ประวัติศาสตร์โลก

ประวัติศาสตร์โลก
World History

ประวัติศาสตร์โลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์โลกหรือประวัติศาสตร์มนุษยชาติเริ่มต้นที่ยุคหินเก่า ประวัติศาสตร์โลกไม่รวมประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่ไม่ใช่มนุษย์และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยา ยกเว้นตราบเท่าที่โลกธรรมชาตินั้นกระทบต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก ประวัติศาสตร์โลกประกอบด้วยการศึกษาทางโบราณคดีและหลักฐานลายลักษณ์อักษรตั้งแต่สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์โบราณที่มีบันทึกเริ่มต้นจากการประดิษฐ์การเขียน ทว่า รากเหง้าแห่งอารยธรรมมีมาแต่ก่อนการประดิษฐ์การเขียน สมัยก่อนประวัติศาสตร์เริ่มต้นในยุคหินเก่า ต่อด้วยยุคหินใหม่และการปฏิวัติเกษตรกรรม(ระหว่าง 8000 ถึง 5000 ปีก่อนคริสตกาล) ในวงพระจันทร์เสี้ยวไพบูลย์ (Fertile Crescent) การปฏิวัติเกษตรกรรมเป็นเครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมนุษย์เริ่มต้นทำการเกษตร คือ กสิกรรมและการเลี้ยงสัตว์อย่างเป็นระบบ เมื่อเกษตรกรรมก้าวหน้าขึ้น มนุษย์ส่วนมากเปลี่ยนจากวิถีชีวิตเร่ร่อนมาเป็นตั้งถิ่นฐานเป็นเกษตรกรในนิคมถาวร การเร่ร่อนยังมีอยู่ในบางที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลซึ่งมีพืชที่เพาะปลูกได้ไม่กี่ชนิด แต่ความมั่นคงสัมพัทธ์และผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นจากกสิกรรมทำให้ชุมชนมนุษย์ขยายเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่า ซึ่งความก้าวหน้าในการขนส่งก็มีส่วนช่วย

เมื่อกสิกรรมพัฒนา การเพาะปลูกธัญพืชมีความซับซ้อนขึ้นและทำให้มีการแบ่งงานกันทำเพื่อเก็บอาหารระหว่างฤดูเพาะปลูก จากนั้นการแบ่งงานทำให้เกิดชนชั้นสูงที่สุขสบายและพัฒนาการนคร สังคมมนุษย์ที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ระบบการเขียนและการบัญชีมีความจำเป็น หลายนครพัฒนาบนตลิ่งทะเลสาบและแม่น้ำ ตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เกิดนิคมโดดเด่นและมีการพัฒนาดียุคแรก ๆในเมโสโปเตเมีย ริมตลิ่งแม่น้ำไนล์แห่งอียิปต์ และหุบแม่น้ำสินธุ อาจมีอารยธรรมคล้ายกันพัฒนาขึ้นตามแม่น้ำสำคัญในจีน แต่หลักฐานทางโบราณคดีของการสร้างเมืองอย่างกว้างขวางในที่นั้นชัดแจ้งน้อยกว่า

ประวัติศาสตร์โลกเก่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน) โดยทั่วไปแบ่งเป็นยุคโบราณ ถึง ค.ศ. 476, สมัยกลาง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 15 ซึ่งรวมยุคทองของอิสลาม (ประมาณ ค.ศ. 750-1258) และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยายุโรปตอนต้น (เริ่มต้นประมาณ ค.ศ. 1300), ยุคใหม่ตอนต้น ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งรวมยุคเรืองปัญญา และยุคใหม่ตอนปลาย นับแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมถึงปัจจุบัน รวมทั้งประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ตะวันออกใกล้โบราณ กรีซโบราณและโรมโบราณมีความโดดเด่นในยุคโบราณ ในประวัติศาสตร์ยุโรปตะวันตก การเสียกรุงโรมมักยึดเป็นการสิ้นสุดของยุคโบราณและการเริ่มต้นของสมัยกลาง ขณะที่ยุโรปตะวันออกมีการเปลี่ยนผ่านจากจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งรุ่งเรืองต่อมาอีกเป็นเวลานาน กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 การประดิษฐ์การพิมพ์สมัยใหม่ของโยฮันน์ กูเทนแบร์ก ซึ่งใช้การสื่อสารแบบเคลื่อนที่ได้และเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง เป็นจุดสิ้นสุดของยุคกลางและนำไปสู่การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 การสะสมความรู้และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ได้ถึงจำนวนวิกฤต (critical mass) อันนำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม

ในส่วนอื่นของโลก เช่น ตะวันออกใกล้โบราณ จีนโบราณ และอินเดียโบราณ เส้นเวลาทางประวัติศาสตร์ได้คลี่ออกต่างกัน อย่างไรก็ดี จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากการค้าโลกที่ขยายตัวและการล่าอาณานิคม ทำให้ประวัติศาสตร์ของอารยธรรมโลกส่วนมากสานเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนา ในช่วงสองร้อยกว่าปีล่าสุด การเติบโตของความรู้ เทคโนโลยี การพาณิชย์ และศักยภาพการทำลายล้างของสงครามได้เร่งให้เกิดขึ้น ก่อให้เกิดโอกาสและอันตรายซึ่งปัจจุบันกำลังเผชิญชุมชนมนุษย์ที่อยู่อาศัยบนดาวเคราะห์ดวงนี้

แปลจากหนังสือ World History โดย...Mcdougal Littel
ผู้แปล...ทรงศักดิ์ สายหยุด

อาณาจักรฮีบรู

กำเนิดอาณาจักรฮีบรู
ชาวฮีบรูในดินแดนแคนา
          คัมภีร์ของชาวฮีบรูห้าเล่มแรก  เรียกว่าโทราห์ (Torah)  ชาวฮีบรูเชื่อว่าหนังสือหรือพระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ พระเจ้าได้ประทานได้พวกเขา โทราห์ให้ประวัติศาสตร์   กฎหมายและความเชื่อของชาวฮิบรู ยุคแรก ๆ มันประกอบไปด้วยปฐมกาล พระธรรม เลวีนิติ ตัวเลขและเฉลยธรรมบัญญัติ ต่อมามีข้อคิดหรือการตีความ ซึ่งเขียนเกี่ยวกับโทราห์
แผนที่ลำดับเหตุการณ์โลก
แผนที่ลำดับเหตุการณ์โลก

จากนครอูร์ (Ur) ถึง ดินแดนแคนา  ในคัมภีร์โทราห์พระเจ้าก็ทรงเลือกคนเลี้ยงแกะชื่ออับราฮัมให้เป็นบิดาของชาวฮีบรู  อับราฮัมอาศัยอยู่ในนครอูร์  ซึ่งเป็นเมืองในเมโสโปเตเมีย  ในหนังสือปฐมกาล พระเจ้าสั่งให้อับราฮัม ออกจากนครอูร์ไปยังแคนาน (KAY•nuhn) อับราฮัมเชื่อว่าถ้าเขาไปยังดินแดนแห่งนี้ แคนานจะเป็นลูกหลานของเขาเพราะมันเป็นสัญญาที่พระเจ้าให้แก่พวกเขา เพราะเหตุนี้ชาวฮีบรูจึงคิดว่าดินแดนแคนานเป็นดินแดนพันธสัญญา  ดังนั้น ประมาณ 1,800 ปี ก่อนคริสตศักราช  อับราฮัม ครอบครัวของเขาและชุมชนของพวกเขาจึงได้สร้างทางไปดินแดนแคนาน
แผนที่เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ช่วงระยะเวลา 700 - 600 ปี ก่อน ค.ศ.
แผนที่เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ช่วงระยะเวลา 700 - 600 ปี ก่อน ค.ศ.

ศาสนายิวและศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว  ทั่วโลกในยุคโบราณ คนส่วนใหญ่นับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheists)  ซึ่งหมายความว่าพวกเขาบูชาพระเจ้าหลายองค์  อีกประการหนึ่ง ชาวฮีบรูเชื่อว่าพระเจ้าที่มีอำนาจมากองค์เดียวได้พูดกับอับราฮัมและให้คำสอนที่สำคัญแก่เขา  ความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวเรียกว่า monotheism   ปัจจุบันนี้ศาสนายูดายสืบเชื้อสายมาจากศาสนาของชาวฮีบรูโบราณ ชื่อนี้ได้มาจากเผ่ายูดาห์ ซึ่งเป็นเผ่าหนึ่งใน 12 เผ่าที่สืบเชื้อสายมาจากอับราฮัม  คัมภีร์โทราห์ กล่าวว่า ชาวฮีบรูรักษาความเชื่อของพวกเขาไว้ในพระเจ้าในช่วงเวลาตกทุกข์ พวกเขาเชื่อว่าพันธสัญญา (covenant - KUHV•uh•nuhnt)) หรือข้อตกลงที่มีผลผูกพัน อยู่ระหว่างพระเจ้าและอับราฮัมและลูกหลานเขา อับราฮัมสัญญาว่าจะเชื่อฟังพระเจ้า  ในทางกลับกัน พระเจ้าก็จะปกป้องอับราฮัมและลูกหลานของเขาและให้แผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอนแก่พวกเขา
แผนที่ลำดับเหตุการณ์โลก
แผนที่ลำดับเหตุการณ์โลก

จากดินแดนแคนาน ถึง อียิปต์ และภูมิหลัง  เมื่อเวลาผ่านไป ชาวฮีบรูในดินแดนแคนาน ได้ชื่อใหม่ ว่า อิสราเอล (หรือยิว) ชื่อของพวกเขามาจากจาค็อบหลานของ อับราฮัม  ในคัมภีร์โทราห์ จาค็อบก็เรียกว่า อิสราเอล อีกด้วย จาค็อบมีลูก 12 คน ลูกสิบคนในบรรดาลูกชายเหล่านี้และหลานชายทั้งสองเป็นบิดาของเผ่า 12 เผ่าของชาวอิสราเอล
ตู้เก็บพระคัมภีร์โทราห์ สร้างในประเทศอิรัก ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19
ตู้เก็บพระคัมภีร์โทราห์ สร้างในประเทศอิรัก ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19
โมเสสเป็นหัวหน้าชาวอิสราเอล  โทราห์บรรยายความอดอยากอย่างสาหัสในแคนาน  ชาวอิสราเอลที่หิวโหยได้เดินทางไปยังอียิปต์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่โจเซฟลูกชายของจาค็อบทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษายอดเยี่ยมแก่ฟาโรห์ของอียิปต์ 
ฮับราฮัมและเผ่าพันธุ์ในระหว่างเดินทางไปยังแคนาน
ฮับราฮัมและเผ่าพันธุ์ในระหว่างเดินทางไปยังแคนาน
        ตอนแรก ชาวอิสราเอลได้รับฐานะที่มีเกียรติในประเทศอียิปต์ แต่ในระยะหลัง ฟาโรห์องค์ใหม่ขึ้นมามีอำนาจ เขากดขี่ชาวอิสราเอลและบังคับให้พวกเขาทำงานในโครงการสร้างตึกรามต่าง ๆ ของเขา โทราห์กล่าวถึงวิธีการพระเจ้าบัญชาโมเสสให้นำชาวอิสราเอลออกจากอียิปต์ การอพยพย้ายถิ่นออกจากประเทศอียิปต์ของชาวอิสราเอลเป็นที่รู้จักกันว่า พระธรรมอพยพ (the Exodus)
แผนที่เส้นทางการเดินของฮับราฮัม
แผนที่เส้นทางการเดินของฮับราฮัม
หลังจากออกจากอียิปต์ ชาวอิสราเอลเดินไปในทะเลทรายซินาย (the Sinai Desert)  เป็นเวลา 40 ปี ตามที่โทราห์กล่าวไว้ โมเสสปีนขึ้นภูเขาซีนาย ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระเจ้าพูดกับเขา โมเสสได้ลงมาจากภูเขาพร้อมด้วยแผ่นหินจารึกสองแผ่น ซึ่งพระเจ้าได้เขียนบัญญัติสิบประการ (the Ten Commandments)  บัญญัติเหล่านี้กลายเป็นพื้นฐานสำหรับกฎหมายของอิสราเอล  ต่อมา ก็กลายเป็นส่วนสำคัญของจารีตประเพณีเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมของอารยธรรมตะวันตก วัฒนธรรมของยุโรปและอเมริกาเหนือ

ข้อตกลงได้รับการยืนยัน  ชาวอิสราเอลเชื่อว่าการให้บัญญัติ เป็นการยืนยันพันธสัญญากับพระเจ้าอีกครั้ง  พวกเขาคิดว่าพระเจ้าจะปกป้องพวกเขา  ในทางกลับกัน ประชาชนจะเชื่อฟังพระบัญญัติของพระองค์ พวกเขาเชื่อว่าพระเจ้าทรงวางกฎศีลธรรมเพื่อมนุษยชาติทั้งหมดผ่านพระบัญญัติของพระองค์

การกลับสู่ดินแดนแห่งพันธสัญญา
          โมเสสเลือกโจชัวให้นำชาวอิสราเอลกลับเข้าไปสู่แคนาน ในเวลาที่พวกเขากลับมา ก็ผ่านไปหลายปีแล้ว  กลุ่มคนอื่น ๆ อาศัยอยู่ที่นั่น และเป็นข้อขบคิดสำหรับผู้ปกครองที่มีอำนาจ ที่อาศัยอยู่ในเมืองที่มีกำแพงล้อม
รูปตัวแทนเผ่า 12 เผ่าของอิสราเอล
รูปตัวแทนเผ่า 12 เผ่าของอิสราเอล
ชาวอิสราเอล 12 เผ่าพันธุ์   ชาวอิสราเอล ที่กลับไปแคนาน ถูกรวบรวมเป็น 12 เผ่าพันธุ์  ผู้ชายในเผ่าเหล่านี้กลายเป็นทหารของโจชัว พวกเขาได้ก่อตั้งกองกำลังเพื่อการสู้รบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเรียกดินแดนคืนจากผู้ปกครองเมือง  เมืองแรกที่ล่มสลาย คือ เมืองเจริโค อย่างไรก็ตามผู้ปกครองทั่วแคนานยังคงปฏิยุทธ์ (ตอบโต้) ต่อไป  มันใช้เวลาประมาณ 200 ปีสำหรับชาวอิสราเอลที่พิชิตดินแดนแคนานกลับคืน
เมื่อการต่อสู้จบลง ทหารอิสราเอลกลายเป็นเกษตรกรและเลี้ยงปศุสัตว์  เผ่าพันธุ์ 12 เผ่า แบ่งดินแดนระหว่างกันและกัน บางเผ่าได้รับที่ดินในส่วนที่เป็นภูเขา  เผ่าอื่น ๆ ตั้งรกรากบนที่ราบ  เผ่าที่อาศัยอยู่ใกล้กันก่อความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด  เพราะพวกเขามีความเชื่อ ปัญหาและศัตรูร่วมกัน

ผู้วินิจฉัยเป็นหัวหน้าชาวอิสราเอล  ในช่วง 200 ปีของสงครามไม่มีผู้นำที่มีอำนาจหนึ่งเดียวเป็นผู้นำชาวอิสราเอล พวกเขาจึงได้เสาะหาคำแนะนำจากผู้นำที่แตกต่างกันหลากหลายที่เรียกว่า ผู้วินิจฉัย (judges) ผู้เป็นสมาชิกของชุมชนที่ได้รับเคารพอย่างสูงแทน
รูปแกะสลักเดโบราห์ สตรีคนแรกและคนเดียวที่เป็นผู้วินิจฉัยของอิสราเอล
รูปแกะสลักเดโบราห์ สตรีคนแรกและคนเดียวที่เป็นผู้วินิจฉัยของอิสราเอล
ผู้วินิจฉัยคนแรกได้ทำหน้าที่เป็นผู้นำทางทหาร  ต่อมา ผู้วินิจฉัยให้คำแนะนำในเรื่องของกฎหมายและช่วยชำระความขัดแย้ง ผู้วินิจฉัย  เช่น กิเดโอน (Gideon) แซมสัน (Samson) และ ซามูเอล (Samuel) ได้รับชื่อเสียงทั่วแคนาน  เพราะความแข็งแรงและภูมิปัญญาของพวกเขา เดโบราห์เป็นหนึ่งในผู้วินิจฉัยที่มีชื่อเสียงที่สุด ความเป็นผู้นำของเธอเป็นเรื่องไม่ธรรมดาสำหรับผู้หญิงชาวฮิบรู โดยทั่วไปหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของผู้หญิงชาวฮิบรู คือ การเลี้ยงดูลูก ๆ  และจัดเตรียมความเป็นผู้นำทางศีลธรรมสำหรับพวกเขา  อย่างไรก็ตามเดบอราห์ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับกองทัพของนักสู้ขนาดเล็กเพื่อชัยชนะที่มีต่อกองทัพที่มีขนาดใหญ่ของชาวแคนาน (คานาอัน) ขนาดใหญ่ใกล้ภูเขาทาบอร์ (Mount Tabor)
ผู้วินิจฉัยมีบทบาทสำคัญในการรักษาเผ่า 12 เผ่าให้ร่วมแรงร่วมใจกัน เมื่อชาวอิสราเอลขาดผู้ผู้วินิจฉัยที่แข็งแกร่งในฐานะผู้นำ ชนเผ่าบางหันห่างจากศาสนาดั้งเดิม ผู้วินิจฉัยออกมาต่อต้านการปฏิบัติเหล่านี้ พวกเขายังช่วยเลือกผู้นำใหม่ ที่เข้มแข็ง ผู้ที่จะรวมชาวอิสราเอลให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันต่อไป

อาณาจักรและการเป็นเชลย
อาณาจักรอิสราเอล
          ความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวและการปฏิบัติทางศาสนาของชาวอิสราเอล ทำให้พวกเขาห่างเหินจากคนอื่น ๆ ในภูมิภาค พวกเขาค้าขายกับกลุ่มคนอื่น ๆ ในแคว้นแคนาน (คานาอัน) และปะปนอยู่กับพวกเขา แต่ไม่ได้นำเอาวัฒนธรรมหรือความเชื่อของพวกเขามาใช้ บางครั้งชาวอิสราเอลถูกกลุ่มคนเหล่านี้คุกคาม ในโอกาสเหล่านี้  ผู้วินิจฉัยจะแวะเยี่ยมเยียนเผ่าที่กระจัดกระจายอย่างมากมาย เพื่อรวมใจและต่อสู้กลุ่มเหล่านั้น
ฝูงแกะกำลังเล็มหญ้า ณ หุบเขาซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นราชอาณาจักรยูดาห์
ยูดาห์และฟิลลิสเทีย ฝูงแกะกำลังเล็มหญ้า
ณ หุบเขาซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นราชอาณาจักรยูดาห์

ผู้สร้างประวัติศาสตร์

ประติมากรรมรูปปั้นดาวิด ปั้นโดย จัน โลเรนโซ แบร์นีนี ประติมากรชาวอิตาลี
ประติมากรรมรูปปั้นดาวิด
ปั้นโดย จัน โลเรนโซ แบร์นีนี ประติมากรชาวอิตาลี
ดาวิด
 (ครองราชย์  ประมาณ 1,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช)
ดาวิดจัดตั้งรัฐบาลกลางและสร้างกรุงเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล พระองค์ได้ขยายพรมแดนของอิสราเอลและช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตโดยการส่งเสริมการค้ากับชาวฟีนิเซีย (Phoenicia) เพื่อนบ้านบนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
          ตามคัมภีร์ฮีบรูกล่าวว่า ดาวิดได้ฆ่านักรบยักษ์ของกองทัพฟิลิสไทน์ (Goliath)  ดาวิด ผู้ซึ่งเป็นกษัตริย์คนที่สองของอิสราเอลยังเป็นกวีและนักดนตรีที่ดีเลิศ เขาได้รับการบอกกล่าวให้เขียนบทสวดที่สวยงามและเพลงอันไพเราะ ซึ่งพบในหนังสือกล่าวสดุดี ของคัมภีร์ฮีบรู โดยขณะที่ดาวิดเสียชีวิต อิสราเอลได้กลายเป็นอิสระและรวมอาณาจักรที่ส่วนใหญ่มีสันติภาพกับประเทศเพื่อนบ้าน

ซาอูลและดาวิด  ชาวอิสราเอลเลือกซาอูลผู้นำทางทหารที่น่าเคารพเป็นกษัตริย์องค์แรกของพวกเขาใน 1,020 ปี ก่อนคริสตศักราช ภายใต้การนำของซาอูล ชาวอิสราเอลได้ต่อสู้กับชาวป่าผู้ไร้วัฒนธรรม  สงครามเหล่านี้ได้บังคับให้ชาวป่าผู้ไร้ความเจริญผ่อนการควบคุมชาวอิสราเอล หลังจากการตายของซาอูล  ชาวอิสราเอลมองหาผู้นำคนใหม่
คัมภีร์ฮีบรูกล่าวไว้ว่า  ซามูเอลได้เลือกชายหนุ่มที่ชื่อดาวิดเป็นกษัตริย์คนต่อไป นับเป็นการเลือกที่ชาญฉลาด ประมาณ 1,000 ปี ก่อนคริสตศักราช ดาวิดและชาวอิสราเอลขับไล่ชาวป่าผู้ไร้วัฒนธรรมออกไป   ดาวิดได้ปกครองกรุงเยรูซาเล็มและทำให้เป็นเมืองหลวง

โซโลมอน
  ดาวิดจัดตั้งเชื้อสายของกษัตริย์ เขาได้เลือกโซโลมอน บุตรชายของเขา เพื่อทำให้เขาประสบความสำเร็จ  โซโลมอนกลายเป็นกษัตริย์องค์ที่สามของอิสราเอล ประมาณ 962 ปี ก่อนคริสตศักราช โซโลมอนยังเป็นผู้นำที่เข้มแข็งอีกด้วย
ในช่วงการปกครองของโซโลมอน  อิสราเอลกลายเป็นชาติที่มีเรืองอำนาจ โซโลมอนได้สร้างความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างฟีนิเซีย และอิสราเอลซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยดาวิด นอกจากนี้เขายังสร้างพันธมิตรทางการค้าขึ้นใหม่อีกด้วย
โซโลมอนได้กำกับโครงการก่อสร้างอีกมากมาย ที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ วิหารในกรุงเยรูซาเล็ม วิหาร ด้านนอกเป็นหิน ในขณะที่กำแพงด้านในทำจากไม้ซีดาร์ปิดทอง  วิหารของโซโลมอนได้กลายเป็นศูนย์กลางของชีวิตทางศาสนาสำหรับชาวอิสราเอล  ผู้คนจากทุกส่วนของอาณาจักรมาที่นี่เพื่อจะสวดมนต์และถวายทาน หลายคนยังมาขอร้องให้กษัตริย์ผู้ชาญฉลาด ให้ชำระข้อพิพาทของพวกเขาอีกด้วย


การแบ่งแยกอาณาจักร
          เมื่อต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากการโจมตี  ชนเผ่าอิสราเอลจึงได้ก่อตั้งอาณาจักรอิอิสราเอลขึ้น เมื่อการคุกคามสิ้นสุดลง อาณาจักรจึงถูกแบ่งแยก
อิสราเอลและยูดาห์  วิหารของโซโลมอนต้องการภาษีสูง  เมื่อโซโลมอนเสียชีวิตลง  ประมาณ 922 ปี ก่อนคริสตศักราช  บุตรชายของเขา ชื่อ เรโฮโบม (Rehoboam) ได้เป็นกษัตริย์ แต่ชนเผ่าทางเหนือปฏิเสธที่จะปฏิญาณความจงรักภักดีจนกว่าเรโฮโบมจะยอมลดหย่อนภาษีและยุติการใช้แรงงานพวกเขาในโครงการก่อสร้าง เมื่อเรโฮโบมปฏิเสธ ชนหลายเผ่าจึงก่อการกบฏ มีเพียงชนเผ่ายูดาห์และเผ่าเบนจามินเท่านั้นที่ยังคงจงรักภักดีต่อเรโฮโบม
แผนที่อาณาจักรอิสราเอลและยูดาห์ ในช่วง 922 ก่อน ค.ศ.
แผนที่อาณาจักรอิสราเอลและยูดาห์ ในช่วง 922 ก่อน ค.ศ.
อิสราเอลแบ่งออกเป็นสองอาณาจักร ทางตอนเหนือยังคงเรียกว่าอิสราเอลต่อไป สองเผ่าในพื้นที่ตอนใต้ ซึ่งรวมถึงกรุงเยรูซาเล็ม เรียกว่า ยูดาห์ ซึ่งเป็นชาติใหม่ของพวกเขา  คำว่า ยูดาย (Judaism) และยิว (Jews) มาจากชื่อยูดาห์ อาณาจักรที่แยกออกจากกันทั้งสอง ตั้งอยู่ประมาณสองศตวรรษ ตลอดระยะเวลานี้ กรุงเยรูซาเล็มยังคงเป็นศูนย์กลางแห่งความเคารพนับถือที่สำคัญ
ชาวอัสซีเรียและชาวบาบิโลเนียการยึดดินดน 738 ปี ก่อนคริสตศักราช  อาณาจักรทั้งสองเผชิญกับภัยคุกคามใหม่เพื่อความเป็นอิสระจากชาวอัสซีเรีย  ชาวอัสซีเรียได้บังคับอิสราเอลและยูดาห์ให้จ่ายส่วย   722 ปี ก่อนคริสตศักราช  จักรวรรดิอัสซีเรียได้บุกอิสราเอลซึ่งมีกองทัพที่อ่อนแอและเอาชนะได้  อาณาจักรอิสราเอลก็สิ้นสุดลง  ประมาณ 612 ปี ก่อนคริสตศักราช  จักรวรรดิอัสซีเรียได้ตกเป็นเมืองขึ้นของบาบิโลเนีย
เป็นเวลาหลายปี  กษัตริย์เนบูชาดเนซซา (Nebuchadnezzar) ได้ปกครองบาบิโลเนีย   586 ปี ก่อนคริสตศักราช เนบูชาดเนซซา ก็ยึดกรุงเยรูซาเล็ม เมื่อผู้นำของยูดาห์ต่อต้านการปกครองของเขา ชาวบาบิโลเนียก็ได้ทำลายวิหารของโซโลมอนในกรุงเยรูซาเล็ม พวกเขาจับชาวยิวหลายพันคนไปยังกรุงบาบิโบน เพื่อเป็นเชลย

การเนรเทศชาวยิวกลับไปยังยูดาห์
          การเนรเทศจากยูดาห์ใช้เวลาประมาณ 50 ปีในกรุงบาบิโลน  เวลานี้เป็นที่รู้จักกันว่า เชลยศึกแห่งบาบิโลน (Babylonian Captivity) ในระยะเวลานี้ ชาวอิสราเอลก็กลายเป็นที่รู้จักกันว่า ชาวยิว (Jews)

ศรัทธาในระหว่างเป็นเชลยศึกบาบิโลน
 ในช่วงปีที่ผ่านมาในบาบิโลน ชาวยิวพยายามที่จะรักษาเอกลักษณ์ของพวกเขา พวกเขายังคงปฏิบัติตามกฎของศาสนาฉลองวันสำคัญทางศาสนาและกราบไหว้บูชา เหมือนกับที่พวกเขาอยู่ในยูดาห์ พวกเขาหวังว่าสักวันหนึ่งจะกลับไปที่บ้านเกิดของพวกเขาในยูดาห์และสร้างวิหารขึ้นใหม่ในกรุงเยรูซาเล็ม ความเชื่อเหล่านี้ได้สนับสนุนหรือประคับประคองจิตวิญญาณของชาวอิสราเอลในช่วงที่พวกเขาเป็นเชลยศึก
ว่า ศาสดาเอเสเคียลได้ชี้แนะให้ผู้คนรักษาศาสนาของตนเองไว้ ในช่วงเนรเทศออกจากบาบิโลน
ในคัมภีร์ของฮีบรู กล่าวว่า ศาสดาเอเสเคียลได้ชี้แนะให้ผู้คนรักษาศาสนาของตนเองไว้
ในช่วงเนรเทศออกจากบาบิโลน
        การเนรเทศยังตั้งหน้าตั้งตารอคอยเวลาที่พวกเขาจะมีกษัตริย์เป็นของตัวเองอีกครั้ง ก่อนที่จะถูกเนรเทศ  เหล่าผู้นำชาวฮิบรูได้รับการเจิม หรือได้รับการเทน้ำมันพิเศษลงบนศีรษะของพวกเขา  คำในภาษาฮีบรู ว่า  Messiah  (mih•SY•uh) หมายความว่า "ผู้ได้รับการเจิม"  ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่หรือความเป็นผู้นำบางอย่าง  ตลอดเวลาหลายศตวรรษที่อยู่ภายใต้การปกครองของชาวต่างชาติ ประชาชนยังคงรักษาความหวังที่จะมีกษัตริย์เป็นของตนเองไว้  บางครั้งก็ถูกอธิบายว่า เป็นความหวังที่ทายาทจะขึ้นสู่บัลลังก์ของดาวิด ผู้ช่วยให้รอดหรือผู้ปลดปล่อยอิสรภาพ-ผู้มาโปรด (a Messiah)
         ในช่วงเวลาแห่งความยากลำบาก ทั้งในยูดาห์และในการถูกเนรเทศ ชาวยิว ก็หันไปหาผู้นำทางจิตวิญญาณเรียกว่าผู้เผยพระวจนะ (prophets) เพื่อขอคำแนะนำ  คนเหล่านี้เป็นผู้ชายและผู้หญิงที่คิดว่าจะมีความสามารถพิเศษในการตีความพระวจนะของพระเจ้า พวกเขาได้เตือนประชาชน เมื่อพวกเขาเบี่ยงเบนออกจากหลักประมวลจริยธรรมของชาวยิว  พวกเขาได้วิพากษ์วิจารณ์เหล่านักปกครองที่ไม่ได้ดำรงชีวิตอยู่ตามกฎของพระเจ้า ผู้เผยพระวจนะ ได้ทำให้ประชาชนสบายใจในเวลาที่ประสบความทุกข์ยาก

สร้างวิหารขึ้นใหม่ เมื่อ 539 ปี ก่อนคริสตศักราชเปอร์เซียพิชิตบาบิโลนได้ กษัตริย์เปอร์เซีย คือ ไซรัส กำหนดนโยบายเสรีภาพทางศาสนาในอาณาจักรของพระองค์ ซึ่งแตกต่างจากผู้พิชิตส่วนมาก  ไซรัสเชื่อในความเคารพประเพณีและศาสนาท้องถิ่น แทนที่จะทำลายวิหารท้องถิ่น ไซรัสจะคุกเข่าสวดภาวนาตรงนั้น
สัญลักษณ์สถานที่ฝังศพของกษัตริย์เปอร์เซีย
สุสานทำขึ้นแบบง่าย ๆ  เป็นสัญลักษณ์สถานที่ฝังศพของกษัตริย์เปอร์เซีย  ในขณะที่พิสูจน์สถานที่เชิดชูเกียรตินี้
 กษัตริย์ได้รับการกล่าวถึงมากกว่า
20 ครั้งในคัมภีร์ฮีบรู
         538 ปี ก่อนคริสตศักราช ไซรัสให้ชาวยิวที่ถูกเนรเทศ พ้นจากการเป็นเชลยและได้อนุญาตให้กลับไปบ้านเกิดเมืองนอนในยูดาห์ ชาวยิวที่ถูกเนรเทศประมาณ 40,000 คน ได้หวนกลับไป แต่ก็มีจำนวนมากอยู่ในบาบิโลน ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย ชาวยิว ได้สร้างกรุงเยรูซาเล็มขึ้นมาใหม่ ชาวยิว มีความกตัญญูต่อไซรัสซึ่งพวกเขาถือว่าเป็นเพื่อนและผู้พิทักษ์ ตลอดชั่วลูกชั่วหลาน
ไม่นานนัก หลังจากที่ชาวยิวส่วนใหญ่ที่ถูกเนรเทศ กลับไปยังยูดาห์ พวกเขาเริ่มสร้างวิหารในกรุงเยรูซาเล็ม อาคารที่สวยงาม ชื่อ ซาโลมอน ถูกสร้างอยู่ในซากปรักหักพัง หญ้าขึ้นระหว่างกำแพงที่ล่มสลาย  แรงงานได้สร้างวิหารใหม่เสร็จสมบูรณ์ บางที อาจจะอยู่ประมาณ 515 ปี ก่อนคริสตศักราช  กำแพงของกรุงเยรูซาเล็มถูกสร้างขึ้นมาใหม่ เมื่อ 445 ปี ก่อนคริสตศักราช

การเผยแพร่ศาสนายิว
ยูดาห์ถูกปกครองโดยชาวต่างชาติ
           แผ่นดินยูดาห์ตั้งอยู่ในเส้นทางของกองทัพผู้บุกรุก ซึ่งยกทัพข้ามฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน หลายปีที่ผ่านมา มีหลายกลุ่มที่แตกต่างกันเป็นจำนวนมากรวมทั้งซีเรียและโรมัน ได้ปกครองประเทศยูดาห์
เชิงเทียนทองเหลืองทำขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17
เชิงเทียนทองเหลืองทำขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17
ปกติจะมี 7 แถว  อันนี้มี 9 แถว
ใช้ในเทศกาลแห่งแสงไฟของชาวยิว  
ซีเรียปกครองยูดาห์  เมื่อ 198 ปี ก่อนคริสตศักราช  ซีเรียยึดครองยูดาห์  เหล่านักปกครองชาวซีเรียชื่นชมวัฒนธรรมกรีกและนำความเชื่อของชาวกรีกมาเผยแพร่ให้กับชาวยิว พวกยิวบางพวกยอมรับนับถือความเชื่อเหล่านี้  แต่คนอื่น ๆ ยังคงปฏิบัติหรือประพฤติตามความเชื่อและการปฏิบัติตามศาสนายิวต่อไป  เหล่านักปกครองชาวซีเรียได้อนุญาตให้ชาวยิวนับถือศาสนาของตนเองเป็นครั้งแรก
ซากปรักหักพังวิหารเก่่าของชาวยิว
ซากปรักหักพังวิหารเก่่าของชาวยิวแห่งนี้
ตั้งอยู่ในหมู่บ้านคาเปอร์นาอุม อิสราเอล
          เมื่อ 175 ปี ก่อนคริสตศักราช นักปกครองชาวซีเรียคนใหม่ ได้สั่งบังคับให้พระชาวยิวถวายทานให้เทพเจ้ากรีก เมื่อชาวยิวปฏิเสธ เขาจึงตั้งรูปปั้นเทพเจ้ากรีกไว้ในวิหารในกรุงเยรูซาเล็ม ผู้ปกครองชาวซีเรียยอมทำความชั่วร้ายด้วยการยินยอมทำตามกฎหมายยิวหรือการศึกษาคัมภีร์โทราห์ ชาวยิวบางพวกหนีไปที่เนินเขาเพื่อเตรียมที่จะกลับมาต่อสู้
ซุ้มประตูชัยไททัสในกรุงโรม
(ภาพเล็ก) ซุ้มประตูชัยไททัสในกรุงโรม เป็นการฉลองชัยไททัสเหนือชาวยิว
(
ภาพใหญ่) กำแพงด้านตะวันตกของซากวิหารในเยรูปซาเล็ม
โรมพิชิตแคว้นจูดีอะ (ในภาคใต้ของปาเลสไตน์อันเป็นที่ประสูติของพระเยซู)  เมื่อ 63 ปี ก่อนคริสตศักราชโรมันพิชิตยูดาห์ ซึ่งพวกเขาเรียกจูดีอะ  นักปกครองชาวโรมันยังคงควบคุมแคว้นจูดีอะอย่างเข้มงวด  ชาวยิวได้รับอนุญาตให้มีกษัตริย์และผู้นำศาสนาเป็นชาวยิว  แต่กษัตริย์และผู้นำเหล่านี้ได้รับการแต่งตั้งจากกรุงโรม
ในคริสต์ศักราช 66    กลุ่มของชาวยิว ที่รู้กันว่า Zealots (หัวรุนแรง) ได้ก่อการจลาจลในแคว้นจูดีอะ เพื่อต่อต้านอำนาจโรมันในต่างจังหวัด พวกเขายึดป้อมปราการแห่ง มาซาดา (Masada) จากชาวโรมันและใช้มันเป็นฐานที่มั่นของพวกเขา

การต่อต้านการปกครองของโรมัน
  เหล่าผู้นำโรมันตอบโต้ด้วยการส่งแม่ทัพเวสปาซิอาน (Vespasian-เวสปาเซียนไปบดขยี้กบฏ ชาวยิวบางคนกลัวชาวโรมันจะทำลายพระวิหาร เป็นผลให้นักปราชญ์ที่ชื่อ โยฮันนัน เบน ซักกาอิ (Yohanan ben Zakkai) รีบไปที่ค่ายของเวสปาซิอาน เขาได้ขอร้องให้แม่ทัพสงวนสถานที่ไว้สำหรับนักปราชญ์ชาวยิวเพื่อศึกษา  โรงเรียนที่เบน ซักกาอิ จักตั้งขึ้นเพื่อรักษาประเพณีของชาวยิวให้คงอยู่
เมื่อเวสปาซิอาน กลายเป็นจักรพรรดิแห่งกรุงโรมใน ค.ศ. 69  เขาได้ให้บุตรชายของเขา ชื่อ ติตัส (Titus) ปกครองดูแลกองทัพโรมันในแคว้นจูดีอะ (ยูเดีย)  ใน ค.ศ. 70  ติตัสได้ปราบการจลาจลลงอย่างราบคาบ ชาวโรมันจึงบุกกรุงเยรูซาเล็มและทำลายวิหารหลังที่สอง  สิ่งที่ยังหลืออยู่ คือส่วนทางทิศตะวันตกของกำแพง ซึ่งปัจจุบันเป็นวิหารอันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวยิว  พวกหัวรุนแรงบางพวกยึดครองป้อมมาซาดา ไว้จนถึง ค.ศ. 73 แต่ในที่สุดมันก็ถูกยึด ชาวยิวที่เหลือในป้อมปราการเกือบ 1,000 คน เลือกที่จะฆ่าตัวตายมากกว่าจะถูกชาวโรมันจับไป ในกระบวนการการก่อจลาจลชาวยิวประมาณครึ่งล้านถูกฆ่าตาย
ชาวยิวได้พยายามที่จะแยกเป็นอิสระจากการปกครองของโรมันใน ค.ศ. 132   พวกเขาโกรธเมื่อจักรพรรดิเฮเดรียนประกาศแผนการเพื่อสร้างกรุงเยรูซาเล็มใหม่ เพื่อให้เป็นเมืองโรมัน ชาวยิวอีกพวกหนึ่ง จำนวน 850,000 ได้เสียชีวิต ตลอดสามปีแห่งการต่อสู้ที่รุนแรง หลังจากการจลาจลถูกปราบปราม เฮเดรียได้ประกาศห้ามชาวยิวออกจากกรุงเยรูซาเล็มตลอดเวลาที่เหลือของรัชกาลของพระองค์

การผลัดถิ่น
  การทำลายวิหารแห่งที่สองและกรุงเยรูซาเล็มโดยชาวโรมัน ใน ค.ศ. 70 ตามมาด้วยศตวรรษแห่งการถูกเนรเทศและการอพยพของชาวยิว การอพยพของชาวยิวนี้เป็นที่รู้จักกันว่า “การพลัดถิ่น” (Diaspor--dy•AS•puhr•uh) ซึ่งเป็นคำภาษากรีก มีความหมายว่า "กระจัดกระจาย"  ชาวโรมันได้ส่งชาวยิวเป็นอันมากไปยังกรุงโรมเพื่อเป็นทาส ชาวยิวบางพวกยังคงอยู่ใกล้กรุงเยรูซาเล็ม ชาวยิวพวกอื่น ยังคงหนีไปยังส่วนอื่น ๆ ของโลก รวมทั้งยุโรป  เนื่องมาจากการพลัดถิ่น  รัฐในทางการเมืองของยิว ได้สิ้นสุดลงนานกว่า 1,800 ปี ไม่มีรัฐยิวจนกระทั่งสร้างอิสราเอลในปี ค.ศ. 1948
แผนที่การโยกย้ายถิ่นฐานของชาวยิว ระหว่าง ค.ศ. 70 -500
แผนที่การโยกย้ายถิ่นฐานของชาวยิว ระหว่าง ค.ศ. 70 -500
ศาสนายุดาย-ศรัทธาที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
          แม้ว่าชาวยิวจะกระจัดกระจายอยู่ทั่วจักรวรรดิโรมัน หลายคนซื่อสัตย์กับความเชื่อทางศาสนาของพวกเขา แม้พวกเขาจะกระจัดกระจาย  พวกเขายังคงพยายามปฏิบัติตามแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรม และความยุติธรรมตามพระคัมภีร์

เหล่านักปราชญ์และบัญญัติสิบประการของโมเสส   หลังจากทำลายวิหารหลังที่สองและการพลัดถิ่น ชาวยิวเป็นจำนวนมาก กังวลว่า พวกเขาจะสูญเสียเอกลักษณ์แห่งความเป็นคนของพวกเขา  ผู้นำศาสนาและเหล่านักปราชญ์ ที่เรียกว่า รับบิ (Rabbi)” พยายามที่จะสร้างความแน่ใจว่า เหตุการณ์นี้จะไม่เกิดขึ้น  เหล่าผู้นำศาสนาและนักปราชญ์เหล่านั้น นำโดยรับบิ ชื่อโยฮันนัน เบน ซักกาอิ ได้สร้างสถานที่สำหรับการเล่าเรียน การสวดมนต์และการกราบไหว้บูชาทุกที่ที่ชาวยิวตั้งถิ่นฐาน อาคารแห่งความเคารพบูชาเหล่านี้ เรียกว่า ธรรมศาลา(synagogues - SIHN•UH•GAHGZ)”   ที่ธรรมศาลาผู้คนมารวมตัวกันเพื่อฟังพระ (รับบิ) อ่านคัมภีร์โตราห์และการตีความหรือข้อคิดเห็นคัมภีร์โตราห์  ด้วยวิธีนี้ชาวยิวยังคงรักษาวิถีแห่งการเคารพบูชาที่คล้ายกันเอาไว้ได้ในทุกที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่ในโลก
เด็กชายชาวยิวอ่านคัมภีร์โทราห์
เด็กชายชาวยิวอ่านคัมภีร์โทราห์  ในพิธี  bar mitzvah คือ พิธีที่เด็กชาวยิว แสดตนเองว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว

ชาวยิวก็ยังยึดถือความศรัทธาของตนได้อย่างมั่นคง โดยการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และประพฤติตามประเพณีของศาสนาของพวกเขาอย่างรอบคอบ  พวกเขาได้สร้างโรงเรียน เพื่อให้เด็กชาวยิวศึกษาคัมภีร์โทราห์และเรียนการสวดมนต์ตามความศรัทธาของตน วิธีการเหล่านี้ของชาวยิวหลายวิธี ได้ส่งอิทธิพลไปยังศาสนาคริสต์ ขนบธรรมเนียมประเพณีของทั้งสองศาสนา จัดเป็นรากฐานที่สำคัญของอารยธรรมตะวันตก