การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และยุคแห่งการสำรวจ
การปฏิวัติวิทยาศาสตร์
 |
แผนที่ลำดับเหตุการณ์ยุโรปและโลก |
 |
แผนที่การเดินเรือสำรวจ ค.ศ. 1492 - 1611 |
 |
แผนที่ลำดับเหตุการณ์ยุโรปและโลก |
ประวัติความเป็นมาของความคิดทางวิทยาศาสตร์
ระหว่าง 600 ปี ก่อนคริสต์ศักราช และคริสต์ศักราช 200
นักวิทยาศาสตร์กรีกได้พัฒนาแนวความคิดเกี่ยวกับวิธีการทำงานในโลกมากมาย
พวกเขาเชื่อในทฤษฎีที่เรียกว่าเหตุผลนิยม (Rationalism) ซึ่งผู้คนใช้เหตุผลหรือความคิดเชิงตรรกะเพื่อเข้าใจโลก
จักรวาลที่มีโลกเป็นจุดศูนย์กลาง นักปรัชญากรีก
ชื่อ อริสโตเติล (Aristotle) ผู้มีชีวิตอยู่ตั้งแต่ 384-322 ก่อนคริสต์ศักราช
ถือว่าเป็นหนึ่งในนักคิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดทุกยุคทุกสมัย เขาได้ศึกษาดาวและดาวเคราะห์ในแนวทางที่มีเหตุผล
การศึกษาของเขานำไปสู่การปรับปรุงและเผยแพร่ทฤษฎีที่มีโลกเป็นจุดศูนย์กลางจักรวาล (Geocentric
Theory) ทฤษฎีนี้ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาในโลกยุคโบราณ วางโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
ในทฤษฎีของอริสโตเติล ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ทั้งหมดโคจรเป็นวงกลมรอบโลกอย่างแท้จริง
ประมาณ 500 ปีต่อมา การทำงานของนักดาราศาสตร์ชื่อทอเลมี (Ptolemy - TAHL•uh•
mee) เห็นด้วยกับทัศนะของอริสโตเติลและเผยแพร่แนวคิดนั้น
ปโตเลมีอ้างว่าดวงจันทร์และดาวเคราะห์หมุนรอบตัวเองเป็นวงโคจรเล็ก ๆ ในขณะที่โคจรหมุนรอบตัวเอง
ก็ยังหมุนรอบโลกเป็นวงโคจรใหญ่ ทัศนะของอริสโตเติลและปโตเลมีเกี่ยวกับจักรวาลพิสูจน์แล้วว่าผิด
แม้กระนั้นก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ยอมรับทัศนะของพวกเขาเป็นเวลาถึง 1,400 ปี ต่อไป ก่อน ค.ศ. 1500 นักวิชาการยุโรปสองสามคนท้าทายความคิดทางวิทยาศาสตร์และทัศนะของนักคิดโบราณโดยการสังเกตธรรมชาติอย่างรอบคอบด้วยตัวเอง
 |
ภาพแกะสลักอธิบายแนวความคิดลูกเป็นจุดศูนย์กลางจักรวาล ทำขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 |
คณิตศาสตร์และการแพทย์กรีก ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราชใน
นักวิชาการกรีกชื่อพีทาโกรัส (Pythagoras - pih•THAG•uhr•uhs) พยายามอธิบายจักรวาลในแง่คณิตศาสตร์ ในทัศนะของเขา ทุกสิ่งผสมผสานกลมกลืนกันในทางที่สอดคล้องกันในการก่อรูปเป็นจักรวาล
แนวความคิดที่สรรพสิ่งผสมผสานกลมกลืนกันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยก่อรูปเป็นสรรพสิ่งขึ้นนี้รู้จักกันว่า
Harmony (ความกลมกลืนกัน – ขอคำแนะนำ) การทำงานของพีทาโกรัสมีอิทธิพลอย่างมากต่อปรัชญากรีกยุคคลาสสิกและปรัชญายุโรป
ประมาณ 200 ปีต่อมา ยุคลิด (Euclid
- YOO• klihd) อาศัยทฤษฎีพีทาโกรัสเป็นพื้นฐานสำหรับพัฒนาตัวเอง เขาได้ศึกษารูปร่างต่าง
ๆ เช่น รูปวงกลมและรูปสามเหลี่ยม ผลงานของเขาเป็นพื้นฐานของสาขาวิชาการศึกษาซึ่งรู้จักกันว่า
เรขาคณิต (Geometry) หลักสูตรเรขาคณิตในปัจจุบันนี้ยังคงตั้งอยู่บนฐานการศึกษาของยุคลิด
ชาวกรีกยังวางรากฐานการแพทย์สมัยใหม่
ฮิปโปเครติส (Hippocrates)
ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช
เชื่อว่าแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคโดยการสังเกตหลายกรณี การปฏิบัตินี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อการปฏิบัติทางการแพทย์ในยุคต่อมา
กาเลน (Galen) ผู้มีชีวิตอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 (ค.ศ.
129-200 หรือ 216) มุ่งเน้นไปที่กายวิภาคศาสตร์ คือ การศึกษาโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต
เขาได้รับความรู้จากการผ่าตัดมากมาย ด้วยการผ่าตัดพืชและสัตว์เพื่อสำรวจดูชิ้นส่วนพืชและสัตว์เหล่านั้น
 |
ยูคลิดเจ้าของผลงานเรื่อง The Elements |
วิทยาศาสตร์ในยุคกลาง เป็นเวลาหลายศตวรรษหลังจากกาเลนเสียชีวิต
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นในยุโรปเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม นักวิชาการมุสลิมมีความสนใจในความรู้ทางวิทยาศาสตร์ยุคคลาสสิก
ระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 และกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 นักวิชาการมุสลิมได้ยืมการเรียนรู้ของกรีซยุคคลาสสิกและสังคมโบราณอื่น
ๆ มาพัฒนาให้เกิดความก้าวหน้า เมื่อเวลาผ่านไป การศึกษาและความรู้ของชาวมุสลิมก็แพร่กระจายไปยังยุโรปตะวันตก
นักวิชาการมุสลิม ยิวและคริสต์
ในอัลอันดะลุส
(Al-Andalus - อัลอันดะลุส
เป็นชื่อภาษาอาหรับของบริเวณคาบสมุทรไอบีเรียและเซ็พติเมเนียที่ปกครองโดยอาหรับและชาวมุสลิมในแอฟริกาเหนือ
ในช่วงเวลาต่าง ๆ กันระหว่าง ค.ศ. 711 จนถึง ค.ศ. 1492)
ได้ช่วยกระบวนการเผยแพร่ความรู้นี้ หลายคนได้แปลผลงานด้านวิทยาศาสตร์ที่เป็นภาษากรีกและภาษาอาหรับเป็นภาษาละติน
นักปราชญ์ชาวคริสต์ริสต์พากันแห่ไปสเปนเพื่อศึกษาผลงานเหล่านี้และนำกลับไปยังยุโรป
ในช่วงเวลานี้ นักวิชาการชาวยิวมีบทบาทสำคัญ
หนึ่งในนักวิชาการเหล่านี้คือนักวิชาการ ชื่อ Gersonides (guhr•SAHN•uh•DEEZ)
ผู้ที่มีชีวิตอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เขาได้สร้างเครื่องมือในการวัดระยะทางระหว่างวัตถุในท้องฟ้า
ด้วยการใช้เครื่องมือนั้น เขาคำนวณได้อย่างถูกต้องว่าดาวฤกษ์อยู่ไกลจากโลกเป็นอันมาก
ก่อนหน้านี้ นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นด้วยกับปโตเลมีว่าดาวฤกษ์ค่อนข้างอยู่ใกล้โลกเพียงแค่อยู่ถัดไปจากดวงจันทร์
ในขณะที่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้แพร่กระจายไปทั่วยุโรป
ในไม่ช้า ความขัดแย้งก็เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศาสนาและวิทยาศาสตร์ ศาสนาคริสต์เน้นการมองโลกด้วยศรัทธา ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์เน้นเหตุผล
นักปราชญ์ชาวคริสต์ ชื่อ ทอมัส คไวนัส พยายามแสดงให้เห็นว่าทัศนะทั้งสองอาจจะดำรงอยู่ได้ด้วยความสามัคคี
ไม่ช้าก็เร็ว การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ จะคุกคามความสามัคคีนี้ระหว่างศาสนาและวิทยาศาสตร์
สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยานำไปสู่แนวความคิดใหม่ ๆ
หลังจากที่จักรวรรดิไบเซนไทน์ล่มสลายลงในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 นักปราชญ์ไบเซนไทน์หลายคนได้หลบหนีไปอิตาลี พวกเขาได้นำความรู้วรรณคดีของกรีกยุคคลาสสิกและโรมันไปด้วย
วรรณกรรมนี้เป็นพื้นฐานสำคัญของลัทธิมนุษยนิยมซึ่งเป็นวิธีคิดที่มุ่งเน้นมนุษย์และศักยภาพที่มุ่งความสำเร็จของมนุษย์
ในเวลาเดียวกันสิ่งประดิษฐ์แท่นพิมพ์ก็ช่วยในการเผยแพร่แนวความคิดมนุษยนิยมไปทั่วยุโรป
นักวิชาการยุโรปก็เริ่มตั้งคำถามกับการเรียนรู้ยุคคลาสสิก หลังจากนั้นไม่นาน จิตวิญญาณแห่งการสำรวจแนวใหม่ก็ปรากฏขึ้นในยุโรป
การปฏิวัติด้านงานศิลปะในช่วงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยายังก่อผลกระทบแก่นักวิทยาศาสตร์
ศิลปินต้องการแสดงวิชาของพวกเขาในทางที่มีเหตุผล
การจะทำได้เช่นนี้ พวกเขาได้สังเกตมนุษย์และสัตว์อย่างใกล้ชิด
บางคนถึงกับชำแหละศพมนุษย์ การศึกษาอย่างรอบคอบนี้นำไปสู่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ได้ถูกต้องมากขึ้น
ในช่วงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ชาวยุโรปมองหาเส้นทางใหม่เพื่อไปยังเอเชีย
การเดินทางเหล่านี้ได้เพิ่มความรู้เกี่ยวกับสัณฐาน ขนาดและสภาพอากาศของโลก ความรู้ใหม่นี้บางส่วนท้าทายแนวความคิดยุคคลาสสิก
วิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้า
นักปราชญ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15
เมื่อได้รับอิทธิพลจากลัทธิมนุษยนิยม ก็เริ่มตั้งคำถามแนวความคิดทางวิทยาศาสตร์ยุคคลาสสิกและความเชื่อของศาสนาคริสต์
คำถามเกี่ยวกับทฤษฎีเก่าเป็นที่รู้จักกันว่า การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ (the
Scientific Revolution) การเปลี่ยนแปลงแนวความคิดนี้นำไปสู่การปะทุขึ้นของความคิดใหม่ ๆ
สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ ในคริสต์ศตวรรษที่
16 และ 17 การสำรวจทางวิทยาศาสตร์ได้ถูกก็ง่ายขึ้นโดยการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือใหม่
ๆ กล้องจุลทรรศน์ เครื่องวัดอุณหภูมิ (เทอร์โมมิเตอร์) และเครื่องวัดความกดอากาศ
(บาร์รอมิเตอร์) ก็อยู่ในบรรดาสิ่งประดิษฐ์เหล่านั้น
ในคริสต์ศตวรรษที่ 1670 นักวิทยาศาสตร์สมัครเล่นชาวดัตช์
ชื่อ อังตวน ฟาน เลเวนฮุค (Anton
Van Leeuwenhoek - LAY•vuhn•HUK) ได้สร้างกล้องจุลทรรศน์
หลอดทองเหลืองนี้มีเลนส์กระจกโค้งขยายวัตถุได้ระหว่างระยะด 50 เท่า และ 300 เท่า ด้วยการใช้กล้องจุลทรรศน์
ฟานเลเวนฮุกได้สังเกตแบคทีเรียหรือวัตถุที่เคลื่อนไหวเล็ก ๆ ในของเหลว
นอกจากนี้เขายังตั้งข้อสังเกตการไหลของเลือดผ่านเส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ ที่เรียกว่า
capillaries (เส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ)
ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี ชื่อ กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1564-1642) คิดค้นเครื่องวัดอุณหภูมิ
(Thermometer) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิ เครื่องวัดอุณหภูมิของกาลิเลโอเป็นหลอดแก้วเปิดมีหลอดไฟบรรจุน้ำไว้ด้านล่าง
น้ำเพิ่มขึ้นในหลอดขณะร้อนและลดลงในขณะเย็น ประมาณ 100
ปีต่อมาในคริสต์ศักราช 1714 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ กาเบรียล
แดเนียล ฟาเรนไฮต์ (Gabriel Daniel Fahrenheit - FAR•uhn•HYT)
ได้สร้างเครื่องวัดอุณหภูมิปรอทเครื่องแรกขึ้น และยังได้นำเสนอระบบการวัดอุณหภูมิอย่างเป็นทางการระบบแรกนั้น
มาตราส่วนการวัดของฟาเรนไฮต์แสดงจุดเยือกแข็งอุณหภูมิ 32° และจุดเดือดที่
212°
ในคริสต์ศักราช 1643 เพื่อนกับผู้สนับสนุกาลิเลโอ
ชื่อ เอวานเจลิสตา โตร์ริเชลลี (Evangelista Torricelli - TAWR•ur•CHEHL•ee)
ได้คิดค้นบารอมิเตอร์ เครื่องมือนี้วัดความดันของชั้นบรรยากาศโลก ต่อมานักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ใช้บารอมิเตอร์พยากรณ์สภาพอากาศ
 |
ภาพวาดกาลิเลโอแสดงวิธีใช้กล้องโทรทัศน์ให้กับผู้ปกครองเมืองเวนิซ |
จักรวาลที่ดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลาง (Heliocentric
Universe) ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์
ชื่อ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (Nicolaus
Copernicus - koh•PUR•nuh•kuhs) ได้ท้าทายทฤษฎีที่มีโลกเป็นจุดศูนย์กลางจักรวาลของปโตเลมี
โคเปอร์นิคัสให้เหตุผลว่า ดาวฤกษ์ โลกและดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ โคจรหรือเคลื่อนที่ไปรอบดวงอาทิตย์ที่หยุดอยู่กับที่
ทัศนะเกี่ยวกับจักรวาลของโคเปอร์นิคัสเป็นที่รู้จักกันว่า ทฤษฎีที่มีดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลาง
heliocentric theory) เป็นความเชื่อว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล
เกือบ 100 ปีต่อมา นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ โยฮันเนส
เคปเลอร์ (Johannes Kepler) ได้ใช้ทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสมาพัฒนาต่อและทำให้ถูกต้องมากขึ้น
เคปเลอร์ใช้กฎทางคณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์ว่าดาวเคราะห์เคลื่อนที่ไปรอบดวงอาทิตย์จริง
กฎหนึ่งแสดงให้เห็นว่าดาวเคราะห์โคจรเป็นรูปวงรีและไม่ได้โคจรเป็นวงกลมตามที่โคเปอร์นิคัสเชื่อ
รูปโคจรวงรีมีรูปร่างเหมือนไข่
กาลิเลโอท้าทายความเชื่อที่ยอมรับกันทั่วไป
กาลิเลโอได้สร้างความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างซึ่งท้าทายแนวความคิดยุคคลาสสิก
หลังจากที่ทราบว่าผู้ผลิตเลนส์ชาวดัตช์ได้สร้างเครื่องมือที่สามารถขยายวัตถุได้ไกล
กาลิเลโอก็สร้างกล้องโทรทรรศน์ของเขาเอง ข้อสังเกตที่เขาสังเกตเห็นอย่างชัดเจนด้วยกล้องโทรทรรศน์ได้สนับสนุนความคิดของโคเปอร์นิคัส
อย่างไรก็ตาม บทสรุปของเขาได้นำเขาไปสู่ความขัดแย้งกับคริสตจักร ทัศนะของโคเปอร์นิคัสขัดแย้งกับความเชื่อของคริสตจักรที่กล่าวว่าโลกเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาลไม่ใช่ดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางอย่างเป็นทางการ
เป็นผลให้เหล่าผู้นำคริสตจักรประณามกาลิเลโอ
และบังคับให้กาลิเลโอปฏิเสธการค้นพบของตนเองต่อสาธารณชน แต่กาลิเลโอรู้ว่าเขาถูกต้องและนักวิทยาศาสตร์คนอื่น
ๆ ก็ถูกต้องเหมือนกัน
กฎแห่งจักรวาลของนิวตัน ในปลายคริสต์ศตวรรษที่
16 นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir
Isaac Newton) ได้รวบรวมแนวความคิดของโคเปอร์นิคัส
เคปเลอร์และกาลิเลโอมาเป็นทฤษฎีหนึ่งเดียว ทฤษฎีนั้นระบุว่าวัตถุทางกายภาพทั้งหมดรับผลกระทบจากแรงโน้มถ่วงเช่นเดียวกัน
พลังธรรมชาตินี้มีแนวโน้มในการดึงวัตถุเข้าหากัน
แรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่ทำให้ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้คนไม่ให้ลอยออกจากพื้นผิวโลกไปในอวกาศ
เนื่องจากแรงโน้มถ่วงกระทำต่อวัตถุทั่วทั้งจักรวาล นิวตันจึงเรียกทฤษฎีของตนเองว่า
กฎแรงโน้มถ่วงแห่งจักรวาล (law of universal gravitation)
 |
เซอร์ไอแซก นิวตัน นอกจากจะค้นพบแรงโน้มถ่วงแล้ว ยังสนใจในวิทยาศาสตร์เกี่ยวแสงและสายตา เขาเป็นผู้ค้นพบแสงที่สร้างสีสรรค์ให้กับรุ้งกินน้ำ |
การค้นพบในด้านการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์บางคนพยายามเข้าใจจักรวาล
คนอื่น ๆ ต้องการจะรู้ว่าร่างกายมนุษย์ทำงานอย่างไร
ในคริสต์ศักราช 1628 อายุรแพทย์ชาวอังกฤษ ชื่อ วิลเลียม ฮาร์วีย์ (William
Harvey) ได้ตีพิมพ์คำอธิบายที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีการที่เลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย
และวางรากฐานผลการวิจัยในการผ่าตัดร่างกายมนุษย์ที่เขาได้ดำเนินการมา
ข้อสังเกตของเขาแสดงให้เห็นว่าหัวใจปั๊มเลือดไปทั่วร่างกายของสิ่งมีชีวิตไม่ใช่ตับตามที่กาเลนเชื่อ
วิธีการทางวิทยาศาสตร์
ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นักปรัชญาสองคน คือ เรอเน เดการ์ต (René
Descartes - day•KAHRT) และฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon)
มีผลกระทบอย่างมากเกี่ยวกับวิธีที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาโลก
เดการ์ตและเบคอน ชาวฝรั่งเศส ชื่อ เรอเน เดการ์ต
(René Descartes) เชื่อว่าแนวความคิดทุก ๆ เรื่องควรจะตั้งข้อสงสัยจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ด้วยเหตุผล
เดการ์ตวางรากฐานวิธีการของเขาด้วยคำพูดง่าย ๆ "ฉันคิด ดังนั้นฉันจึงมีอยู่ (I
think, therefor I am." เขาแย้งว่าพระเจ้าทรงสร้างความจริงสองอย่าง
อันแรกคือความจริงทางกายภาพ อีกอันหนึ่งคือจิตใจมนุษย์ เดการ์ตอ้างว่าคนสามารถใช้จิตใจของตนเองเข้าใจโลกทางกายภาพได้
ชาวอังกฤษ ชื่อ เซอร์ฟรานซิส เบคอนยังเชื่อในการใช้ความคิดที่มีเหตุผลด้วย
อย่างไรก็ตาม เบคอนรู้สึกว่านักวิทยาศาสตร์ควรใช้การทดลองและการสังเกตมากกว่าเหตุผลบริสุทธิ์ในการเข้าใจโลก
------------------------------
ผู้สร้างประวัติศาสตร์
เซอร์ฟรานซิส เบคอน (Sir Francis Bacon – มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1561–1626)
 |
เซอร์ฟรานซิส เบคอน |
วิทยาศาสตร์เป็นงานอดิเรกสำหรับฟรานซิส
เบคอน เขาเป็นนักการเมือง เบคอนต้องการรวมความคิดที่มีเหตุผลในทางการเมืองและวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน
งานเขียนของเขาช่วยให้ระบบกฎหมายอังกฤษกำหนดมาตรฐานโลกสำหรับความเป็นธรรม เบคอนอยู่ในจำนวนคนแรกที่แสดงให้เห็นว่า
ลัทธิเหตุผลนิยมทำงานในการปกครองเช่นเดียวกับในวิทยาศาสตร์
เบคอนก็ตัดสินใจเดินตามความรักการทดลองวิทยาศาสตร์ของตนเองถึงแม้ว่ามันจะฆ่าเขา
ในที่สุดก็ทำได้
เบคอนป่วยและเสียชีวิตหลังจากการทดลองทฤษฎีที่ว่าหิมะสามารถนำมาใช้หยุดร่างกายไม่ให้เน่าเปื่อยได้
เขายัดหิมะในตัวไก่ แต่เขาเป็นหวัดในขณะดำเนินการ ความเย็นกลายเป็นโรคหลอดลมอักเสบและเขาก็ตายในสัปดาห์ต่อมา
------------------------------
วิธีการที่มีเหตุผลของเบคอนวางรากฐานให้กับสิ่งที่รู้จักกันในทุกวันนี้ว่า
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์มีขั้นตอนที่เฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย การสังเกต
การทดลอง การวิเคราะห์และการประเมินผล (ดังแผนภูมิ)
หลักการใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ แนวความคิดของเดการ์ตและเบคอนรู้จักกันว่า
หลักการใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17 อิทธิพลของหลักการใช้เหตุผลวิทยาศาสตร์ ได้เริ่มลดอำนาจของคริสตจักรลง
ทำไมจึงเกิดการณ์นี้ขึ้น? หลักการใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์กระตุ้นให้ผู้คนคิดถึงตัวเองแทนที่จะพึ่งอำนาจคริสตจักร
นักคิดทางการเมืองบางพวกได้นำหลักการใช้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการปกครอง
ตัวอย่างเช่น นักคิดทางการเมือง ชื่อ จอห์น ล็อก (John Locke) เชื่อว่าผู้คนมีความสามารถทางธรรมชาติในการรับผิดชอบกิจการของตัวเอง เขามอง
ความสามารถนี้ในฐานเป็นกฎธรรมชาติหรือความถูกต้อง ความเชื่อดังกล่าวปลูกเมล็ดพันธุ์ของระบอบประชาธิปไตยซึ่งในไม่ช้าก็พัฒนาไปในประเทศต่าง
ๆ เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา
ยุคแห่งการสำรวจ
โปรตุเกสเป็นผู้นำด้านการสำรวจ
นับตั้งแต่ยุคกลางเป็นต้นมา
ชาวยุโรปต้องการสินค้าหรูหรา เช่น ผ้าไหมและเครื่องเทศจากเอเชีย ในช่วงนี้
เหล่าพ่อค้าชาวอิตาลีและชาวมุสลิมควบคุมการค้าขายทางบกระหว่างยุโรปและเอเชีย
เหล่าพ่อค้าจากหลายประเทศ เช่น โปรตุเกส สเปน อังกฤษและฝรั่งเศส ต้องการมีส่วนร่วมในการค้าขายนี้
เพื่อการนี้ พวกเขาจึงจำเป็นต้องค้นหาเส้นทางทางทะเลเพื่อไปยังเอเชีย
 |
นักเดินเรือสามารถคำนวณเส้นรุ้งได้ในขณะอยู่ในทะเล ด้วยการใช้นาฬิกาดาววัดความสูงของดาวเหนือในท้องฟ้า |
เฮนรี (Henry) นักสำรวจทางทะเล เหล่าพ่อค้าชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปพวกแรกที่ติดต่อค้าขายทางทะเลกับเอเชีย
ที่ทำเช่นนี้ได้เพราะมีผู้ปกครองสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง คือ เจ้าชายเฮนรี โอรสของกษัตริย์แห่งโปรตุเกส
ทรงเป็นผู้สนับสนุนการสำรวจอย่างเข้มแข็ง โดยการสร้างโรงเรียนฝึกหัดคนเขียนแผนที่ นักสำรวจทางทะเล
และช่างต่อเรือเดินทะเล (หรือเดินสมุทร) และยังทรงสนับสนุนการเดินทางสำรวจอีกด้วย (คนที่สนับสนุน
(Sponsor) คือ
ผู้ที่ให้การสนับสนุนด้านเงินในการดำเนินกิจกรรม เช่น การเดินทาง เป็นต้น) แม้ว่าเจ้าชายเฮนรีไม่ค่อยได้เดินทางไปสำรวจด้วยพระองค์เอง
แต่พระองค์ก็รู้จักกันว่า “เป็นนักสำรวจทางทะเล (the Navigator)”
 |
ป้อมปราการแห่งเมืองซาเกรสปลายสุดทางตะวันตกเฉียงใต้ของโปรตุเกส น่าจะเป็นที่ตั้งของโรงเรียนฝึกการเดินเรือของเจ้าชายเฮนรี |
เทคโนโลยีและการสำรวจ ในโรงเรียนของเจ้าชายเฮนรีสร้างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขึ้นเพื่อสนับสนุนการสำรวจของชาวโปรตุเกส
ในโรงเรียนนั้นช่างต่อเรือเดินทะเลต่อเรือใบขนาดเล็ก (caravel
- KAR—uh—VEHL) ซึ่งเป็นเรือที่ออกแบบให้เดินทางได้ระยะไกลสำเร็จ เรือใบขนาดเล็กมีใบเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสใช้สำหรับเรือของชาวยุโรปและใบสามเหลี่ยมใช้สำหรับเรือของชาวอาหรับ
ใบสี่เหลี่ยมให้พลังแก่เรือและใบสามเหลี่ยมทำให้เรือเลี้ยวได้เร็ว
นักเดินเรือชาวโปรตุเกสได้ยืมอุปกรณ์มาจากวัฒนธรรมประเทศอื่น ๆ อีกด้วย
เช่น ยืมเข็มทิศซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ของจีนมาเป็นเครื่องนำทาง ใช้เครื่องมือดาราศาสตร์โบราณใช้หาตำแหน่งดวงดาวในอวกาศ
(astrolabe) ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ของกรีกโบราณและชาวอาหรับนำมาปรับปรุง
เครื่องมือดาราศาสตร์โบราณใช้หาตำแหน่งดวงดาวในอวกาศวัดมุมตำแหน่งดาวฤกษ์บนท้องฟ้าช่วยให้นักเดินทางเรือหาตำแหน่งเส้นรุ้ง
หรือเส้นศูนย์สูตรของโลกที่มีระยะห่างจากขั้วโลกเหนือและใต้เท่ากัน
 |
แผนที่การเดินทางสำรวจของโปรตุเกส ค.ศ. 1418 - 1498 |
การเดินทางมาถึงอินเดีย ในช่วงที่เจ้าชายเฮนรี่สิ้นพระชนม์ใน
ค.ศ. 1460 ชาวโปรตุเกสก็ได้ตั้งที่มั่นทางการค้าขายตามแนวฝั่งตะวันตกของแอฟริกาเรียบร้อยแล้ว
โดยได้พัฒนาผลกำไรจากการค้าขายเป็นทอง งา และทาส ในไม่ช้าพวกโปรตุเกสก็มุ่งหน้าไปไกลกว่าแอฟริกา
ใน ค.ศ. 1488 นักสำรวจชาวโปรตุเกส ชื่อ บาร์ตูลูเมว ดีอัช (Bartolomeu
Dias) เดินทางอ้อมปลายแหลมทางตอนใต้ของแอฟริกา แล้วก็แล่นเรือขึ้นไปทางฝั่งตะวันออกของแอฟริกาก่อนจะกลับบ้านเกิด
วัชกู ดา กามา (Vasco da Gama) ขยายเส้นทางของดิอัซ โดยการแล่นเรือไปตลอดฝั่งตะวันออกจนถึงอินเดียใน
ค.ศ. 1498 สองสามปีต่อมา ชาวโปรตุเกสก็ตั้งที่มั่นการค้าขายในอินเดียได้
แล้วก็เดินทางต่อไปยังตะวันออก
ในที่สุดชาวโปรตุเกสก็ตั้งศูนย์กลางการค้าขายขึ้นเป็นอันมากในหมู่เกาะเครื่องเทศ (Spice
Island – หมู่เกาะโมลุกกะ) ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย
การค้าขายทางบกตั้งแต่เอเชียถึงยุโรปมีแนวโน้มว่าจะเป็นการสิ้นเปลืองมาก
เนื่องจากสิ้นค้าถ่ายเข้าถ่ายออกมากมายหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม
การค้าขายทางทะเลก็สิ้นเปลืองน้อยกว่า เนื่องจากสินค้าไม่ต้องขนถ่ายบ่อยครั้ง
เป็นผลให้ชาวโปรตุเกสตีราคาเครื่องเทศถูกลง บางครั้งบางคราว โปรตุเกสก็ยึดครองการค้าขายกับเอเชีย
โคลัมบัส
(Columbus) เดินทางมาถึงอเมริกา
ในขณะที่ชาวโปรตุเกสมุ่งหน้าไปทางตะวันออกเพื่อรักษาเส้นทางการค้าขาย
นักเดินเรือชาวอิตาลี ชื่อ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher
Columbus) ก็มุ่งหน้าไปทางตะวันตกด้วยหวังว่าจะพบเส้นทางทางตะวันตกที่มุ่งสู่แหล่งที่อุดมสมบูรณ์คือเอเชีย
การเดินทางไกลครั้งแรกของโคลัมบัส ด้วยการศึกษาแผนที่และบันทึกที่มีอยู่ โคลัมบัสก็รู้ว่าโลกกลม
อาศัยความรู้นี้ โคลัมบัสจึงคิดว่าตนเองน่าจะเดินทางถึงเอเชียในไม่ช้าถ้าเขาแล่นเรือไปทางตะวันตกแทนการเดินทางไปทางทิศตะวันอกอ้อมแอฟริกา
อย่างไรก็ตาม โคลัมบัสคำนวณระยะทางรอบโลกผิดพลาด เขาประมาณว่าระยะทางนี้อยู่ที่เศษ
3 ส่วน 4 เท่านั้น ซึ่งไกลพอ ๆ กับความเป็นจริง (ไกลกว่าที่เดินทางไปทางตะวันออกเสียอีก)
สำหรับผู้คนเป็นอันมาก แนวความคิดของโคลัมบัสที่แล่นเรือไปทางตะวันตกมุ่งสู่ตะวันออกดูเป็นเรื่องประหลาดเล็กน้อย
ชาวโปรตุเกสปฏิเสธแนวความคิดนี้ ชอบค้นหาเส้นทางไปทางตะวันออกมุ่งสู่เอเชียมากกว่า
แม้สเปนซึ่งกระหายความสำเร็จด้านการค้าขายก็ยังคลางแคลงใจอยู่ อย่างไรก็ตาม
หลังจากนั้น 6 ปี โคลัมบัสก็ทำให้พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ (Ferdinand)
กษัตริย์สเปนและพระนางอิซาเบลลา (Isabella) มั่นพระทัยในการสนับสนุนแผนการของเขา
ในต้นเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1492 โคลัมบัสเดินทางออกจากสเปนด้วยเรือใบขนาดเล็กสามลำพร้อมกับชายประมาณ
90 คน หลังจากนั้นเกือบ 10 สัปดาห์ ณ
ท้องทะเล ลูกเรือของโคลัมบัสก็เกิดอาการกระสับกระส่าย เนื่องจากไม่พบแผ่นดินมาเป็นเวลามากกว่า
1 เดือนและต้องการจะกลับบ้าน โคลัมบัสจึงกล่อมพวกเขาให้เดินทางต่อไป
ครั้นแล้วในวันที่ 12 เดือนตุลาคม ลูกเรือก็ตะโกนว่า “Tierra,
Tierra (แผ่นดิน แผ่นดิน)”
 |
ภาพแกะสลักนี้ทำขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 15
ในภาพ โคลัมบัสจอดเรือใกล้หมู่เกาะฮิสปันโยลาในการเดินเรือครั้งแรก |
ความผิดพลาดของโคลัมบัส โคลัมบัสคิดว่าแผ่นดินนี้เป็นอินเดีย
และเรียกผู้คน (พื้นเมือง) ที่มาทักทายเขากับลูกเรือของเขาว่า Indios
(ชาวอินเดีย) เป็นความผิดพลาดอีกครั้งหนึ่งของโคลัมบัส ความจริงโคลัมบัสจอดเรือ
ณ หมู่เกาะในทะเลแคริบเบียนและสำรวจหมู่เกาะอื่น ๆ แต่ไม่ได้ข้ามมาขายสินค้าใด ๆ แม้กระนั้น
เขาก็ตื่นเต้นที่ค้นพบสิ่งที่ตัวเองคิดว่าเส้นทางไปสู่เอเชีย โคลัมบัสจึงตั้งถิ่นฐานบนหมู่เกาะ
Hispaniola แล้วก็แล่นเรือกลับไปยังสเปน ใน ค.ศ. 1504
นักสำรวจชาวอิตาลี ชื่อ อเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci)
เป็นคนแรกที่พิสูจน์ว่าแผ่นดินนี้ไม่ใช่เอเชีย แต่เป็นทวีปใหม่
----------------------------
แหล่งที่มาปฐมภูมิ
 |
ไซท์ออฟอิซาเบลลา สถานที่จอดเรือครั้งแรกของโคลัมบัส |
ภูมิหลัง Diego Alvarez Chanca จากเมืองเซวิลล์ในสเปน มีหน้าที่เป็นศัลยแพทย์ในการเดินทางครั้งที่สองของโคลัมบัสไปยังอินดีสตะวันตก
(West Indies) ได้เขียนเล่าประสบการณ์ของตนเองเป็นลายลักษณ์อักษร
ณ สภาเมืองเซวิลล์ จากข้อความที่ตัดตอนมา เขาได้อธิบายสัตว์ที่เขาเห็นบนหมู่เกาะฮิสปันโยลา (Hispaniola)
“...ไม่มีสัตว์สี่ขาที่เคยเห็นมาบนเกาะนี้หรือเกาะใด
ๆ เลยนอกจากสุนัขที่มีสีหลากหลายเหมือนกับสุนัขในบ้านเมืองเรา...และสัตว์เล็ก ๆ
บางชนิดมีสีและขนคล้ายกระต่าย....มีหางยาว และมีเท้าคล้ายเท้าของหนู
สัตว์เหล่านี้ปีนป่ายขึ้นบนต้นไม้....
...มีงูเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก
และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง แต่ไม่มาก...ลูกเรือของเราเห็นสัตว์เลื้อยคลานตัวมหึมา
ซึ่งกล่าวกันว่าตัวกลมใหญ่พอ ๆ กับลูกวัว มีหางยาวพอ ๆ กับหอก ซึ่ง (ชาวเกาะ)
ออกไปฆ่า แต่มันตัวค่อนข้างใหญ่และเทอะทะคลานลงไปในทะเลเพื่อหนีการไล่จับ...”
----------------------------
สนธิสัญญาทอร์เดซีลญาส กษัตริย์เฟอร์ดินานและราชินีอิซาเบลล่ามีพระประสงค์จะสร้างความมั่นใจว่า
โปรตุเกส
ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้าขายจะไม่ได้รับผลประโยชน์จากการเดินทางของโคลัมบัส
ชาวโปรตุเกสเกรงว่าถ้าโคลัมบัสค้นพบเส้นทางไปสู่เอเชีย สเปนอาจอ้างสิทธิเหนือดินแดนที่โปรตุเกสถือสิทธิเรียบร้อยแล้ว
ใน ค.ศ. 1494 สเปนและโปรตุเกสจึงลงนามในสนธิสัญญาแห่งทอร์เดซีลญาส (Treaty
of Tordesillas - TAWR-—day—-SEEL—-yahs) สนธิสัญญานี้ลากเส้นจินตนาการรอบโลกจากเหนือถึงใต้
สเปนอาจจะอ้างสิทธิเหนือดินแดนทางทิศตะวันตกทั้งหมดของเส้น ส่วนโปรตุเกสอ้างสิทธิเหนือดินแดนทางทิศตะวันออกทั้งหมด
สนธิสัญญาให้โปรตุเกสควบคุมดินแดนแห่งหนึ่งในทวีปอเมกา คือ ประเทศบราซิลในปัจจบัน
การเดินทางครั้งต่อ ๆ มา กษัตริย์เฟอร์ดินานและราชินีอิซาเบลล่าทรงพอพระทัยกับผลการเดินทางครั้งแรกของโคลัมบัส
ทั้งสองพระองค์ได้ส่งโคลัมบัสเดินทางเพิ่มอีก 3 ครั้งไปทางตะวันตกเพื่อค้นหาอินเดียแผ่นดินใหญ่
แม้ว่าโคลัมบัสจะจอดเรือบนหมู่เกาะมากมาย เขาก็ไม่มีข้อพิสูจน์ว่าตัวเองอยู่ในเอเชีย
ในที่สุด กษัตริย์เฟอร์ดินานและราชินีอิซาเบลล่าก็หมดความอดทนกับโคลัมบัส โคลัมบัสได้เสียชีวิตลงใน
ค.ศ. 1506 เป็นบุรุษที่ขมขื่นและโดดเดี่ยว จนกระทั่งวันตายของเขา
เขาก็ยังยืนว่าตัวเองเดินทางไปถึงอินเดียแล้ว อย่างไรก็ตาม
ในไม่ช้าผู้คนก็ตระหนักว่าโคลัมบัสได้ค้นพบดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลซึ่งแต่ก่อนไม่มีใครรู้จัก
(คือทวีปอเมริกา)
การสำรวจตามหลังโคลัมบัส
หลังจากการเดินทางของโคลัมบัส
หลายประเทศได้ให้การสนับสนุนการเดินทางสำรวจไปยังอเมริกา นักสำรวจหลายคนเหมือนกับโคลัมบัสค้นหาเส้นทางเพื่อไปยังเอเชียให้เร็วขึ้น
คนอื่น ๆ ค้นหาแต่ความมั่งคั่ง
การเดินทางรอบโลก ใน ค.ศ. 1519 สเปนได้ให้การสนับสนุนการเดินทางมีกะลาสีเรือชาวโปรตุเกสชื่อ
เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน (Ferdinand
Magellan) เป็นหัวหน้า
โดยเดินทางออกจากสเปนพร้อมเรือ 5 ลำและลูกเรือประมาณ 240 คน เป้าหมายคือการเดินทางรอบโลก
หรือไปทั่วโลก จนถึงเวลานี้ก็ไม่มีใครประสบความสำเร็จด้านนี้เลย
มาเจลลันแล่นเรือรอบใต้สุดของทวีปอเมริกาใต้และไปสู่ท้องน้ำที่กว้างใหญ่ไพศาลของมหาสมุทรแปซิฟิก
เรือแล่นไปเป็นเวลาหลายเดือนโดยไม่ได้เห็นแผ่นดิน ในที่สุดก็มาถึงหมู่เกาะฟิลิปปินส์
ณ ที่นั่น มาเจลลันถูกฆ่าตายในสงครามท้องถิ่น ลูกเรือของเขาภายใต้การนำของฮวน เซบาสเตียน
เดล คาโน (Juan Sebastián del Cano) ก็เดินทางต่อไปยังหมู่เกาะเครื่องเทศและแล้วก็ถึงบ้านเกิดเมืองนอน
หลังจากการเดินทางเกือบสามปี มีเพียงเรือลำเดียวและลูกเรือคณะเดิม 18 คนเท่านั้นที่กลับไปถึงสเปนได้ การเดินทางรอบโลกประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ก็เป็นความสำเร็จทางด้านเศรษฐกิจ
ระวางบรรทุกสินค้าของเรือก็เต็มไปด้วยเครื่องเทศจากเอเชีย
 |
แผนที่การเดินทางรอบโลกของมาเจลลัน |
เปรียบเทียบวิธีการเขียนแผนที่
การเขียนแผนที่ในยุคกลางยึดเอาความรู้และความแบบโบราณเป็นหลัก
แผนที่ด้านซ้ายมือ เขียนใน ค.ศ. 1452 มีเยรูซาเล็มเป็นศูนย์กลางแสดงเพียง 3 ทวีป
คือ เอเชีย ยุโรปและแอฟริกา ทิศตะวันออกอยู่ด้านบนของแผนที่ ด้านขวามือ
เป็นแผนที่ทวีปแอฟริกา เขียนขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1595 แสดงตำแหน่งทวีปได้ถูกต้อง
เปรียบเทียบการเขียนแผนที่
ยุคกลาง
|
ยุคแห่งการสำรวจ
|
เขียนขึ้นโดยอาศัยแหล่งความรู้จากยุคคลาสสิก
|
เขียนขึ้นจากการสำรวจ
|
สะท้อนให้เห็นอิทธิพลของคริสตจักร
|
สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการเขียนแผนที่
|
ทิศตะวันออกจะอยู่ด้านบนของแผนที่
|
ทิศเหนือจะอยู่ด้านบนของแผนที่
|
ใช้ประโยชน์สำหรับการเดินเรือไม่ได้
|
เขียนขึ้นจากการประสบการณ์การเดินเรือ
|
 |
แผนที่โลกของยุโปรสมัยยุคกลาง ค.ศ. 1452 |
|
 |
แผนที่แอฟริกา ค.ศ. 1595 |
|
เหล่าผู้พิชิตชาวสเปน ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15
นักสำรวจชาวสเปนเดินทางถึงทวีปอเมริกาเพื่อต้องการค้นหาทองคำ เอร์นัน เกอร์เตส (Hernán
Cortés) พิชิตจักรวรรดิแอซเท็ก (Aztec) อันอุดมสมบูรณ์
ภายใน 20 ปี สเปนได้ครอบครองเม็กซิโกในปัจจุบันและอเมริกากลางทั้งหมด
ชาวสเปนได้เอาผู้คนในภูมิภาคนั้นไปเป็นทาสจำนวนมาก หลังจากนั้นไม่ช้า ชาวสเปนอีกคนหนึ่ง ชื่อ ฟรันซิสโก
ปีซาร์โร (Francisco Pizarro) ก็นำพรรคพวกเข้าโจมตีเผ่าอินคาในอเมริกาใต้
ฆ่าจักรพรรดิตาย ในไม่ช้าเผ่าอินคาก็ล่มสลาย ประมาณ ค.ศ. 1535 ชาวสเปนก็ควบคุมดินแดนอินคาส่วนใหญ่ได้
ชาวอินคาจำนวนมากก็ตกเป็นแรงงานทาสในเหมืองและไร่นาของชาวสเปน
การสำรวจไกลออก ความต้องการทองคำชักนำนักสำรวจชาวสเปนขึ้นไปทางตอนเหนือ
ใน ค.ศ. 1513 ฮวน ปอนเซ เด เลออง (Juan
Ponce de León) จอดเรือที่ฝั่งทะเลที่ปัจจุบันนี้เป็นฟลอริดา
และอ้างกรรมสิทธิ์เป็นของสเปน ตั้งแต่ ค.ศ. 1539 – 1542 เอร์นันโด เด ซาโต (Hernando
de Soto) ได้สำรวจดินแดนในบริเวณที่เป็นตอนใต้ของสหรัฐในปัจจุบัน ใน
ค.ศ. 1540 ฟรันซิสโก โคโรนาโด (Fracisco Coronado) เริ่มสำรวจบริเวณที่เป็นด้านตะวันตกของสหรัฐในปัจจุบัน
ไม่มีใครพบทองคำเลย
ชาวอังกฤษและชาวฝรั่งเศสก็พยายามหาทางลัดไปยังเอเชียอย่างหนัก
โดยการสนับสนุนคณะนักสำรวจให้ค้นหาทางผ่านด้านตะวันตกเฉียงเหนือ (Northwest
Passage – แถวมหาสมุทรแอตแลนติกซึ่งเรียกกันว่า “เส้นทางสายน้ำแข็ง”
– ผู้แปล) ซึ่งเป็นเส้นทางน้ำในตำนานผ่านตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือไปยังเอเชีย
ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1490 นักเดินเรือชาวอิตาลี ชื่อ จอห์น แคบอต (John
Cabot) เป็นผู้นำการเดินทางสองครั้งให้อังกฤษ ได้อ้างกรรมสิทธิ์เหนือแผ่นดินฝั่งทะเลซึ่งปัจจุบันคือด้านตะวันออกของแคนาดาและสหรัฐให้กับอังกฤษ
อย่างไรก็ตาม เขาก็ไม่พบทางผ่านไปยังเอเชีย
ใน ค.ศ. 1524 จิโอวานนี
ดา เวอร์ราซาโน (Giovanni da Verrazano - VEHR•uh•ZAH•noh) นักเดินเรือชาวอิตาลีอีกคนหนึ่งก็ได้ค้นหาด่านด้านตะวันตกเฉียงเหนือให้กับฝรั่งเศส
แม้จะล้มเหลวในการค้นหาเส้นทางไปสู่เอเชีย
ก็ได้สำรวจบริเวณที่เป็นอ่าวนิวยอร์คในปัจจุบัน (New
York harbor)
การเขียนแผนที่และการมองโลกแบบใหม่ การสำรวจแต่ละครั้งช่วยให้มีการเปลี่ยนมุมมองโลกแก่ชาวยุโรป
ก่อนโคลัมบัสเดินทาง ชาวยุโรปมองโลกไปที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณดินแดนรอบ ๆ
หลังจากการสำรวจของโคลัมบัส
ชาวยุโรปก็มองโลกไปด้านตะวันตกตั้งแต่ทวีปอเมริกาไปถึงหมู่เกาะเครื่องเทศ
(หมู่เกาะโมลุกกะหรืออินโดนีเซียในปัจจุบัน) ในตะวันออก
 |
สะานเวอร์ราซาโน แนร์โรว์ บริดจ์ นิวยอร์ก สร้างเป็นเกียรติแก่นักสำรวจชาวอิตาลี เสร็จเมือ ค.ศ. 1964 |
นักเขียนแผนที่มีบทบาทเป็นผู้นำในด้านการเปลี่ยนแปลงมุมมองโลก
แผนที่ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 เริ่มแสดงทวีปใหม่สองทวีป (คือ อเมริกาเหนือ-ใต้) นักเขียนแผนที่คนหนึ่งตั้งชื่อทวีปเหล่านี้ว่า
“อเมริกา” ตามชื่ออเมริโก เวสปุชชี (Amerigo Vespucci - vehs•POO•chee) นักสำรวจชาวอิตาลีที่เป็นหนึ่งในนักสำรวจรุ่นแรกของโลกและเขียนแผนที่ฝั่งทะเลของภูมิภาคนี้
(แต่ผู้ที่ได้ชื่อว่าค้นพบทวีปอเมริกา คือ โคลัมบัส ตามที่เราเรียนมา) รายชื่อสถานที่ที่เขาสำรวจได้รับการตีพิมพ์โดยใช้ชื่อว่า
“โลกใหม่” (New World)
-------------------------------------------
การดำเนินชีวิต
การดำเนินชีวิตบนเรือ
ถ้าเราเป็นนักสำรวจชาวยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่
15 บางทีเราอาจจะดำเนินชีวิตคล้ายภาพด้านบน
การดำเนินชีวิตในท้องทะเลในยุคนี้ไม่ง่ายเลย บ่อยครั้งที่การเดินทางใช้เวลาเป็นแรมเดือน
บางครั้งก็เป็นปี เศษหนึ่งส่วนสี่ในการดำเนินชีวิตมีแต่อุปสรรค
อาหารไม่มีคุณภาพและก็ไม่เพียงพอบ่อยครั้ง
พายุร้ายแรงและอุบัติเหตุทางเรือก็คุกคามอยู่เรื่อย ๆ
ตำแหน่ง A. เรือสำเภา ประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 เรือเดินสมุทรของชาวยุโรปส่วนมากเป็นเรือสำเภาขนาดใหญ่
ต้นแบบของเรือเดินสมุทรยาวระหว่าง 70 ฟุตและ 100 ฟุต กว้างประมาณ 20 ฟุต ควบคุมง่ายเมื่อเรือเต็มและแล่นเร็ว
ตำแหน่ง B. กัปตัน
ปกติกัปตันมีห้องเล็กอยู่ท้ายเรือเป็นที่ทำงานและหนึ่งในสี่ใช้ชีวิตอยู่ในห้องนั้น
กัปตันจะเก็บรักษาแผนที่ แผนภูมิ และสมุดจดรายการต่าง ๆ ไว้ที่นั่น แผนภูมิและสมุดจดรายการต่าง
ๆ ที่กัปตันเก็บรักษาไว้ขณะเดินทางมักจะช่วยให้นักวาดแผนที่วาดแผนที่ได้ถูกต้องมากขึ้น
ตำแหน่ง C. การเดินเรือ
นักเดินเรือจะใช้เข็มทิศคำนวณทิศทาง การคำนวณตำแหน่งดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ด้วยเครื่องมือดาราศาสตร์โบราณใช้หาตำแหน่งดวงดาวในอวกาศช่วยให้กำหนดเส้นรุ้งได้
แผนที่และแผนภูมิให้ข้อมูลมากมายแก่นักเดินเรือ
ตำแหน่ง D. อาหารการกิน
เรือสำเภาบางลำบรรทุกหมูและแม่ไก่เป็น ๆ มาบนดาดฟ้าเพื่อออกไข่และให้เนื้อสด ๆ
แก่คนในเรือ อย่างไรก็ตาม ห้องอาหารบนเรือในวันธรรมดาประกอบไปด้วยขนมปังกรอบแข็ง
เนื้อเข็ม และไวน์หรือเบียร์คุณภาพต่ำ เนื้อจะเน่าเปื่อยและขนมปังจะมีตัวหนอนเสมอ
ๆ
ตำแหน่ง D. สภาพการดำเนินชีวิต
ด้านบนเรือ ปกติแล้วนักเดินเรือจะดำเนินชีวิตในสภาพที่ติดขัดมาก
พวกเขาจะหาที่ว่างตรงไหนก็ได้สำหรับผูกเปลนอนหลับ
เจ้าหน้าที่ที่มีสุขภาพอ่อนแอกว่านักเดินเรือเหล่าอื่นมีเพียงหนึ่งในสี่เท่านั้น
-------------------------------------------------------
ลัทธิล่าอาณานิคมและการเปลี่ยนแปลง
การแลกเปลี่ยนสินค้าและแนวความคิด
การสำรวจของชาวยุโรปทำให้เกิดการค้าขายแบบใหม่เชื่อมต่อทวีปต่าง ๆ ในโลก
การติดต่อค้าขายเหล่านี้ทำให้มีการแลกเปลี่ยนแนวความคิดและสิ้นค้ากระจายไปทั่วโลก
Columbian Exchange Columbian Exchange คือ ขบวนการเคลื่อนย้ายพืชและสัตว์ระหว่างซีกโลกตะวันออกและตะวันตกโดยพ่อค้าชาวยุโรป
การแลกเปลี่ยนเริ่มขึ้นหลังจากที่โคลัมบัสเดินทางไปยังอเมริกา
ชาวยุโรปนำข้าวสาลี หัวหอม องุ่น
อ้อย และส้มไปยังทวีปอเมริกา แล้วบรรทุกข้าวโพด มันฝรั่ง ฟักทองและสับปะรดจากทวีปอเมริกาโดยทางเรือ
ชาวยุโรปยังนำสัตว์เลี้ยง เช่น ม้าและโรค เช่น โรคไข้ทรพิษและโรคหัดไปสู่ทวีปอเมริกาอีกด้วย
ชาวพื้นเมืองอเมริกันไม่มีภูมิต้านทานโรคเหล่านี้ เป็นผลให้โรคฆ่าคนพื้นเมืองอเมริกันประมาณ
20 ล้านคน
 |
ต้นกาแฟ เป็นพืชพื้นเมือง ของแอฟริกา ชาวยุโรปนำ ไปยังอเมริกา บราซิลและโคลัมเบีย ประเทศในอเมริกาใต้ นำไปผลิต ขายทั่วโลกอีกต่อหนึ่ง |
การแลกเปลี่ยนรูปแบบการค้า Columbian Exchange ก่อให้เกิดรูปแบบการค้าขายระหว่างประเทศใหม่ ๆ ขึ้น
รูปแบบเหล่านี้ขึ้นอยู่กับเส้นทางการค้าทางทะเลที่ได้ถูกควบคุมส่วนใหญ่โดยชาวยุโรป
การค้าของโลกเป็นอันมากได้รับการผลักดันจากเงินที่ขุดได้ในอาณานิคมของสเปนในเม็กซิโกและอเมริกาใต้
เงินไหลออกมาจากทวีปอเมริกาไปยังทวีปยุโรปและจากนั้นก็ไปยังประเทศจีน ในทางกลับกัน
สินค้าจีน เช่น ผ้าไหมและเครื่องลายครามก็หลั่งไหลกลับไปยังยุโรป เหล่าพ่อค้าชาวยุโรปยังใช้เงินซื้อเครื่องเทศจากหมู่เกาะอินเดียตะวันออกและอินเดีย
การค้าขายชนิดต่าง ๆ
ได้พัฒนาระหว่างอเมริกา ยุโรป และแอฟริกา ต้นอ้อยที่เจริญเติบโตในหมู่เกาะอินเดียตะวันตกก็มีการจัดส่งไปยังยุโรป
แรงงานที่ทำงานหนักและเหน็ดเหนื่อยซึ่งจำเป็นในการผลิตต้นอ้อยหามาจากผู้คนที่เป็นทาสจากแอฟริกา
สินค้าที่ผลิตราคาถูกหลั่งไหลออกมาจากยุโรปเพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทนแก่ชาวแอฟริกาที่เป็นทาส
การค้าขายรูปสามเหลี่ยมนี้ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกดำเนินการมามากกว่า 300 ปี
ในเวลานั้น ชาวแอฟริกาที่เป็นทาสประมาณ 10 ล้านคนถูกส่งไปยังทวีปอเมริกา
ขบวนการเคลื่อนย้ายทางวัฒนธรรม แนวความคิดก็มีการแลกเปลี่ยนเหมือนกับการค้าขายสินค้า
ตัวอย่างเช่น แนวความคิดอย่างหนึ่งที่ไปกับการสำรวจครั้งแรกจากสเปนและโปรตุเกสก็เกี่ยวกับศาสนา
(คริสต์) โดยการพยายามเปลี่ยนแปลงประชากรท้องถิ่นของดินแดนต่าง ๆ
ที่นักสำรวจอ้างกรรมสิทธิ์ให้มานับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
ชาวคริสต์พวกใหม่เหล่านี้ก็ผสมผสานแนวความเชื่อเดิมกับแนวความเชื่อของศาสนาคริสต์ให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง
อีกประหนึ่ง
ชาวยุโรปจะนำแนวปฏิบัติทางวัฒนธรรมจากดินแดนอื่น ๆ เข้ามาสู่ดินแดนของตนเป็นประจำ
ตัวอย่างเช่น ชาวยุโรปเป็นอันมากก็นิยมการดื่มกาแฟจากอาหรับผสมกับน้ำตาลที่ผลิตจากแรงงานทาสชาวแอฟริกันในทวีปอเมริกา
 |
การแลกเปลี่ยนสินค้า Columbian Exchange |
 |
แผนที่รูปแบบการค้าขายของโลก คริสต์ศตวรรษที่ 15 และ 16 |
การต่อกันเพื่อล่าอาณานิคม
ในขณะที่การค้าขายเจริญเติบโตขึ้น
ชาวยุโรปก็แข่งขันกันล่าอาณานิคมในต่างประเทศ
อาณานิคมก็จัดเตรียมวัตถุดิบและตลาดไว้ให้เรียบร้อย
โปรตุเกสและสเปน การเดินทางไปทางตะวันออกของโปรตุเกสทำให้เกิดที่มั่นด้านการค้าขายในทวีปแอฟริกา
อินเดีย และเอเชียตะวันออก ในทวีปอเมริกาใต้ สนธิสัญญาทอร์เดซีลญาสทำให้โปรตุเกสครอบครองบราซิล
สเปนอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ประเทศฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม สเปนก็มุ่งหน้าล่าอาณานิคมต่อไปยังทวีปอเมริกา การขุดเหมืองเงินและเหมืองทองคำในเปรูและเม็กซิโกมีผลกำไรเป็นพิเศษ
เนเธอแลนด์ ฝรั่งเศส และอังกฤษ ชาวดัทช์มีอาณานิคมเล็ก ๆ
แห่งเดียวเท่านั้นในทวีปอเมริกา คือ นิวเนเธอแลนด์ (New Netherland) อย่างไรก็ตาม พวกก็ล่าอาณานิคมเป็นอันมากในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก
ในที่สุด ชาวดัทช์ก็ควบคุมการค้าขายระหว่างหมู่เกาะอินเดียตะวันออกและทวีปยุโรป
ชาวฝรั่งเศสก็ปรารถนาที่จะค้าขายในหมู่เกาะอินเดียตะวันออกเช่นกัน
ในที่สุด ชาวฝรั่งเศสก็ก็สถาปนาด่านหน้าขึ้นในอินเดีย แม้กระนั้น ความพยายามล่าอาณานิคมของฝรั่งเศสก็ประสบผลสำเร็จในทวีปอเมริกาเหนือ
ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ฝรั่งเศสก็สถาปนา Quebec ขึ้นในแคนาดา
Quebec กลายเป็นฐานของจักรวรรดิอันใหญ่โตมโหฬาร
ทอดยาวจากแคนาดาลงไปทางแม่น้ำมิสซิสซิปปีจนถึงทะเลแคริบเบียน
จากการที่ประเทศอื่น ๆ
ในยุโรปแข่งขันกันล่าอาณานิคม จึงทำให้อังกฤษเกิดแรงบันดาลใจในการจัดตั้งอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ
ใน ค.ศ. 1587 ชาวอังกฤษก็สถาปนาอาณานิคมขึ้นในหมู่เกาะ Roanoke
ซึ่งปัจจุบันก็คือรัฐ North Carolina ปีเดียวกันนั้น
เรือลำหนึ่งแล่นออกจากหมู่เกาะ Roanoke เพื่อไปส่งเสบียงให้กับอาณานิคม
ในที่สุด ขณะที่เรือส่งเสบียงแล่นกลับ ใน ค.ศ. 1590 กะลาสีเรือก็พบว่าหมู่เกาะ Roanoke
ถูกปล่อยทิ้ง
ไม่พบว่ามีร่องรอยของเหล่านักล่าอาณานิคมหลงเหลืออยู่เลย
ใน ค.ศ. 1607
ชาวอังกฤษเริ่มล่าอาณานิคมในทวีปอเมริกาสำเร็จเป็นครั้งแรก เรียกว่า Jamestown
ในรัฐ Virginia นักล่าอาณานิคมชาวอังกฤษยุคแรกประกอบด้วยนักแสวงบุญหลายคน
ได้ตั้งหลักแหล่งในรัฐ Massachusetts ใน ค.ศ. 1620
เพื่อหลบหนีการข่มเหงทางศาสนาในอังกฤษ
ชาวอังกฤษยังได้ตั้งด่านหน้าในทะเลแคริบเบียนและอินเดียอีกด้วย
 |
ภาพนี้ทำขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในภาพพ่อค้าชาวดัชท์กำลังซื้อผ้าขนสัตว์จากชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกา |
กองเรือรบขนาดใหญ่ของสเปน การที่อังกฤษเข้ามาอยู่ในทวีปอเมริกาทำให้เกิดความขัดแย้งกับสเปน
อังกฤษโจมตีลูกเรือชาวสเปนทำให้กษัตริย์ฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน (Philip II of Spain) ทรงพิโรธ ดังนั้น ใน ค.ศ. 1588 กษัตริย์ฟิลิปที่ 2 จึงส่งกองทัพเรือ จำนวน
130 ลำ ไปต่อสู้กับอังกฤษ กองทัพเรืออังกฤษใหญ่กว่าและมีอาวุธยุทโธปกรณ์ดีกว่าก็โจมตีกองทัพเรือสเปนจนพ่ายแพ้
ความพ่ายแพ้ครั้งนั้นทำให้สเปนอ่อนแอลง อย่างไรก็ตาม สเปนก็ยังเป็นผู้นำทางอำนาจของยุโรปต่อไป
เนื่องจากมีเหมืองเงินและเหมืองทองคำในทวีปอเมริกา
การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจของยุโรป
การเจริญเติบโตของการค้าขายในต่างประเทศและความมั่งคั่งใหม่ ๆ
จากอาณานิคมต่าง ๆ มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจมากมายต่อยุโรป
ปัจจัยเหล่านี้ทำให้มีธุรกิจและการดำเนินการทางการค้าขายใหม่ ๆ เข้ามาสู่ยุโรป
ลัทธิการค้าขายกับชาวต่างชาติ ในช่วงเวลานี้
นโยบายเศรษฐกิจแนวใหม่ที่เรียกว่า Mercantilism (ลัทธิการค้าขายกับชาวต่างชาติ)
ก็พัฒนาไปสู่ยุโรป ลัทธิการค้าขายถือว่าอำนาจของประเทศชาติขึ้นอยู่กับความมั่งคั่ง
นโยบายเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาควบคุมด้านเศรษฐกิจของชาติ อาณานิคมต่าง ๆ
มีบทบาทสำคัญในลัทธิการค้าขายกับชาวต่างชาติ ในบางกรณี
อาณานิคมเหล่านั้นก็หาแหล่งทองคำและเงินให้กับประเทศแม่ อีกประการหนึ่ง
อาณานิคมต่าง ๆ ก็จัดหาวัตถุดิบให้กับประเทศแม่นำไปใช้ในอุตสาหกรรม
และยังให้บริการประเทศแม่ในฐานะเป็นตลาดรองรับสินค้าที่ผลิตจากประเทศแม่
ลัทธิทุนนิยมและเศรษฐกิจด้านการตลาด เหตุผลหนึ่งของการสร้างอาณานิคมและการค้าขายก็คือการเจริญเติบโตของลัทธิทุนนิยม
(Capitalism) ลัทธิทุนนิยมคือระบบเศรษฐกิจที่ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นเจ้าของทรัพยากรทางด้านเศรษฐกิจแต่เพียงผู้เดียวและใช้ทรัพยากรเหล่านั้นเพื่อสร้างผลกำไรให้กับตนเอง
เหล่าพ่อค้าที่ลงทุนสร้างอาณานิคมและการค้าขายสำเร็จก็มีผลกำไรอย่างมากมายมโหฬาร
พวกเขาเสี่ยงลงทุนในธุรกิจทั้งในต่างประเทศและในบ้านเกิดเมืองนอน
ประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17
ผู้คนจำนวนหนึ่งรู้สึกว่ารัฐบาลมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจมากเกินไป นักเศรษฐศาสตร์
เช่น อาดัม สมิธ (Adam Smith) ได้โต้แย้งแนวความคิดเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี
ในผลงานที่มีอิทธิพลของเขา ชื่อ the Wealth of Nations (ความมั่งคั่งของชาติ)
สมิธได้โต้แย้งว่า เมื่อไม่มีการแทรกแทรงของรัฐบาล การตลาดก็มั่นใจได้ว่าเศรษฐกิจจะเจริญรุ่งเรือง
แนวความคิดของสมิธเป็นแนวทางให้กับรูปแบบระบบเศรษฐกิจของสหรัฐสมัยใหม่