารคนนั้น

ชัยชนะของกรีก เมื่อ 480 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เปอร์เซียได้บุกรุกกรีกอีกครั้ง แม้ว่าจะเพิ่งทะเลาะวิวาทกัน นครรัฐกรีกเป็นอันมากร่วมกันต่อต้านเปอร์เซีย กองทัพของชาวสปาร์ตา 300 คน ได้ป้องกันช่องเขาเธอร์มอพเพอะลี (thuhr•MAHP•uh•lee) อันคับแคบเพื่อหยุดกองทัพชาวเปอร์เซียไม่ให้เข้าถึงเอเธนส์ ชาวสปาร์ตาได้ยึดช่องแคบเป็นเวลาสองวันก่อนที่ชาวเปอร์เซียจะฆ่าพวกเขาทั้งหมด การเสียสละของพวกเขาทำให้เอเธนส์มีเวลาเตรียมความพร้อมสำหรับการต่อสู้
ยุทธการเธอร์มอพเพอะลี
ยุทธการเธอร์มอพเพอะลี  ในภาพเป็นทหารสปาร์ตาต่อสู้กับทหารเปอร์เซีย
ชาวเอเธนส์ออกจากเมืองเพื่อต่อสู้ยุทธการเรือประจัญบานกับเปอร์เซีย การสู้รบเกิดขึ้นในส่วนคับแคบของน้ำที่กองทัพเรือเปอร์เซียขนาดใหญ่แทบจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ เรือของกรีกมีขนาดเล็ก เคลื่อนที่ได้เร็วกว่า ได้จมเรือชาวเปอร์เซียประมาณ 300 ลำ ในที่สุด สงครามก็สิ้นสุดลง ในระหว่าง 479 ปี ก่อนคริสต์ศักราช