จีนสมัยโบราณ
สัณฐานทางภูมิศาสตร์ของจีนสมัยโบราณ
ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศจีน
ประเทศจีนก็มีรูปแบบทำนองเดียวกันกับลุ่มแม่น้ำในเมโสโปเตเมีย อียิปต์และลุ่มแม่น้ำสินธุ
อารยธรรมของจีนได้รับการพัฒนาเพราะแม่น้ำสองสายนำน้ำและตะกอนที่ทำให้การทำเกษตรกรรมมีศักยภาพ
เมืองหลายเมืองเติบโตไปตามริมฝั่งแม่น้ำ
 |
แผนที่ลำดับเหตุการณ์จีนสมัยโบราณและโลก |
 |
แผนที่จีนสมัยโบราณ 1,523 - 221 ปี ก่อน ค.ศ. |
 |
แผนที่ลำดับเหตุการณ์จีนสมัยโบราณและโลก |
 |
ภาชนะใส่เครื่องดื่มแห่งราชวงศ์ชาง เป็นผลงานด้านสัมฤทธิ์อันยอดเยี่ยม |
แยกตัวอยู่โดดเดี่ยวเพราะปัญหาอุปสรรค เนื่องจากตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของทวีปเอเชีย
ประเทศจีนจึงพาดผ่านไกลไปทางเหนือของเส้นศูนย์สูตรเหมือนกับประเทศสหรัฐอเมริกา
ดินแดนของจีน ทางทิศตะวันออกติดทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และมหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลทรายพาดผ่านเป็นขอบดินแดนทางเหนือและตะวันตก
ไปทางทิศเหนือเป็นทะเลทรายโกบี (GOH•bee) และทางทิศตะวันตก เป็นทะเลทรายทากลิมากัน
(Taklimakan - TAH•kluh•muh•KAHN) เทือกเขาปามีร์ (Pamir) เทียนฉาน (Tian Shan) และเทือกเขาหิมาลัย (HIHM•UH•LAY•uh) มีรูปโค้งมากมายเป็นเขตแดนทางตะวันตก
 |
ทะเลทรายโกบี เป็นทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก |
จีนถูกแยกตัวอยู่โดดเดี่ยวทางภูมิศาสตร์
ซึ่งแตกต่างจากภูมิภาคของแม่น้ำไนล์และดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ ที่อารยธรรมมีความสัมพันธ์กันบ่อย
ๆ เทือกเขาขนาดใหญ่ ทะเลทรายอันกว้างใหญ่และความกว้างใหญ่มหาศาลของน้ำทำหน้าที่เป็นอุปสรรคระหว่างจีนและดินแดนอื่น
ๆ นี่เองที่ทำให้การแพร่กระจายของความคิดและสินค้าไปยังจีนเป็นไปได้ยาก
เป็นผลให้อารยธรรมจีนพัฒนาไปตามสายที่แตกต่างกันมาก มีอิทธิพลด้านนอกเล็กน้อยที่มาก่อรูปร่างวัฒนธรรมของจีน
ระบบแม่น้ำสองระบบ แม่น้ำสายสำคัญสองสายไหลไปยังมหาสมุทรแปซิฟิก แม่น้ำฉางเจียง (Chang
Jiang หรือ chahng jyahng) หรือแม่น้ำแยงซี (Yangtze River) ค้นพบในภาคกลางของจีน แม่น้ำหวงเหอ (Huang He หรือ hwahng huh - หรือไทยออกเสียง
ฮวงโห) ซึ่งไหลไปทางทิศเหนือยังเป็นที่รู้จักกันอีกว่า แม่น้ำเหลือง
(Yellow River)
ในสมัยโบราณ การทำการเกษตรของจีนส่วนใหญ่ทำในผืนแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์มากอยู่ระหว่างแม่น้ำฉางเจียงและแม่น้ำหวงเหอ
กระแสน้ำของแม่น้ำสองสายได้ทิ้งตะกอนสีเหลืองที่ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์
ดินแดนแห่งนี้เรียกว่า ที่ราบจีนภาคเหนือ (North China Plain) เป็นศูนย์กลางของอารยธรรมจีนตลอดมา
สภาพภูมิอากาศที่หลากหลาย ประเทศจีนมีสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน
คล้ายกับประเทศสหรัฐอเมริกามาก ภาคตะวันตกของจีนแห้งแล้งคล้ายภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกา
เพราะส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายและภูเขาที่มีประชากรเบาบางและมีพื้นที่เพาะปลูกที่สามารถใช้งานได้น้อย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนมีฤดูกาลคล้ายกับนิวอิงแลนด์ ที่มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นและฤดูร้อนที่อบอุ่น
ในทางตรงกันข้าม ทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นเหมือนภาคใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีฤดูหนาวและฤดูร้อนแผ่ว
ๆ ในช่วงฤดูร้อนก็มีฝนปรอย ๆ ภูมิอากาศที่แตกต่างกันเหล่านี้ช่วยให้จีนผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหารที่หลากหลาย
ข้าวปลูกในภาคใต้อันชุ่มชื้น ในขณะที่ข้าวสาลี
ถั่วเหลือง และข้าวฟ่างปลูกในดินแดนทางเหนือที่แห้งแล้งกว่า
-------------------------------------------------------------
เขื่อนสามหุบเขา (Three Gorges Dam)
 |
เขื่อนสามหุบเขา (Three Gorges Dam) |
แม่น้ำฉางเจียงก่อผลประโยชน์ให้กับจีน โดยการทำให้พื้นที่การเกษตรอุดมสมบูรณ์และการขนส่งภายในประเทศ
ยังทำให้เกิดน้ำท่วมอันแสนสาหัสอีกด้วย
ในปีคริสต์ศักราช 1993 รัฐบาลจีนเริ่มก่อสร้างเขื่อนสามหุบเขา (หรือเขื่อซานเสียต้าป้า) รัฐบาลบอกว่าเขื่อนจะเริ่มต้นใช้การในปี
ค.ศ. 2009
จะช่วยให้การควบคุมน้ำท่วมและผลิตพลังงาน อย่างไรก็ตาม ประชาชนมากกว่า 1
ล้านคนได้มีการย้ายออกจากพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญบางคนยังกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมของเขื่อนอีกด้วย
----------------------------------------------------------------------------------------
ราชวงศ์ชาง (Shang)
ประมาณ 2,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ชุมชนเกษตรกรรมตามฝั่งแม่น้ำหวงเหอ
เริ่มเจริญเติบโตเป็นเมือง อารยธรรมยุคแรกเริ่มต้นที่นั่น และวัฒนธรรมจีนในปัจจุบันวิวัฒนาการมาจากจุดเริ่มต้นสมัยโบราณ นักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า จีนน่าจะเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดอย่างต่อเนื่องของโลก
กษัตริย์ (ฮ่องเต้) แห่งราชวงศ์ชาง ประมาณ 1,766 ปี ก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์ชางเริ่มปกครองบางเมือง
พวกเขาตั้งราชวงศ์ ซึ่งเป็นวงศ์ตระกูลหรือกลุ่มที่ปกครองเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน
กษัตริย์มีความรับผิดชอบกิจกรรมทางศาสนา
พวกเขาอ้างว่าเหล่าทวยเทพยินยอมให้ปกครอง กษัตริย์ราชวงศ์ชาง ปกครองส่วนกลางของที่ราบจีนภาคเหนือ
ประยูรญาติของพวกเขาปกครองพื้นที่ห่างไกล ราชวงศ์ชางใช้รถม้าเพื่อปกป้องตัวเองจากพวกเผ่าร่อนเร่ที่อาศัยอยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตก
(น่าจะเป็นมองโกล) พวกเขาทำสงครามกับคนเผ่าเร่ร่อนเหมือนกับราชวงศ์โจว (Zhou
หรือ Joh)
ราชตระกูลชาง ในวัฒนธรรมราชวงศ์ชาง การเคารพบิดามารดาและบรรพบุรุษแห่งตระกูลเป็นสิ่งสำคัญ
ราชวงศ์ถูกผูกติดอยู่อย่างใกล้ชิดกับศาสนา
ชาวจีนเชื่อกันว่าวิญญาณของบรรพบุรุษของพวกเขาอาจนำมาซึ่งโชคลาภที่ดี วงศ์ตระกูลจึงเคารพต่อบรรพบุรุษของบิดาด้วยการฆ่าสัตว์บูชายัญเป็นเกียรติยศของพวกเขา
ผู้ชายปกครองภายในวงศ์ตระกูล
(จีนถือมากในเรื่องนี้ ถ้าไม่มีลูกผู้ชายเขาจะหาเมียไปเรื่อย ๆ)
การพัฒนาภาษา กษัตริย์ราชวงศ์ชางอ้างตัวว่าเป็นผู้ที่สามารถมีอิทธิพลเหนือเทพเจ้า
พวกเขาได้รับข้อความจากเทพเจ้าผ่านกระดูกพยากรณ์ (oracle bones) กระดูกเหล่านี้เป็นกระดูกสัตว์ที่นักบวชแห่งราชสำนักของราชวงศ์ชางได้ขีดเขียนคำถามต่อเทพเจ้าไว้
ต่อมา
พวกเขาได้เอาท่อนไม้อุ่น ๆ แตะกับกระดูกเพื่อทำให้กระดูกเหล่านั้นแตก และตีความตามรอยแตก
พวกเขาได้ขีดเขียนคำตอบบนกระดูก รอยขีดข่วนเป็นรูปแบบแรกของการเขียน
 |
การเขียนตัวอักษรจีน |
ราชวงศ์ชางก็เหมือนกับคนโบราณพวกอื่น
ๆ ได้พัฒนาระบบการเขียนของพวกเขาด้วยแผนภูมิ
ภาพวาดที่เรียบง่ายที่เป็นตัวแทนของคำหรือความคิด ระบบในการเขียนของจีนใช้สัญลักษณ์จำนวนมาก คนต้องรู้ตัวอักษรอย่างน้อย
1,500 ตัวอักษร จึงจะสามารถอ่านและเขียนได้ คนที่ได้รับการศึกษา
จำเป็นต้องรู้ตัวอักษรอย่างน้อย 10,000 ตัวอักษร
ข้อดีอย่างหนึ่งของระบบการเขียนภาษาจีน
ก็คือคุณสามารถอ่านภาษาจีนได้โดยไม่มีความสามารถในการพูดภาษาจีนได้ คนทั่วประเทศจีนสามารถเรียนรู้ภาษาเขียนของพวกเขาได้
แม้ว่าภาษาพูดจะแตกต่างกัน ระบบได้ช่วยรวมดินแดนขนาดใหญ่ที่แตกต่างกันให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้
 |
วัฏจักรราชวงศ์ของจีนโบราณ |
ราชวงศ์โจว (Zhou)
ชาวโจวอพยพลงมาจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พวกเขาปะทะกับชาวชางหลายครั้ง
ประมาณ 1,027 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ผู้นำชาวโจว ชื่อ วูวัง (Wu Wang) ได้นำทัพเข้าโจมตีชาวชางจนพ่ายแพ้ ชาวโจวได้นำแนวปฏิบัติของชาวชางหลายอย่างมาใช้
เพื่อไม่ให้ชัยชนะของพวกเขานำมาซึ่งการกวาดล้างการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ผู้นำชาวโจวยังนำเสนอความคิดใหม่
ๆ แก่อารยธรรมจีน
ชาวโจวและวัฏจักรของราชวงศ์ กษัตริย์โจวได้ก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ในประเทศจีน
ราชวงศ์จีนเจริญขึ้นและเสื่อมลงตามรูปแบบ นักประวัติศาสตร์เรียกรูปแบบของการเจริญขึ้นและเสื่อมลงของราชวงศ์ในประเทศจีน
ว่า วัฏจักรของราชวงศ์ (Dynastic cycle)
กษัตริย์แห่งราชวงศ์โจวก็เหมือนกับชาวอียิปต์โบราณ
คิดว่า ความยุ่งยากจะมาหา ถ้าผู้ปกครองทำให้สวรรค์ไม่พอใจ เพื่อแสดงเหตุผลถึงชัยชนะอันสมควรของพวกเขา ผู้นำโจวประกาศว่า
กษัตริย์ชางองค์สุดท้ายเป็นผู้ปกครองที่ไม่เอาไหน พวกเขาอ้างว่า เทพเจ้าได้นำสิทธิในการปกครองของชาวชางออกไปและมอบให้แก่ชาวโจว
ในที่สุดความคิดที่ว่าผู้ปกครองที่ดีได้รับการอนุมัติจากเทพเจ้ากลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมจีน
เมื่อผู้ปกครองชั่วร้ายหรือโง่ คนที่เชื่อเรื่องการอนุมัติของเทพเจ้าจะถูกกำจัดออกไป
ความคิดนี้ถูกเรียกว่าอาณัติแห่งสวรรค์ (Mandate
of Heaven) คนจีนเชื่อว่า ความยุ่งยาก เช่น การลุกฮือของชาวไร่ชาวนา
การรุกราน น้ำท่วมหรือการเกิดแผ่นดินไหว นั่นหมายความว่าอาณัติแห่งสวรรค์ถูกพรากไป
แล้วมันเป็นเวลาสำหรับผู้นำคนใหม่ และอาณัติแห่งสวรรค์อาจผ่านไปยังตระกูลขุนนางอีกตระกูลหนึ่ง
การปกครองของราชวงศ์โจว เหมือนกับราชวงศ์ชาง ราชวงศ์โจวไม่ได้มีการปกครองส่วนกลางที่เข้มแข็ง
กษัตริย์ทำให้คนที่มีความสัมพันธ์ในครอบครัวหรือคนอื่น ๆ ที่น่าเชื่อถืออยู่ในความดูแลของส่วนภูมิภาค
ผู้ปกครองท้องถิ่นเหล่านั้น หรือขุนนางถวายความจงรักภักดีและราชการทหารแก่กษัตริย์
ในทางกลับกัน กษัตริย์ก็สัญญาว่าจะช่วยปกป้องดินแดนของตน
ในขณะที่เมืองเล็กของพวกเขากลายเป็นเมืองใหญ่
ขุนนางก็เติบโตแข็งแกร่ง กลุ่มอื่น
ๆ เป็นอันมากก็เข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของพวกเขา ขุนนางเป็นส่วนน้อยขึ้นอยู่กับกษัตริย์ พวกเขาก็เริ่มต่อสู้กันเองและกับคนอื่น
ๆ ดินแดนที่พวกเขาผนวกเข้ามาอยู่ในการควบคุมของตนก็ขยายตัวเป็นดินแดนของจีน
 |
จี้มังกรหยก มังกรหยกเป็นสัญลักษณ์แห่งความมีอำนาจและความเป็นเลิศ |
ยุคแห่งภาวะสงคราม การรุกรานดินแดนจีน เป็นเรื่องที่คงอยู่ตลอดในประวัติศาสตร์จีน
หลังจาก 800 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เผ่าคนเร่ร่อนจากทางเหนือและทางตะวันตกได้เข้ามาบุกจีน
ในระหว่าง 771 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ผู้รุกรานได้ทำลายเมืองหลวง
ชื่อ โหว (Hao) และฆ่ากษัตริย์ ตระกูลของกษัตริย์ ได้อพยพหนีไปลั่วหยาง
(Luoyang) และตั้งเมืองหลวงใหม่ เพราะกษัตริย์อ่อนแอ ขุนนางก็ต่อสู้อย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่อำนาจของพวกเขาเติบโตขึ้น ขุนศึกเหล่านี้ก็อ้างตัวเองว่าเป็นกษัตริย์ในดินแดนของพวกเขา
การกระทำนี้นำไปสู่ช่วงเวลาที่เรียกว่า
ยุคแห่งภาวะสงคราม (The Time of the Warring States) ซึ่งเริ่มขึ้นประมาณ
403 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
ปรัชญาในสมัยโบราณของจีน
ในช่วงแห่งภาวะสงครามในประเทศจีนนี้ สังคมจีนประสบความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยมาก
ขุนศึกและกษัตริย์ต่อสู้กันเอง เพื่อแย่งกันปกครองดินแดน นักวิชาการประหลาดใจว่าสิ่งใดนำสันติภาพไปยังดินแดน
พวกเขาพัฒนาวิธีการคิดสามวิธี คือ การยึดถือกฎหมาย ขงจื้อและเต๋า แต่ละอย่างก็เป็นปรัชญาหรือการศึกษาตรรกวิทยาเรื่องความจริงขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับความรู้
ค่านิยมและโลก
ลัทธิการยึดถือกฎหมาย ปรัชญาข้อหนึ่ง คือ
ลัทธิการยึดถือกฎหมาย หรือความเชื่อที่ว่าการปกครองที่มีสมรรถภาพสูง มีประสิทธิภาพและระบบกฎหมายที่เข้มงวดเป็นกุญแจในการการจัดระเบียบสังคม
ผู้สนับสนุนลัทธิการยึดถือกฎหมายกลัวความไม่เป็นระเบียบในสังคม
พวกเขาตัดสินใจว่า การปกครองที่แข็งแกร่งที่บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด จะฟื้นฟูระเบียบและแก้ปัญหาของจีน
 |
สำนักขงจื๊อ ขงจื๊อ ที่ 2 จากซ้าย พบปะกับลูกศิษย์ |
กฎหมายที่เข้มงวดและการลงโทษอย่างรุนแรง ผู้สนับสนุนลัทธิยึดกฎหมายเชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์เป็นคนชั่วร้าย
ดังนั้นพวกเขาคิดว่า คนจะทำความดีเมื่อถูกบังคับให้ทำเท่านั้น ผู้สนับสนุนลัทธิยึดกฎหมายคิดว่า การปกครองควรผ่านกฎหมายที่เข้มงวดเพื่อควบคุมแนวทางให้ผู้คนประพฤติ
พวกเขาแย้งว่าการลงโทษที่รุนแรงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำให้คนกลัวการทำความผิด
การควบคุมการปกครองเพิ่มมากขึ้น ผู้สนับสนุนลัทธิยึดกฎหมาย
สอนว่านักปกครองควรตอบแทนคนที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนเองเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ
ผู้สนับสนุนลัทธิยึดกฎหมาย เน้นการลงโทษมากกว่าการให้รางวัล ฉาง หยาง (Shang
Yang) ผู้สนับสนุนลัทธิยึดกฎหมายคนหนึ่ง ต้องการจะบังคับให้คนรายงานผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย
(lawbreakers) ในความเป็นจริง เขาคิดว่าคนที่ไม่ได้รายงานผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย
ควรจะถูกสำเร็จโทษ
ผู้สนับสนุนลัทธิยึดกฎหมาย ไม่ต้องการให้คนร้องทุกข์เกี่ยวกับการปกครอง
หรือคำถามว่ารัฐบาลได้ทำอะไรแล้ว พวกเขานิยมการจับกุมคนที่ถามรัฐบาลหรือสอนความคิดที่แตกต่าง
พวกเขายังสอน ว่า ผู้ปกครองควรเผาหนังสือที่มีปรัชญาหรือความคิดที่แตกต่างกัน
ลัทธิขงจื๊อ
ขงจื๊อมีชีวิตอยู่ ระหว่าง 551-479 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ช่วงเวลาของความขัดแย้งและความไม่สงบมากมายในประเทศจีน
เขาก็เหมือนกับผู้สนับสนุนลัทธิยึดกฎหมาย ต้องการจะฟื้นฟูระเบียบของยุคต้นให้แก่สังคมของเขา
อย่างไรก็ดี เขาได้พัฒนาความคิดที่แตกต่างเกี่ยวกับวิธีการที่จะยุติความขัดแย้งและมีความสงบสุขในเครือญาติทั้งหมด
ตามคำสอนขงจื้อ การเคารพคนอื่น ๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างแน่นอนเพื่อความสงบสุขและความสงบเรียบร้อย ผู้นำรัฐบาลควรกำหนดตัวอย่างที่ดี
เพื่อให้คนเห็นว่าสิ่งใดถูกต้อง ลูกศิษย์ของขงจื๊อรวบรวมความคิดของเขาและบันทึกไว้ในหนังสือที่เรียกว่า
กวีนิพนธ์ (Analects)
หนังสือบอกคำสอนของขงจื้อซึ่งจัดระบบความเชื่อเข้าด้วยกันซึ่งเป็นที่รู้จักว่า ลัทธิขงจื้อ
(Confucianism - kuhn•FYOO•shuh•nihz•uhm)
 |
เด็ก ๆ ในไต้หวันเข้าร่วมพิธีเชิดชูเกียรติขงจื๊อ |
ความสัมพันธ์ 5 ประการ ขงจื๊อสอนประมวลจรรยาบรรณที่เหมาะสมหรือพฤติกรรมสำหรับประชาชน
ในลัทธิขงจื้อมีความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานห้าประการ
ความสัมพันธ์แต่ละประเภทมีหน้าที่ของตัวเองและประมวลของการปฏิบัติที่เหมาะสม
ความสัมพันธ์ห้าประการ คือ
1. บิดากับบุตรชาย
2. พี่ชายกับน้องชาย
3. สามีกับภรรยา
4. เพื่อนกับเพื่อน
3. ผู้ปกครองกับราษฎร
ขอให้สังเกตว่า ความสัมพันธ์จัดอยู่ในขั้นพื้นฐานสองประการ คือ ความประพฤติที่เหมาะสมในครอบครัวและความประพฤติที่เหมาะสมในสังคม
ความประพฤติที่ถูกต้อง ขงจื๊อเชื่อว่า ความประพฤติดีและความเคารพเริ่มต้นที่บ้าน
สามีจะต้องดีกับภรรยาของตน ภรรยาจะต้องเชื่อฟังการตัดสินใจทุกอย่างของสามี พี่น้องจะต้องมีเมตตากับพี่น้อง
แต่น้องชายต้องทำตามความประสงค์ของพี่ชายเสมอ หนึ่งในคำสอนที่สำคัญที่สุดของขงจื๊อเป็นเรื่องลูกกตัญญูหรือดูแลพ่อแม่ด้วยความเคารพ
ขงจื๊อก็ยังกังวลกับพฤติกรรมของผู้คนในสังคม
เจ้าหน้าที่ควรได้รับการเคารพ ความรับผิดชอบของผู้ปกครองคือการดำรงชีวิตอย่างถูกต้องและดูแลราษฎรของตนด้วยความเคารพ
ถ้าผู้ปกครองเป็นผู้นำในทางที่ถูกต้องชอบธรรม
หน้าที่ของราษฎรคือการเชื่อฟัง ถ้าพฤติกรรมเหล่านี้ได้รับการประพฤติตาม จะมีความสงบสุขในสังคม
อิทธิพลของลัทธิขงจื๊อ ลัทธิขงจื้อได้วางบทบาททางครอบครัวและทางสังคมอย่างชัดเจน
เมื่อปฏิบัติตามบทบาทเหล่านี้ คนจีนจะพบวิธีการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและมีชีวิตอยู่อย่างสงบสุข
ผู้ปกครองหลายคนพยายามที่จะดำรงชีวิตอยู่ตามแบบอย่างขงจื้อเพื่อเป็นผู้ปกครองที่ดี
ขงจื้อได้วางรากฐานให้กับความยุติธรรมและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีฝีมือ โดยเน้นถึงความสำคัญของการศึกษา
ลัทธิเต๋า
ปรัชญาหลักอันดับสามของจีนโบราณได้รับการบอกเล่าว่า
ริเริ่มโดยเล่าจื๊อ (Laozi - low•dzuh) ไม่มีใครรู้ว่าเขามีชีวิตอยู่จริง
ๆ หรือไม่ แต่บางคนบอกว่าเขามีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช เล่าจื๊อ หมายความว่า
"เจ้านายเก่า” คัมภีร์คำสอนของท่าน
คือ เต๋าเต๊กเก็ง (Daodejing) (หนังสือวิถีแห่งคุณธรรม - The
Book of the Way of Virtue) คำสอนของเล่าจื๊อ เรียกกันว่าลัทธิเต๋า
(DOW•IHZ•uhm) คำสอนเหล่านั้นตรงกันข้ามกับลัทธิกฎหมายนิยมและขงจื๊ออย่างชัดเจน
แนวทาง เล่าจื้อเชื่อว่าพลังอำนาจของจักรวาลที่เรียกว่า
เต๋า (Dao) หรือแนวทาง (Way) ชี้นำทุกสิ่งทุกอย่าง
สิ่งมีชีวิตทั้งหมดยกเว้นมนุษย์ อาศัยอยู่อย่างสอดคล้องกับพลังนี้ มนุษย์โต้แย้งเกี่ยวกับคำถามถึงความถูกต้องและความผิด
ตามคำสอนของเล่าจื้อ ข้อโต้แย้งดังกล่าวไม่มีจุดหมาย ความสัมพันธ์กับธรรมชาติและความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
มนุษย์แต่ละคนต้องค้นหาวิถีทางเฉพาะตัวหรือ เต๋า เพื่อปฏิบัติตาม แต่ละคนควรเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยความเป็นอันหนึ่งเดียวกัน
หรือข้อตกลง กับธรรมชาติและด้วยความรู้สึกภายในของเขาหรือเธอ
เล่าจื้อและสานุศิษย์ของเขาก็เกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบทางธรรมชาติมากกว่าการจัดระเบียบสังคม
ตามคำสอนของเต๋าถ้าแต่ละคนสามารถหาวิธีการของแต่ละบุคคลของเขาหรือเธอและเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่ด้วยความกลมกลืนกับธรรมชาติ
ครั้นแล้วการจัดระเบียบสังคมจะติดตามมา ดังที่เล่าจื้อกล่าวว่า "ผู้คนควรจะอิ่มอกอิ่มใจในความเรียบง่ายในชีวิตประจำวันของพวกเขาด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและไม่อยู่ใต้อำนาจของความอยาก
(ตัณหา)"
 |
สัญลักษณ์หยินและหยาง วงกลมนอก หมายถึง สรรพสิ่ง รูปด้านใน เป็นตัวแทนการปฏิสัมพันธ์ของอำนาจ |
การปฏิบัติตามแนวทาง ผู้นับถือเต๋าทั้งหลายไม่ได้ขัดแย้งกับความดีและความชั่ว
และก็ไม่ได้พยายามเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ พวกเขายอมรับทุกสิ่งตามที่มันเป็น
ซึ่งแตกต่างจากสานุศิษย์ของลัทธิกฎหมายนิยมและลัทธิขงจื้อ พวกเขาไม่ต้องการที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาล
ในความเป็นจริงพวกเขาคิดว่ารัฐบาลควรปล่อยให้ประชาชนอยู่ตามลำพัง
ผู้นับถือเต๋าพยายามเข้าใจธรรมชาติและมีชีวิตอยู่ด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับจังหวะของธรรมชาติ
ข้อนี้รวมถึงการคิดของหยินและหยางหรือทั้งสองสิ่งที่มีปฏิกิริยาต่อกันและกัน
และเป็นตัวแทนจังหวะธรรมชาติของชีวิต หยิน
(สีดำ) หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีความเย็น มืดและลึกลับ หยาง (สีขาว) หมายถึงทุกสิ่งที่อยู่ในความอบอุ่น
สดใสและแสง พลังอำนาจทั้งหลายเติมเต็มซึ่งกันและกัน
พลังอำนาจมักจะเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเสมอ การทำความเข้าใจหยินและหยางช่วยให้คนเข้าใจวิธีที่เขาหรือเธอจะอยู่กับโลกอย่างเหมาะสม
ในการค้นหาความรู้และความเข้าใจในธรรมชาติ
ผู้นับถือเต๋าแสวงหาการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ พวกเขาทำผลงานที่สำคัญให้กับวิทยาศาสตร์ในสาขาต่าง
ๆ เช่น ดาราศาสตร์และแพทยศาสตร์
ราชวงศ์ฉินและราชวงศ์ฮั่น
ในตอนสิ้นสุดแห่งยุคของราชวงศ์โจว หลายรัฐก็ยังคงอยู่ในภาวะสงคราม ย้อนหลังไปดู จีนเชื่อในอาณัติแห่งสวรรค์ ตามความเชื่อนั้น สงครามและปัญหาอื่น
ๆ เป็นสัญญาณว่าราชวงศ์ที่ปกครองทำให้สวรรค์พิโรธ ชาวจีนเชื่อว่าพวกเขาต้องการนักปกครองคนใหม่
ราชวงศ์ฉินรวมจีนเป็นปึกแผ่น
ผู้ปกครองคนใหม่ของจีนมาจากรัฐฉิน (Qin or chihn) นักวิชาการบางคนคิดว่าชื่อของประเทศจีนอาจจะมาจากคำนี้ จักรพรรดิใหม่ใช้ชื่อชิหวั่งตี้
(Shi Huangdi - shee hwahng•dee) พระองค์จะรวมและขยายจีน
 |
เสื้อหยกในพิธีฝังศพ เสื้อหยกนี้ทำขึ้นมาจากหยก 2,498 ชิ้น ชาวจีนเชื่อว่า หยกจะรักษาศพไว้หลังจากตาย |
นักปกครองที่นิยมกฎหมาย ในระหว่าง 221 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
ผู้ปกครองรัฐฉิน ชิหวั่งตี้เริ่มยุติสงครามภายในระหว่างรัฐที่กำลังทำสงครามกัน
จากนั้น พระองค์ก็พิชิตรัฐคู่ปรับและขับไล่ผู้รุกรานเร่ร่อนออกไป จีนได้ขยายใหญ่ขึ้นกว่าที่เคยอยู่ภายใต้ราชวงศ์โจว
พระเจ้าชิหวั่งตี้เชื่อในลัทธิกฎหมายนิยม
และวิธีการบริหารประเทศ พระองค์พยายามกำจัดลัทธิขงจื้อ พระองค์สั่งให้ฆ่านักวิจารณ์และผู้นับถือลัทธิขงจื้อ
460 คน นอกจากนี้พระองค์ยังได้รับสั่งให้เผาตำราที่บรรจุความคิดที่พระองค์ไม่ชอบ
 |
รูปปั้นกองทัพดิน รูปปั้นทหารดินเหนียวฝังอยู่ที่สุสานของพรเจ้าชิหวั่งตี้ |
รวมจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระเจ้าชิหวั่งตี้
ต้องการให้รัฐบาลกลางเข้มแข็ง การรับการบังคับบัญชา พระองค์พยายามทำให้ครอบครัวขุนนางจีนอ่อนแอ
ริบเอาที่ดินของขุนนางและบังคับให้พวกเขาอยู่ในเมืองหลวงเพื่อจับตาดูพวกเขา
การกระทำเหล่านี้ทำให้อำนาจของจักรพรรดิมีความเข้มแข็ง
พระเจ้าชิหวั่งตี้ เริ่มรวมประเทศจีนให้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพระองค์
พระองค์ได้สร้างทางหลวงและโครงการชลประทานเพื่อเชื่อมดินแดนเข้าด้วยกัน บังคับให้ชาวนาทำงานในโครงการเหล่านี้และตั้งภาษีสูงในการจ่ายค่าแรงพวกเขา พระองค์ยังได้ตั้งมาตรฐานของรัฐบาลเกี่ยวกับเครื่องชั่งน้ำหนัก
เครื่องวัด เหรียญและการเขียนซึ่งทำให้ง่ายต่อการทำธุรกิจในทุก ๆ สถานที่ในประเทศจีน
กำแพงเมืองจีน พระเจ้าชิหวั่งตี้ ต้องการกำแพงยาวไปตามพรมแดนทางเหนือของจีน
เพื่อป้องกันชนเผ่าเร่ร่อน (หมายถึงมองโกล) ผู้มารุกราน พระองค์ทรงออกแบบกำแพงขนาดใหญ่ที่เชื่อมกำแพงขนาดเล็กซึ่งสร้างขึ้นในช่วงการทำสงครามรัฐเข้าด้วยกัน
กำแพงที่เก่าแก่ที่สุดสร้างขึ้นมาจากดิน
ภายหลังจึงนำหินและอิฐมาใช้
 |
กำแพงเมืองจีน (The Great Wall) สร้างในสมัยพระเจ้าชิหวั่งตี้ |
พระเจ้าชิหวั่งตี้ ทรงเกณฑ์ชาวนาและอาชญากรนับร้อยนับพันมาสร้างกำแพงขนาดใหญ่
คนงานหลายคนเสียชีวิตจากการทำงานหนัก การเสียชีวิตทำให้ประชาชนไม่พอใจเป็นอย่างมาก
ราชวงศ์ต่อมา ได้สร้างกำแพงขึ้นมาใหม่และขยายออกไปหลายครั้ง
สิ้นสุดราชวงศ์ฉิน พระเจ้าชิหวั่งตี้ สวรรคตในระหว่าง 210 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พระองค์ถูกฝังอยู่ในหลุมฝังศพที่ซับซ้อน
กองทัพของทหารที่ทำจากดินเผาถูกฝังอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเพื่อปกป้องหลุมฝังศพของพระองค์
นักโบราณคดีค้นพบทหารในปี คริสต์ศักราช 1974
------------------------------------------------------------------------------------------
ผู้สร้างประวัติศาสตร์
พระเจ้าชิหวั่งตี้ หรือ จิ๋น ชิ หวัง (259 –
210 ปี ก่อนคริสต์ศักราช)
พระเจ้าชิหวั่งตี้
ได้ตัดสินพระทัยในการรวบรวมและเสริมสร้างจีนให้แข็งแรง
พระองค์ทรงต่อต้านศัตรูของจีนและศัตรูของการปกครองของพระองค์อย่างหฤโหด
กองทัพของพระองค์ ได้โจมตีผู้รุกรานทางทิศเหนือของแม่น้ำหวงเหอ (ฮวงโห)
และทางทิศใต้ ไกลออกไปถึงเวียดนามในปัจจุบัน
ชัยชนะทางทหารของพระองค์ได้เพิ่มขนาดของจีนเป็นสองเท่า
พระเจ้าชิหวั่งตี้ ผู้นับถือลัทธิกฎหมายนิยม ทรงเชื่อมั่นในรัฐบาลกลางที่มีประสิทธิภาพ
พระองค์ ได้ถอนรากถอนโคนตระกูลขุนนาง 120,000 ครอบครัว
บังคับให้พวกเขาย้ายไปยังเมืองหลวงและยึดเอาที่ดินของพวกเขา
พระองค์ทรงบังคับให้ชาวนาสร้างทางหลวงเชื่อมโยงกัน มากกว่า 4,000 ไมล์ เพื่อเชื่อมต่อประเทศ พระองค์พยายามให้นักวิจารณ์สงบปากสงบคำ
โดยการสั่งให้เผาหนังสือ "ไร้ประโยชน์” แม้พระองค์ได้รวบรวมประเทศจีนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
แต่ก็ได้สังเวยเสรีภาพของประชาชนของพระองค์
----------------------------------------------------
ราชโอรสของชิหวั่งตี้เป็นนักปกครองที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าพระราชบิดาของตน
ในระหว่างที่เขาปกครอง มีการก่อจลาจลและจากนั้นก็มีสงครามกลางเมืองระอุไปทั่ว แม่ทัพชื่อหลิวปัง (lee•Yoo bahng) ยุติสงครามกลางเมืองและได้รวบรวมจีนอีกครั้ง
ในช่วง 202 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เขาเริ่มก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น ราชวงศ์ฮั่นยืนหยัดอยู่จนถึงประมาณคริสต์ศักราช
220 ซี่งอยู่ในช่วงเวลาเดียวกันกับจักรวรรดิโรมัน
 |
แผนที่จีนสมัยราชวงศ์ฮั่น 202 ปี ก่อน ค.ศ. - ค.ศ. 220 |
คณะปกครองราชวงศ์ฮั่น หลิวปังยังรักษานโยบายการปกครองส่วนกลางอันเข้มแข็งของราชวงศ์ฉินไว้แต่เขาลดภาษีลง
การลงโทษแบบรุนแรงก็น้อยลง ในจีนฮั่น ผู้ชายชาวนาเป็นหนี้แรงงานรัฐบาลปีละหนึ่งเดือนในโครงการสาธารณะของจักรพรรดิ
หลิวปังให้ชาวบ้านไปทำงานก่อสร้างถนน คลองและโครงการชลประทาน
นักปกครองชาวฮั่นได้จัดตั้งการปกครองระบบเจ้าขุนมูลนาย
ระบบราชการ (bureaucracy
- byu•RAHK•ruh•see) ซึ่งเป็นระบบของหน่วยงานในการดำเนินงานของรัฐบาล
ในวิธีการปกครองนี้ เจ้าหน้าที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ปกครอง ซึ่งดำเนินงานเป็นสำนักงานหรือที่ทำการ
เจ้าหน้าที่ได้ช่วยบังคับบัญชาในการปกครององจักรพรรดิ
นักปกครองชาวฮั่น ได้ให้ตำแหน่งแก่สมาชิกในครอบครัวและคนน่าที่เชื่อถือในรัฐบาลท้องถิ่น
อย่างไรก็ตาม ในที่สุด ทักษะความชำนาญของผู้คนเริ่มมีบทบาทสำคัญในการเลือกเจ้าหน้าที่ของรัฐ
นักปกครองชาวฮั่นได้จัดตั้งระบบเฟ้นหาคนที่มีการศึกษาและจริยธรรมมากที่สุดเพื่อเข้ารับข้าราชการในรัฐจักรวรรดิ พวกเขาได้ทดสอบบุคคลที่มีวามรู้ในลัทธิขงจื้อ
ระบบความเชื่อกลายเป็นรากฐานของรัฐบาลจีน
การปกครองของจักรพรรดินี เมื่อหลิวปังเสียชีวิตในช่วง 195
ปีก่อนคริสต์ศักราช จักรพรรดินีม่ายของหลิวปัง ชื่อ หลิว (Lü)
ได้ให้ลูกชายคนเล็กปกครอง หลิวอายุยืนกว่าลูกชายและยังคงให้ลูกชายครองบัลลังก์ต่อไป
ข้อนี้ทำให้เธอผูกขาดอำนาจเพราะลูกยังเด็กเกินไปสำหรับการปกครอง
เมื่อเธอเสียชีวิตในช่วง 180 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ผู้จงรักภักดีต่อหลิวปังได้สำเร็จโทษสมาชิกในตระกูลของเธอทุกคน
การขยายและการรวมจักรวรรดิ ตั้งแต่ 141-87 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ทายาทของหลิวปังชื่อ
หวู่ตี้ (Wudi – woo•dee) ได้ปกครองอาณาจักรฮั่น
เขาได้รับการขนานนามว่า จักรพรรดิแห่งสงคราม เพราะเขาใช้สงครามเพื่อขยายจีน หวู่ตี้ได้รับชัยชนะทางทหารหลายครั้ง
เขาได้รวบรวมภูมิภาคทางตอนใต้ของจีน ทางตอนเหนือของเวียดนามและภาคเหนือเกาหลีภายใต้มาอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของตนเอง
ได้ขับไล่ชนเผ่าเร่ร่อนผู้บุกรุกออกจากทางตอนเหนือของจีน ในตอนท้ายของการปกครองของหวู่ตี้
จีนได้แผ่ขยายใหญ่อย่างมีนัยสำคัญเกือบเท่าดินแดนในปัจจุบันของจีน
การรวมอาณาจักรขนาดใหญ่และมีความหลากหลายนี้ รัฐบาลจีนได้ส่งเสริมประชาชนที่ตนเองพิชิตได้ให้กลมกลืนกันหรือให้ยอมรับวัฒนธรรมของจีน
เพื่อจะทำให้ได้อย่างนั้น รัฐบาลจึงส่งเกษตรกรชาวจีนไปตั้งรกรากบริเวณพื้นที่ที่เป็นอาณานิคมใหม่
ๆ พร้อมทั้งสนับสนุนเกษตรกรให้แต่งงานกับประชาชนที่ตนเองพิชิตได้
เพื่อช่วยให้วัฒนธรรมจีนแพร่กระจาย เจ้าหน้าที่ของรัฐได้จัดตั้งโรงเรียนเพื่อสอนลัทธิขงจื้อให้กับคนในท้องถิ่น
แล้วพวกเขาก็แต่งตั้งนักวิชาการในท้องถิ่นเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล
ราชวงศ์ฮั่นเผชิญกับการก่อจลาจล
การปฏิวัติชาวนา น้ำท่วม ความอดอยากและภัยพิบัติทางเศรษฐกิจ รัฐบาลที่แข็งแกร่งและประชากรที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันช่วยให้พวกเขายังดำรงอยู่ในอำนาจ
พวกเขาปกครองประเทศจีนจนกระทั่ง ค.ศ. 220
การดำรงชีวิตในสมัยจีนฮั่น
ในปัจจุบันนี้ ชาวจีนจำนวนมากเรียกตัวเองว่าชาวฮั่น พวกเขายืนยันอย่างเข้มแข็งว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอดีตกาลอันเก่าแก่
ชาวฮั่นเป็นคนขยันมีอารยธรรมเจริญรุ่งเรืองมานานหลายทศวรรษ
 |
ผู้หญิงในราชสำนักจีน แต่งตัวและทำผมอย่างประณีต |
การใช้ชีวิตประจำวันในสมัยจีนฮั่น สังคมฮั่นส่วนใหญ่ทำงานในไร่นา
เกษตรกรอาศัยอยู่ในหมู่บ้านใกล้ผืนแผ่นดินที่พวกเขาทำงาน ส่วนมากอาศัยอยู่ในบ้านโคลนที่มีหนึ่งห้องหรือสองห้อง นอกจากนี้ยังมี ยุ้งฉาง เล้าหมู และอาคารเก็บของตั้งอยู่ด้วย
เกษตรกรที่ร่ำรวย อาจจะมีวัวหนึ่งตัวหรือสองตัวสำหรับลากไถ
เกษตรกรที่ยากจนจะลากไถด้วยตัวเอง ทั้งคนรวยและคนจนมีเครื่องมือเรียบง่ายสองสามชนิดในการทำไร่นาให้ง่ายขึ้นมาเล็กน้อย
เกษตรกรชาวจีนสวมเสื้อผ้าที่เรียบง่ายและรองเท้าแตะเหมือนเสื้อผ้าในปัจจุบันนี้เป็นส่วนมาก
ในช่วงหน้าหนาว เสื้อผ้าของพวกเขาจะถูกยัดเหมือนผ้าห่ม
เกษตรกรในภาคเหนือจะปลูกข้าวสาลีหรือข้าวฟ่าง ผู้ที่อยู่ในภาคใต้ จะปลูกข้าว หลายครอบครัวจะรักษาสวนผักไว้เพื่อเป็นอาหารเสริม
ปลา และเนื้อสัตว์ก็ยังพอหาได้ แต่มีราคาแพง
เป็นผลให้คนส่วนใหญ่กินเนื้อสัตว์และปลาเป็นส่วนน้อย
ชีวิตในเมือง ชาวจีนฮั่นไม่ได้อาศัยอยู่ในชนบททุกคน ยังมีเมืองด้วย เมืองเป็นศูนย์กลางของการค้า การศึกษาและการปกครอง
พ่อค้า ช่างฝีมือ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ อาศัยอยู่ในเมือง
ในบางวิธี เมืองไม่แตกต่างจากเมืองในปัจจุบันนี้มากนัก คับคั่งและมีการบันเทิงหลายชนิด รวมถึงนักดนตรี นักเล่นกลและกายกรรม
ตามที่นักเขียนบางคนบอกไว้ ในเมืองยังมีแก๊งข้างถนน
 |
รูปปั้นม้าบินสัมฤทธิ์ ถือกันว่า เป็นศิลปะที่งดงามที่สุดชิ้นหนึ่งแห่งราชวงศ์ฮั่น |
มรดกของจีนโบราณ
เส้นทางสายไหม
 |
เส้นทางสายไหม |
ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ชาวจีนรู้จักแต่วิธีทำไหมเท่านั้น ไหมเป็นที่ต้องการมากเนื่องจากเป็นผ้าที่หรูหรา
สำหรับชาวจีนและคนนอกประเทศจีน ผ้าไหมจีนเป็นสิ่งที่สำคัญในการเปิดเส้นทางการค้าไปทางทิศตะวันตก
 |
เหรียญนี้ใช้ในสมัียราชวงศ์ฮั่น ด้านทิศตะวันออกของเอเชียกลาง จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 6 |
การเชื่อมผ่านระหว่างยุโรปและเอเชีย เส้นทางการค้าทางบกเรียกว่า
เส้นทางสายไหม (Silk Roads) เนื่องจากพ่อค้าใช้ขนส่งผ้าไหมและสินค้าอื่น
ๆ เดินทางเป็นกองเกวียน เส้นทางตรงไปทางทิศตะวันตกยาวเหยียดจากประเทศจีนผ่านเอเชียกลาง
สู่เมโสโปเตเมียและยุโรป ครอบคลุมอาณาบริเวณประมาณ 5,000 ไมล์
เนื่องจากเส้นทางเหล่านี้ทอดข้ามสองทวีป คือ ยุโรปและเอเชีย จึงเรียกันกว่า ทรานส์-ยุเรเชียน (trans-Eurasian)
จีนเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการค้าขายอันใหญ่มหึมาของโลก
 |
การเย็บปักถักร้อยไหมพรม การเย็บปักถักร้อยไหมพรมของจีนชิ้นนี้ แสดงถึงพุทธกิจการเผยแพร่พระธรรมบนภูเขาคิชฌกูฏ |
ประมาณ 100 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เส้นทางสายไหมก่อกำเนิดขึ้นสมบูรณ์เต็มที่ เหล่าพ่อค้าสร้างความร่ำรวยด้วยการขนส่งสินค้าไปมาข้ามภูมิประเทศอันทุรกันดารด้วยกองคาราวานอูฐ
การเดินทางอาจใช้เวลาหลายปี เมืองตามเส้นทางสายไหมจะจัดอาหาร น้ำ และที่พักพิง พร้อมทั้งสินค้าไว้จำหน่าย
สินค้าที่ออกจากประเทศจีน มีทั้งผ้าไหม กระดาษ หยก และเครื่องปั้นดินเผา สินค้าแลกเปลี่ยนที่มาจากตะวันตก
มีเมล็ดงาและน้ำมันโลหะและอัญมณี สินค้ารายการหนึ่งซึ่งชาวจีนให้มูลค่าเป็นพิเศษ
คือ ม้าจากเอเชียกลาง
 |
แผนที่เส้นทางสายไหม |
การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม สินค้าที่ค้าขายกันไม่ได้มีเพียงสิ่งของเท่านั้นที่เคลื่อนย้ายบนเส้นทางสายไหม
ความคิดและประเพณีวัฒนธรรมก็แพร่กระจายไปตามเส้นทางสายไหมด้วย การแพร่กระจายความคิดและประเพณีนี้เรียกว่า
การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม (Cultural diffusion) สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อใดก็ตามที่คนกลุ่มหนึ่งมาติดต่อประสานกับคนอีกกลุ่มกลุ่มหนึ่ง
ตามที่ทราบแล้วว่า อุปสรรคด้านภูมิศาสตร์ได้แยกประเทศจีนให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว
ซึ่งหมายความว่าวัฒนธรรมของจีน ได้พัฒนากับอิทธิพลภายนอกเล็กน้อย แต่เส้นทางสายไหม ที่ทอดอ้อมทะเลทรายทากลิมากัน
(Taklimakan) และข้ามเทือกเขาปารมีส์ (Pamirs)
ช่วยให้สินค้า ความคิดและขนบธรรมเนียมใหม่ ๆ เข้าสู่ประเทศจีน
ตัวอย่างเช่น สิ่งต่าง ๆ เช่นเทคนิคการทหารของเอเชียกลาง คำสอนทางพุทธศาสนาและรูปแบบวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามาสู่ประเทศจีน
ในทางกลับกัน ศิลปะจีน ผ้าไหม และเครื่องปั้นดินเผาได้มีแพร่อิทธิพลต่อวัฒนธรรมตะวันตก
การเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในยุคสมัยราชวงศ์ฮั่น
พระธรรมทูตชาวพุทธ ได้เดินทางเข้ามาประเทศจีนตามเส้นทางสายไหมและเผยแพร่ศาสนาให้กับคนจีน
ตอนแรก แนวความคิดต่างแดนนั้น (หมายถึงพระพุทธศาสนา)
ได้ดึงดูดสาวกได้ไม่กี่คน อย่างไรก็ตามในปีที่เกิดความโกลาหลหลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น บทสวดมนต์ที่ทำให้พ้นจากความทุกข์ของพุทธศาสนาก็ดึงดูดความสนใจแก่ชาวจีนจำนวนมาก
ชาวพุทธจีนจึงปรับปรุงแก้ไขศาสนาพุทธให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมประเพณีของตนเอง
พุทธศาสนาได้เผยแพร่จากประเทศจีนไปยังประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี
 |
เส้นทางสายไหม |
แนวความคิดและความเชื่อที่มีอิทธิพล
ปรัชญาของจีนโบราณมีอิทธิพลต่อประเทศและต่อโลก มาตรฐานที่ขงจื้อจัดตั้งขึ้นยังคงอยู่อย่างมีนัยสำคัญในการปกครองและการศึกษาของจีน ปัจจุบันนี้แนวความคิดของขงจื้อเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ทางสังคมยังคงมีความสำคัญอยู่ในหมู่บ้านจีน ลัทธิขงจื้อกลายเป็นปรัชญาที่มีอิทธิพลมากในประเทศญี่ปุ่นเกาหลีและเวียดนาม
ลัทธิเต๋ามีอิทธิพลอย่างยาวนานในประเทศจีน ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5 ก็กลายเป็นศาสนาที่มีพระสงฆ์
พิธีกรรมและปริมาณของการเก็บรวบรวมงานเขียน ซึ่งแตกต่างจากลัทธิขงจื้อ
แต่เต๋ายังคงอยู่ในระบบความเชื่อขั้นต้นของจีน
ศาสนาพุทธ ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื้อ
เป็นศาสนาหรือระบบจริยธรรมหลักทั้งสามรวมกัน ได้มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของจีน
ความเชื่อของคนส่วนใหญ่ประกอบด้วยองค์ประกอบของทั้งสามศาสนา วัดเต๋า และวัดทางพุทธศาสนาสามารถมองเห็นได้ทั่วประเทศจีน
ปัจจุบันนี้ ระบบความเชื่อทั้งสามระบบ มีศาสนิกชนทั่วโลก พุทธศาสนาจะแพร่หลายเป็นส่วนใหญ่ มีศาสนิกชนเกือบ 379 ล้านคน ใน 130 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้นับถือลัทธิขงจื้อเกือบ
6.5 ล้าน และผู้นับถือลัทธิเต๋า ประมาณ 2.7
ล้านทั่วโลก
สิ่งประดิษฐ์คิดค้นของชาวจีน
จีนมีประชากรมากมายมหาศาลและกำลังขยายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับการดูแล จีนพิจารณาเห็นว่าการทำนาเป็นอาชีพที่สำคัญที่สุดและมีเกียรติ
เพราะการเกษตรมีนัยสำคัญมากในประเทศจีน
สิ่งประดิษฐ์ทางการเกษตรใหม่ ๆ จำนวนมาก
จึงเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้
การปรับปรุงทางการเกษตร สิ่งประดิษฐ์ของชาวจีนทำให้การดำเนินชีวิตของเกษตรกรง่ายขึ้นและทำให้ข้าวมีมากขึ้นสำหรับค้าขาย
ตัวอย่างเช่น ชาวจีนได้ปรับปรุงไถให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพราะมันมีสองผาล ไถที่ได้รับการปรับปรุง พร้อมกับเครื่องมือการทำเกษตรที่ทำจากเหล็กอย่างดีช่วยให้ผลผลิตของพืชพันธุ์ธัญญาหารเพิ่มขึ้น
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอีกประการหนึ่งก็คือบังเหียนสวมคอม้า
สิ่งประดิษฐ์นี้ทำให้ม้าบรรทุกของได้มากกว่าบังเหียนที่ทำขึ้นใช้กันในยุโรปในช่วงเวลานั้น จีนยังเป็นผู้คิดค้นรถสาลี่
(รถเข็นล้อเดียว – เฉพาะล้อหน้า) ซึ่งทำให้เกษตรกรขนของหนักด้วยมือได้ง่ายขึ้น จีนเริ่มใช้กังหันน้ำที่ใช้พลังงานน้ำในการบดเมล็ดข้าว
ในผืนดินของเกษตรกรส่วนใหญ่ สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้เป็นเครื่องมือที่มีคุณค่า
กระดาษ ในคริสต์ศักราช
105 มีการคิดค้นกระดาษขึ้นในประเทศจีน
ก่อนหน้านั้นหนังสือทำจากผ้าไหมมีราคาแพง กระดาษราคาไม่แพงทำขึ้นมาจากส่วนผสมของเศษผ้าเก่า
เปลือกไม้หม่อน และเส้นใยจากพืชกัญชา กระดาษราคาไม่แพงทำให้ประเทศที่ให้คุณค่าในด้านการเรียนรู้สูงมีหนังสือเรียน
การประดิษฐ์กระดาษยังได้ส่งผลกระทบรัฐบาลจีน ก่อนหน้านี้เอกสารของรัฐบาลทั้งหมด
ได้รับการบันทึกลงบนแผ่นไม้ การใช้กระดาษสำหรับการบันทึกเก็บรักษาสะดวกสบายมากขึ้น กระดาษเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญสำหรับการบริหารของข้าราชการ
ซึ่งได้เก็บรักษาระเบียน (จดหมายเหตุ) ไว้เป็นอันมาก
 |
ปัจจุบันนี้ก็ยังมีพ่อค้านำผ้าไหมมาขายที่ตลาดเส้นทางสายไหมเก่าในเมืองคัชการ์ ประเทศจีน |
ผ้าไหม ผ้าไหมมีความสวยงามและมีความทนนาน
สามารถย้อมให้มีสีสดใสได้ จีนเท่านั้นรู้เคล็ดลับในการทำผ้าไหมมาเป็นเวลาประมาณ
3,000 ปี เนื่องจากผ้าไหมเป็นของหายาก จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้าที่ยอดเยี่ยม
ผ้าไหมทำให้จีนได้รับเงินและทองจากดินแดนทางตะวันตกของจีน ครั้งหนึ่ง ผ้าไหม 1 ปอนด์มีมูลค่าเท่ากับทอง 1
ปอนด์ การได้รับทองและเงินเป็นสิ่งสำคัญต่อประเทศจีนเพราะประเทศไม่ได้มีพื้นที่ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุแต่ประการใด