ประวัติศาสตร์โลก

ประวัติศาสตร์โลก
World History

ประวัติศาสตร์โลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์โลกหรือประวัติศาสตร์มนุษยชาติเริ่มต้นที่ยุคหินเก่า ประวัติศาสตร์โลกไม่รวมประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่ไม่ใช่มนุษย์และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยา ยกเว้นตราบเท่าที่โลกธรรมชาตินั้นกระทบต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก ประวัติศาสตร์โลกประกอบด้วยการศึกษาทางโบราณคดีและหลักฐานลายลักษณ์อักษรตั้งแต่สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์โบราณที่มีบันทึกเริ่มต้นจากการประดิษฐ์การเขียน ทว่า รากเหง้าแห่งอารยธรรมมีมาแต่ก่อนการประดิษฐ์การเขียน สมัยก่อนประวัติศาสตร์เริ่มต้นในยุคหินเก่า ต่อด้วยยุคหินใหม่และการปฏิวัติเกษตรกรรม(ระหว่าง 8000 ถึง 5000 ปีก่อนคริสตกาล) ในวงพระจันทร์เสี้ยวไพบูลย์ (Fertile Crescent) การปฏิวัติเกษตรกรรมเป็นเครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมนุษย์เริ่มต้นทำการเกษตร คือ กสิกรรมและการเลี้ยงสัตว์อย่างเป็นระบบ เมื่อเกษตรกรรมก้าวหน้าขึ้น มนุษย์ส่วนมากเปลี่ยนจากวิถีชีวิตเร่ร่อนมาเป็นตั้งถิ่นฐานเป็นเกษตรกรในนิคมถาวร การเร่ร่อนยังมีอยู่ในบางที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลซึ่งมีพืชที่เพาะปลูกได้ไม่กี่ชนิด แต่ความมั่นคงสัมพัทธ์และผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นจากกสิกรรมทำให้ชุมชนมนุษย์ขยายเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่า ซึ่งความก้าวหน้าในการขนส่งก็มีส่วนช่วย

เมื่อกสิกรรมพัฒนา การเพาะปลูกธัญพืชมีความซับซ้อนขึ้นและทำให้มีการแบ่งงานกันทำเพื่อเก็บอาหารระหว่างฤดูเพาะปลูก จากนั้นการแบ่งงานทำให้เกิดชนชั้นสูงที่สุขสบายและพัฒนาการนคร สังคมมนุษย์ที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ระบบการเขียนและการบัญชีมีความจำเป็น หลายนครพัฒนาบนตลิ่งทะเลสาบและแม่น้ำ ตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เกิดนิคมโดดเด่นและมีการพัฒนาดียุคแรก ๆในเมโสโปเตเมีย ริมตลิ่งแม่น้ำไนล์แห่งอียิปต์ และหุบแม่น้ำสินธุ อาจมีอารยธรรมคล้ายกันพัฒนาขึ้นตามแม่น้ำสำคัญในจีน แต่หลักฐานทางโบราณคดีของการสร้างเมืองอย่างกว้างขวางในที่นั้นชัดแจ้งน้อยกว่า

ประวัติศาสตร์โลกเก่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน) โดยทั่วไปแบ่งเป็นยุคโบราณ ถึง ค.ศ. 476, สมัยกลาง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 15 ซึ่งรวมยุคทองของอิสลาม (ประมาณ ค.ศ. 750-1258) และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยายุโรปตอนต้น (เริ่มต้นประมาณ ค.ศ. 1300), ยุคใหม่ตอนต้น ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งรวมยุคเรืองปัญญา และยุคใหม่ตอนปลาย นับแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมถึงปัจจุบัน รวมทั้งประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ตะวันออกใกล้โบราณ กรีซโบราณและโรมโบราณมีความโดดเด่นในยุคโบราณ ในประวัติศาสตร์ยุโรปตะวันตก การเสียกรุงโรมมักยึดเป็นการสิ้นสุดของยุคโบราณและการเริ่มต้นของสมัยกลาง ขณะที่ยุโรปตะวันออกมีการเปลี่ยนผ่านจากจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งรุ่งเรืองต่อมาอีกเป็นเวลานาน กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 การประดิษฐ์การพิมพ์สมัยใหม่ของโยฮันน์ กูเทนแบร์ก ซึ่งใช้การสื่อสารแบบเคลื่อนที่ได้และเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง เป็นจุดสิ้นสุดของยุคกลางและนำไปสู่การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 การสะสมความรู้และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ได้ถึงจำนวนวิกฤต (critical mass) อันนำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม

ในส่วนอื่นของโลก เช่น ตะวันออกใกล้โบราณ จีนโบราณ และอินเดียโบราณ เส้นเวลาทางประวัติศาสตร์ได้คลี่ออกต่างกัน อย่างไรก็ดี จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากการค้าโลกที่ขยายตัวและการล่าอาณานิคม ทำให้ประวัติศาสตร์ของอารยธรรมโลกส่วนมากสานเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนา ในช่วงสองร้อยกว่าปีล่าสุด การเติบโตของความรู้ เทคโนโลยี การพาณิชย์ และศักยภาพการทำลายล้างของสงครามได้เร่งให้เกิดขึ้น ก่อให้เกิดโอกาสและอันตรายซึ่งปัจจุบันกำลังเผชิญชุมชนมนุษย์ที่อยู่อาศัยบนดาวเคราะห์ดวงนี้

แปลจากหนังสือ World History โดย...Mcdougal Littel
ผู้แปล...ทรงศักดิ์ สายหยุด

การเกิดขึ้นของศาสนาอิสลาม

การเกิดขึ้นของศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามและพระมูฮัมหมัด
ลำดับเหตุการณ์โลกมุสลิมและโลก
แผนที่ลำดับเหตุการณ์โลกมุสลิมและโลก
แผนที่โลกมุสลิม
แผนที่โลกมุสลิม  ค.ศ. 1200
ลำดับเหตุการณ์โลกมุสลิมและโลก
แผนที่ลำดับเหตุการณ์มุสลิมและโลก
วัฒนธรรมทะเลทราย
          ทะเลทรายแห่งคาบสมุทรอาระเบียครอบคลุมหลายร้อยพันตารางไมล์ ทะเลทรายแห่งหนึ่งในภาคใต้ครอบคลุมเกือบ250,000 ตารางไมล์ ประมาณขนาดของรัฐเท็กซัส  มันใหญ่มหึมาย่างมากและเป็นที่รกร้างจนชาวอาหรับเรียกว่า Rub al-Khali ซึ่งหมายความว่า "เขตที่ว่างเปล่า"

ลักษณะทางกายภาพและสภาพภูมิอากาศ คาบสมุทรอาหรับเป็นภูมิภาคหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ อยู่ระหว่างทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย จุดที่ยาวที่สุดจากเหนือจรดใต้ประมาณ 1,200 ไมล์ (ประมาณ 1,920 กิโลเมตร – เทียบจากตอนใต้ของจีนไปจนถึงมาเลเซีย) และจุดที่กว้างที่สุดจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 1,300 ไมล์ (ประมาณ 2,080 กิโลเมตร) ภูมิภาคอันแห้งแล้งนี้มีขนาดหนึ่งในสี่ของสหรัฐอเมริกา มันได้รับฝนน้อยและโดยส่วนใหญ่ปกคลุมไปด้วยทะเลทราย เพราะสภาพภูมิอากาศของภูมิภาคนี้ แผ่นดินเพียงส่วนเล็ก ๆ เท่านั้น จึงเป็นประโยชน์สำหรับการเกษตร พื้นที่การเกษตรพบในภูเขาทางตอนใต้และเพียงแค่ทางตอนเหนือของคาบสมุทรในซีเรียและอิรักในปัจจุบัน
คาบสมุทรอาระเบีย
คาบสมุทรอาระเบีย : คาบสมุทรนี้อยู่ทางเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
มีพื้นกว้างใหญ่ไพศาล  ส่วนมากเป็นทะเลทราย
พวกเร่ร่อน เหล่าคนเลี้ยงปศุสัตว์ชาวอาหรับที่เรียกว่าเบดอุอิน (Bedouins - BEHD•oo• ihnz) ปรับชีวิตของพวกเขาเข้ากับดินแดนที่แห้งแล้งมานานหลายศตวรรษ เนื่องจากมีพื้นที่การเกษตรเล็กน้อย ชาวเบดอุอินจึงเป็นพวกร่อนเร่ที่ย้ายจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งแทนการปักหลักอย่างถาวร ชาวเบดอุอินเดินทางไปในพื้นที่เฉพาะ เนื่องจากพวกเขาแสวงหาน้ำและทุ่งหญ้าสำหรับฝูงปศุสัตว์ของพวกเขา เส้นทางที่พวกเขาเดินตามได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ เช่นภูมิทัศน์ที่พวกเขาจะต้องข้าม จำนวนของปริมาณน้ำฝนและความพร้อมของโอเอซิส
โอเอซิส (oasis) คือ พื้นที่ทะเลทรายที่มีน้ำ ชาวเบดอุอินมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับคนที่อยู่อาศัยที่โอเอซิสและใช้ชีวิตตามวิถีการดำเนินชีวิตแบบอยู่ประจำที่หรือตั้งรกราก ในอดีตที่ผ่านมา การปฏิสัมพันธ์นี้มักจะหมายความว่า ประชากรที่ตั้งรกรากซื้อขายแลกเปลี่ยนอาหารที่เกิดขึ้นแก่พวกร่อนเร่ด้วยการแลกเปลี่ยนสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์

ชีวิตครอบครัว ชาวเบดอุอินอาศัยอยู่กันเป็นกลุ่มที่เรียกว่า เผ่าพันธุ์ เผ่าพันธุ์ คือ กลุ่มของคนที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน เผ่าพันธุ์ชาวเบดอุอินแต่ละตระกูลเป็นหน่วยของการปกครองของตัวเอง เผ่าพันธุ์ยังจัดการรักษาความปลอดภัยและการสนับสนุนในสภาวะที่ทะเลทรายร้ายแรงมาก
ชาวเบดอุอินมีความภาคภูมิใจในความสามารถในการปรับตัวเข้ากับชีวิตในทะเลทราย พวกเขายังมีความภาคภูมิใจในทักษะการต่อสู้ของพวกเขา ครั้งหนึ่ง เผ่าพันธุ์ต้องปกป้องตัวเองจากการบุกรุกโดยเผ่าอื่น ๆ ที่ต้องการน้ำ ปศุสัตว์ หรือเสบียงอาหาร เพราะความสามารถในการต่อสู้ของพวกเขา ชาวเบดอุอินจึงกลายเป็นแกนหลักของกองทัพที่จะช่วยสร้างจักรวรรดิมุสลิม
--------------------------------------------------------
โอเอซิส (Oasis)
โอเอซิส
โอเอซิส
                   โอเอซิส  คือ พื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์และเขียวชะอุ่มอยู่กลางทะเลทราย

1.  โอเอซิส จะเกิดขึ้นในที่มีน้ำอยู่ใต้หินหรือดิน และน้ำผุดขึ้นมาบนพื้นผิวโลกเป็นแอ่งน้ำ  น้ำจะซึมขึ้นมาด้านบนตามรอยแยกของหินหรือดิน ดังภาพด้านบน
2.  แหล่งโอเอซิสบางแห่งจะมีขนาดใหญ่ สามารถหล่อเลี้ยงเมืองทั้งเมืองได้  ที่อื่น ๆ  อาจะเป็นแหล่งน้ำพุเล็ก ๆ
--------------------------------------------------------
แผนที่เส้นทางการค้าขายระหว่างสามทวีป
แผนที่เส้นทางการค้าขายสามทวีป  ค.ศ. 570

ทางแพร่งจากทวีปสามทวีป

          คาบสมุทรอาหรับมีทำเลดีสำหรับการค้าขาย มันเป็นทางแยกของทวีปสามทวีป (เอเชีย แอฟริกา และยุโรป) และล้อมรอบด้วยหลายแหล่งน้ำมากมาย

การเจริญเติบโตของเมืองแห่งการค้าขาย  ประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 ชาวอาหรับที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ได้ย้ายไปยังเมืองขนาดเล็กที่เป็นตลาดหรือแหล่งน้ำกลางทะเลทราย   เมืองที่เป็นตลาดขนาดเล็กได้เจริญเติบโตเป็นเมืองขนาดเมือง การตั้งถิ่นฐานขนาดใหญ่ใกล้ชายฝั่งตะวันตกของอารเบียได้กลายเป็นศูนย์กลางสำหรับการค้าขายท้องถิ่น ภูมิภาค และผู้เดินทางไกล พื้นที่อื่น ๆ เช่น แหล่งน้ำกลางทะเลทรายที่มีขนาดใหญ่กลายเป็นที่หยุดพักตามเส้นทางการค้าขายจำนวนมากที่พาดข้ามคาบสมุทร เมกกะและเมดินาเป็นเมืองโอเอซิสดังกล่าว
เส้นทางทะเลและบนบกเชื่อมต่ออารเบียกับศูนย์การค้าที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์จากทวีปสามทวีป คือ เอเชีย แอฟริกาและยุโรป ได้เคลื่อนย้ายไปตามเส้นทางเหล่านี้โดยคาราวานอูฐ พ่อค้าซื้อขายสัตว์ สิ่งทอ โลหะ และเครื่องเทศเช่นพริกไทยและหญ้าฝรั่น (อ่านว่า ฝะ-หรั่น = saffron จัดเป็นเครื่องเทศและเครื่องยาที่สำคัญอย่างหนึ่ง มีการนำเข้าในประเทศไทยจากประเทศแถบอาหรับ (เช่น เปอร์เซีย) หรือชาวตะวันตก มาช้านาน)
การค้าขายยังเป็นสิ่งสำคัญในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม เหล่าพ่อค้าได้นำข่าวสารรวมทั้งผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น พวกเขาจะได้รับความรู้เกี่ยวกับศาสนาที่ได้รับการนับถือในเมืองที่พวกเขาไปเยือน ซึ่งแตกต่างกัน ศาสนายูดายและศาสนาคริสต์เผยแพร่ในขณะที่พ่อค้าเดินทางไป

เมืองศักดิ์สิทธิชื่อเมกกะ  เมกกะเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการค้าขายอีกด้วย  มันตั้งอยู่ตามเส้นทางการค้าในอารเบียตะวันตก  คาราวานหยุดพักในเมกกะในช่วงเดือนแห่งการถือศีลอด (Holy month) บางเดือน พวกเขาได้พาคนที่มานมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาอันเก่าแก่ ที่เรียกว่า กาบะ (Ka’aba) ซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางเมือง สถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นสิ่งก่อสร้างหินก้อนรูปทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ ในแต่ละปี ประชาชนเดินทางมาจากทุกส่วนของคาบสมุทรอาหรับเพื่อนมัสการในเมกกะ การเดินทางไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เรียกว่า การแสวงบุญ (Pilgrimage)
เมืองเมกกะอันศักดิ์สิทธิ์
เมืองเมกกะอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิม
ศาสนามากมาย  ชาวอาหรับบางพวกเชื่อมโยงหินกาบะกับผู้นำศาสนาโบราณ ชื่อ อับราฮัม (Abraham)  ชาวอาหรับหลายคนคิดว่าตัวเองเป็นลูกหลานของอับราฮัม พวกเขาเชื่อว่าอับราฮัมและลูกชายของเขา ชื่อ อิชมาเอล (Ishmael) สร้างหินกาบะขึ้นเป็นวัดให้กับพระเจ้า (เรียกว่าอัลเลาะห์ (Allah) ในภาษาอาหรับ) ความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว เรียกว่า monotheism
ชาวอาหรับพวกอื่น ๆ โดยเฉพาะพวกที่อาศัยอยู่ในทะเลทรายเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ ความเชื่อในพระเจ้าหลายองค์ เรียกว่า polytheism  หลายปีผ่านมา ชาวอาหรับที่เชื่อในพระเจ้าหลายองค์เหล่านี้ ก็เริ่มไปนมัสการที่กาบะด้วย
ชาวยิวและชาวคริสต์จำนวนมาก อาศัยอยู่ในดินแดนอาหรับ เป็นผลให้ความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในคาบสมุทรอาหรับ นอกจากนี้ ชาวอาหรับบางพวกยังได้ผสมผสานศาสนาคริสต์และความเชื่อและพิธีกรรมของชาวยิวกับขนบธรรมเนียมประเพณีของพวกเขาเอง ผู้ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมทางศาสนาที่หลากหลายนี้ คือ ศาสดามูฮัมหมัด (Prophet Muhammad) ผู้นำทางศาสนาที่มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งของโลก ซึ่งกำเนิดขึ้นในคริสตศักราช 570

ชีวิตและคำสอนของศาสดามูฮัมหมัด 

          ท่านมูฮัมหมัดเกิดมาในครอบครัวชาวเมกกะที่มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ แต่ก็กำพร้าตั้งแต่เด็ก ตอนอายุ 25 ปี ท่านได้แต่งงานกับหญิงนักธุรกิจที่ร่ำรวย  ในที่สุด ท่านมูฮัมหมัดก็เป็นพ่อค้าที่เจริญรุ่งเรือง
กระเบื้องมุสลิม
กระเบื้องเซรามิกของเตอรกีนี้แสดงหินกาบะ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองเมกกะ
ศาสดามูฮัมหมัด  ประมาณอายุ 40 ปี ชีวิตของท่านมูฮัมหมัดเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน วันหนึ่งในขณะที่กำลังสวดมนต์ ซึ่งต่อมาท่านก็สอน มีเสียงเรียกออกมายังท่านว่า "ท่านเป็นผู้ส่งสารของพระเจ้า"  ท่านมูฮัมหมัดเชื่อว่าพระเจ้าพูดกับท่านผ่านทูตสวรรค์ ชื่อ กาเบรียล (Gabriel)  จากนั้นเขาก็เริ่มสั่งสอนว่ามีเพียงพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้น (Allah - อัลเลาะห์) และพระเจ้าทั้งปวงอื่น ๆ จะต้องถูกปฏิเสธ นี้เป็นหนึ่งในหลักการพื้นฐานของศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียวตั้งอยู่บนพื้นการสวามิภักดิ์ต่อพระประสงค์ของพระเจ้า ในภาษาอาหรับอิสลาม (Islam) หมายถึง "สันติภาพผ่านการสวามิภักดิ์ต่อพระประสงค์ของพระเจ้า"  ผู้นับถือศาสนาอิสลามเรียกว่ามุสลิม (Muslims)
ศาสดามูฮัมหมัดประสบความสำเร็จเล็กน้อยในตอนแรก ในความเป็นจริง ชาวเมกกะข่มเหงชาวมุสลิมในช่วงแรก ในคริสต์ศักราช 622 ท่านศาสดาได้หนีไปกับผู้สนับสนุนไปยังเมืองยาธริบ (Yathrib – คือ เมดินา ในปัจจุบัน) ซึ่งไกลมากกว่า 200 ไมล์ไปทางทิศเหนือ การอพยพครั้งนี้ เรียกว่า ฮิจเราะห์ (Hijrah - HIHJ•ruh) ผู้ติดตามของศาสดามูฮัมหมัดเปลี่ยนชื่อเมือง เป็น เมดินา (Medina) ซึ่งหมายความว่า "เมืองของท่านศาสดา"  ในเมืองเมดินา ประชาชนได้พบคำสอนที่เรียบง่ายของท่านศาสดาในการเชื่อฟังพระประสงค์ของอัลเลาะห์ด้วยการอ้อนวอน

ความเป็นผู้นำของท่านศาสดามูฮัมหมัด ชาวเมกกะต่อสู้กับศาสดามูฮัมหมัดและสาวกของท่านอย่างต่อเนื่อง  ในคริสต์ศักราช 630 ท่านศาสดามูฮัมหมัดและชาวมุสลิม 10,000 คน ได้กลับไปยังนครเมกกะ พวกเขาบังคับเมืองให้ยอมจำนน แล้วท่านศาสดามูฮัมหมัดก็ยกโทษให้ชาวเมกกะ และเดินทางไปยังหินกาบะ  ที่นั่น ท่านได้อุทิศถวายให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แด่พระอัลเลาะห์
ศาสดามูฮัมหมัดเป็นผู้นำทางการเมืองและการทหารเช่นเดียวกับเป็นผู้นำทางศาสนา ท่านปกครองเมืองเมดินาและมีหลายคนที่เคารพนับถือท่าน  ท่านได้ทำสนธิสัญญากับชนเผ่าเร่ร่อนในคาบสมุทรซึ่งช่วยให้ศาสนาอิสลามได้รับการยอมรับและการเผยแพร่ในช่วงชีวิตของท่าน  ท่านได้ใช้ทักษะทางทหารเพื่อปกป้องเมดินาจากการโจมตี  ในขณะที่ท่านใกล้จะสิ้นชีวิต ในคริสต์ศักราช 632  ท่านศาสดามูฮัมหมัดได้ทำให้คาบสมุทรอาหรับเป็นส่วนมากให้เป็นปึกแผ่นภายใต้ศาสนาอิสลาม

ศรัทธา ข้อปฏิบัติ และข้อบังคับของอิสลาม

          ชาวมุสลิมหาคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการใช้ชีวิตของพวกเขาในแหล่งที่มาหลักสองแหล่ง ทั้งสองแหล่งจะเชื่อมต่อกับศาสดามูฮัมหมัด

กุรอานและสุนนะฮฺ คำสอนหลักของศาสนาอิสลาม คือ มีเพียงพระเจ้าองค์เดียวเท่านั้น คือ อัลเลาะห์ ชาวมุสลิมเชื่อพระเจ้าซึ่งเปิดเผยคำพูดของพระองค์ผ่านทูตสวรรค์กาเบรียลที่ส่งคำสอนไปยังศาสดามูฮัมหมัด ในขณะที่ศาสดามูฮัมหมัดมีชีวิตอยู่ สาวกของท่านเชื่อฟังคำสอนของท่าน  พวกเขายังจดจำและท่องการเปิดเผยซึ่งเป็นพระคัมภีร์เรียกว่าคัมภีร์กุรอ่าน (Qur’an - Kuh•RAN) หลังจากศาสดามูฮัมหมัดสิ้นชีวิต สาวกของท่านได้เก็บรวบรวมคัมภีร์กุรอ่านเป็นหนังสือที่เขียนในภาษาอาหรับ เป็นหนังสือศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิม
ชาวมุสลิมเชื่อว่าการเผยแพร่ศาสนาของศาสดามูฮัมหมัดในฐานะเป็นพระศาสดาไม่ได้เป็นเพียงเพื่อที่จะได้รับคัมภีร์กุรอ่านเท่านั้น แต่ยังแสดงวิธีการใช้คำสอนในคัมภีร์ในชีวิตประจำวัน สุนนะฮฺ (Sunnah) หรือคำพูดและการกระทำของศาสดามูฮัมหมัดเป็นแนวทางการดำรงชีวิตสำหรับชาวมุสลิม
ต่อมานักคิดทางกฎหมายได้จัดแนวทางของคัมภีร์กุรอ่านและสุนนะฮฺเข้าไปในระบบของกฎหมาย  ตัวบทกฎหมายนี้ถูกใช้โดยชุมชนมุสลิมเพื่อตัดสินเรื่องทางกฎหมายเช่นกฎสำหรับการรับมรดกและการลงโทษอาชญากร

ชีวิตประจำวันของชาวมุสลิม ชาวมุสลิมพยายามเชื่อมชีวิตส่วนตัวและทางศาสนาของพวกเขาเข้าด้วยกัน พวกเขาอาศัยศาสนาของพวกเขาโดยปฏิบัติตาม สดมภ์ห้าประการ (หลักปฏิบัติ 5 ประการ – Five pillars) ของศาสนาอิสลามที่แสดงด้านล่าง เหล่านี้เป็นหน้าที่ห้าประการที่ชาวมุสลิมทั้งหมดต้องปฏิบัติเพื่อแสดงให้เห็นถึงความนอบน้อมของพวกเขาต่อพระประสงค์ของพระเจ้า

หลักปฏิบัติห้าประการ (Five Pillars)
มือทั้งห้านิ้วเป็นสัญลักษณ์หลักปฏิบัติห้าประการของมุสลิม
มือทั้งห้านิ้วเป็นสัญลักษณ์หลักปฏิบัติห้าประการของมุสลิ
1.           ศรัทธา คือ เชื่อและพูดว่า “ไม่มีพระเจ้านอกจากพระอัลเลาะห์ และพระมูฮัมหมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์"
2.           การสวดมนต์หรือละหมาด คือ สวดอธิษฐานเป็นภาษาอาหรับวันละห้าเวลา ในเวลาเฉพาะ (คือ รุ่งอรุณ ตอนบ่าย ตอนตะวันคล้อย ตอนหลังพระอาทิตย์ตกดิน และตอนค่ำคืน) และหันหน้าไปทางเมกกะ
3.           การบริจาคทาน หรือการจ่ายซะกาด คือ การให้ทานแก่คนจนและคนจัดสน
4.           การถือศีลอด คือ การอดอาหารในช่วงเดือนรอมฎอน (Ramadan) ในแต่ละปี หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก
5.           การเดินทางไปแสวงบุญ คือ ถ้าเป็นไปได้ ให้เดินทางไปแสวงบุญยังเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ คือ เมกกะ ครั้งหนึ่งในชีวิต
ขนบธรรมประเพณีและกฎเกณฑ์ของอิสลามอื่น ๆ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของชาวมุสลิม เหล่าผู้ศรัทธาห้ามไม่ให้กินเนื้อหมูหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บ่ายวันศุกร์ กำหนดให้ชุมชนมีการเคารพบูชาและการสวดมนต์ ผู้ที่มีความสามารถจะมารวมกันที่มัสยิดอาคารที่ใช้สำหรับชาวมุสลิมทำการเคารพบูชา  มัสยิดทั้งหมด จะหันหน้าไปยังเมืองเมกกะเพื่อให้ชาวมุสลิมอธิษฐานไปในทิศทางนั้น

การเชื่อมต่อกับศาสนายูดายและศาสนาคริสต์ ชาวมุสลิมย้อนรอยจุดเริ่มต้นของศาสนาของพวกเขาไปถึงอับราฮัม  พวกเขาเชื่อว่า อับราฮัมเป็นผู้เผยพระวัจนะของพระเจ้า เช่นเดียวกับชาวยิวและชาวคริสต์  สำหรับชาวมุสลิม พระอัลเลาะห์เป็นพระเจ้าเดียวกันกับพระเจ้าที่ชาวคริสต์และชาวยิวสักการะบูชา  ชาวมุสลิมเรียกทั้งชาวคริสต์และชาวยิวว่า "People of the book " เพราะศาสนาของพวกเขามีหนังสือศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีคำสอนที่คล้ายคลึงกับคำสอนในคัมภีร์กุรอาน สาวกของศาสนาทั้งสามศาสนาเชื่อในเรื่องสวรรค์ นรกและวันตัดสินครั้งสุดท้าย (วันสิ้นโลก)
อย่างไรก็ตาม มุมมองของชาวมุสลิมแตกต่างจากชาวคริสต์ คือ มีมุมมองว่า พระเยซูเป็นศาสดาพยากรณ์ ไม่ใช่เป็นบุตรของพระเจ้า  ชาวมุสลิมเชื่อว่า คัมภีร์กุรอ่านเป็นพระวัจนะของพระเจ้าซึ่งเปิดเผยให้กับพระมูฮัมหมัด ชาวยิวและชาวคริสต์ยังเชื่อว่า พระวัจนะของพระเจ้าถูกเปิดเผยในหนังสือศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขาด้วย แต่ชาวมุสลิมเชื่อว่าคัมภีร์กุรอ่านเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายของพระวัจนะของพระเจ้า พวกเขายังคิดว่า พระมูฮัมหมัดเป็นศาสดาคนสุดท้ายในลำดับของศาสดาพยากรณ์
กฎหมายของมุสลิมต้องการให้ผู้นำมุสลิมมีขันติธรรมต่อผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม แม้ว่า ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมถูกจำกัดสิทธิและจะต้องจ่ายภาษีเพิ่ม นโยบายความอดทนต่อผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมนี้จะมีบทบาทสำคัญในการขยายตัวของจักรวรรดิมุสลิมภายใต้ผู้สืบทอดของศาสดามูฮัมหมัด
ชาวมุสลิมกำลังสวดมนต์
ชาวมุสลิมจะสวดมนต์หันหน้าไปทางเมืองเมกกะวันละ 5 ครั้ง
เพื่อปฏิบัติตามหลักปฏิบัติ 5 ห้าประการ

การขยายตัวของกฎหมายมุสลิม

เหล่าผู้นำมุสลิมใหม่ปรากฏขึ้น

          เป็นเวลามากกว่า 20 ปี ศาสดามูฮัมหมัดได้เผยแพร่ศาสนาาอิสลามทั่วคาบสมุทรอาหรับ   ท่านเริ่มที่จะก่อตั้งจักรวรรดิมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหล่าคนเร่รอ่ชาวอาหรับได้ตอบสนองสาส์นของท่าน  ศาสนาอิสลามได้นำระเบียบ ความยุติธรรมและความหวังจากสวรรค์ลงมาสู่ชีวิตของพวกเขา จากนั้นในเดือนมิถุนายน คริสต์ศักราช 632  ศาสดามูฮัมหมัดก็สิ้นชีวิต    ทันใดนั้นชาวมุสลิมปราศจากผู้นำ พวกเขายังขาดวิธีการที่ชัดเจนในการเลือกผู้นำใหม่อีกด้วย
โคมไฟมัสยิด
ตะเกียงแก้วใส่น้ำมันใช้สำหรับจุดไฟในมัสยิด
ห้อยจากเพดานประดับตกแต่งอย่างประณีตด้วยกระเบื้องเคลือบ
หลังจากการสิ้นชีวิตของศาสดามูฮัมหมัด ตามประเพณีของกลุ่มชาวมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันนี้ ศาสดามูฮัมหมัดไม่ได้ตั้งผู้สืบทอดหรือสอนสาวกของท่านถึงวิธีการเลือกผู้สืบทอดเมื่อท่านสิ้นชีวิต ความตื่นตระหนกกระจายไปทั่วชุมชนมุสลิม พ่อตาและเพื่อนที่เชื่อถือได้ของศาสดามูฮัมหมัด ชื่อ อะบูบักร์ (Abu Bakr - AH•boo•BAH•Kuhr) ได้พูดเพื่อสร้างความมั่นใจให้ชาวมุสลิม เขากล่าวว่า "ถ้ามีใครในหมู่พวกท่านที่เคารพบูชาท่านมูฮัมหมัด เขาตายไปแล้ว แต่ถ้าเป็นพระเจ้าที่พวกท่านบูชา เขายังมีชีวิตอยู่ตลอดไป"
ผู้สืบทอดตำแหน่งของพระมูฮัมหมัด
ชาวมุสลิมประกาศความจงรักภักดีแก่ผู้สืบทอดตำแหน่งพระมูฮัมหมัดผู้เดียว
-----------------------------------------

ผู้สร้างประวัติศาสตร์

อะบู บักร์ (Abu Bakr – มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 573 – 634)
อะบู บักร์
ภาพวาดอะบู บักร์ (ขวา)
นามของอะบู บักร์ เป็นภาษาอาหรับ (ซ้าย)
          อะบู บักร์เป็นสหายสนิทและที่ปรึกษาของศาสดามูฮัมหมัด อะบู บักร์มาจากตระกูลเมกกะที่มีความโดดเด่นด้านการค้าขายแบบคาราวานเหมือนกับศาสดามูฮัมหมัด  เขาเป็นผู้หนึ่งในบรรดาชาวเมกกะชุดแรกที่หันไปนับถือศาสนาอิสลาม ลูกสาวของเขา ชื่อ อาอิชะฮ์ (A'ishah) กลายเป็นภรรยาของศาสดมูฮัมหมัด ความจงรักภักดีของอะบู บักร์ ที่มีต่อท่านศาสดาเป็นปัจจัยสำคัญให้ชาวมุสลิมระดับสูงเลือกเขาเลือกให้เป็นผู้สืบทอดของศาสดามูฮัมหมัด
-----------------------------------------
อะบู บักร์ รับช่วงต่อจากท่านศาสดามูฮัมหมัด  ในคริสต์ศักราช 632  อะบู บักร์กลายเป็นกาหลิบคนแรก (caliph - KAY•lihf – ภาษาอาหรับออกเสียงว่า เคาะลีฟะฮ์) ซึ่งหมายถึง "ผู้สืบทอด" เขาสัญญากับชาวมุสลิมว่า เขาจะปฏิบัติตามแบบอย่างท่านศาสดามูฮัมหมัดอย่างแนบแน่น  ไม่นานหลังจากการเสียชีวิตของท่านศาสดา เผ่าพันธุ์บางเผ่าพันธุ์บนคาบสมุทรอาหรับละทิ้งศาสนาอิสลาม เผ่าพันธุ์อื่น ๆ ปฏิเสธที่จะจ่ายภาษีและพอ ๆ กับบุคคลไม่กี่คนได้ประกาศตัวเองเป็นศาสดา ในระหว่างที่เขาปกครองในฐานะผู้นำเป็นเวลาสองปี อะบู บักร์ ได้ใช้กำลังทหารรวบรวมชุมชนชาวมุสลิมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้ง  หลังจากที่เขานำอารเบียส่วนกลางมาอยู่ภายใต้การควบคุมของชาวมุสลิม เขาเริ่มพิชิตดินแดนไปทางทิศเหนือ ซึ่งในปัจจุบันนี้คืออิรักและซีเรีย

กาหลิบสี่ท่านแรก หลังจากอะบู บักร์ ก็มีกาลิปถัดมาอีกสามท่าน ซึ่งเลือกจากผู้มีศรัทธาระดับสูงและผู้มีศรัทธาระดับสูงเป็นคัดผู้เลือก คือ อุมัร (Umar) อุษมาน (Uthman - uth•MAHN) และอาลี (Ali) ทั้งสี่ท่านได้รู้จักศาสดามูฮัมหมัดและได้รับการสนับสนุนภารกิจในการเผยแพร่ยศาสนาอิสลาม  การปกครองของท่านทั้งสี่เป็นที่รู้จักว่า ผู้สืบทอดตำแหน่งพระศาสดมูฮัมหมัด (Caliphate)  ตามประเพณีและความเชื่อของกลุ่มชาวมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบันนี้ กาหลิบสี่ท่านแรกได้ใช้คัมภีร์กุรอ่านและหลักปฏิบัติของศาสดามูฮัมหมัดชี้นำท่านทั้งสี่ เป็นผลให้ชาวมุสลิมกลุ่มนี้ เรียกกาหลิบสี่ท่านแรกว่า "กาหลิบผู้ได้รับการชี้แนะอย่างถูกต้อง (rightly guided caliph)"
ชาวมุสลิมได้ควบคุมอารเบียมากที่สุด เมื่ออะบูบักร์เสียชีวิตในคริสต์ศักราช 634 กาหลิบที่ได้รับเลือกท่านที่สอง คือ อุมัร ได้ปกครองจนถึงคริสต์ศักราช 644 กองทัพที่มีความว่องไวและมีระเบียบวินัยสูง ได้พิชิตซีเรียและอียิปต์ตอนล่าง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ กองทัพมุสลิมยังได้เข้ามายึดดินแดนจากจักรวรรดิเปอร์เซียอีกด้วย
กาหลิบถัดมาอีกสองท่านยังคงขยายดินแดนของชาวมุสลิมอย่างต่อเนื่องและได้พิชิตเปอร์เซียอย่างสมบูรณ์  ประมาณคริสต์ศักราช 661 ผู้สืบทอดศาสดามูฮัมหมัดได้เพิ่มขนาดของจักรวรรดิมุสลิมเกือบสี่ครั้งทั้ง ทั้งโดยการปราบปรามและการทำสนธิสัญญา ประมาณคริสต์ศักราช 750 จักรวรรดิมุสลิมยาวเหยียดประมาณ 5,000 ไมล์ (ประมาณ 8,000 กิโลเมตร) จากมหาสมุทรแอตแลนติกกับแม่น้ำสินธุ  ระยะทางเกือบสองเท่ากับการขับรถจากนครนิวยอร์กไปยังลอส แอนเจลีส (ประมาณสี่เท่ากว่า ๆ จากเหนือไปใต้ของประเทศไทย)

การปกครองที่ประสบผลสำเร็จของชาวมุสลิม  ชาวมุสลิมเห็นชัยชนะด้านทหารเป็นสัญญาณของการสนับสนุนของพระอัลเลาะห์ พวกเขากระตือรือร้นอันเกิดจากศรัทธาของพวกเขาและพวกเขาก็เต็มใจที่จะต่อสู้ในการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม นอกจากความศรัทธาของพวกเขา มีเหตุผลอื่น ๆ ในความสำเร็จทางทหารของชาวมุสลิม ในการสู้รบ กองทัพมุสลิมพิสูจน์แล้วว่าเป็นผู้มีระเบียบวินัยและผู้นำของพวกเขามีทักษะสูง กลยุทธ์ของพวกเขาช่วยให้พวกเขาเอาชนะกองกำลังทหารที่ไม่ได้คุ้นเคยกับกฎระเบียบและทักษะดังกล่าว
จุดอ่อนในอาณาจักรทั้งสองทางทิศเหนือของอาระเบียยังช่วยชาวมุสลิมประสบความสำเร็จ จักรวรรดิไบแซนไทน์และเปอร์เซียต่อสู้กันมาเป็นเวลานาน กองทัพของทั้งสองอาณาจักรจึงเกิดความเหนื่อยล้า
จักรวรรดิไบแซนไทน์และเปอร์เซียได้ข่มเหงผู้ที่ไม่ได้สนับสนุนศาสนาของพวกเขา คนที่ข่มเหงเหล่านี้มักจะยินดีต้อนรับชาวมุสลิมรุกรานในฐานะเป็นผู้กู้อิสรภาพ เพราะคัมภีร์กุรอานไม่อนุญาตให้ชาวมุสลิมบังคับให้แปลงศาสนา ชาวมุสลิมอนุญาตให้คนที่พิชิตมาได้รักษาศาสนาของตนเองได้หากพวกเขาต้องการที่จะทำเช่นนั้น
มีการผสมผสานวัฒนธรรมมากมายภายใต้การปกครองของชาวมุสลิม เมื่อเวลาผ่านไป หลายคนที่อยู่ในดินแดนที่ชาวมุสลิมปกครองก็ได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม  พวกเขาได้รับการจูงใจโดยสาส์นแห่งความเสมอภาคและความหวังในการช่วยให้พ้นบาปของศาสนาอิสลาม การเปลี่ยนแปลงไปนับถือศาสนาอิสลามยังนำมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอีกด้วย  ชาวมุสลิมไม่ต้องจ่ายภาษีบางอย่าง
ชาวยิวและชาวคริสต์ ในฐานะ "เป็น people of the book" ได้รับการปฏิบัติเป็นพิเศษ  พวกเขาจ่ายภาษีรัชชูปการในแต่ละปีเพื่อแลกกับการไม่ต้องปฏิบัติหน้าที่ทางทหาร ชาวยิวและชาวคริสต์ยังถือบทบาทที่สำคัญในรัฐมุสลิมในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่และนักวิชาการ  แต่พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงความเห็นให้กับคนอื่น ๆ

การแตกแยกในศาสนาอิสลาม

          การประสบความสำเร็จในสนามรบทำให้ชาวมุสลิมขยายอาณาจักรของพวกเขา อย่างไรก็ตาม การต่อสู้อำนาจภายในเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเขาเพื่อรักษาการปกครองให้เป็นปึกแผ่นได้

ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ยึดอำนาจ ในคริสต์ศักราช 656 กลุ่มกบฏได้ต่อต้านความเป็นผู้นำของอุษมานและสังหารท่าน การสังหารอุษมานก่อให้เกิดสงครามกลางเมือง  หลายกลุ่มต่อสู้เพื่ออำนาจ ญาติและลูกเขยของมูฮัมหมัด คือ อาลีเป็นทางเลือกที่สำคัญในการเป็นกาหลิบท่านต่อไป แต่ความเป็นผู้นำของท่านถูกท้าทายเช่นกัน ในคริสต์ศักราช 661 อาลีได้ถูกลอบสังหาร ระบบการเลือกกาหลิบได้ตายไปพร้อมกับท่าน
ตระกูลที่รู้จักกันว่า อุมัยยะฮ์ (Umayyads - oo•MY•adz) ได้เข้ามายึดอำนาจและตั้งราชวงศ์แบบมรดกตกทอด นั่นหมายความว่าผู้ปกครองจะมาจากครอบครัวหนึ่งและได้รับสิทธิในการปกครอง ตระกูลอูไมแยดยังได้ย้ายเมืองหลวงมุสลิมจากเมดินาไปยังดามัสกัสซึ่งเป็นเมืองที่เพิ่งพิชิตได้และเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิไบแซนไทน์ สถานที่นี้ ประมาณ 600 ไมล์ไปทางทิศเหนือของเมดินา ทำให้ง่ายขึ้นสำหรับผู้ปกครองชาวมุสลิมในการควบคุมดินแดน อย่างไรก็ตาม ชาวมุสลิมอาหรับรู้สึกว่าดามัสกัสอยู่ห่างไกลเกินไป  การกระทำเหล่านี้ ได้แบ่งแยกชาวมุสลิมและได้หยิบยกคำถามเกี่ยวกับวิธีการเลือกผู้นำขึ้นมา

ชุมชนมุสลิมเกิดการแตกแยก

          เพราะพวกเขาต้องการความสงบสุข ชาวมุสลิมส่วนมากจึงยอมรับการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์  คนเหล่านี้ถูกเรียกว่า ชาวซุนนีย์ (Sunnis) หมายถึงสาวกของซุนนะฮ์ (Sunnah) หรือผู้ปฏิบัติตามแบบอย่างพระมูฮัมหมัด
  อย่างไรก็ตามชนกลุ่มน้อยได้ต่อต้านราชวงศ์อุมัยยะฮ์และปฏิเสธที่จะยอมรับการปกครองของการหลิบที่ได้รับการเลือก พวกเขาเชื่อว่า ปกติแล้ว กาหลิบควรจะเป็นญาติของท่านศาสดา  กลุ่มนี้จึงถูกเรียกว่า ชีอะ (Shi’a) หมายถึง "พรรคพวก (party)" ของอาลี  สมาชิกของนิกายนี้รู้จักกันว่า ชิอิต (Shiites) การแตกแยกในศาสนาอิสลามนี้จะกลายเป็นการแตกแยกแบบถาวรและความขัดแย้งกับราชวงศ์อุมัยยะฮ์จะทำให้หัวหน้าศาสนาอิสลามของพวกเขาเพื่อถูกยกเลิกไปในที่สุด

ราชวงศ์อุมัยยะฮ์

          เมื่อราชวงศ์อุมัยยะฮ์ได้เข้าควบคุม พวกเขาเริ่มจะพิชิตดินแดนใหม่ ในเวลาน้อยกว่า 100 ปีอาณาจักรของพวกเขาทอดข้ามส่วนของทวีปสามทวีป คือ เอเชีย แอฟริกาและยุโรป

การแผ่อาณาจักรไปทางตะวันออก ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์  อาณาจักรมุสลิมก็ได้แผ่ขยาย เมื่อพวกเขาเข้ามากุมอำนาจในคริสต์ศักราช 661 ขอบเขตของจักรวรรดิตะวันออก ได้ขยายออกไปในเปอร์เซีย (ดูแผนที่) พวกเขารีบผลักดันชายแดนไกลออกไปทางทิศตะวันออกสู่เอเชียกลาง ครั้งแรก กองทัพอุมัยยะฮ์ออกโจมตีและหนี ด้วยการโจมตีหลายเมือง เช่น เมืองบูคารา (Bukhara - baw•Kah•rah) และซามาร์คันด์ (Samarkand) เมืองเหล่านี้ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอุซเบกิสถาน) เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตาม ในไม่ช้า การบุกโจมตีเป็นครั้งคราว (คือตีแล้วหนี) ก็เปลี่ยนเป็นการโจมตีอย่างต่อเนื่องเพื่อการพิชิต ประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ก็ได้ควบคุมพื้นที่ส่วนมากของเอเชียกลาง
แผนที่การเผยแพร่ศาสนาอิสลามภายใต้การปกครองของราชวงศ์อุมัยยะห์
แผนที่การเผยแพร่ศาสนาอิสลามภายใต้การปกครองของราชวงศ์อุมัยยะห์ ค.ศ. 661 - 750
การแผ่อาณาจักรไปทางตะวันตก  ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ยังขยายอาณาจักรไปทางตะวันตก ประมาณคริสต์ศักราช 710 พวกเขาได้ควบคุมแอฟริกาตอนเหนือทั้งหมด จากแม่น้ำไนล์ไปถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ปีต่อไป  พวกเขาได้เคลื่อนย้ายกองทัพไปทางทิศเหนือข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเข้าไปในคาบสมุทรไอบีเรีย (Iberian Peninsula)  คาบสมุทรไอบีเรียเป็นปลายยอดสุดทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศสเปนและโปรตุเกสในปัจจุบัน จากฐานที่มั่นในประเทศสเปน กองกำลังมุสลิมเริ่มโจมตีลึกเข้าไปในยุโรป อย่างไรก็ตาม กองกำลังคริสเตียนก็ได้หยุดความรุดหน้าของพวกเขาในคริสต์ศักราช 732 ที่สมรภูมรบที่เมืองตูรส์ (ในประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน)  อีกไม่กี่ปีถัดมา กองกำลังมุสลิมก็ถอยกลับไปยังสเปน

การรวบรวมผู้คนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ควบคุมอาณาจักรขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมดินแดนมากมาย ในการปกครองอาณาจักรอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้  ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ได้ออกแบบการปกครองของพวกเขาในระบบการปกครองระบบเจ้าขุนมูลนายซึ่งใช้อยู่ในดินแดนที่พวกเขาได้รับชัยชนะจากจักรวรรดิไบแซนไทน์  การปกครองระบบเจ้าขุนมูลนายเป็นระบบการทำงานแบบกรมและกองที่ทำให้การบริหารงานราชการสำเร็จ  ด้วยระบบเจ้าขุนมูลนายนี้ กาหลิบอุมัยยะฮ์ได้ปกครองอาณาจักรทั้งหมดจากเมืองหลวงดามัสกัส การปกครองต่างจังหวัดของจักรวรรดิ กาหลิบได้แต่งตั้งผู้ว่าการรัฐชาวมุสลิม ที่เรียกว่า อะเมียร์ (Emirs - ih•MEERZ) Emirs เหล่านี้อาศัยตระกูลผู้นำท้องถิ่นช่วยในการบริหารบ้านเมือง
ตอนแรก ภาษาได้ขัดขวางความสามัคคีในจักรวรรดิ เหล่าผู้คนที่อยู่ในส่วนที่แตกต่างกันของจักรวรรดิพูดภาษาของตนเอง อับดุล มาลิก (Ab al-Malik - uhb•DUL•muh•LIHK) ผู้กลายเป็นกาหลิบในคริสต์ศักราช 685 ได้แก้ไขปัญหานี้ เขาได้ประกาศให้ภาษาอาหรับเป็นภาษาในการบริหารงานราชการสำหรับดินแดนมุสลิมทั้งหมด เมื่อมีภาษาราชการร่วมกันก็ช่วยให้ประชาชนทั่วจักรวรรดิสื่อสารกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น แต่กระนั้น ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ก็ยังคงพูดภาษาของตนเองในชีวิตประจำวัน
ชาวมุสลิมจากทั่วจักรวรรดิยังใช้ประสบการณ์ของการจาริกแสวงบุญหรือฮัจญ์ไปยังนครเมกกะร่วมกัน ณ ที่นั่น พวกเขาได้ใช้วัฒนธรรมของตนเองร่วมกันและได้นำความรู้ด้านวัฒนธรรมอาหรับและการปกครองแบบอุมัยยะฮ์กลับไปยังถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง  ดังนั้น การแสวงบุญเป็นสาเหตุของการผสมผสานของวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมากมาย
ฮัจญ์
ภาพวาดเปอร์เซียนี้ แสดงขบวนการเดินทางไปแสวงบุญ ณ เมืองเมกกะ
การล้มล้างราชวงศ์อุมัยยะฮ์  ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ได้พิชิตดินแดนใหม่ ๆ มากมาย และได้นำศาสนาอิสลามไปสู่ผู้คนป็นจำนวนมาก  อย่างไรก็ตาม ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชาวมุสลิมบางพวกได้กล่าวหาราชวงศ์อุมัยยะฮ์ว่าสนใจในการใช้ชีวิตอย่างหรูหราและการถือครองอำนาจเกินไป  เมื่อเวลาผ่านไป กลุ่มต่าง ๆ คัดค้านการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์
กลุ่มหนึ่ง คือ อับบาซิดส์ (Abbasids - uh•BAS•IHDZ) ได้รับการสนับสนุนจากชาวมุสลิมที่ไม่เห็นด้วยกับราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ประมาณคริสต์ศักราช 750 Abbasids และผู้สนับสนุนของพวกเขาก็ได้ยึดอำนาจ ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่ง คือ อับดุล เราะห์มาน (uhb•DUL•rahk•MAHN) ได้หนีไปสเปน  ที่นั่น เขาได้สถาปนาราชวงศ์อุมัยยะฮ์ขึ้นมาใหม่  ตอนนี้ จักรวรรดิมุสลิมแยกออกเป็นส่วนตะวันออกและตะวันตกอย่างถาวร  แม้จะมีการแตกแยก  ยุคทองของชาวมุสลิมก็กำลังจะเริ่มต้น

ยุคทองของมุสลิม

          หลังจากที่ราชวงศ์อุมัยยะฮ์ล่มสลาย จักรวรรดิมุสลิมแยกออกเป็นส่วนตะวันออกและตะวันตก  ทางทิศตะวันออก วัฒนธรรมของชาวมุสลิมเจริญรุ่งเรืองในจักรวรรดิอับบาซิตใหม่

ราชวงศ์อับบาซียะห์ขึ้นครองอำนาจ

          เช่นเดียวกับราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ราชวงศ์อับบาซียะห์พยายามที่จะยึดอาณาจักรของพวกเขาเข้าด้วยกัน พวกเขามองหาวิธีที่จะเสริมสร้างการควบคุมให้เข้มแข็ง

ราชวงศ์อับบาซียะเข้าปกครอง ราชวงศ์อับบาซียะห์ได้ยึดอำนาจส่วนใหญ่ด้วยการบังคับ พวกเขาสร้างกองทัพที่มั่นคงขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นพลังสำหรับการต่อสู้เพื่อให้ได้รับการดูแลในช่วงเวลาแห่งความสงบสุขเช่นเดียวกับการทำสงคราม อับบาซิตวางหน่วยกองทัพ ณ ที่มั่นทางทหารไปทั่วจักรวรรดิเพื่อจะได้แก้ปัญหาใด ๆ ให้ลุล่วงไปอย่างรวดเร็ว
อับบาซียะห์ประกาศว่าชาวมุสลิมทุกคนไม่ว่าจะเป็นอาหรับหรือไม่เป็นอาหรับก็ตาม ก็เสมอภาคกัน นโยบายนี้ช่วยเกลี้ยกล่อมคนทั่วอาณาจักรให้ยอมรับการปกครองของพวกเขา
แผนที่จักรวรรดิอับบาซียะห์
แผนที่ราชวงศ์อับบาซียะห์   ค.ศ. 763 - 1100
แบกแดด (Baghdad) ราชวงศ์อับบาซียะห์ยังสร้างอำนาจของตนให้แข็งแกร่งโดยการย้ายเมืองหลวงของพวกเขา   ผู้สนับสนุนที่ซื่อสัตย์ที่สุดของพวกเขาอาศัยอยู่ไกลไปทางทิศตะวันออกของเมืองหลวงของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ คือ ดามัสกัส การจะมีความใกล้ชิดกับฐานอำนาจของพวกเขา อับบาซียะห์ได้สร้างกรุงแบกแดดเป็นเมืองหลวงใหม่ของพวกเขาในคริสต์ศักราช 762  กรุงแบกแดดตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำไทกริส ตามเส้นทางการค้าขายเก่าแก่ระหว่างตะวันออกสู่ตะวันตก มันจะกลายเป็นตลาดแห่งหนึ่งที่พลุกพล่านและเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของโลกแห่งหนึ่ง

ราชวงศ์อับบาซียะห์เจริญขึ้นและเสื่อมลง

          เศรษฐกิจที่เข้มแข็งทำให้ราชวงศ์อับบาซียะห์ร่ำรวยมาก เพื่อแสดงความมั่งคั่งของพวกเขา  บางคนก็เริ่มสนับสนุนศิลปะและการเรียนรู้ เป็นผลให้ในหลายปีหลังจากคริสต์ศักราช 800  วัฒนธรรมมุสลิมมีความสำรายใจกับยุคทอง  ยุคทองคือช่วงที่สังคมประสบความเจริญรุ่งเรืองและความสำเร็จทางวัฒนธรรม
กรุึงแบกแดดในยุคแรก
ภาพวาดกรุงแบกแดดในยุคแรก เมืองหลวงของอับบาซียะห์
และแม่น้ำไทกริส น่าจะอยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7
ศิลปะและวรรณคดี ชาวมุสลิมบางพวกคิดว่ามันเป็นความผิดที่จะใช้รูปร่างของมนุษย์ในงานศิลปะ ภาพดังกล่าวที่พวกเขาเชื่อ อาจกระตุ้นให้ผู้คนเคารพภาพเหล่านี้มากกว่าพระเจ้า ศิลปะมุสลิมส่วนมาก จึงเน้นรูปแบบพืชและทางเรขาคณิต ศิลปะมุสลิมก็มักจะใช้ต้นฉบับของชาวอาหรับ   ศิลปินชาวมุสลิมจำนวนมากกลายเป็นผู้มีความชำนาญมากในการเขียนลายมือ ซึ่งเป็นศิลปะแห่งการเขียนด้วยลายมือที่สวยงาม อับบาซิตไดว่าจ้างช่างประดิษฐ์อักษรในการตกแต่งทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่อาคารไปจนถึงเสื้อเกราะ
ในไม่ช้าชาวมุสลิมได้พัฒนาวรรณกรรมของพวกเขาเอง พันหนึ่งราตรี (the Thousand and One Nights) กลายเป็นที่ชื่นชอบอย่างรวดเร็ว บทกวียังเจริญรุ่งเรืองในช่วงการปกครองของอับบาซิต บทกวีสีบรรทัด (quatrain) ซึ่งเป็นบทกวีที่มีสี่บรรทัด บรรทัดแรกสัมผัสกับบรรทัดที่สองและที่สี่จึงเป็นที่นิยมมาก มุสลิมที่เกิดในเปอร์เซีย ชื่อ โอมาร์ คัยยาม (Omar Khayyam - OH•MAHR KY•YAHM) เป็นผู้เชี่ยวชาญในบทกวีสีบรรทัด

คณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ นักวิชาการมุสลิมแห่งยุคอับบาซิตได้ยืมและได้พึ่งพาความคิดของอารยธรรมโบราณ ตัวอย่างเช่น al-Khwarizmi (al​​•KWAHR•ihz•MEE – อัล ควาริซมี) ได้ยืมระบบตัวเลขและเลขศูนย์จากนักวิชาการอินเดีย  ผลงานของเขาได้ก่อให้เกิดระบบเลขอารบิก (ปัจจุบันเรียก ฮินดูอารบิก เพื่อให้เกียรติแก่ชาวอินเดียที่เป็นต้นตำหรับด้วย) ที่ยังคงใช้อยู่มากที่สุดในโลก  Al-Khwarizmi ยังได้เขียนหนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับพีชคณิต  นอกจากเป็นกวีแล้ว  โอมาร์ คัยยามเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ เขาได้เขียนถึงการศึกษาความก้าวหน้าของกรีกในรูปทรงเรขาคณิต นอกจากนี้เขายังใช้ความรู้ของเขาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ในการสร้างปฏิทินที่เที่ยงตรงมากอีกด้วย
การทำงานของเหล่านักดาราศาสตร์ มักจะมีการใช้ในทางปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น นักดาราศาสตร์ชื่อ al-Biruni ได้กำหนดทิศทางของเมืองเมกกะจากจุดใด ๆ ก็ได้บนโลก ข้อนี้ทำให้ชาวมุสลิมที่อยู่ทุกหนทุกแห่งในจักรวรรดิสามารถตอบสนองความต้องการในการสวดอธิษฐานในขณะที่หันหน้าไปทางเมกกะ

แพทยศาสตร์ แพทย์ชาวมุสลิม เหมือนกับนักวิชาการมุสลิมอื่น ๆ ได้ปรับปรุงสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ยุคต้นค้นพบให้ดีขึ้น Al-Razi  แพทย์ที่เกิดในเปอร์เซีย ได้ใช้การศึกษาเก่าในการช่วยเขาในการระบุและอธิบายโรค เช่น ฝีดาษหรือไข้ทรพิษและโรคหัด  แพทย์ชาวเปอร์เซีย ชื่อ อิบัน ไซนะ (Ibn Sina) ได้เขียนคัมภีร์แพทยศาสตร์ประมาณ 1000 ปี  งานที่ละเอียดนี้ได้จัดระเบียบความรู้ทั้งหมดที่รู้จักกันในทางการแพทย์ มันยังคงเป็นหนังสืออ้างอิงทางการแพทย์ที่สำคัญมานานกว่า 600 ปี
ราชวงศ์อับบาซิตได้ตั้งโรงพยาบาลทั่วจักรวรรดิของพวกเขา แตกต่างจากโรงพยาบาลในส่วนอื่น ๆ มากที่สุดของโลก  ศูนย์การแพทย์เหล่านี้ได้ให้การรักษาคนยากจนที่ไม่สามารถจ่ายค่ารักษาได้

การล่มสลายของราชวงศ์อับบาซียะห์ กาหลิบอับบาซียะห์บางพวกละเลยความรับผิดชอบด้านการบริหาร นอกจากนี้พวกเขาให้ความสำคัญน้อยในการปกป้องพ่อค้าจากปล้นสดมภ์ของโจรที่ความการค้าขายให้เสียอย่างชั่วร้าย ด้วยเหตุนี้ เหล่ากาหลิบอับบาซิตจึงส่งเสริมการเก็บภาษี เนื่องจากเบื่อพฤติกรรมเห็นแก่ตัวของพวกเขา หลายกลุ่มจึงคัดค้านการปกครองของราชวงศ์อีบบาซียะห์ กลุ่มหนึ่ง คือ ฟาติมียะห์ได้ขับไล่ราชวงศ์อับบาซียะห์ออกจากแอฟริกาตอนเหนือความ ราชวงศ์อับบาซียะห์เผชิญกับความขัดแย้งภายในอาณาจักรของพวกเขามากขึ้น จึงเปิดโอกาสให้มีการโจมตีจากภายนอกมากขึ้น ในคริสต์ศักราช 1055  ราชวงศ์เซลจุคเติร์ก (Seljuk Turks) จากเอเชียกลางได้ยึดแบกแดด  ผู้นำเซลจุคได้เข้าควบคุมจักรวรรดิ แต่เขาก็อนุญาตให้กาหลิบอับบาซิตยังคงเป็นผู้นำทางศาสนา
เมื่อเวลาผ่านไป ราชวงศ์เซลจุคได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม พวกเขาก็เริ่มขยายดินแดนภายใต้การควบคุมของพวกเขา ในคริสต์ศักราช 1071 พวกเขาได้ยึดกรุงเยรูซาเล็ม ประมาณปลายคริสต์ศักราช 1090 พวกเขาได้เข้าคุกคามเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ คือ คอนสแตนติโนเปิล   ในการตอบสนองจากประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์ในยุโรป ได้ประกาศสงครามนานัปการ เรียกว่าสงครามครูเสด (Crusades) เพื่อขับไล่ราชวงศ์เซลจุคกลับ  ในคริสต์ศักราช 1258   เผ่าในเอเชียกลางที่เรียกว่า มองโกล (Mongols) ได้บุกรุกกรุงแบกแดด พวกเขาทำลายเมืองและฆ่ากาหลิบอับบาซียะห์ ราชวงศ์อับบาซียะห์จึงล่มสลายไปพร้อมกับเขา

มุสลิมปกครองในประเทศสเปน

           เมื่ออับดุล เราะห์มาน ซึ่งเป็นผู้นำราชวงศ์อุมัยยะฮ์มาถึงประเทศสเปน เขาได้พบฝ่ายมุสลิมหรือฝ่ายตรงข้ามหลากหลาย  ต่อสู้เพื่อเข้าควบคุม เขารีบดำเนินการรวมกลุ่มคนเหล่านี้ให้เป็นเอกภาพ
แผนที่การรุกรานสเปนของมุสลิม
แผนที่การรุกรานสเปนของมุสลิม
ผู้คนก็ยังมีความจงรักภักดีต่อราชวงศ์อุมัยยะฮ์จึงได้สนับสนุนอับดุล เราะห์มานแล้ว เขาทำสนธิสัญญากับมุสลิมกลุ่มอื่น ๆ เมื่อเขารู้สึกว่ามีความแข็งแกร่งแล้ว  พอเขาจึงเข้าโจมตีและพิชิตฝ่ายที่กำลังปกครองอยุ๋  ในคริสต์ศักราช 756 เขาได้ประกาศว่าตัวเองเป็นประมุข ชื่อ  al-Andalus (อัล อันดะลุส – ซึ่งใช้เรียกคาบสมุนไอบีเรียในภาษาอาหรับ) หรือมุสลิมสเปนและให้เมืองกอร์โดบา (Córdoba - ปัจจุบัน คือ เมืองในแคว้นปกครองตนเองอันดาลูซีอาทางภาคใต้ของประเทศสเปน และเป็นเมืองหลักของจังหวัดกอร์โดบา มีพิกัดภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ที่ 37°88' เหนือ 4°77' ตะวันตก ริมแม่น้ำกวาดัลกีบีร์) เป็นเมืองหลวง (ดูแผนที่)          ข่าวความสำเร็จของอับดุลเราะห์แพร่กระจายไปทางตะวันออกอย่างรวดเร็วสู่ดินแดนอับบาซิต พวกที่จงรักภักดีต่อราชวงศ์อุมัยยะฮ์หลายคนมุ่งหน้าไปยังสเปน การมาถึงของพวกเขาทำให้รัฐบาลและกองทัพอับดุลเราะห์มานมีความเข้มแข็งอย่างมาก  เมื่อเขาเสียชีวิตในคริสต์ศักราช 788 อัลอันดะลุส (Al-Andalus) เป็นคนเข้มแข็งและมีความกลมเกลียวกัน  ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 อำนาจของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ก็เสื่อมลงในคริสต์ศักราช 912  อับดุลเราะห์มานที่ 3 ได้สร้างการปกครองแข็งแกร่งขึ้นอีก  เขาประกาศว่าตัวเองเป็นกาหลิบท่านแรกแห่งกอร์โดบาในคริสต์ศักราช 929

ความก้าวหน้าในมุสลิมสเปน

กอร์โดบา ความงดงามของกอร์โดบาบางทีอาจจะมาจากเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรือง  เมืองมีโรงงานที่ผลิตสินค้า เช่น ผ้าไหมที่อยู่ในความต้องการอย่างมากทั่วยุโรปมากมาย
กอร์โดบายังเป็นศูนย์กลางที่สำคัญสำหรับวัฒนธรรมและการเรียนรู้ เหล่ากาหลิบแห่งกอร์โดบามีความสุขที่โดดเด่นกว่าคู่แข่งของพวกเขา คือ อับบาซิต พวกเขาได้ให้การสนับสนุนนักปราชญ์อย่างแข็งขันเพื่อให้ออกจากกรุงแบกแดดสำหรับไปหาอัลอันดะลุส  การเข้ามาใหม่เหล่านี้ ได้นำความคิดที่สดใหม่และวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างมากับพวกเขาด้วย พวกเขายังเพิ่มชื่อเสียงแห่งกอร์โดบาในฐานะที่เป็นหนึ่งในเมืองที่ดีที่สุดในโลก
มัสยิด-มหาวิหารกอร์โดบา
มัสยิด-มหาวิหารกอร์โดบา เป็นสถานที่สักการะที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง
จุคนได้ถึง 52,000 คน
ความก้าวหน้าทางความคิด นักปราชญ์ของอัลอันดะลุสได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานหรือขยายผลของนักคณิตศาสตร์ยุคแรก พวกเขาใช้คณิตศาสตร์ในการสร้างปฏิทินที่เที่ยงตรง  พวกเขาสร้างเครื่องมือที่แม่นยำสำหรับการดูท้องฟ้าและสร้างท้องฟ้าจำลองมีรูปจำลองดาวเคราะห์ที่เคลื่อนที่ได้
นักปราชญ์บางพวกให้ความสนใจในโลกมากกว่าท้องฟ้า อัล อิดริศรี (Al-Idrisi) อาจจะสร้างคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการศึกษาภูมิศาสตร์ ในคริสต์ศักราช 1154 เขาทำสารานุกรมความรู้ทางภูมิศาสตร์ให้สมบูรณ์ มันบรรจุแผนที่และคำอธิบายของสภาพทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคมากมายของโลก ประมาณ 70 แผ่น ผลงานของเขาส่วนใหญ่ตั้งอยู่พื้นฐานการท่องเที่ยวที่เขาได้รับเมื่อเขายังเป็นหนุ่ม

ยุคทองของชาวยิว ชาวยิวอาศัยอยู่ในสเปนตั้งแต่ยุคโรมัน  พวกเขาเผชิญกับการประหัตประหารอยู่บ่อย ๆ  แต่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ พวกเขาได้รับการต้อนรับ โดยไม่ได้ถูกทอดทิ้ง ชาวยิวบางพวกรับราชการในตำแหน่งระดับสูง
ในบรรยากาศที่อบอุ่นนี้ ชาวยิวสัญชาติสเปนเจริญรุ่งเรืองและวัฒนธรรมสเปน-ยิวก็ได้รับการพัฒนา ชาวยิวที่ต้องเผชิญกับการประหัตประหารในดินแดนที่นับถือศาสนาคริสต์ ก็พากันแห่ไปหาอัลอันดะลุส เพื่อแสดงความยินกับอิสระนี้ พวกเขาให้การสนับสนุนยุคทองของอัลอันดะลุสเป็นอย่างมาก
ในหมู่นักปราชญ์ชาวยิวเป็นอันมากของอัลอันดะลุส Maimonides (my•MAHN•uh•DEEZ) อยู่ในฐานะเหนือคนอื่นทั้งหมด Maimonides ได้เขียนและสอนหลาย ๆ เรื่องรวมทั้งศาสนา วิทยาศาสตร์ และการแพทย์ ผลงานที่รู้จักกันดีที่สุดของเขา คือ The Guide for the Perplexed (น่าจะแปลว่า แนวทางการแก้ปัญหา – ผู้แปล) ได้รับการตีพิมพ์ในคริสต์ศักราช 1190  ในผลงานนั้น เขาพยายามที่จะแสดงว่า ปรัชญาสามารถรองรับศรัทธาในศาสนาได้ งานเขียนของเขามีอิทธิพลต่อทั้งมุสลิมและนักคิดที่นับถือศาสนาคริสต์


การล่มสลายของอัลอันดะลุส เมื่อถึงเวลาสิ้นชีวิตของ Maimonides ในคริสต์ศักราช 1204  อัลอันดะลุส ได้เริ่มล่มสลาย มุสลิมบางส่วนได้ต่อสู้เพื่อการควบคุม ขณะที่ส่วนอื่น ๆ หนีรอดไปได้และก่อตัวเป็นอาณาจักรเล็ก ๆ  ของตัวเอง ชาวคริสเตียนในตอนเหนือได้ฉกฉวยประโยชน์จากความสับสนนี้และลงมือทำการโจมตี ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 1240 พวกเขาได้ผลักดันชาวมุสลิมลงไปทางใต้ ระยะทางไกลเท่ากอร์โดบาถึงเซบียา (หรือ เซวิลล์ – Sevilla or Seville) กว่า 250 ปีต่อมา กองกำลังคริสเตียนก็ได้เข้าควบคุมคาบสมุทรไอบีเรียทั้งหมดอย่างช้า ๆ

มรดกที่ตกทอดมาจากยุคทองของมุสลิม

          ในช่วงยุคทองของชาวมุสลิม นักวิชาการในกรุงแบกแดดและกอร์โดบาได้ให้การสนับสนุนที่สำคัญในการพัฒนาดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการแพทย์ การพัฒนาเหล่านี้มีผลกระทบอย่างมากต่อการเรียนรู้ในยุโรป ในหลายวิธี ความสำเร็จของยุคทองของชาวมุสลิมได้วางรากฐานให้กับความก้าวหน้าในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในยุโรปและการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ความก้าวหน้าเหล่านั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อวิถีชีวิตในปัจจุบัน

หอดูดาว

อดีต  ชาวมุสลิมเป็นคนกลุ่มแรกที่สร้างหอดูดาว หอดูดาวเหล่านี้เป็นอาคารที่ได้รับการออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการศึกษาดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ หอดูดาวเหล่านี้บางส่วนมีความก้าวหน้าพอดู เต็มไปด้วยเครื่องมือที่มีความแม่นยำหรือคิดค้นออกแบบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวมุสลิม นักดาราศาสตร์ในภาพด้านล่างใช้เครื่องมือเหล่านี้กำหนดสถานที่และการเคลื่อนไหวของดาวเคราะห์
นักดาราศาสตร์มุสลิม
นักดาราศาสตร์มุสลิมในอดีตกำลังใช้อุปกรณ์ดูดาว
ปัจจุบัน นักดาราศาสตร์ต้องการค้นหาธรรมชาติข้อจำกัดด้านนอกของอวกาศ พวกเขาทำงานในหอดูดาวที่ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ที่มีความสามารถสูงและคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย
อุปกรณ์ดูดาวในปัจจุบัน
กล้องโทรทรรศน์สำหรับดูดาว
การแพทย์

อดีต  แพทย์มุสลิมได้จัดตั้งวิธีการรักษาความเจ็บป่วยแบบใหม่  อันดับแรก พวกเขาพยายามให้ผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง ถ้าวิธีการนี้ล้มเหลวในการแก้ปัญหา ต่อไป แพทย์ก็ทดลองยารักษาโรคอื่น ๆ และจัดเตรียมไว้ ดังที่แสดงในภาพด้านล่าง พวกเขามองว่ามาตรการรุนแรง เช่น การผ่าตัดเป็นที่พึ่งสุดท้าย
แพทย์ชาวมุสลิมทดลองและเตรียมยารักษาโรค
แพทย์ชาวมุสลิมทดลองและเตรียมยารักษาโรค
ปัจจุบัน  การผ่าตัดเป็นสิ่งที่ไกลเกินกว่าขบวนการของคนธรรมดาจะเข้าถึง อย่างไรก็ตาม แพทย์จำนวนมากยังให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยให้เปลี่ยนนิสัยด้านการรับประทานอาหารหรือการออกกำลังกายในการรักษาและการป้องกันไม่ให้เจ็บป่วย
การผ่าตัดของแพทย์ในปัจจุบัน
การผ่าตัดของแพทย์ในปัจจุบัน

คณิตศาสตร์

อดีต  นักคณิตศาสตร์มุสลิมยืมเลขศูนย์ (0) และระบบทศนิยมจากนักวิชาการอินเดียและนำไปเผยแพร่ยังตะวันตก พวกเขายังได้พัฒนาตัวเลขอาหรับซึ่งทำให้การคำนวณทุกชนิดง่ายขึ้น การทำงานของมุฮัมมัด อิบน์ มูซา อัลคอวาริซมีย์ (Al-Khwarizmi) นำไปสู่​​การพัฒนาพีชคณิตในฐานะเป็นพื้นที่ของการศึกษา ความสนใจในดาราศาสตร์ของชาวมุสลิมยังนำไปสู่การพัฒนาตรีโกณมิติอีกด้วย
ระบบตรีโกณมิติของชาวมุสลิม
ตรีโกณมิติของชาวมุสลิม
ปัจจุบัน  ระบบเลขอารบิกและพีชคณิตยังคงมีส่วนเป็นอย่างมากขในการศึกษาคณิตศาสตร์ นอกจากนี้นักดาราศาสตร์ยังคงใช้ตรีโกณมิติในการวัดระยะทางในอวกาศและบนพื้นดิน
การใช้เลข (ฮินดู) อารบิกในปัจจุบัน
การใช้เลข (ฮินดู) อารบิกในคณิตศาสตร์ปัจจุบัน