ประวัติศาสตร์โลก

ประวัติศาสตร์โลก
World History

ประวัติศาสตร์โลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์โลกหรือประวัติศาสตร์มนุษยชาติเริ่มต้นที่ยุคหินเก่า ประวัติศาสตร์โลกไม่รวมประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่ไม่ใช่มนุษย์และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยา ยกเว้นตราบเท่าที่โลกธรรมชาตินั้นกระทบต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก ประวัติศาสตร์โลกประกอบด้วยการศึกษาทางโบราณคดีและหลักฐานลายลักษณ์อักษรตั้งแต่สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์โบราณที่มีบันทึกเริ่มต้นจากการประดิษฐ์การเขียน ทว่า รากเหง้าแห่งอารยธรรมมีมาแต่ก่อนการประดิษฐ์การเขียน สมัยก่อนประวัติศาสตร์เริ่มต้นในยุคหินเก่า ต่อด้วยยุคหินใหม่และการปฏิวัติเกษตรกรรม(ระหว่าง 8000 ถึง 5000 ปีก่อนคริสตกาล) ในวงพระจันทร์เสี้ยวไพบูลย์ (Fertile Crescent) การปฏิวัติเกษตรกรรมเป็นเครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมนุษย์เริ่มต้นทำการเกษตร คือ กสิกรรมและการเลี้ยงสัตว์อย่างเป็นระบบ เมื่อเกษตรกรรมก้าวหน้าขึ้น มนุษย์ส่วนมากเปลี่ยนจากวิถีชีวิตเร่ร่อนมาเป็นตั้งถิ่นฐานเป็นเกษตรกรในนิคมถาวร การเร่ร่อนยังมีอยู่ในบางที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลซึ่งมีพืชที่เพาะปลูกได้ไม่กี่ชนิด แต่ความมั่นคงสัมพัทธ์และผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นจากกสิกรรมทำให้ชุมชนมนุษย์ขยายเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่า ซึ่งความก้าวหน้าในการขนส่งก็มีส่วนช่วย

เมื่อกสิกรรมพัฒนา การเพาะปลูกธัญพืชมีความซับซ้อนขึ้นและทำให้มีการแบ่งงานกันทำเพื่อเก็บอาหารระหว่างฤดูเพาะปลูก จากนั้นการแบ่งงานทำให้เกิดชนชั้นสูงที่สุขสบายและพัฒนาการนคร สังคมมนุษย์ที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ระบบการเขียนและการบัญชีมีความจำเป็น หลายนครพัฒนาบนตลิ่งทะเลสาบและแม่น้ำ ตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เกิดนิคมโดดเด่นและมีการพัฒนาดียุคแรก ๆในเมโสโปเตเมีย ริมตลิ่งแม่น้ำไนล์แห่งอียิปต์ และหุบแม่น้ำสินธุ อาจมีอารยธรรมคล้ายกันพัฒนาขึ้นตามแม่น้ำสำคัญในจีน แต่หลักฐานทางโบราณคดีของการสร้างเมืองอย่างกว้างขวางในที่นั้นชัดแจ้งน้อยกว่า

ประวัติศาสตร์โลกเก่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน) โดยทั่วไปแบ่งเป็นยุคโบราณ ถึง ค.ศ. 476, สมัยกลาง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 15 ซึ่งรวมยุคทองของอิสลาม (ประมาณ ค.ศ. 750-1258) และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยายุโรปตอนต้น (เริ่มต้นประมาณ ค.ศ. 1300), ยุคใหม่ตอนต้น ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งรวมยุคเรืองปัญญา และยุคใหม่ตอนปลาย นับแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมถึงปัจจุบัน รวมทั้งประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ตะวันออกใกล้โบราณ กรีซโบราณและโรมโบราณมีความโดดเด่นในยุคโบราณ ในประวัติศาสตร์ยุโรปตะวันตก การเสียกรุงโรมมักยึดเป็นการสิ้นสุดของยุคโบราณและการเริ่มต้นของสมัยกลาง ขณะที่ยุโรปตะวันออกมีการเปลี่ยนผ่านจากจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งรุ่งเรืองต่อมาอีกเป็นเวลานาน กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 การประดิษฐ์การพิมพ์สมัยใหม่ของโยฮันน์ กูเทนแบร์ก ซึ่งใช้การสื่อสารแบบเคลื่อนที่ได้และเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง เป็นจุดสิ้นสุดของยุคกลางและนำไปสู่การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 การสะสมความรู้และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ได้ถึงจำนวนวิกฤต (critical mass) อันนำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม

ในส่วนอื่นของโลก เช่น ตะวันออกใกล้โบราณ จีนโบราณ และอินเดียโบราณ เส้นเวลาทางประวัติศาสตร์ได้คลี่ออกต่างกัน อย่างไรก็ดี จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากการค้าโลกที่ขยายตัวและการล่าอาณานิคม ทำให้ประวัติศาสตร์ของอารยธรรมโลกส่วนมากสานเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนา ในช่วงสองร้อยกว่าปีล่าสุด การเติบโตของความรู้ เทคโนโลยี การพาณิชย์ และศักยภาพการทำลายล้างของสงครามได้เร่งให้เกิดขึ้น ก่อให้เกิดโอกาสและอันตรายซึ่งปัจจุบันกำลังเผชิญชุมชนมนุษย์ที่อยู่อาศัยบนดาวเคราะห์ดวงนี้

แปลจากหนังสือ World History โดย...Mcdougal Littel
ผู้แปล...ทรงศักดิ์ สายหยุด

อินเดียสมัยโบราณ

อินเดียโบราณ

ภูมิประเทศและชีวิตของชาวอินเดีย

ภูมิศาสตร์กายภาพของอินเดีย

          อินเดียเป็นอนุทวีป (Subcontinent – ทวีปขนาดย่อย เหมือนกับเกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์กใกล้ขั้วโลกเหนือ) ซึ่งเป็นผืนดินขนาดใหญ่ที่เป็นส่วนหนึ่งของทวีป แต่ถือว่าเป็นภูมิภาคแยกย่อย อนุทวีปรวมถึง บังคลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เนปาลและส่วนใหญ่ของปากีสถานในปัจจุบัน มักจะเรียกกันว่าเอเชียใต้ อนุทวีปอินเดีย รูปร่างคล้ายว่าว เคยเป็นทวีปที่แยกต่างหาก มันเคลื่อนไปทางเหนือจนชนทวีปเอเชีย การปะทะกันทำให้เกิดภูเขาขึ้นตรงที่สองแผ่นดินมาบรรจบกัน
แผนที่ลำดับประวัติศาสตร์โลกและอินเดีย
แผนที่ลำดับประวัติศาสตร์โลกและอินเดีย
ภูเขาและแม่น้ำลำคลอง เทือกเขาเหล่านั้นก่อรูปเป็นเทือกเขา รวมทั้งฮินดูกูช (HIHN•doo kush) และเทือกเขาหิมาลัย (HIHM•uh•LAY•uhz) ภูเขาที่สูงที่สุดในโลก ภูเขาเหล่านั้นทอดตัวไปทางอินเดียตอนเหนือ แยกอินเดียออกจากจีนและเอเชีย  
แผนที่ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์และแหล่งทรัพยากรของอินเดีย
แผนที่ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และแหล่งทรัพยากรของอินเดีย 300 ปี ก่อน ค.ศ.
แม่น้ำของอนุทวีปประกอบด้วยแม่น้ำคงคา (Ganges - GAN•jeez) และสินธุ (Indus) แม่น้ำทั้งสองสายนี้นำน้ำไปเพื่อการชลประทาน ตะกอนที่แม่น้ำพัดพาตกไว้ทำให้ที่ดินอุดมสมบูรณ์ ในสมัยโบราณ บริเวณแม่น้ำสรัสวดี (SAR•uhs•WUH•tee) เป็นที่ตั้งเมืองใหญ่ ๆ มากมาย อย่างไรก็ตาม แม่น้ำสรัสวดีแห้งขอด บางทีอาจเป็นเพราะแผ่นดินไหว
ทะเลอาหรับ มหาสมุทรอินเดียและอ่าวเบงกอล ล้อมรอบอินเดีย   ชาวอินเดียโบราณแล่นเรือไปตามน้ำเหล่านี้ไปยังดินแดนอื่น ๆ เพื่อการค้าขาย
แผ่นที่ลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตรือินเดียและโลก
แผ่นที่ลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตรือินเดียและโลก
ภูมิอากาศ ภูเขาสูงช่วยป้องกันลมหนาวทางตอนเหนือที่พัดมาถึงอินเดียได้เป็นอย่างมาก  เป็นผลให้อุณหภูมิโดยทั่วไปมีแต่ความอบอุ่น นอกจากนี้ระบบลมตามฤดูกาลที่เรียกว่า มรสุม ก็ปรับสภาพภูมิอากาศของอินเดีย  ลมเหล่านั้น ก่อให้เกิดฤดูฝนหรือฤดูแล้งในภูมิภาค  บางครั้งมีฝนตกหนัก  มรสุมฤดูร้อนนำฝนมาหล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ธัญญาหารของอินเดีย แต่ฝนเหล่านี้ยังสามารถทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง
แม่น้ำคงคา
แม่น้ำคงคา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของอินเดีย ชาวอินเดียถือว่าเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ในภาพ  เมืองพาราณสีตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำคงคาซึ่งยังมีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่นในสปัจจุบัน

เมืองในลุ่มน้ำสินธุ

         กองดินขนาดใหญ่เรียงรายอยู่ตามลุ่มน้ำสินธุ  ใกล้กองดินเหล่านั้น ผู้คนค้นพบอิฐเผาและศิลาจารึกเล็ก ๆ ที่ปกคลุมไปด้วยการเขียนอันลึกลับ  การค้นพบเหล่านี้ นำไปสู่การสำรวจกองดินเพิ่มเติม นักโบราณคดี ได้เปิดเผยซากปรักหักพังของอารยธรรมโบราณ

พลเมืองในยุคแรก ประวัติศาสตร์ในลุ่มแม่น้ำสินธุ มีรูปแบบเหมือนกันกับในสุเมเรียนและอียิปต์  เหมือนในภูมิภาคอื่น ๆ  อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุเริ่มต้นด้วยการเกษตร  เกษตรกรยุคแรกสุด ส่งเสริมข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์   ประมาณ 3,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พวกเขาปลูกฝ้ายและทำเป็นสิ่งทอ  ซึ่งเป็นคนพวกแรกในเอเชียที่ทำเช่นนั้น พวกเขาเลี้ยงวัว แพะ  แกะและไก่จนเชื่อง พวกเขายังได้เรียนรู้วิธีทำเครื่องมือทองแดงและสำริดอีกด้วย
ผู้คนในหมู่บ้าน ค้าขายซึ่งกันและกัน  เมื่อเวลาผ่านไป ประชาชนลุ่มแม่น้ำสินธุ เริ่มการค้ากับผู้คนจากแดนไกลออกไป พวกเขาได้รับความมั่งคั่งจากการค้าขาย ซึ่งช่วยให้พวกเขาพัฒนาวัฒนธรรมที่สลับซับซ้อนมากขึ้น
ตราประทับในลุ่มแม่น้ำสินธุ
ตราประทับแห่งลุ่มน้ำสินธุ  ตราประทับนี้เป็นรูปช้าง  แต่นักปราชญ์ไม่รู้อะไรเกี่ยวกับ
ตราประทับนี้ เนื่องจากไม่ทราบวิธีอ่านสัญลักษณ์ด้านบน
มหานครต่าง ๆ  ประมาณ 2,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  บางหมู่บ้านมีการเติบโตเป็นมหานคร  ลุ่มน้ำสินธุและสรัสวดีหลายร้อยเมือง  อย่างน้อย 35,000 คนอาจจะอาศัยอยู่ในที่ใหญ่ที่สุดและดีที่สุดที่รู้จักกัน คือ เมืองโมเหนโช-ดาโร (Mohenjo Daro - MOH•HEHN•Joh•Dahr•OH) และหะรัปปา (Harappa - huh•RAP•uh) หะรัปปาได้ให้ชื่อเสียงแก่วัฒนธรรมทุกอย่าง  ในปัจจุบันนี้ วัฒนธรรมโบราณที่พัฒนาตามลุ่มแม่น้ำสินธุ เรียกว่า อารยธรรมหะรัปปา (Harappan civilization)
อารยธรรมนี้แสดงให้เห็นเมืองที่มีการวางแบบแปลน (ผังเมือง)  ซึ่งเป็นเมืองที่สร้างขึ้นตามการออกแบบ สถาปนิกล้อมรอบเมืองเหล่านี้ด้วยกำแพงป้องกันเมืองที่ทำด้วยอิฐก้อนใหญ่  ถนนในเมือง ตัดผ่านกันเป็นตารางเป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมเป็นสี่เหลี่ยม  ตามถนน มีบ้าน ร้านค้าและโรงงาน เมืองยังมีอาคารสาธารณะขนาดใหญ่ที่อาจจะใช้สำหรับพิธีทางศาสนาหรือรัฐบาล
นครหะรัปปาเองเป็นตัวอย่างที่ดีของการวางผังเมืองนี้ เมืองถูกสร้างขึ้นบนพื้นอิฐโคลน เพียงบางส่วน เพื่อป้องกันน้ำท่วม กำแพงอิฐหนายาวประมาณสามไมล์ครึ่งล้อมรอบเมือง ภายในเป็นป้อมปราการที่ให้ความคุ้มครองสำหรับพระราชวงศ์และยังให้บริการเหมือนวัดอีกด้วย  ถนนในระบบตารางของเมือง กว้าง 30 ฟุตเท่ากัน กำแพงแบ่งหัวเมืองออกจากกัน บ้านมีขนาดแตกต่างกัน ตรอกแคบ ๆ แยกบ้านเป็นแถว ๆ ซึ่งถูกจัดไว้เป็นกลุ่ม ๆ
การจัดการกับปัญหา คนที่อยู่ในเมืองใหญ่มักจะมีการจัดการกับปัญหาการกำจัดของเสียที่มนุษย์ก่อขึ้น ในเมืองที่เก่าแก่ที่สุด ประชาชนจะฟื้นฟูน้ำจากแม่น้ำหรือบ่อน้ำที่เป็นศูนย์กลาง พวกเขาทิ้งของเสียลงในร่องระบายน้ำที่เปิดหรือระบายมันออกจากเมือง  ในทางกลับกัน เมืองหะรัปปา เจริญก้าวหน้ามากในพื้นที่นั้น  บ้านเกือบทุกบ้าน มีห้องน้ำและห้องสุขา ท่อระบายน้ำใต้ดินระบายของเสียออกไป  ไม่มีอารยธรรมอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จด้านความสะดวกสบายในระดับนี้ จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 18
มันต้องใช้เวลาวางแผนและการจัดการอย่างรอบคอบมาก ในการสร้างเมืองที่สลับซับซ้อนเช่นนั้น  ด้วยเหตุนั้น นักประวัติศาสตร์จึงเชื่อว่า ชาวหะรัปปันโบราณ ต้องมีผู้นำที่ทรงประสิทธิภาพ  พวกเราไม่ทราบว่าพระสงฆ์หรือกษัตริย์หรือการรวมกันของทั้งสอง ปกครองชาวหะรัปปัน  แต่รัฐบาลของชาวหะรัปปันจะต้องแข็งแกร่ง

วัฒนธรรมของหะรัปปา
           รูปแบบของการเขียนน่าพิศวง ปกคลุมศิลาจารึกที่คนค้นพบในเมืองที่สลักหักพัง บางส่วนของศิลาจารึกเหล่านั้นอาจได้ชี้ให้เห็นชนิดของสินค้าที่ทำการค้าขายกัน

เมืองในลุ่มแม่น้ำสินธุ

นักวิชาการบางคนคิดว่า  ภาพสัญลักษณ์ หรือ สัญลักษณ์ที่เป็นภาพ 500 ภาพ ที่ชาวหะรัปปันเขียนขึ้น อาจใช้แทนคำ เสียง หรือทั้งสองอย่าง แต่พวกเขาไม่ทราบจริง ๆ ไม่มีใครเลยที่คิดวิธีการอ่านข้อเขียนของอารยธรรมชาวหะรัปปันออก จนกว่าจะมีบางคนทำได้ วิธีเดียวที่เราสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับอารยธรรม คือ ด้วยการศึกษาสิ่งประดิษฐ์
แผนที่ที่ตั้งเมืองโมเหนโจ-ดาโร
แผนที่ที่ตั้งเมืองโมเหนโจ-ดาโร
ศาสนาของชาวหะรัปปัน  นักโบราณคดียังไม่ได้ระบุที่ตั้งของวัดใด ๆ สำหรับเทพหรือพระเจ้าที่แน่นอน แต่พวกเขาได้พบหลักฐานทางศาสนา เมืองโมเหนโช ดาโร มีห้องอาบน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ที่อาจนำมาใช้สำหรับการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา นักโบราณคดีได้พบรูปภาพของสัตว์ เช่น วัว  ซึ่งชาวอินเดียยังคงถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์  พวกเขายังพบรูปแกะสลักดินที่อาจจะเป็นเทพหรือตุ๊กตาธรรมดาสามัญ
กำแพงป้อมปราการ
กำแพงป้อมปราการเป็นส่วนหนึ่งของเมืองส่วนใหญ่ในลุ่มน้ำสินธุ
นักบวชอาจจะสวดอธิษฐานเพื่อให้การเก็บเกี่ยวผลิตผลที่ดีและปลอดภัยจากน้ำท่วม วัตถุทางศาสนา แสดงถึงการเชื่อมโยงไปยังวัฒนธรรมฮินดูสมัยใหม่  รูปภาพแสดงถึงสิ่งที่ดูเหมือนพระศิวะในยุคแรก ซึ่งเป็นเทพที่สำคัญของฮินดู  รูปภาพอื่น ๆ  เกี่ยวข้องกับพระแม่เทพและการเคารพสักการะวัว ทั้งหมดนี้ กลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมอินเดียในยุคต่อมา
แผนที่เมืองโมเหนโจ-ดาโร
แผนที่เมืองโมเหนโจ-ดาโร แสดงการจัดระเบียบอาคารและถนนหนทาง
วัฒนธรรมกระจายไปอย่างกว้างขวางและเจริญรุ่งเรือง  คนทั่วภูมิภาคไกลออกไป ได้รับเอาวัฒนธรรมหะรัปปันไปใช้  เมือง หะรัปปา แผ่กระจายไปทั่วพื้นที่ขนาดประมาณ 500,000 ตารางไมล์ ภูมิภาคนั้นใหญ่เกือบ ๆ  สองเท่าของรัฐเท็กซัสในขณะนี้  แต่กระนั้น เมืองเหล่านี้ร่วมกันออกแบบธรรมดา ๆ  การออกแบบที่ใช้ร่วมกันเหล่านั้น แสดงให้เห็นวิธีเผยแพร่วัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง
วัตถุโบราณในลุ่มน้ำสินธุ

วัฒนธรรมและการค้าขาย ชาวหะรัปปัน ใช้น้ำหนักและมาตราวัดแบบมาตรฐาน ทั่วทั้งภูมิภาค ประชาชนทำรูปปั้นบรอนซ์และของเล่นดินเหมือนกัน สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ชาวหะรัปปัน สามารถซื้อหาของใช้มากกว่าแค่ซื้อสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน
หม้อ
ชาวหะรัปปัน ได้รับความมั่งคั่งจากการเกษตรและการค้าขาย  นักโบราณคดีพบตราประทับจากลุ่มแม่น้ำสินธุที่ไกลออกไปถึงเมโสโปเตเมีย ตราประทับและดวงตราเหล่านี้ ซึ่งทำจากหิน แกะสลัก พ่อค้าลุ่มแม่น้ำสินธุอาจใช้การระบุชื่อสินค้าของพวกเขา  ชาวหะรัปปัน ค้าขายไม้ งาช้าง และลูกปัด  ชาวเมโสโปเตเมีย ได้จำหน่ายเครื่องเงิน  ดีบุก  และผ้าขนสัตว์ ของชาวหะรัปปัน  การค้าขายเริ่มยุคแรกที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าซาร์กอน (Sargon) แห่งราชวงศ์แอคคัด (Akkad)  ประมาณ  2,370 ปี ก่อนคริสต์ศักราช และต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี

วัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุสิ้นสุดลง

          ประมาณ 1,700 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  คุณภาพของอาคารในเมืองลุ่มแม่น้ำสินธุได้เสื่อมถอยลง  เมืองใหญ่ค่อย ๆ เสื่อมโทรมลง  เกิดอะไรขึ้น? นักประวัติศาสตร์บางคนคิดว่า แม่น้ำสินธุได้เปลี่ยนเส้นทาง ทำให้กระแสน้ำไม่หล่อเลี้ยงทุ่งนาใกล้เมืองให้อุดมสมบูรณ์อีกต่อไป  นักวิชาการอื่น ๆ แนะนำว่า ประชาชนทำให้แผ่นดินแห่งลุ่มแม่น้ำเสื่อมโทรม
อารยธรรมแห่งลุ่มแม่น้ำสินธุ ประสบกับการผจญภัยทางสิ่งแวดล้อมมากมาย  ในการผจญภัยนั้น มีปัจจัยเหล่านี้ คือ :
น้ำท่วมเป็นประจำทุกปีตามลุ่มแม่น้ำสินธุ โดยคาดเดาไม่ถูก
บางครั้งแม่นน้ำเปลี่ยนเส้นทาง
วงจรของฤดูฝนและฤดูแล้ง ที่ลมมรสุมพัดพามา ก็คาดเดาไม่ได้
รูปปั้นกษัตริย์หรือพระ
นักวิชาการเชื่อว่า รูปปั้นนี้เป็นพระสงห์หรือไม่ก็กษัตริย์จากเมืองโบราณ มเหนโจ-ดาโร
ความเร้นลับได้เปิดเผยออกมา ? ชะตากรรมของเมืองยังคงเป็นปริศนาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 1970  เวลานั้น ภาพถ่ายจากดาวเทียมของอนุทวีปอินเดีย ก็เปิดเผยหลักฐานการขยับเขยื้อนในสมัยโบราณในเปลือกโลก  การขยับเขยื้อนครั้งนี้อาจจะก่อให้เกิดแผ่นดินไหวและน้ำท่วม  การขยับเขยื้อนยังทำให้เส้นทางของแม่น้ำสินธุเปลี่ยนแปลงอีกด้วย

ผลกระทบจากภัยพิบัติ  บางเมืองตามแม่น้ำเห็นได้ชัดว่าได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติเหล่านี้และยังคงอยู่รอดได้  เมืองอื่น ๆ ถูกทำลาย  การเปลี่ยนแปลงอาจทำให้เกิดแม่น้ำอีกสายหนึ่ง คือ สรัสวดี เหือดแห้งอีกด้วย  การค้าในแม่น้ำสายนี้ยังดำเนินการไม่ได้และเมืองก็เริ่มทรุดโทรม
การเกษตรของชาวหะรัปปัน ยังจะได้รับอิทธิพลจากเหตุการณ์เหล่านี้อีกด้วย  มันอาจเป็นไปได้ว่า  การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ขัดขวางการผลิตปริมาณอาหารมากมาย  นี้ก็อาจจะบังคับให้คนออกจากเมืองเพื่อรับประกันความอยู่รอดของพวกเขา
เครื่องมือเก็บเกี่ยว
เครื่องมือเก็บเกี่ยวในสมัยโบราณ สำหรับชาวนาดายหญ้าและปรับหน้าดิน
อิทธิพลของชนเผ่าเร่ร่อน  ปัจจัยอีกประการหนึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อชมพูทวีป พวกคนเร่ร่อนจากทางเหนือของเทือกเขาฮินดูกูช กระจายเข้าสู่ลุ่มแม่น้ำสินธุ ประมาณ 1,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช อารยธรรมอินเดียจะเติบโตอีกครั้งภายใต้อิทธิพลของพวกร่อนเร่เหล่านี้

ต้นกำเนิดของศาสนาฮินดู

ชาวอารยันอพยพเข้าสู่อินเดีย

          ชาวอินโด-ยุโรเปี้ยนส่วนมาก เป็นชนเผ่าเร่ร่อน  พวกเขาอาศัยอยู่เป็นกลุ่มครอบครัว หรือเผ่าพันธุ์  และเลี้ยงวัว แกะและแพะ  พวกเขายังเป็นนักรบที่ขี่รถม้าศึกที่ขับเคลื่อนด้วยม้า พวกเขาต่อสู้ด้วยธนูและลูกศรคันยาวและขวานทองแดง
รูปปั้นพระศิวะ
รูปปั้นพระศิวะ ซึ่งเป็นเทพเจ้าสำคัญที่สุดองค์หนึ่งของศาสนาฮินดู
กำลังร่ายร่ำอยู่บนมารคือโมหะ
การย้ายถิ่นฐานของชาวอินโด-ยุโรเปี้ยน  ประมาณ 2,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช มีบางสิ่งได้ขับไล่ชาวอินโด-ยุโรเปี้ยนออกจากบ้านเกิดของพวกเขาโดยการโยกย้ายเป็นลูกคลื่น  นักประวัติศาสตร์ไม่ทราบว่าภัยแล้ง โรคระบาด หรือการบุกรุกที่ทำให้พวกเขาอพยพ  กลุ่มต่าง ๆ ได้ย้ายไปภูมิภาคที่แตกต่างกัน  ชาวฮิตไทต์ ได้เดินทางไปเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และชาวอินโด-ยุโรเปี้ยนอื่น ๆ  อีกหลายพวก ได้ตั้งรกรากอยู่ในบางส่วนของยุโรป
เทือกเขาฮินดูกูช
เทือกเขาฮินดูกูชพาดผ่านแนวแขตแดนด้านตะวันตกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดีย
การย้ายถิ่นฐานของชาวอารยัน  ในระหว่าง 1,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  ชาวอารยัน (Aryans - AIR•ee•uhnz) ซึ่งเป็นกลุ่มของชาวอินโด-ยุโรเปี้ยน เชื่อกันว่าจะต้องอพยพไปอยู่ชมพูทวี  เมื่อเปรียบเทียบกับชาวหะรัปปันที่อยู่ในเมือง  ชาวอารยันจะเป็นคนเลี้ยงปศุสัตว์อาศัยอยู่ในบ้านที่เรียบง่าย  พวกเขาพูดภาษาอินโด-ยุโรเปี้ยน ที่เรียกว่า ภาษาสันสกฤต
แผนที่เส้นทางอพยพของชาวอารยัน
แผนที่เส้นทางอพยพของชาวอารยัน ระหว่าง 1,500 - 250 ปี ก่อน ค.ศ.
นักรบชาวอารยันในรถม้าศึก จะพิชิตเมืองที่มีกำแพงและบังคับชาวหะรัปปันให้หนีไปทางใต้ได้หรือ ?  เป็นเวลาแรมปี หนังสือประวัติศาสตร์บอกเล่าเรื่องราวนั้น  แต่งานวิจัยใหม่ ๆ  ชี้ให้เห็นเรื่องราวที่แตกต่างกัน  สองร้อยปีก่อนที่ชาวอารยันจะเข้ามา เมืองหะรัปปันกลายเป็นซากปรักหักพัง  การล่มสลายนี้อาจได้รับผลจากการเกิดแผ่นดินไหวและน้ำท่วม

การเปลี่ยนแปลงเพื่อการดำรงชีวิตของชาวอินเดีย 

ชาวอารยันค่อย ๆ เข้าสู่อินเดีย  พวกเขาปฏิบัติศาสนาเพื่อดึงดูชาวดราวิเดรียน (Dravidians - ทัสยุ ทมิฬ ชนพื้นเมืองเดิมในอินเดีย) ซึ่งเป็นคนที่อาศัยอยู่ในอินเดียในขณะที่พวกเขาเดินทางมาถึง เป็นผลให้ศาสนาและภาษาอารยันแพร่กระจาย ในทางกลับกัน พวกดราวิเดียนก็สอนพวกอารยันเกี่ยวกับชีวิตชาวเมือง เพราะการปฏิสัมพันธ์เหล่านี้ อินเดียพัฒนาวัฒนธรรมที่สลับซับซ้อน ผสมผสาน

โครงสร้างทางสังคม  สังคมอารยันจัดเป็นวรรณะ : นักรบ (กษัตริย์) นักบวช (พราหมณ์) และไพร่ (ศูทร คงรวมวรรณะแพศย์ด้วย = พ่อค้า)   ในขณะที่สังคมอินเดียเจริญซับซ้อนมากขึ้น วรรณะเหล่านี้ได้พัฒนาไปสู่ระบบซึ่งต่อมาถูกเรียก ระบบวรรณะ วรรณะเป็นระดับชนชั้นทางสังคมที่คนเป็นโดยกำเนิด วรรณะเหล่านี้เกี่ยวข้องกับงานที่แตกต่างกัน กลุ่มชนเหล่านี้จัดเป็นสี่ประเภทอย่างแพร่หลาย พราหมณ์ เป็น นักบวช นักวิชาการและครูผู้สอน กษัตริย์ (Ksatriya) เป็นชนชั้นปกครอง ขุนนางและนักรบ แพศย์หรือไวศยะ (Vaisya) เป็นนายธนาคาร เกษตรกรและพ่อค้า ศูทร (Sudra) เป็นช่างฝีมือและแรงงาน
หลายศตวรรษต่อมา  กลุ่มชนอีกกลุ่มหนึ่ง ได้พัฒนาจนได้รับการพิจารณาอยู่ด้านล่างกลุ่มอื่น ๆ ทั้งหมด  กลุ่มนี้ถูกเรียกว่า จัณฑาล (Untouchable – ไม่สามารถแตะต้องได้) พวกเขาทำงานที่ไม่มีใครต้องการ เช่น การกำจัดซากศพ

ความเชื่อของชาวอารยันและศาสนาพราหมณ์  ศาสนายุคแรกของชาวอารยัน ปัจจุบัน เรียกว่า ศาสนาพราหมณ์ ตามหลังชื่อของนักบวชหรือพราหมณ์ชาวอารยัน  ชาวอารยันบูชาเทพตามธรรมชาติหลากหลาย  พวกพราหมณ์ทำการบูชายัญเพื่อพวกเทพเหล่านั้น โดยนำสัตว์หลายชนิดเพื่อบูชาไฟศักดิ์สิทธิ์ เมื่อเวลาผ่านไป พิธีกรรม ก็สลับซับซ้อนมากขึ้น ๆ  บางพิธีกรรมกินเวลานานวันหรือแม้กระทั่งเป็นเดือน  พิธีกรรมของศาสนาอารยันและเพลงสวดหลากหลาย เพื่อบูชาเทพของพวกเขาพบได้ในคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณอันศักดิ์สิทธิ์ ที่เรียกว่า พระเวท (Vedas)   พระเวท คือ คัมภีร์ที่เก็บรวบรวมบทสวดมนต์และคำแนะนำสำหรับพิธีกรรม สี่คัมภีร์   คัมภีร์ที่สำคัญที่สุด คือ ฤคเวท
เมื่อเวลาผ่านไป  ชาวอินเดียเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับโลก ว่า โลกเกิดมีได้อย่างไร  คำถามเหล่านี้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความคิดทางศาสนาเกี่ยวกับเวลา  การเปลี่ยนแปลงครั้งหนึ่งเป็นความเชื่อที่แพร่หลายมาก คือ เทพทุกองค์ เป็นเครื่องหมายแสดงออกของเทพองค์หนึ่งอย่างแท้จริง
ต่อมาชาวอินเดีย ได้เขียนประวัติศาสตร์โบราณของพวกเขาในงานดังกล่าว  คือ มหาภารตะ (MAH•huh•BAH•Ruh•tuh) บทกวีมหากาพย์ที่บอกเล่าตำนานใหม่หลายตำนาน  ภควัทคีตา (Bhagavad Gita - BAH•guh•vahd GEE•tuh) เป็นส่วนหนึ่งของมหาภารตะ (Mahabharata)
---------------------------------------------------------------------------------------------
เปรียบเทียบภาษา
คัมภีร์ภาษาสันสกฤต
คัมภีร์ภาษาสันสกฤต บรรยายเรื่องราวในศาสนาฮินดู
ภาษาสันสกฤต  ภาษาสันสกฤตใช้สำหรับชนชั้นที่ได้รับการศึกษาในประเทศอินเดียเป็นเวลาหลายพันปี เป็นภาษาที่สำคัญในประวัติศาสตร์ของอินเดียเนื่องจากเป็นภาษาของคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ ภาษาสันสกฤตเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มภาษาหลักที่เรียกว่า ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน (Indo-European family) ภาษาที่มาจากตระกูลเดียวมักจะมีคำที่ใช้กับสิ่งพื้นฐานคล้าย ๆ กัน ดูตัวอย่างข้างล่าง

ภาษา
คำ
คำ
คำ
คำ
อังกฤษ
father
mother
two
mouse
สันสกฤต
pitar
matar
dva
mooshak
บาลี(ตระกูลเดียวกับสันสกฤต)
pita
mata
dve
musika
กรีก
patros
matrow
duo
mus
ละติน
pater
mater
duo
mus
สเปน
padre
madre
dos
raton
เยอรมัน
vater
mutter
zwei
maus
คำแปล
บิดา/พ่อ
มารดา/แม่
สอง
หนู
---------------------------------------------------------------------------------------------

ศาสนาฮินดู : ศาสนาแห่งอินเดีย

          ภควัทคีตาเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของศาสนาฮินดู  ศาสนาฮินดูเป็นชื่อใหม่ของศาสนาที่สำคัญของอินเดีย ซึ่งพัฒนามาจากศาสนาพราหมณ์
อรชุน
พระกฤษณะ คือ พระวิษณุหรือพระนารายณ์
อวตารลงมาเป็นมนุษย์ ปางที่ 8 ในศาสนาฮินดู เรียกว่า กฤษณาวตาร
เทพหลายองค์ (พหุเทพ)  ชาวฮินดูบูชาเทพหลายองค์ แม้ว่าพวกเขาจะเชื่อว่าในเทพหลายองค์ ชาวฮินดูยังตระหนักถึงเทพสูงสุดหรืออำนาจบันดาลชีวิตองค์เดียว  ชาวฮินดูยังนับถือเทพองค์อื่น ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของเทพสากลองค์เดียว เทพสามองค์ที่สำคัญที่สุดในบรรดาเทพอื่น ๆ คือ พระพรหม ผู้สร้าง; พระนารายณ์ ผู้พิทักษ์; และพระอิศวร (พระศิวะ) ผู้ทำลาย (พระอิศวรหรือพระศิวะ ทำลายเพื่อที่จะสร้างโลกขึ้นมาใหม่)
วัดฮินดู
วัดฮินดูในอินเดีย (Sachiya Mata Temple)
ชีวิตจำนวนมาก  ชาวฮินดูเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดซึ่งหมายความว่าแต่ละคนมีชีวิตจำนวนมาก  สิ่งที่คนทำในชีวิตแต่ละชีวิตกำหนดสิ่งที่เขาหรือหล่อนจะเป็นในชีวิตต่อไป  ตามความเชื่อที่เรียกว่า กรรม (karma) ในศาสนาฮินดู  ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อที่ว่า ผลของการการกระทำของบุคคลในชีวิตนี้กำหนดชะตากรรมของเขาหรือหล่อนในชีวิตต่อไป (แตกต่างจากกรรมในศาสนาพุทธ ชาวไทยส่วนมากจะเชื่อกรรมเหมือนกับชาวฮินดู กรรมในศาสนาพุทธ หมายถึง เครื่องปรุงแต่งจิตที่มีเจตนาเป็นตัวนำ ไม่ได้กำหนดชีวิตคนมาแต่กำเนิดตายตัว คือ กรรมในศาสนาพุทธแก้ไขได้ ทำใหม่ได้ กรรมชั่ว จะหยุดให้ผลได้ด้วยการไม่ทำชั่วและทำดีในปัจจุบัน ไม่ได้หมายความว่าล้าง แต่หยุดให้ผล เหมือนกับเกลือกำมือหนึ่งใส่ลงในขันน้ำก็เค็ม แต่ถ้าใส่ในแม่น้ำความเค็มก็ไม่ปรากฏ แต่เกลือก็ยังอยู่ในแม่น้ำ ส่วนกรรมในศาสนาฮินดูแก้ไขไม่ได้ต้องก้มหน้าก้มตารับไปจนกว่าจะตาย ที่คนไทยส่วนมากเข้าใจว่าเกิดมาใช้กรรมก็เพราะเชื่อแบบฮินดู ความเชื่อนี้จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พรหมลิขิต)
การเวียนว่ายตายเกิดสร้างวงจรแห่งการเกิด การมีชีวิตอยู่ ความตายและการเกิดใหม่ ซ้ำ ๆ  ซาก ๆ  วงจรจะสิ้นสุดเพียงเมื่อคนเข้าถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเทพเจ้า อันเร้นลับ  เพื่อให้เข้าถึงภาวะนั้น คนต้องมาตระหนักว่า วิญญาณของเขาหรือของหล่อนและจิตวิญญาณของพระเจ้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (ส่วนพุทธศาสนาสอนว่า การเวียนว่ายตายเกิดจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อหมดกิเลส ไม่ได้เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอะไร จิตวิญญาณหมดกิเลส ก็ดับเหมือนไฟหมดเชื้อก็ดับ)

หนทางมากมายที่ให้เข้าถึงเทพ  ชาวฮินดูเชื่อว่าพวกเขาเชื่อมต่อกับเทพตามเส้นทางแต่ละเส้นของพวกเขาเอง  ส่วนหนึ่งของเส้นทางเกี่ยวการงานของตน ซึ่งจะเชื่อมโยงกับระบบวรรณะ ชาวฮินดูที่มีศรัทธาจะต้องทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในชีวิตให้สมบูรณ์
ชาวฮินดูมีทางเลือกในการฝึกหัดทางจิต เพื่อพัฒนาตนให้ใกล้ชิดกับเทพ  ในข้อปฏิบัติเหล่านี้ สองอย่างยังเป็นที่นิยมของผู้ที่ไม่ใช่ชาวฮินดูจำนวนมาก นั่นคือ การทำสมาธิเป็นการปฏิบัติเพื่อทำจิตใจให้สงบ และโยคะคือการปฏิบัติที่สลับซับซ้อนที่รวมทั้งการออกกำลังกาย  เทคนิคการหายใจ การรับประทานอาหาร 

พุทธศาสนาและยุคทองของอินเดีย

          ศาสนาฮินดู เป็นชื่อสมัยใหม่ของศาสนาสำคัญที่นับถือปฏิบัติในประเทศอินเดีย  ศาสนาอื่น ๆ ยังมีจุดเริ่มต้นในอินเดีย  หนึ่งในศาสนาเหล่านี้ คือ ศาสนาเชน (Jainism)  ชาวเชนจะสอนลัทธิอหิงสา (ahimsa  -  uh•HIHM•SAH)  ซึ่งหมายความว่า "ไม่เบียดเบียน – อหิงสา "  ชาวเชนจะถือปฏิบัติลัทธิอหิงสาอย่างเคร่งครัด พวกเขาเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีจิตวิญญาณและไม่ควรทำร้าย  ชาวเชนบางคนถึงกับสวมหน้ากาก เพื่อหลีกเลี่ยงการหายใจเอาแมลงเข้าไป
หัวสิงห์ของพระเจ้าอโศกมหาราช
หัวสิงห์ของพระเจ้าอโศกมหาราช  สร้างเป็นพุทธบูชา
หมายถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าที่องอาจดุจราชสีห์
การเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา  ศาสนาที่สำคัญของโลกอีกศาสนาหนึ่ง เรียกว่าพุทธศาสนา ก็อุบัติในอินเดีย  พุทธศาสนามีรากฐานมาจากคำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า (สิทธัตถะ โคตมะ = บาลี หรือ สิทธารถะ เคาตะมะ – สันสกฤต) (Siddhartha Gautama - sihd•Dahr•tuh  GAW•tuh•Muh) เป็นเจ้าชาย ผู้ที่สละความมั่งคั่งและตำแหน่งเพื่อพยายามเข้าใจความหมายของชีวิต  ต่อมาพระองค์เริ่มสอนสิ่งที่พระองค์ได้ตรัสรู้ อันเป็นเหตุให้พระองค์ได้รับการขนานพระนามว่า พระพุทธเจ้า หรือ "พุทธะ – ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน"
พระพุทธรูปไสยาสน์
พระพุทธรูปปางไสยาสน์แกะสลักที่ถ้ำอชันตา อินเดีย
-------------------------------------------------------------------------------------------
ผู้สร้างประวัติศาสตร์
สิทธารถะ เคาตะมะ (บาลี - สิทธัตถะ โคตมะ)  (563 ถึง 483 ปี ก่อนคริสต์ศักราช)
          ในพุทธประวัติ ในขณะที่พระสิทธารถะ เคาตะมะ กำลังนั่งสมาธิ พญามาร ได้ล่อลวงให้พระองค์หยุดแสวงหาสัจธรรม  ครั้งแรก พญามาร ได้ส่งผู้หญิงสวยไปล่อลวง (ตามพุทธประวัติในคัมภีร์ทางตะวันออกว่า เป็นธิดา 3 ตนของพญามารเอง)  แต่พระองค์ไม่สนใจ  ครั้นแล้ว ก้อนหินไฟ ก็เริ่มตกลงมาที่พระองค์ แต่ในขณะที่ก้อนหินไฟเหล่านั้นเข้ามาใกล้พระสิทธารถะ ก็กลายเป็นกลีบดอกไม้ ในที่สุด พญามาร ก็ถามว่า สิ่งใดที่เป็นพยานให้พระสิทธารถะต้องค้นหาความจริง  พระสิทธารถะ เอาพระหัตถ์แตะพื้นดินและส่งเสียงดังราวกับฟ้าร้องว่า  "เราอ้างเธอเป็นสักขีพยาน" ซึ่งหมายความถึงการเป็นพยานให้กับพระองค์
พระโพธิสัตว์สิทธัตถะกำลังตรัสรู้
พระโพธิสัตว์สิทธัตะกำลังตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณภายใต้ต้นโพธิ์
คืนนั้น สมาธิของพระสิทธารถะ ก็เจริญถึงขั้นอัปปนาสมาธิ  และพระองค์ได้เข้าถึงญาณอันยิ่งใหญ่  พระองค์ได้กลายเป็นพระพุทธเจ้า  พญามาร ตัดสินใจที่จะล่อใจพระองค์เป็นครั้งสุดท้าย "ไม่มีใครจะเข้าใจความจริง อันลึกซึ้งของท่านดอก"  พญามารล้อเลียน พระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบว่า "บางคนจะเข้าใจ" (นี้เป็นพุทธประวัติตามที่ฝรั่งเข้าใจ หาอ่านพุทธประวัติได้ทั่วไปในประเทศไทยเรา)
-------------------------------------------------------------------------------
ประวัติและคำสอนของพระพุทธเจ้า พระสิทธารถะ เกิดเป็นเจ้าชายชาวฮินดู พระฤๅษีเคยทำนายว่าพระองค์จะกลายเป็นมุนีที่เคารพบูชาผู้เที่ยวจาริกไป  เพื่อป้องกันการนี้ พระบิดาของเจ้าชายสิทธารถะจึงปิดบังพระองค์ไว้ไม่ให้เห็น คนแก่ คนเจ็บ คนตาย หรือความยากจน  จนกระทั่งพระองค์อายุ 29 พรรษา ในที่สุด เมื่อพระองค์ได้เห็นปัญหาดังกล่าว ก็ไม่พอพระทัย พระองค์ จึงหนีออกจากพระราชวัง เพื่อค้นหาความสงบสุขในโลกแห่งความทุกข์
พระพุทธปฏิมากร
พระพุทธปฏิมากร
หมายเลข 1.  ศิลปินชาวอินเดียสมัยโบราณสลักพระพุทธปฏิมากรเพื่อแสดงความศักดิ์สิทธิ์
                      ของพระพุทธเจ้า พระเมาลีเป็นสัญลักษณ์แห่งความศักดิ์สิทธิ์อันหนึ่ง
หมายเลข 2. พระพุทธเจ้าทรงยกพระหัตถ์ขวาขึ้น เป็นสัญลักษณ์ว่า "อย่ากลัว"
หมายเลข 3. ใบพระกรรณส่วนล่างยาว (ติ่งหู) เป็นพุทธลักษณะตามคตินิยม (อาจหมายถึง
                     ให้หูหนัก มีจิตใจหนักแน่น)
เป็นเวลาหกปี  พระสิทธารถะ ได้ทรมานตนเอง แต่การเสียสละครั้งนี้ไม่ได้ช่วยให้พระองค์แสวงหาคำตอบที่พระองค์ค้นหา  จากนั้นพระองค์ก็นั่งอยู่ใต้ต้นมะเดื่อ (ความจริง ในพุทธประวัติเป็นอัสสัตถะหรือต้นโพธิ์) และครุ่นคิดจนกระทั่งพระองค์พบความเข้าใจ  เรื่องนี้ทำให้พระองค์เข้าใจในความเป็นจริง ซึ่งพระองค์เรียกว่า อริยสัจ  ข้อแรก คือ ทุกข์ ข้อที่สอง คือ สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ข้อที่สาม นิโรธ ภาวะไร้ทุกข์  ข้อที่สี่ ทางปฏิบัติให้ถึงภาวะไร้ทุกข์ มีองค์ประกอบ 8 ประการ
มรรคมีองค์แปดประการ คือ ความคิดเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง วาจาหรือคำพูดที่ถูกต้อง  การกระทำที่ถูกต้อง  การงานที่ถูกต้อง  ความพยายามที่ถูกต้อง  ความระลึกที่ถูกต้อง และการทำสมาธิที่ถูกต้อง  เส้นทางนี้สามารถนำไปสู่นิพพาน-ภาวะไร้ทุกข์ (neer•VAH•nuh) จุดสิ้นสุดของความทุกข์ การเข้าถึงนิพพานทำให้วงจรของการเวียนว่ายตายเกิดสิ้นสุดลง พระพุทธเจ้าศรัทธาในการปฏิบัติอหิงสา  แต่พระองค์ไม่ได้เคาพรเทพเจ้าของฮินดู  หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน สาวกของพระองค์รวบรวมคำสอนของพระองค์เพื่อเผยแพร่ไปยังถิ่นอื่น ๆ  คำสอนที่เก็บรวบรวมไว้เหล่านี้ เรียกว่าธรรมะ (DAHR•muh) ซึ่งหมายถึงธรรมชาติที่แท้จริงของสรรพสิ่ง ธรรมะมักจะแสดงในฐานะเป็นล้อ (ธรรมจักร)

อาณาจักรเมารยะ

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้พุทธศาสนามีอิทธิพลมาก ก็คือ กษัตริย์ชาวอินเดียผู้มีชื่อเสียง ได้ปกครองด้วยคำสอนของพุทธศาสนา พระองค์เป็นกษัตริย์องค์ที่สามของราชวงศ์เมารยะซึ่งรวมอินเดียเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
เป็นเวลาหลายศตวรรษที่อาณาจักรอารยันที่แยกจากกัน ต่อสู้กัน ประมาณ 550 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  แคว้นมคธ  (MAH•guh•duh) ซึ่งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มเข้มแข็งขึ้น ประมาณ 321 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  พระเจ้าจันทรคุปต์ แห่งเมารยะ (Chandragupta Maurya - CHUHN•druh•GUP•tuh  MOWR•Yuh) เป็นพระมหากษัตริย์ของแคว้นมคธ  พระองค์พิชิตดินแดนมากมาย  จันทรคุปต์ เคลื่อนทัพไปทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ยึดดินแดนทั้งหมดจากมคธไปถึงแม่น้ำสินธุ ในไม่ช้า จักรวรรดิเมารยะครอบคลุมส่วนมากของชมพูทวีป
พระเจ้าจันทรคุปต์ ปกครองอาณาจักรของพระองค์ โดยใช้สายลับเรียนรู้สิ่งที่ผู้คนกระทำและกองทัพทหารให้รักษาความสงบเรียบร้อย  กองทัพของพระองค์ใหญ่ รวมพลเดินเท้า  600,000 ทหารม้า 30,000 และ ช้าง 9,000  เจ้าหน้าที่หลายคนดำเนินงานราชการ การจ่ายเงินแก่คนเหล่านี้  พระเจ้าจันทรคุปต์ เก็บภาษีที่ดินและพืชอย่างหนัก ตำนานกล่าวว่า พระองค์กลายเป็นนักบวชเชน ผู้ไม่นิยมความรุนแรงในตอนท้ายชีวิตของพระองค์

พระอโศก กษัตริย์ผู้เป็นพุทธมามกะ กษัตริย์เมารยะผู้ยิ่งใหญ่ เป็นนัดดา (หลานชาย) ของพระเจ้าจันทรคุปต์ พระนามว่า อโศก (uh•SOH•kuh) เริ่มครองราชย์เมื่อ  272 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  ในตอนต้นรัชสมัยของพระเจ้าอโศก พระองค์ต่อสู้สงครามเลือดและพิชิตอาณาจักรใกล้เคียง  หลังจากนั้น พระเจ้าอโศกตัดสินใจปกครองด้วยคำสอนทางพุทธศาสนา  พระองค์ทรงเลิกทำสงครามอย่างถาวร  พระองค์พยายามปกครองอย่างสงบด้วยกฎหมายแทน
อโศกมีนโยบายให้สลักหินและเสาหิน เสาหินที่ยังคงอยู่ตั้งแต่สมัยพระองค์ครองราชย์ แนะนำประชาชนให้เป็นผู้มีความซื่อสัตย์และมีเมตตา เสาหินอื่น ๆ แนะนำประชาชนไม่ให้ฆ่าสิ่งมีชีวิต อันเป็นผลมาจากการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศก พุทธศาสนาจึงทำให้ประชาชนเข้าร่วมกับคณะพระสงฆ์ พระเจ้าอโศกและนักปกครองชาวพุทธที่ปฏิบัติตามพระองค์ได้ส่งพระธรรมทูตไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา  ในขณะเดียวกัน  พระองค์ก็ให้อิสระในการนับถือศาสนาอื่น ๆ ข้าราชบริพารของพระเจ้าอโศก ได้ปลูกต้นไม้  ขุดสระน้ำ จัดตั้งโรงพยาบาลและสร้างศาลาพักผ่อนตามถนนสายหลัก  การปรับปรุงเหล่านี้ทำให้คนเดินทางได้รับความสะดวกสบายมากกว่าแต่ก่อน  สภาพการสัญจรที่ดีได้เอื้ออำนวยต่อพ่อค้าและข้าราชบริพาร  การกระทำดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความห่วงใยของพระเจ้าอโศกเกี่ยวกับสวัสดิการของประชากรของพระองค์   ถึงแม้นโยบายของพระองค์จะยอดเยี่ยมปานใด ก็ล้มเหลวในการรวมอาณาจักรเข้าด้วยกัน หลังจากที่พระเจ้าอโศกสิ้นพระชนม์ ประมาณ 230 ปี ก่อนคริสต์ศักราช

เปลี่ยนไปสู่ศาสนาฮินดู ความแพร่หลายของพุทธศาสนานั่นหมายความว่า คนที่บูชาเทพเจ้าฮินดูน้อยลง  ศาสนาฮินดูในยุคแรก มีการกำหนดของบูชายัญที่สลับซับซ้อน ซึ่งนักบวชเท่านั้นที่สามารถดำเนินการได้  นักบวชเหล่านั้น ดำเนินการพิธีกรรมเป็นภาษาสันสกฤต ซึ่งมีไม่กี่คนที่พูดได้  การเช่นนี้ทำให้คนเกิดความรู้สึกห่างไกลจากเทพเจ้า  หลายคนหันมานับถือพระพุทธศาสนาแทน ผู้ปกครองที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของพุทธศาสนาได้ให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนี้
ครั้นแล้วแนวคิดของชาวฮินดูก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป  กวีเริ่มเขียนบทสวดสรรเสริญเทพวิษณุและพระศิวะ บทกวีเหล่านี้ถูกเขียนขึ้นเป็นภาษาที่คนทั่วไปพูดได้ แทนภาษาสันสกฤต
บทกวีกลายเป็นที่นิยมไปทั่วอินเดีย  เป็นผลให้ชาวอินเดียจำนวนมากรู้สึกมีความรักที่สร้างขึ้นมาใหม่ต่อเทพเจ้าฮินดูของพวกเขา  การฟื้นฟูความสนใจในศาสนาฮินดูนี้ ได้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกับที่พุทธศาสนาเสื่อมลง  ในที่สุด พระพุทธศาสนาก็สูญเสียสาวกเป็นอันมากในอินเดีย  อย่างไรก็ตาม  ณ เวลานั้น พุทธศาสนาก็แพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย
พระวิษณุ
พระวิษณุ ยังเป็นเทพเจ้าที่สำคัญที่สุดในอินเดีย
ในภาพนี้ ภาพพระวิษณุวาดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17

ยุคทองแห่งราชวงศ์คุปตะ  

          ไม่นานนักหลังจากที่พระเจ่าอโศกสิ้นพระชนม์ อาณาจักรเมารยะก็ล่มสลาย เพราะผู้ปกครองไม่ดีและการรุกรานของศัตรู เกิดความขัดแย้งกันถึงห้าศตวรรษ จนกระทั่งราชวงศ์คุปตะ (Gupta - GUP•tuh) เข้าครอบครอง
เปรียบเทียบอาณาจักรเมารยะและคุปตะ
แผนที่เปรียบเทียบอาณาจักรเมารยะและอาณาจักรคุปตะ
เมารยะ 260 ปี ก่อน ค.ศ.  คุปตะ ค.ศ. 400
อาณาจักรคุปตะ  เหมือนกับราชวงศ์เมารยะ  ราชวงศ์คุปตะ เริ่มเป็นผู้นำในแคว้นมคธ พระเจ้าจันทรคุปตะที่ 1  กลายเป็นกษัตริย์ในระหว่าง 320 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  (พระองค์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับจันทรคุปตะแห่งเมารยะ) ทันทีที่พระองค์อภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของกษัตริย์ และได้รับดินแดนใหม่  ต่อมาโอรสของพระองค์ก็ขยายอาณาจักรโดยการทำสงคราม  แต่พระนัดดาของพระเจ้าจันทรคุปตะ พระเจ้าจันทรคุปตะที่ 2  เป็นผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของราชวงศ์  ในช่วงรัชสมัยของพระองค์  (ค.ศ. 375-415)  เป็นยุคทองของอินเดีย  ยุคของความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่

ศิลปะและวรรณคดี ภายใต้การปกครองของพระเจ้าจันทรคุปตะที่ 2  ศิลปะของอินเดียได้เจริญรุ่งเรือง สถาปนิกสร้างวัดที่ได้รับการออกแบบอย่างสง่างาม  ศิลปินเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังและรูปปั้นแกะสลัก  จิตรกรรมฝาผนังและรูปปั้นมากมายเหล่านี้มีเรื่องราวทางศาสนา
มหากาพย์มหาภารตะภาษาสันสกฤตโบราณกลายเป็นพื้นฐานของละครหลายเรื่องที่เขียนขึ้นในยุคจันทรคุปต์ บทกวียังเจริญรุ่งเรืองภายใต้การสนับสนุนของราชวงศ์คุปตะ

คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ของอินเดียเป็นหนึ่งในคณิตศาสตร์ที่ทันสมัยที่สุดในโลก นักวิชาการอินเดียคิดค้นระบบตัวเลขที่เราใช้ในทุกวันนี้ พวกเขายังได้พัฒนาระบบทศนิยมและสัญลักษณ์เลขศูนย์ (เผ่ามายาในอเมริกากลางยังคิดเลขศูนย์ตามหลัง โดยอิสระ คือ คิดทีหลังอินเดีย โดยคิดขึ้นเองไม่ได้คิดตามใคร)
นักคณิตศาสตร์คนหนึ่งได้คิดความยาวของปีออก นอกจากนี้เขายังประเมินมูลค่าของไพ (Pi)  ซึ่งคุณจะได้เรียนเมื่อคุณใช้เรขาคณิต ไพ คือหมายเลขที่จะใช้ในการคำนวณความยาวของขอบเขตของวงกลมเรียกว่าเส้นรอบวง
ในยุคอาณาจักรคุปตะ  ความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์ได้เพิ่มพูนขึ้น เกือบ 1,000 ปีก่อนโคลัมบัสเกิด นักดาราศาสตร์อินเดียได้พิสูจน์ว่าโลกกลมโดยการสังเกตจันทรคราส ในระหว่างเกิดจันทรคราส เงาของโลกลงบนพื้นผิวของดวงจันทร์ นักดาราศาสตร์สังเกตเห็นว่าเงาของโลกโค้งแสดงให้เห็นว่าตัวโลกเองกลม
แพทย์ได้เพิ่มเทคนิคใหม่ ๆ ให้กับการฝึกหัดวิชาแพทย์อายุรเวทโบราณ (EYE•yuhr•VAY•dihk)  มันส่งเสริมสุขภาพผ่านอาหารและการออกกำลังกาย

งานด้านโลหะ  เหล่าช่างฝีมือของอินเดียได้พัฒนาวิธีการขั้นสูงของวิชาผสมโลหะ (งานโลหะ) ข้างนอกของเมืองเดลี  เสาเหล็ก ซึ่งสร้างประมาณคริสต์ศักราช 400 ตั้งสูงกว่า 20 ฟุต ผู้คนอื่น ๆ ไม่สามารถผลิตชิ้นเหล็กขนาดใหญ่เช่นนั้นได้ จนกระทั่งถึงอย่างน้อย 1,000 ปีต่อมา ซึ่งแตกต่างจากเหล็กส่วนใหญ่ เสาป้องกันสนิมได้เป็นเวลาถึง 16 ศตวรรษ คำอธิบายหนึ่ง คือเสาเหล็กบรรจุฟอสฟอรัสมากกว่าเหล็กส่วนมาก เป็นผลให้การเคลือบเพื่อป้องกันก่อรูปขึ้นบนพื้นผิว
กุตับ มีนาร์ เดลี
กุตับ มีนาร์ เดลี เสาเหล็กที่มีมาตั้งแต่ยุคคุปตะ มีน้ำหนักประมาณ  1,300 ปอนด์
ตั้งอยู่ระหว่างซากปรักหักพังใกล้เมืองเดลี อินเดีย
การค้าขายเผยแพร่วัฒนธรรมอินเดีย  ราชสำนักแห่งกษัตริย์คุปตะ เป็นสถานที่ที่น่าเร้าใจตื่นเต้นและความเจริญเติบโต  ชาวอินเดียนับถือพระมหากษัตริย์เป็นลักษณะวีรบุรุษของพวกเขา  กษัตริย์แสดงคุณสมบัติเหล่านี้โดยการเพิ่มดินแดนแก่อาณาจักรของเขา ซึ่งทำให้อินเดียสมัยคุปตะขยายและหากำไรจากการค้ากับต่างประเทศ  เหล่าพ่อค้าได้ขายสินค้าอินเดีย เช่น ผ้าฝ้าย งาช้างแก่พ่อค้าต่างชาติ  พ่อค้าชาวอินเดียซื้อสินค้าของชาวจีน เช่น ผ้าไหม พวกเขาขายต่อสินค้าเหล่านี้ให้กับพ่อค้าที่เดินทางไปทางตะวันตก
ทั้งเหล่าพ่อค้าและคณะผู้สอนศาสนา ได้เผยแพร่วัฒนธรรมอินเดียและความเชื่อ ศาสนาฮินดูแพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  พุทธศาสนาค่อย ๆ แพร่กระจายไปยังเอเชียกลาง เช่น  ศรีลังกา (สมัยก่อนเรียก ซีลอน - Ceylon)  จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในที่สุดอิทธิพลของศาสนาฮินดู ก็เสื่อมถอยลงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มันก็ยังคงเป็นศาสนาที่โดดเด่นในอินเดีย พุทธศาสนากลับตรงกันข้าม กลายเป็นศาสนาที่โดดเด่นในภูมิภาคทั้งหลายที่เผยแพร่ไป ในเวลาเดียวกันก็เสื่อมอิทธิพลลงในสถานที่กำเนิด (คือเสื่อมจากประเทศอินเดีย)  

มรดกของอินเดีย

          ในสมัยโบราณ การค้าขาย ได้เผยแพร่ศาสนาและศิลปะของอินเดียไปยังส่วนอื่น ๆ ของเอเชีย  วัฒนธรรมอินเดียยังมีอิทธิพลต่อโลกสมัยใหม่ของเราในปัจจุบัน

มรดกทางศาสนาของอินเดีย

โยคะเป็นคัมภีร์ที่เก่าพอ ๆ กับคัมภีร์ภควัทคีตา และใหม่พอ ๆ  กับโยคะที่สอนในสโมสรสุขภาพในปัจจุบัน การแพร่หลายของโยคะแสดงให้เห็นว่าประเพณีทางศาสนาสมัยโบราณมากมายของอินเดียยังไม่สาบสูญไปกับกาลเวลา
มหาตมะ คานธี
มหาตมะ คานธี  ผู้นำในการต่อสู้กับอังกฤษที่ปกครองอินเดีย
ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ด้วยลัทธิอหิงสา
ศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธในปัจจุบัน  ประชาชนที่อาศัยอยู่ในอินเดียในปัจจุบันนี้สี่จากห้าคนเป็นชาวฮินดู  ชาวฮินดูยังอาศัยอยู่ในประเทศเนปาล ศรีลังกา มาเลเซียและประเทศอื่น ๆ อีกมากมาย  ประชาชนประมาณหนึ่งล้านคนในสหรัฐอเมริกานับถือศาสนาฮินดู
พุทธศาสนาดำรงอยู่ในประเทศอินเดียได้ไม่นาน  ชาวอินเดียในปัจจุบัน ที่เป็นพุทธศาสนิกชนมีไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์  (ความจริงฮินดู คือ พราหมณ์กลืนพุทธ คือ ชาวอินเดียวเขาถือว่า ทั้งพุทธ และ พราหมณ์นั่นแหละเป็นฮินดู ซึ่งเป็นศาสนาของชาวอินเดีย ปราชญ์อินเดียบางท่านยังเอาพระพุทธเจ้าเป็นปางหนึ่งของพระนารายณ์คือปางมายา ปางที่ 9)   แต่ศาสนาพุทธก็ยังนับถือในเอเชีย  ยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกา
เทศกาลเล่นสี ฤดูใบไม้ผลิ
เทศกาลสาดสี ฤดูใบไม้ผลิ ชาวฮินดูจะออกมาเต้นรำและสาดสี
เพื่อฉลองฤดูใบไม้ผลิ ที่เรียกว่า Holi
อิทธิพลศาสนาฮินดูและพุทธศาสนา  ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษ 19  ผู้นำอินเดีย ชื่อ มหาตมะคานธี (Mohandas Gandhi - MOH•huhn•DAHS GAHN•dee) ใช้ลัทธิอหิงสา (nonviolence - อหิงสา) ในการต่อสู้กับการปกครองของอังกฤษเพื่อให้อินเดียได้รับอิสรภาพ (ความจริง อหิงหา ไม่ใช่คำสอนของพราหมณ์ ที่เป็นต้นกำเนิดของฮินดู เพราะพราหมณ์มีแต่การฆ่าสัตว์บูชายัญ  เมื่อผสมผสานกับพุทธ จึงมีอหิงสา  อหิงสา มีในศาสนาพุทธและศาสนาเชน – ผู้แปล) ชีวิตคานธี เป็นแรงบันดาลใจให้มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ผู้นำด้านสิทธิมนุษยชนสหรัฐ ผู้นำการประท้วงแบบอหิงสาเพื่อให้ชาวอเมริกันที่เป็นแอฟริกันได้รับสิทธิมนุษยชน
ปัจจุบันนี้ชาวฮินดูและชาวพุทธยังมีอิทธิพลอย่างต่อเนื่อง  ตัวอย่างเช่น ประชาชนล้านคนจากศาสนาอื่น ๆ ทำสมาธิและฝึกโยคะ

มรดกทางศิลปะของอินเดีย  ศิลปะของอินเดียมีอิทธิพลต่อโลกอย่างเข้มข้น  อิทธิพลนี้สามารถเห็นได้ในวรรณกรรม ศิลปะ ประติมากรรม และและสถาปัตยกรรม

วรรณคดี  หนึ่งในนักเขียนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดีย คือ กาลิทาส (Kalidasa - KAH•lee•DAH•suh) เขาอาจจะเป็นกวีในราชสำนักของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2  บทละครที่มีชื่อเสียงที่สุดของกาลิทาส คือ ศกุนตลา(Shakuntala)  บอกเล่าเรื่องราวของสาวสวยที่ตกหลุมรักและแต่งงานกับกษัตริย์วัยกลางคน หลังจากศกุนตลาและสามีของเธอแยกจากกัน พวกเขาก็ประสบทุกข์อย่างน่าอนาถเพราะคำสาปที่ป้องกันไม่ให้กษัตริย์จดจำภรรยาของตนเองได้ขณะที่พวกเขาได้พบกันอีก ยุคของอินเดียยังคงชื่นชมละครของกาลิทาส  เพราะบทละครเหล่านี้ถูกเขียนขึ้นด้วยความชำนาญและระทึกใจ
อินเดียตอนใต้ยังมีประเพณีทางวรรณกรรมที่อุดมสมบูรณ์  ในคริสต์ศตวรรษที่ 1  เมืองมทุไร (Madurai – เดิมชื่อ มทุรา) ในภาคใต้ของอินเดียเป็นสถานที่ตั้งของสำนักการประพันธ์  บทกวีทมิฬมากกว่า 2,000 นับจากช่วงเวลานี้ยังคงมีอยู่
การละเล่นโขนรามายณะ
การละเล่นโขนในประเทศไทยซึ่งนำมาจากบทละครรามายณะของอินเดีย
บทละคร  นอกจากวรรณกรรม  บทละคร (Drama) ยังเป็นที่นิยมมากในอินเดียโบราณ ในภาคใต้ของอินเดีย นักแสดงละครเร่ได้ทำการแสดงในเมืองใหญ่ทั่วภูมิภาค ผู้หญิงและผู้ชายร่วมแรงร่วมใจกันในการแสดงเหล่านี้ซึ่งรวมทั้งละครและการเต้นรำ รูปแบบการเต้นรำอันยอดเยี่ยมมากมายในอินเดียทุกวันนี้มีพื้นฐานมากจากเทคนิคการอธิบายในหนังสือที่เขียนในช่วงเวลานี้
ในประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ  ประชาชนแสดงบทละครบนพื้นฐานมหาภารตะมหากาพย์ภาษาสันสกฤตโบราณ  ภควัทคีตาถูกแปลเป็นหลายภาษาและอ่านกันทั่วโลก

ศิลปะและประติมากรรม  ศิลปะและประติมากรรมอินเดียมีอิทธิพลต่อศิลปะในวัฒนธรรมอื่น ๆ ทั้งศิลปะฮินดูและพุทธศิลปะมีความสำคัญในการพัฒนาศิลปะในประเทศอินเดีย
ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างพุทธศิลปะและศิลปะฮินดูในประเทศอินเดียเป็นเรื่องของสาขาวิชา พุทธศิลปะมักจะเขียนภาพพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นผู้ที่มีศักยภาพที่จะเป็นพระพุทธเจ้า  เทพเจ้าฮินดู เช่น พระวิษณุ (พระนารายณ์) และพระพิฆเนศวรเป็นวิชาสามัญในศิลปะศาสนาฮินดู
นอกเหนือจากความแตกต่างในสาขาวิชาแล้ว  ความเชื่อในศาสนาฮินดูและพุทธศาสนามีอิทธิพลน้อยต่อรูปแบบศิลปะอินเดีย ตัวอย่างเช่น รูปปั้นฮินดูและพุทธประติมากรรมที่สร้างขึ้นในเวลาเดียวกันและสถานที่เดียวกัน เหมือนกันทางด้านรูปแบบ  ในความเป็นจริงช่างฝีมือเดียวกันมักจะสร้างศิลปะทั้งแบบฮินดูและแบบพุทธ
พระคเณศ
พระคเณศ  ซึ่งเป็นเทพแห่งความสำเร็จ การศึกษา และปัญญา ในศาสนาฮินดู
นั่งอยู่บนรถม้าศึกมีหนูลาก
สถาปัตยกรรม อิทธิพลของประเพณีฮินดูสามารถมองเห็นได้ในสถาปัตยกรรมอินเดีย แนวโน้มสถาปัตยกรรมมากมายเริ่มในยุคคุปตะ สถาปัตยกรรม เหล่านี้รวมถึงอาคารที่มีหินค่อนข้างมากกว่าไม้  ก่อสร้างสูง  หลังคาทรงปิรามิดแทนหลังคาแบนราบ และตบแต่งประดับอย่างประณีตบนหลังคา อิทธิพลของสถาปัตยกรรมอินเดียแพร่กระจายตลอดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยพม่า ไทย ลาว เวียดนามและกัมพูชา
นครวัด
นครวัด ในประเทศกัมพูชา เป็นศิลปะของศาสนาฮินดูและอินเดีย
ที่เผยแพร่ไปยังตะวันออกเฉียงใต้
ในทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา  อาคารโบราณ ที่สร้างขึ้นเป็นอาคารขนาดใหญ่แบบวัดฮินดู เรียกว่า นครวัด (Angkor Wat) แนวโน้มสถาปัตยกรรมที่เริ่มต้นขึ้นในยุคตุปตะ สามารถมองเห็นได้ในที่อาคารนี้ ซึ่งสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นหนึ่งของความสำเร็จทางด้านสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก สร้างขึ้นเป็นสัญลักษณ์แทนภูเขา (พระสุเมรุ) อุทิศแด่พระวิษณุ (พระนารายณ์) เทพเจ้าในศาสนาฮินดู หลายปีต่อมากลายเป็นวัดในพุทธศาสนา
อิทธิพลของอินเดียจะเห็นได้ในการออกแบบของนครวัด  สำหรับตัวอย่าง เช่น อาคารในนครวัดหลังคาทรงปิรามิด  อาคารเหล่านี้สร้างขึ้นจากหินด้วยประติมากรรมอันประณีต ซึ่งตกแต่งหลังคาและกำแพง นครวัดครอบคลุมพื้นที่เกือบหนึ่งตารางไมล์

มรดกทางคณิตศาสตร์ของอินเดีย

เลขที่เราใช้กันอยู่กำเนิดในอินเดีย  ประชาชนในอินเดียใช้เลข 1 ถึง  9 มานานกว่า 2,000 ปี พ่อค้าชาวอาหรับนำตัวเลขเหล่านี้ไปทางทิศตะวันตก  เป็นผลให้ตัวเลขเหล่านั้นมักจะเรียกว่า เลขอารบิค อย่างไรก็ตามในการใช้งานร่วมสมัย ตัวเลขเหล่านี้มักจะเรียกว่า เลขฮินดู-อารบิก (Hindu-Arabic numerals) บ่อยขึ้น
ระบบเลขอันหนึ่งซึ่งพัฒนาขึ้นครั้งแรกในประเทศอินเดียและใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบทศนิยม ชื่อนี้ได้มาจากคำภาษาละตินว่า  decem ซึ่งหมายความว่า "สิบ" ในจำนวน เช่น 5,555, ตัวเลขแต่ละตัวมีค่าสิบเท่าไปจนถึงตัวเลขขวามือสุด ตำแหน่งของตัวเลข คือ ตำแหน่งหน่วย ตำแหน่งสิบ ตำแหน่งร้อย ไปเรื่อย ๆ บอกตัวเลขว่ามีค่าเท่าใด
ระบบทศนิยมจะทำงานไม่ได้เมื่อปราศจากสัญลักษณ์ศูนย์ เป็นไปไม่ได้ที่จะเขียนหมายเลข เช่น 504 โดยไม่มีวิธีการบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าตำแหน่งสิบว่างเปล่า (คือใช้ศูนย์มาใส่ในตำแหน่งสิบซึ่งไม่มีค่า ถ้าไม่มีศูนย์ก็เขียนไม่ได้ คือ จะเขียนว่า 54 ก็ไม่ได้ – ผู้แปล) ในอินเดียใช้เลขศูนย์ ย้อนไปถึงประมาณ 1,400 ปี

เปรียบเทียบแบบอินเดียแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่

          อินเดียมีวัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก คนอินเดียยังคงปฏิบัติตามประเพณีจำนวนมากในแง่ของความเชื่อ การนุ่งห่ม อาหาร และการทำงาน ในเวลาเดียวกัน อินเดียก็กำลังรีบเร่งพัฒนาให้ทันคริสต์ศตวรรษที่ 21 เพื่ออ้าแขนรับโลกสมัยใหม่และปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพของประชาชน

อินเดียแบบดั้งเดิม

          อินเดียแบบดั้งเดิมเป็นดินแดนของวัดฮินดู การนุ่งห่มผ้าสีขาว และจักรยานลาก ซึ่งวิ่งเอียงไปตามถนนในหมู่บ้านแคบ ๆ  แม้ว่าส่วนมากจะพัฒนาชนชั้นกลางให้ทันสมัย  ประชาชนหลายคนยังคงทำตามวิถีแบบดั้งเดิมในการนุ่งห่ม  อาหารการ การทำงาน และในการดำรงชีวิตประจำวัน
รถลาก
รถลาก (Rickshaw) ในเมืองพาราณสี

อินเดียสมัยใหม่

          อินเดียสมัยใหม่กำลังแข่งขันเพื่อเป็นศูนย์กลางของงานแบบไฮเทคและความเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว  คนชั้นกลางที่กำลังเจริญเติบโตของอินเดีย มีความเต็มใจที่จะละทิ้งส่าหรีไปใส่กางเกงยีนส์ ละทิ้งรถไฟไปโดยสารจรวดมากขึ้นทั่วประเทศ  และละทิ้งหมู่บ้านเกษตรกรรมเพื่อไปเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีชั้นสูง เช่น เมืองบังกาลอร์ (Bangalore)
จราจรติดขัด
จราจรติดขัดหน้าโรงหนังในเมืองมุมไบ ซึ่งเป็นเหมือนกับเมืองอื่น ๆ ทั่วโลกในยุคสมัยใหม่