ประวัติศาสตร์โลก

ประวัติศาสตร์โลก
World History

ประวัติศาสตร์โลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์โลกหรือประวัติศาสตร์มนุษยชาติเริ่มต้นที่ยุคหินเก่า ประวัติศาสตร์โลกไม่รวมประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่ไม่ใช่มนุษย์และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยา ยกเว้นตราบเท่าที่โลกธรรมชาตินั้นกระทบต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก ประวัติศาสตร์โลกประกอบด้วยการศึกษาทางโบราณคดีและหลักฐานลายลักษณ์อักษรตั้งแต่สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์โบราณที่มีบันทึกเริ่มต้นจากการประดิษฐ์การเขียน ทว่า รากเหง้าแห่งอารยธรรมมีมาแต่ก่อนการประดิษฐ์การเขียน สมัยก่อนประวัติศาสตร์เริ่มต้นในยุคหินเก่า ต่อด้วยยุคหินใหม่และการปฏิวัติเกษตรกรรม(ระหว่าง 8000 ถึง 5000 ปีก่อนคริสตกาล) ในวงพระจันทร์เสี้ยวไพบูลย์ (Fertile Crescent) การปฏิวัติเกษตรกรรมเป็นเครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมนุษย์เริ่มต้นทำการเกษตร คือ กสิกรรมและการเลี้ยงสัตว์อย่างเป็นระบบ เมื่อเกษตรกรรมก้าวหน้าขึ้น มนุษย์ส่วนมากเปลี่ยนจากวิถีชีวิตเร่ร่อนมาเป็นตั้งถิ่นฐานเป็นเกษตรกรในนิคมถาวร การเร่ร่อนยังมีอยู่ในบางที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลซึ่งมีพืชที่เพาะปลูกได้ไม่กี่ชนิด แต่ความมั่นคงสัมพัทธ์และผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นจากกสิกรรมทำให้ชุมชนมนุษย์ขยายเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่า ซึ่งความก้าวหน้าในการขนส่งก็มีส่วนช่วย

เมื่อกสิกรรมพัฒนา การเพาะปลูกธัญพืชมีความซับซ้อนขึ้นและทำให้มีการแบ่งงานกันทำเพื่อเก็บอาหารระหว่างฤดูเพาะปลูก จากนั้นการแบ่งงานทำให้เกิดชนชั้นสูงที่สุขสบายและพัฒนาการนคร สังคมมนุษย์ที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ระบบการเขียนและการบัญชีมีความจำเป็น หลายนครพัฒนาบนตลิ่งทะเลสาบและแม่น้ำ ตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เกิดนิคมโดดเด่นและมีการพัฒนาดียุคแรก ๆในเมโสโปเตเมีย ริมตลิ่งแม่น้ำไนล์แห่งอียิปต์ และหุบแม่น้ำสินธุ อาจมีอารยธรรมคล้ายกันพัฒนาขึ้นตามแม่น้ำสำคัญในจีน แต่หลักฐานทางโบราณคดีของการสร้างเมืองอย่างกว้างขวางในที่นั้นชัดแจ้งน้อยกว่า

ประวัติศาสตร์โลกเก่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน) โดยทั่วไปแบ่งเป็นยุคโบราณ ถึง ค.ศ. 476, สมัยกลาง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 15 ซึ่งรวมยุคทองของอิสลาม (ประมาณ ค.ศ. 750-1258) และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยายุโรปตอนต้น (เริ่มต้นประมาณ ค.ศ. 1300), ยุคใหม่ตอนต้น ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งรวมยุคเรืองปัญญา และยุคใหม่ตอนปลาย นับแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมถึงปัจจุบัน รวมทั้งประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ตะวันออกใกล้โบราณ กรีซโบราณและโรมโบราณมีความโดดเด่นในยุคโบราณ ในประวัติศาสตร์ยุโรปตะวันตก การเสียกรุงโรมมักยึดเป็นการสิ้นสุดของยุคโบราณและการเริ่มต้นของสมัยกลาง ขณะที่ยุโรปตะวันออกมีการเปลี่ยนผ่านจากจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งรุ่งเรืองต่อมาอีกเป็นเวลานาน กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 การประดิษฐ์การพิมพ์สมัยใหม่ของโยฮันน์ กูเทนแบร์ก ซึ่งใช้การสื่อสารแบบเคลื่อนที่ได้และเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง เป็นจุดสิ้นสุดของยุคกลางและนำไปสู่การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 การสะสมความรู้และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ได้ถึงจำนวนวิกฤต (critical mass) อันนำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม

ในส่วนอื่นของโลก เช่น ตะวันออกใกล้โบราณ จีนโบราณ และอินเดียโบราณ เส้นเวลาทางประวัติศาสตร์ได้คลี่ออกต่างกัน อย่างไรก็ดี จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากการค้าโลกที่ขยายตัวและการล่าอาณานิคม ทำให้ประวัติศาสตร์ของอารยธรรมโลกส่วนมากสานเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนา ในช่วงสองร้อยกว่าปีล่าสุด การเติบโตของความรู้ เทคโนโลยี การพาณิชย์ และศักยภาพการทำลายล้างของสงครามได้เร่งให้เกิดขึ้น ก่อให้เกิดโอกาสและอันตรายซึ่งปัจจุบันกำลังเผชิญชุมชนมนุษย์ที่อยู่อาศัยบนดาวเคราะห์ดวงนี้

แปลจากหนังสือ World History โดย...Mcdougal Littel
ผู้แปล...ทรงศักดิ์ สายหยุด

อารยธรรมแอฟริกา

อารยธรรมแอฟริกา
ภูมิศาสตร์และประชาชนของทวีปแอฟริกา
          แอฟริกาเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลก มันมีขนาดใหญ่พอที่จะรวมลักษณะของดินเกือบทุกประเภท ธรณีสัณฐานที่แตกต่างกันเหล่านี้ได้ก่อรูปร่างเป็นประวัติศาสตร์ของทวีปแอฟริกา
แผนที่แอฟริกา
แผนที่แอฟริการดินแดนที่อุดมไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร
แผนที่ลำดับเหตุการณ์แอฟริกาและโลก
แผนที่ลำดับเหตุการณ์ในแอฟริกาและโลก

ความหลากหลายทางภูมิประเทศของทวีปแอฟริกา

          ในขณะที่สะฮารา ซึ่งเป็นทะเลทรายมีขนาดใหญ่มากในตอนเหนือของทวีแอฟริกา เกิดเป็นทะเลทรายและแห้งแล้งมาเป็นเวลา 4,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช  ประชาชนจึงได้ย้ายลงไปทางใต้ ทุ่งหญ้า savannas (suh•VAN•uhz – สะวันนา) หรือทุ่งหญ้าราบแบน มีต้นไม้และป่าดงดิบเล็กน้อย ครอบคลุมทวีปแอฟริกา ทางตะวันตก ตอนกลาง และตอนใต้เป็นส่วนมาก  ทวีปแอฟริกาฝั่งตะวันออก เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำไนล์ นอกเหนือจากพื้นที่ที่เป็นภูเขาสูง
หน้ากากของเผ่า kuba
หน้ากากนี้ชนชาว Kuba ในแอฟริกาทำขึ้น
ชนชาว Kuba คือ ผู้คนที่พูดภาษาแบนทู
แอฟริกาฝั่งตะวันตก เขตพืชพันธุ์ต่าง ๆ สามเขต ทำให้แอฟริกาฝั่งตะวันตกมองดูสวยงาม คือ ทะเลทราย ทุ่งหญ้าและป่าไม้ เขตพืชพันธุ์ คือ พื้นที่ที่มีพืชโดดเด่นหลายชนิด อันเนื่องมาจากดินและสภาพ  ส่วนตอนเหนือของแอฟริกาตะวันตกเป็นส่วนหนึ่งของทะเลทรายสะฮารา ตอนกลางของแอฟริกาตะวันตกเป็นพื้นที่ของทุ่งหญ้าสะวันนา  ทุ่งหญ้าสะวันนาครอบคลุมพื้นที่มากกว่าร้อยละ 40 ของทวีปแอฟริกา ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและครอบคลุมด้วยหญ้า และฤดูแล้งสลับกับฤดูฝน  ป่าดงดิบทำให้พื้นที่ตอนใต้ของแอฟริกาฝั่งตะวันตกดูเขียวสด

แอฟริกาฝั่งตะวันออก บางส่วนของธรณีสัณฐานปลายสุดของแอฟริกา พบในแอฟริกาตะวันออก แม่น้ำไนล์แม่น้ำที่ยาวที่สุดในโลก เริ่มขึ้นที่นี่ ภูมิภาคถูกสร้างขึ้นมาจากภูมิประเทศที่เป็นภูเขารวมทั้ง ภูเขาคิลิมันจาโร (Kilimanjaro) ซึ่งยอดเขาสูงสุดในทวีปแอฟริกา สูงถึง 19,341 ฟุต  เป็นเหมือนเขาของทวีปแอฟริกา ที่ยื่นไปสู่มหาสมุทรอินเดีย

แอฟริกาตอนกลางและแอฟริกาตอนใต้ ทวีปแอฟริกาตอนกลางและตอนใต้ เป็นภูมิภาคที่กว้างใหญ่ เพราะภูมิภาคเหล่านี้มีขนาดใหญ่มาก จึงมีความหลากหลายของลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นอันมาก ป่าดงดิบเขตร้อนขนาดใหญ่ ครอบคลุมแอฟริกาตอนกลางเป็นส่วนมาก  ป่าดังกล่าวเป็นที่อยู่ของนกที่มีสีสันหลายพันสายพันธุ์  ในแอฟริกาตอนใต้ ทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่จะมีอยู่มาก ช้าง ยีราฟ สิงโต ม้าลายและสัตว์อื่น ๆ อีกมากมาย อาศัยอยู่ในทุ่งหญ้า
ภูมิศาสตร์มนุษย์ของภูมิภาคนี้ยังมีความหลากหลาย บริเวณเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์หลายร้อยชาติพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ผู้คนที่แตกต่างกันเหล่านี้เป็นอันมากมาจากกลุ่มเดียวกันที่เรียกว่า พวกที่พูดภาษาแบนทู (Bantu)
แผนที่แสดงภูมิภาคแอฟริกา
แผนที่แสดงภูมิภาคแอฟริกา
การโยกย้ายของชาวแบนทู ผู้คนที่พูดภาษาแบนทูเป็นชาวแอฟริกาตะวันตกที่พูดภาษาที่คล้ายกันตามภาษาพ่อแม่ในขณะนี้เรียกว่า แบนทู มีภาษาแบนทูมากกว่า 450 ภาษา  ผู้คนที่พูดภาษาแบนทู ไม่ใช่กลุ่มเดียว แต่มีหลายกลุ่มที่มีวัฒนธรรมที่คล้ายกัน  พวกเขาเป็นเกษตรกร คนเลี้ยงปศุสัตว์ และช่างเหล็ก การแพร่กระจายของเหล่าคนที่พูดภาษาแบนทูข้ามทวีปแอฟริกาเป็นการโยกย้ายครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่ง
สาเหตุที่ทำให้เป็นทะเลทราย
สาเหตุที่ทำให้เป็นทะเลทราย
การโยกย้ายเริ่มขึ้น เริ่มต้นประมาณ 1,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ชาติพันธุ์ที่พูดภาษาแบนทูต่าง ๆ เริ่มย้ายออกจากดินแดนของพวกเขา ใกล้แม่น้ำเบนเวและแม่น้ำไนเจอร์ (Benue and Niger) ในแอฟริกาตะวันตก พวกเขาอพยพไปทางใต้และทางตะวันออก ขณะที่พวกเขาย้าย ผู้คนที่พูดภาษาแบนทู ก็พัฒนาดินแดนแห่งใหม่เพื่อทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ การเคลื่อนย้ายครั้งนี้ ซึ่งเรียกว่าการโยกย้ายของชาวแบนทู ค่อย ๆ เกิดขึ้นมากกว่าพันปี
ในที่สุด ชาวแบนทูบางพวก ก็ตั้งรกรากอยู่ในป่าดงดิบตามแม่น้ำคองโก บางพวกก็อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็ก ๆ และทำไร่ไถนาตามริมฝั่งแม่น้ำ ต่อมา กลุ่มชาวแบนทู ก็ย้ายลงใต้ไกลออกไปในป่าถึงทุ่งหญ้าทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ที่นั่นพวกเขา เริ่มเลี้ยงวัวและปลูกพืชพันธุ์
แผนที่อพยพของชาวแบนทู
แผนที่อพยพของชาวแบนทู 1,000 ปี ก่อน ค.ศ. - 1,100 
ผลกระทบจากการย้ายถิ่นฐาน ชาวแบนทู ปรับตัวเข้ากับที่อยู่อาศัยใหม่ที่พวกเขาย้ายไปทั่วทวีป พวกเขาย้ายไปยังพื้นที่ที่มีคนอื่นอาศัยอยู่แล้ว ชาวแบนทูแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประเพณีกับประชาชนในพื้นที่ที่พวกเขาเข้าไปและแต่งงานกับพวกเขา พวกเขาได้แบ่งความรู้ด้านการทำเหล็กและเกษตรกรรมแก่กัน ในขณะที่ชาวแบนทูอพยพไป ภาษาของพวกเขาก็แพร่กระจายไปด้วย

การดำรงชีวิตในทวีปแอฟริกา
           ภาษาและประเพณีที่แตกต่างกันจำนวนมาก พบในแอฟริกา แม้กระนั้น วัฒนธรรมแอฟริกาจำนวนมากยังมีลักษณะร่วมกันบางอย่าง วัฒนธรรมเหล่านี้มีรากฐานอยู่ในอารยธรรมโบราณที่พัฒนาขึ้นในทวีปแอฟริกา

ความสำคัญของครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นเรื่องที่สำคัญในทวีปแอฟริกา การเชื่อมต่อระหว่างผู้คนโดยสายเลือด การแต่งงานหรือการรับเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม จะเรียกว่าเป็นญาติ กลุ่มเครือญาติจัดตั้งการปกครองของสังคมแอฟริกาเป็นอันมาก ในกลุ่มคนเหล่านี้ การตัดสินใจมักจะดำเนินการโดยสภาของสมาชิกผู้อาวุโส  สมาชิกของกลุ่มเครือญาติรู้สึกว่ามีความจงรักภักดีต่อกันและกัน กลุ่มเครือญาติที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน เกิดขึ้นเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า วงศ์ตระกูล วงศ์ตระกูลมักจะปฏิบัติตามกฎเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ในตระกูลบางตระกูลไม่อนุญาตให้แต่งงานด้วยกัน

การทำงานและวัฒนธรรม ในหมู่บ้านแอฟริกาหลายหมู่บ้าน วิถีชีวิต มุ่งความสนใจไปในการทำการเกษตร ผู้หญิงเตรียมอาหาร ดูแลเด็ก ทำเครื่องปั้นดินเผา ทำงานอยู่ในทุ่งนาและนำน้ำไปยังหมู่บ้าน  ผู้ชายเลี้ยงสัตว์ฝูงใหญ่ เช่นวัวหรืออูฐ ถางที่ดินสำหรับทำการเกษตรและสร้างบ้านและรั้ว เด็ก ๆ มักจะขนฟืนมารวมกัน ช่วยพ่ออย่างพร้อมเพรียงกันและช่วยแม่ทำความสะอาดบ้าน
บางคนมุ่งเน้นไปที่ลักษณะของงานโดยเฉพาะ  ที่เป็นกระบวนการที่เรียกว่า ความเชี่ยวชาญ ตัวอย่างเช่น ช่างฝีมือถักทอสิ่งทอ คนอื่น ๆ ทำงานกับโลหะ พวกเขาสร้างเครื่องมือทางการเกษตรที่แข็งแกร่ง ซึ่งจะช่วยประชากรเติบโตและประสบความสำเร็จ สุดท้าย บางคนซื้อขายสินค้ากับกลุ่มอื่น ๆ
การทอผ้าของชาวแอฟริกา
การทอผ้าของชาวแอฟริกามีบทบาทสำคัญต่อวัฒนธรรมของชาวแอฟริกา
 การออกแบบเป็นสัญลักษณ์ของความเชื่อปรัมปราทางวัฒนธรรม
หรือกล่าวถึงสถานะบางอย่างทางสังคมของผู้สวมใส่
ซ้ายสุดเป็นผ้าลาย Adinkra .ในแอฟริกาตะวันตก
รูปแบบและสัญลักษณ์ประทับลงไปในผ้าด้วยการย้อม
ตรงกลางเป็นผ้าของชาว Kuba จากแอฟริกาตะวันออก
ทอจากใยต้นปาล์มทีี่ชื่อว่า Raffia แล้วเย็บรูปแบบลงไปในตัวผ้า
ขวาสุดเป็นผ้า Kente จากแอฟริกาตะวันตกใช้ด้ายสีทอ
ราชวงศ์เท่านั้นจึงมีสิทธิ์สวมใส่
วัฒนธรรมการท่องจำ ส่วนมากของทวีปแอฟริกาไม่มีภาษาเขียนมานานหลายศตวรรษ เป็นผลให้ชาวแอฟริกันยุคแรกไม่ได้บันทึกประวัติศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษร แทน พวกเขาสืบทอดประวัติศาสตร์และคุณค่าทางวัฒนธรรมของพวกเขา โดยการเก็บรวบรวมเรื่องราวที่หลากหลาย ในแอฟริกาตะวันตก ผู้เล่าเรื่องราว ถูกเรียก griots (gree•OHZ) griots เล่าเรื่องราวแก่พระมหากษัตริย์และชาวบ้านทั่วไป griots มีความสำคัญในการถ่ายทอดประวัติศาสตร์ของแอฟริกา
griots มักจะถูกจัดเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนาที่คนอ้อนวอนบรรพบุรุษเพื่อให้โปรดปรานและคุ้มครอง ในศาสนาแบบดั้งเดิมของแอฟริกา ผู้คนเชื่อว่าบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วของพวกเฝ้าดูแลพวกเขาและช่วยให้พวกเขาสามารถสื่อสารกับผู้สร้างจักรวาล พวกเขายังเชื่อในลัทธิที่เชื่อเรื่องจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นความคิดที่ว่ามีจิตวิญญาณอยู่ในสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ เช่น สัตว์ พืชหรือก้อนหิน

จักรวรรดิแอฟริกันตะวันตก
การเจริญเติบโตของจักรวรรดิกานา
          หลายคนทำการเกษตรยังภูมิภาคระหว่างซาฮาราและป่าทางตอนใต้ของแอฟริกาตะวันตก คนเหล่านี้เรียกกษัตริย์ของพวกเขาว่า กานา (Ghana) ในที่สุดอาณาจักรซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันว่า กานา (GAH•nuh) ก็มีบทบาทสำคัญในการค้าทองและเกลือ

การค้าขายข้ามทะเลทรายสะฮารา เขตพืชพันธุ์แต่ละเขตในแอฟริกาตะวันตกมีทรัพยากรหลายชนิดอย่างสมบูรณ์ สะฮารามีดินที่ทับถมกันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยเกลือ พืชพันธุ์มากมาย เช่น ข้าวฟ่าง เจริญเติบโตได้ดีในทุ่งหญ้าสะวันนาและที่ดินยังเหมาะสำหรับการเลี้ยงวัว ป่าทางตอนใต้มีทองคำจำนวนมากมายมหาศาล
ผู้คนที่อยู่ในทุ่งหญ้าสะวันนาและป่าทางแอฟริกาตะวันตกมีทองคำ แต่มีเกลือน้อยมาก คนที่อยู่ในแอฟริกาเหนือมีเกลือ แต่พวกเขาต้องการทองคำ เป็นผลให้การค้าขายทองคำและเกลือข้ามทะเลทรายซาฮาราได้รับการพัฒนา คนในทะเลทรายซาฮาราที่ขุดเกลือและค้าขายเกลือเป็นข้อแลกเปลี่ยนสำหรับการทำเหมืองแร่ทองคำในป่าแอฟริกาตะวันตก อาหารและบุคคลที่เป็นทางก็ยังมีการซื้อขายกันอยู่
การค้าขายระหว่างทะเลทรายสะฮารา ทุ่งหญ้าสะวันนาและป่า ผู้คนต้องมีการเคลื่อนย้ายสินค้าข้ามทะเลทราย การค้าขายกลายเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้นเมื่อมีการใช้อูฐ เริ่มประมาณคริสต์ศักราช 300 อูฐสามารถเดินทางได้ระยะไกลมากด้วยการกินอาหารหรือดื่มน้ำเพียงเล็กน้อย
ทะเลทรายสะฮารา
ทะเลทรายสะฮาราครอบคลุมเนื้อที่แอฟริกาตอนเหนือ ประมาณ 3.5 ล้านตารางไมล์
เป็นทะเลทรายขนาดใหญ่ที่สร้างการค้าขายต่าง ๆ มาเป็นเวลานานหลายปี
การสร้างจักรวรรดิ กานาตอนเหนือมีเขตแดนติดกับทะเลทรายสะฮารา สินค้าไหลผ่านพื้นที่นี้และประชาชนของกานาการกำกับดูแลการซื้อขาย พวกเขาเก็บทรัพยากรทองคำไว้เป็นความลับ  จำกัดปริมาณการซื้อขายและเพิ่มค่าทองคำขึ้น  กษัตริย์ของกานาได้รับความมั่งคั่งโดยการเก็บภาษีการค้าขาย ซึ่งทำให้กานาขยายไปสู่การเป็นจักรวรรดิได้อย่างรวดเร็ว กานาพิชิตดินแดนโดยรอบ ผู้คนที่พิชิตได้ถูกบังคับให้ส่งส่วยหรือค่าใช้จ่ายให้กับกษัตริย์ของกานา

การเปลี่ยนแปลงทางด้านศาสนาและวัฒนธรรม ประชาชนส่วนใหญ่ที่ซื้อขายเกลือและสินค้าอื่น ๆ ทั่วทะเลทรายซาฮารา มาจากกลุ่มที่เรียกว่าเบอร์เบอร์ (Berbers) พวกเขามาจากแอฟริกาเหนือ นับถือศาสนาอิสลามและมักจะพูดภาษาอาหรับ พ่อค้าชาวเบอร์เบอร์ได้นำภาษาเขียน(ภาษาอาหรับ) และศาสนาอิสลามไปสู่แอฟริกาตะวันตกซึ่งมีอิทธิพลต่อจักรวรรดิ

กษัตริย์ของกานาบางพระองค์ เปลี่ยนไปนับถือศาสนาอิสลาม แต่ยังคงปฏิบัติตามแง่มุมของศาสนาดั้งเดิมของพวกเขา ตัวอย่างเช่น ในศาสนาแบบดั้งเดิมของกานา  บรรพบุรุษของกษัตริย์ให้สิทธิการปกครองแก่เขา ถ้ากษัตริย์ปฏิเสธศาสนาแบบดั้งเดิม เขาจะต้องสูญเสียสิทธินี้
อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของศาสนาอิสลาม ไม่สามารถหยุดการเสื่อมสลายของกานาได้ กลุ่มมุสลิมที่เรียกว่า Almoravids (AL•muh•RAHV•ihdz – อัลโมราวิด) ขึ้นครองอำนาจในแอฟริกาเหนือในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10 พวกเขาประกาศสงครามกับกานา  ในคริสต์ศักราช 1076  ชาว Almoravids ได้ยึดเมืองหลวงของกานา คือ Koumbi Saleh
แผนที่การค้าขายทางแอฟริกาตะวันตก
แผนที่จักรวรรดิแห่งการค้าขายแอฟริกาตะวันตก

มาลีสร้างจักรวรรดิบนรากฐานของกานา

ในประมาณคริสต์ศักราช 1240 จักรวรรดิมาลีเกิดขึ้นในพื้นที่ตอนใต้ที่เคยเป็นจักรวรรดิกานา  ก่อตั้งโดยชาว Malinke (muh•LIHNG•kee – มันดิงคี)  ชาว Malinke นำโดยหัวหน้าผู้ยิ่งใหญ่ ชื่อ Sundiata (Sun•JAH•tah)

Sundiata ขึ้นครองอำนาจ Sundiata ได้จัดกองทัพที่ทรงพลังอำนาจและยึดเมืองหลวงเดิมของกานา เขาขยายอาณาจักรเกินขอบเขตเก่าของกานา สถาปนาการค้าขายทองคำและเกลือขึ้นมาใหม่ ขยายเส้นทางการค้าขาย Sundiata ได้พัฒนาเมืองทิมบุคตู (Timbuktu) เป็นศูนย์กลางการค้าขายและวัฒนธรรม นอกจากนี้เขายังสนับสนุนการพัฒนาพืชพันธุ์ธัญญาหาร ไร่ฝ้ายและการทอผ้าฝ้าย เขาผสมผสานความเชื่อทางศาสนาอิสลามกับความเชื่อทางศาสนาดั้งเดิมมากที่สุดเท่าที่กษัตริย์แห่งกานาเคยทำ Sundiata เป็นผู้ปกครองที่ขึ้นหน้าขึ้นตา

Mansa Musa ขยายจักรวรรดิ หลังจากที่ Sundiata เสียชีวิต นักปกครองของมาลียังคงเดินหน้าขยายจักรวรรดิต่อไป ในคริสต์ศักราช 1312 กษัตริย์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของมาลี ชื่อ Mansa Musa ขึ้นครองอำนาจ  Mansa Musa เป็นมุสลิมที่จงรักภักดี แต่พระองค์ก็อนุญาตให้อาณาประชาราษฎร์ปฏิบัติศาสนาอื่น ๆ
มันซา มูซา
มันซา มูซา (Mansa Musa)
ในคริสต์ศักราช 1324  Mansa Musa เริ่มแสวงบุญไปยังนครเมกกะ ในการไปแสวงบุญของพระองค์ Mansa Musa ได้นำทาส 12,000 คน อูฐ 80 ตัว และทองคำ 300 ปอนด์มาด้วย  Mansa Musa ขี่หลังม้า พร้อมกับทาส 500 คน ในชุดผ้าไหมนำหน้าพระองค์
การเดินทางแสวงบุญของ Mansa Musa ทำให้ผู้ที่เห็นคาราวานประทับใจมาก  พ่อค้าต้องการเดินทางไปยังจักรวรรดิมาลีและขยายการค้าขาย  Mansa Musa ยังคงขยายพรมแดนของจักรวรรดิจนกระทั่งพระองค์สิ้นชีวิตประมาณคริสต์ศักราช 1332

จักรวรรดิมาลีเสื่อมสลาย หลังจาก Mansa Musa สิ้นชีวิต ลูกหลานของพระองค์ได้โต้เถียงกันเกี่ยวกับผู้ที่จะปกครองมาลี ภายใน การต่อสู้ภายในทำให้จักรวรรดิอ่อนแอ ภูมิภาคที่พิชิตได้มาใหม่ ๆ เริ่มก่อการกบฏ  Songhai (ซองไฮ) คือ ผู้คนที่อยู่ทางแอฟริกาตะวันตกจนถึงตะวันออกของมาลี ค่อย ๆ มีความแข็งแกร่งขึ้น  เมืองหลักของ Songhai ในภูมิภาค คือ Gao ถูกมาลียึดได้ในคริสต์ศักราช 1325 ประมาณ 40 ปีต่อมา Songhai นำเมืองเป็นอิสรภาพ
ทางตอนเหนือ ชาวเบอร์เบอร์ร่อนเร่ได้ยึดดินแดนของมาลีและยึดเมือง Timbuktu ในคริสต์ศักราช 1433  ทางตอนใต้ โจรเริ่มโจมตีคาราวานการค้าขายและกองทหารด่านหน้า  ประมาณคริสต์ศักราช 1500 กบฏและผู้บุกรุกได้ลดดินแดนของมาลีไปยังพื้นที่เดิมที่ชาวมาลิงคีเข้ายึดครอง มาลีไม่ได้เป็นจักรวรรดิที่แข็งแกร่งอีกต่อไป

จักรวรรดิซองไฮ (Songhai)

เมืองซองไฮของ Gao ประกาศเอกราชจากมาลี ประมาณคริสต์ศักราช 1365 หลายทศวรรษถัดมา ซองไฮพยายามที่จะสร้างอาณาจักรแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ

ซองไฮขยายอาณาจักร นับตั้งแต่คริสต์ศักราช 1433 ชาวเบอร์เบอร์ได้ควบคุมเมืองทิมบุคตู  ในคริสต์ศักราช 1468  ผู้นำมุสลิมได้ขอร้องให้กษัตริย์ซองไฮ คือ ซุนนี อาลี (Sunni Ali) ช่วยโค่นล้มชาวเบอร์เบอร์ ซุนนี อาลีได้ยึดเมืองทิมบุคตู ขับไล่ชาวเบอร์เบอร์และฆ่าคนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในเมือง ในไม่ช้าซุนนี อาลีก็ได้สร้างชื่อเสียงในฐานะเป็นผู้นำที่ห้าวหาญ เกรียงไกร  เขาสร้างกองทัพมืออาชีพที่มีกองเรือแคนูสงครามขึ้น เขาเดินทางไปพิชิตดินแดนที่อยู่ใกล้เคียง
จักรวรรดิซองไฮขยายตัวมหาศาลภายใต้การปกครองของอาลี เมื่อเขาเสียชีวิตในปีคริสต์ศักราช 1492 ลูกชายของเขาก็ประกาศตัวเป็นผู้ปกครอง อย่างไรก็ตาม ผู้นำที่ชื่ออัสเกีย มูฮัมหมัด (Askia Muhammad) ต้องการยึดบัลลังก์ เขาและพรรคพวกรู้สึกว่าซุนนี อาลีไม่ได้ปฏิบัติตามศาสนาอิสลามอย่างถูกต้อง  ในคริสต์ศักราช 1493  อัสเกีย มูฮัมหมัดอาลีพิชิตลูกชายของซุนนี อาลี และกลายเป็นผู้ปกครองจักรวรรดิซองไฮ  อัสเกีย มูฮัมหมัดจึงควบคุมบ่อเกลือไปถึงทิศเหนือและขยายพรมแดนอื่น ๆ ของอาณาจักร หลังจากนั้นไม่นาน จักรวรรดิซองไฮก็ครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่กว่าอาณาจักรมาลี
-----------------------------------------

ผู้สร้างประวัติศาสตร์

อัสเกีย มูฮัมหมัด (มีชีวิตอยู่ระหว่ง ค.ศ. 1441 – 1538)
ภายใต้การปกครองของอัสเกีย มูฮัมหมัด  จักรวรรดิซองไฮ กลายเป็นจักรวรรดิที่มีการบริหารทรงประสิทธิภาพและเป็นศูนย์กลางของการค้าและการเรียนรู้ ซึ่งแตกต่างจากซุนนี อาลีที่เป็นนักรบ อัสเกีย มูฮัมหมัดเป็นรัฐบุรุษ  เขาจัดระเบียบและผนวกเอาดินแดนที่ซุนนี อาลีเอาชนะได้เข้าไว้ด้วย แต่ประมาณคริสต์ศํกราช 1519 อัสเกีย มูฮัมหมัดเป็นคนแก่ตาบอดข้างหนึ่ง
อัสเกียร์  มูฮัมหมัด
อัสเกียร์  มูฮัมหมัด
ในคริสต์ศักราช 1528 ลูกชายของอัสเกีย มูฮัมหมัดโค่นเขาจากบัลลังก์ เนรเทศไปยังเกาะในแม่น้ำไนเจอร์และประกาศตัวเองเป็นกษัตริย์  ในคริสต์ศักราช 1537 ลูกชายคนหนึ่งของเขาได้นำอัสเกียมูฮัมหมัดกลับไปยังเมือง Gao และเขาก็เสียชีวิตในปีถัดมา หลุมฝังศพของเขายังคงเป็นหนึ่งในศาลเจ้าที่ประชาชนเคารพนับถือมากที่สุดในแอฟริกาตะวันตก
-----------------------------------------
องค์กรของอัสเกีย ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอัสเกีย มูฮัมหมัด คือ การจัดการบริหารจักรวรรดิอันกว้างใหญ่นี้ เขาเริ่มต้นด้วยการแบ่งจักรวรรดิซองไฮออกเป็นจังหวัด จากนั้นเขาก็วางผู้ว่าราชการจังหวัดให้ดูแลแต่ละจังหวัด อัสเกีย มูฮัมหมัดยังได้แต่งตั้งประชาชนเป็นผู้ว่าการการคลัง การเกษตร กองทัพและทหารเรือ นอกจากนี้เขายังจัดตั้งระบบภาษีที่เป็นระเบียบ
ภายใต้การปกครองของอัสเกีย มูฮัมหมัด  ศาสนาอิสลามแผ่กระจายไปทั่วจักรวรรดิ เขาส่งนักวิชาการมุสลิมไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้คนจำนวนน้อยได้สัมผัสกับศาสนาอิสลาม นักวิชาการเหล่านี้เปลี่ยนแปลงคนในเมืองเป็นอันมากให้มานับถือศาสนาอิสลาม แต่ในพื้นที่ชนบทความเชื่อศาสนาอิสลามยังคงผสมผสานกับการปฏิบัติทางศาสนาแบบดั้งเดิม ตัวอย่างเช่น แอฟริกันตะวันตกเชื่อมั่นในวิญญาณลึกลับซุกซนที่ชอบเล่นหลอกหลอนผู้คน ความเชื่อนี้ผสมกับความเชื่อของชาวมุสลิมใน Djinn หรือ genies (สัตว์ลึกลับ เช่น ยักษ์) เช่น ที่ปรากฏในตะเกียงของอลาดิน ในนิยายเรื่อง พันหนึ่งราตรี

จักรวรรดิซองไฮล่มสลาย ลูกชายของอัสเกีย มูฮัมหมัด โค่นล้มพ่อจากราชบัลลังก์ เหล่าผู้ปกครองจักรวรรดิซองไฮที่ปกครองภายหลังอัสเกียก็อ่อนแอ ในระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1580 กองทัพโมร็อกโก ก็บุกเข้าไปในบ่อกลือของจักรวรรดิซองไฮ จากนั้นในคริสต์ศักราช 1591 กองกำลังโมร็อกโกใช้อาวุธปืน ยึดเมือง Timbuktu และ Gao แม้ว่า จักรวรรดิซองไฮ จะพยายามต่อสู้ จักรวรรดิก็ทรุดตัวลงในไม่ช้าหลังจากที่เมืองถูกยึด

อารยธรรมการค้าขายของทวีปแอฟริกา

การเกิดขึ้นของอาณาจักรอักซุม

           อาณาจักรอักซุม (Aksum - AHK•SOOM) เกิดขึ้นในมุมแหลม (เหมือนรูปเขา ช่วงประเทศเอธิโอเปียในปัจจุบัน) ของแอฟริกา พื้นที่มีรูปร่างเหมือนนอแรดตามฝุ่งทะเลแดง อาณาจักรอักซุม ตั้งอยู่ใน​​ประเทศเอธิโอเปียและประเทศเอริเทรีย (Eritrea) ในปัจจุบัน (ดูแผนที่)
มงกุฎแห่งอาณาจักรอักซุม
มงกุฎในยุคแรกแห่งอาณาจักรอักซุม
ทำเลการค้าขายที่สมบูรณ์แบบ สถานที่ตั้งของอาณาจักรอักซุมมีทางเข้าสู่การค้าขายทางทะเลแดง ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มหาสมุทรอินเดียและลุ่มแม่น้ำไนล์  พ่อค้าชาวอาหรับสร้างอาณานิคมและที่มั่นสำหรับการค้าขาย ณ ที่นั่น อาณาจักรอักซุม กลายเป็นจุดรวมหรือศูนย์กลางการค้าขายที่กระจายมาจากหลายทิศทาง เหล่าพ่อค้ามาจากอียิปต์ ส่วนอื่น ๆ ของแอฟริก อาระเบีย  เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เปอร์เซียและอินเดีย พวกเขาค้นพบสถานที่ที่เหมาะสำหรับการแลกเปลี่ยนสินค้า เมืองAdulis (ah•DOO•lihs) บนฝั่งทะเลแดงเป็นเมืองท่าหลักสำหรับการค้าขาย มีพ่อค้าแลกเปลี่ยนเกลือ งาช้าง ผ้า ทองเหลือง เหล็ก ทองคำ แก้ว น้ำมันมะกอกและไวน์ ผู้ค้าสัตว์ก็จะซื้อสัตว์ เช่น ยีราฟและช้าง
เอธิโอเปีย
เอธิโอเปียในปัจจุบัน ภาพเน้นตรงแผนที่ด้านบน เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรอักซุมโบราณ
แคว้นแห่งการค้าขาย เดิมที อาณาจักรอักซุมมีขนาดเล็ก จากนั้นในคริสต์ศักราช 300 กษัตริย์ผู้กล้าหาญได้ขยายดินแดนและสร้างชาติให้มีประสิทธิภาพ  Ezana (AY•zah•nah) เป็นกษัตริย์ที่แข็งแกร่ง ขึ้นครองอำนาจในคริสต์ศักราช 325  ครั้งแรก พระองค์ยึดครองอาณานิคมการค้าขายบนชายฝั่งคาบสมุทรอาหรับ ในช่วงเวลานี้ อาณาจักรอักซุม ได้ขยายดินแดนภายในประเทศและตามแนวชายฝั่งทะเลแดง เป็นผลให้อาณาจักรควบคุมเครือข่ายการค้าขายที่มีขนาดใหญ่

ความสำเร็จของอาณาจักรอักซุม วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฟื่องฟูขึ้นในอาณาจักรอักซุม ผสมกับอิทธิพลจากพื้นที่นอแรดของแอฟริกาและภาคใต้ของอารเบีย เสาหินของอาณาจักรอักซุม ที่สร้างล้อมรอบประเทศ คือความสำเร็จที่น่าประทับใจที่สุด  เสาหินเหล่านั้นแกะสลักจากแผ่นหินแผ่นเดียว บางเสาสูงมากกว่า 100 ฟุต และฉลองชัยชนะที่ยิ่งใหญ่
อาณาจักรอักซุมมีภาษาเขียน ที่เรียกว่า Ge'ez  (gee•EHZ) ผู้อพยพชาวอาหรับ ได้นำภาษานั้นมาสู่อาณาจักอักซุม ภาษา Ge'ez กลายเป็นพื้นฐานของภาษาสามภาษาที่ใช้ในเอธิโอเปียและเอริเทรียในทุกวันนี้ คือ ภาษาอัมฮารา (Amharic) ทิกรินยา (Tigrinya) และติเกร (Tigre)
แผนที่อาณาจักรอักซุม
แผนที่อาณาจักรอักซุม  ค.ศ. 300 - 700
เพื่อปรับภูมิทัศน์อันขรุขระของอาณาจักรอักซุมให้เหมาะกับการเกษตร  เกษตรกรจึงสร้างที่ดินเป็นขั้นบันไดขึ้น  ที่ดินเป็นขั้นบันไดอุ้มความชื้นได้ดีกว่าที่ดินที่เป็นเนินเขา การทำการเกษตรแบบที่ดินขั้นบันได ได้เพิ่มที่ดินสำหรับทำการเกษตรให้แก่อาณาจักรอักซุม

            แอฟริกาตะวันออกและศาสนาอิสลาม

          ประมาณคริสต์ศักราช 1100 ชาวแบนทูจำนวนมากได้อพยพข้ามแอฟริกากลางไปทางชายฝั่งตะวันออก ในแอฟริกาตะวันออก ชาวแบนทูได้สร้างหมู่บ้านเกษตรกรที่เจริญรุ่งเรืองและด่านหน้าสำหรับการค้าขาย

การปรากฏนครรัฐชายฝั่งทะเล พ่อค้าชาวแอฟริกาตะวันออก ได้แลกเปลี่ยนสินค้าข้ามมหาสมุทรอินเดียกับพ่อค้าจากอาระเบีย เปอร์เซียและอินเดีย ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12 เครือข่ายของเมืองทางการค้าขายและนครรัฐก็กระจายทั่วชายฝั่ง  ที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งคือ Kilwa ก่อตั้งโดยผู้ตั้งถิ่นฐานจากอาระเบียและเปอร์เซียในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 พ่อค้าชาวแอฟริกัน ได้ส่งสินค้าของพวกเขาไปยัง Kilwa พ่อค้าชาวเอเชียก็ซื้อหาที่นั่น

อิทธิพลของศาสนาอิสลาม Kilwa เป็นหนึ่งในหลายนครรัฐของแอฟริกา ที่มีความสัมพันธ์กับอาหรับ ในขณะที่การค้าขายข้ามมหาสมุทรอินเดียเพิ่มขึ้น พ่อค้าชาวอาหรับก็ตั้งรกรากอยู่เมืองท่าของแอฟริกาตะวันออกเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้ชายฝั่งทะเลแอฟริกา ได้หยิบยืมเอาลักษณะบางแง่มุมของวัฒนธรรมอาหรับ
เหตุผลหนึ่งของการปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างชาวอาหรับและชาวแอฟริกัน คือการสร้างสรรค์ภาษาใหม่ที่รู้จักกันว่า ภาษาสวาฮีลี (Swahili - swah•HEE•lee) ภาษาสวาฮีลีพัฒนาเป็นภาษาแบนทูที่ยืมคำหลายคำมาจากภาษาอาหรับ ชาวอาหรับยังนำศาสนาอิสลามไปยังแอฟริกาตะวันออก ชาวแอฟริกันที่หันมานับถือศาสนาอิสลามมักจะเป็นพ่อค้าที่เป็นชนชั้นกลาง พ่อค้าผู้มั่งคั่งและเจ้าหน้าที่ของรัฐ  ผู้นำเหล่านี้ได้นำความคิดทางศาสนาอิสลามด้านการบริหารและกฎหมายมาใช้
แผนที่การค้าขายของแอฟริกา
แผนที่การค้าขายทวีปแอฟริกา  คริสต์ศตวรรษที่ 14

ชาวโชนา (Shona) และอาณาจักรซิมบับเวอันยิ่งใหญ่

          นอกจากนี้บริเวณในประเทศจากเมืองชายฝั่งทะเล กลุ่มชาวแบนทูได้สร้างจักรวรรดิที่มีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับทรัพยากรที่มีค่าและมีประโยชน์มากที่สุดของภูมิภาคแห่งหนึ่ง คือ ทอง ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8  ชาวแบนทู ที่เรียกว่า โชนา ได้ตั้งรกรากอยู่ในลุ่มแม่น้ำลิมโปโป (Limpopo) ในแอฟริกาตอนใต้  ประมาณคริสต์ศักราช 1000 พวกเขาได้ย้ายไปยังพื้นที่การเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ระหว่างแม่น้ำแซมเบซี (Zambezi) และลิมโปโป ที่นั่น ชาวโชนา ได้จัดตั้งอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรือง

อาณาจักรโชนา อาณาจักรซึ่งชาวโชนาพยายามทำทุ่งหญ้าทางใต้ของแอฟริกาประกอบด้วยบ้านหิน (zihmbabwes - zihm •BAH•bways) มากมาย หรือการตั้งถิ่นฐานล้อมรอบไปด้วยกำแพงหินขนาดใหญ่  คำว่า “ซิมบับเว” มาจากวลีภาษาโชนาว่า dzimba Dza mabwe ซึ่งหมายถึง "บ้านหิน" ซากปรักหักพังโครงสร้างดังกล่าวประมาณ 150 ชิ้น กระจายอยู่ทั่วประเทศในแอฟริกาตอนใต้ในปัจจุบัน คือ บอตสวานา โมซัมบิก และซิมบับเว

อาณาจักรซิมบับเวอันยิ่งใหญ่ (Great Zimbabwe) การตั้งถิ่นฐานของชาวโชนาที่ใหญ่ที่สุดเป็นที่รู้จักกันว่า อาณาจักรซิมบับเวอันยิ่งใหญ่ (Great Zimbabwe) มันเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรโชนา เมืองและพื้นที่โดยรอบครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 100 เอเคอร์ และมีประชากร 10,000 ถึง 20,000 คน ภูมิศาสตร์มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มขึ้นของเกรทซิมบับเว ภูมิภาคถูกล้อมรอบไปด้วยที่ราบขนาดใหญ่ซึ่งชาวโชนาใช้สำหรับการเพาะปลูกและเลี้ยงวัว เกรทซิมบับเวยังตั้งอยู่ใกล้กับเส้นทางการค้าที่สำคัญ
มีส่วนหลักของเกรทซิมบับเวสามส่วน คือ ซากปรักหักพังของหุบเขา เนินอันสลับซับซ้อนและการล้อมรอบอันยิ่งใหญ่  การล้อมรอบที่ยิ่งใหญ่เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาส่วนเหล่านี้ นักโบราณคดีคิดว่า การล้อมรอบที่ยิ่งใหญ่ (Great Enclosure) ถูกใช้เป็นบ้านสำหรับกษัตริย์และราชินี
มองจากทางอากาศ Great Enclosure มองดูคล้ายสร้อยคอขนาดยักษ์ กำแพงด้านนอกโดยรอบประมาณ 820 ฟุต และสูงถึง 36 ฟุต กำแพงด้านในพาดไปตามส่วนของกำแพงด้านนอก กำแพงทั้งสองด้านก่อเป็นทางเดินแคบ ๆ นำไปสู่หอคอยรูปทรงกรวย สูง 33 ฟุต วัตถุประสงค์ของหอคอยยังคงเป็นปริศนาอยู่ ครั้งหนึ่ง การล้อมรอบประกอบด้วยอาคารที่ซับซ้อนสร้างขึ้นมาจาก daga คืออิฐที่ทำจากโคลนหรือดินเหนียว
ผู้สร้างอาณาจักรโชนา ได้ตัดแผ่นหินเป็นกำแพงของ Great Enclosure จากภูเขาหินแกรนิตรอบเมือง พวกเขาแกะสลักก้อนหินด้วยความแม่นยำจริง ๆ ซึ่งไม่มีอะไรมายึดไว้กับที่ กำแพงของ Great Enclosure มากมายราบเรียบพอ ๆ กับกำแพงอิฐสมัยใหม่ กำแพงที่ซับซ้อนมากที่สุดอาจจะอยู่ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14
--------------------------------------------
Great Zimbabwe
ซากปรักหักพังของ Great Zimbabwe ที่ยังเหลืออยู่มากที่สุดนี้ เรียกว่า Great Enclosure เ้ส้นผ่าศูนย์กลางสูงสุดประมาณเท่ากับความยาวของสนามฟุตบอล และกำแพงสูงประมาณ 36 ฟุต
Great Zimbabwe
หมายเลข 1 นักวิชาการเชื่อว่า พระราชาและพระราชินีทรงประทับอยู่ใน Great Enclosure
ส่วนชาวนาและแรงงานอาศัยอยู่ด้านนอก
หมายเลข 2  ผ่านข้างในและนอกกำแพงจะพบหอคอยรูปทรงกรายสูง 33 ฟุต  นักประวัติศาสตร์คาดการณ์ว่า น่าจะสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ทางศาสนา
-----------------------------------------------
ทอง การค้าขาย และการล่มสลาย เกรทซิมบับเวกลายเป็นศูนย์กลางของความมั่งคั่งและอำนาจที่มีอิทธิพล เนื่องจากเส้นทางการค้าขายที่ผ่านเมือง  ผลิตภัณฑ์สำคัญที่เดินทางมาตามส้นทางเหล่านี้คือทอง ทองเป็นหนึ่งในสินค้าหลักที่ซื้อขายระหว่างทวีปแอฟริกาและในดินแดนของอินเดียและจีน  เกรทซิมบับเวไม่ได้ผลิตทอง อย่างไรก็ตาม เกรทซิบับเวตั้งอยู่ระหว่างภูมิภาคที่ผลิตทองไปทางตะวันตกและเมืองการค้าตามแนวชายฝั่งทะเลตะวันออก
เป็นผลให้ผู้นำของเกรทซิมบับเวอาจเก็บภาษีผู้ที่เดินทางตามเส้นทาง พวกเขายังสามารถเรียกร้องทองจากผู้นำที่มีประสิทธิภาพน้อยของภูมิภาค เมืองกลายเป็นศูนย์กลางของการค้าขายทองคำระหว่างประเทศ เหล่านักปราชญ์ประเมินว่า ณ จุดสูงสุด เหล่านักเดินทางขนทองคำมากกว่า 2,000 ปอนด์ผ่านเกรทซิมบับเวทุกปี
ตัวอย่างทอง
ตัวอย่างทองชิ้นนี้ได้มาจากเหมืองแร่ในแอฟริกา
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 เกรทซิมบับเวเริ่มล่มสลาย นักประวัติศาสตร์บางพวก กล่าวว่า ภัยแล้งและการใช้ทุ่งปศุสัตว์มากเกินไป จึงก่อให้เกิดการขาดแคลนทรัพยากร  พวกอื่น ๆ โต้แย้งว่า เกิดจากการที่ประชาชนปล่อยให้มีการยึดเอาประโยชน์จากเครือข่ายการค้าขายอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม  เกรทซิมบับเวก็ถูกทอดทิ้งประมาณคริสต์ศักราช 1500

คองโกและโปรตุเกส

          กลุ่มคนที่พูดภาษาแบนทูจำนวนมากอพยพมาจากแอฟริกาตอนกลางเยื้องไปทางตะวันตกตลอดทางตอนใต้ของทวีป ในคริสต์ศตวรรษที่ 13  ชาวแบนทู ซึ่งรู้จักกันว่า ชาวคองโก ได้ตั้งรกรากอยู่ตามแนวชายฝั่งตะวันตก

การเจริญเติบโตของคองโก ชาวคองโกได้ตั้งรกรากอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำคองโก ซึ่งไหลเกือบ 3,000 ไมล์ไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวคองโกใช้ประโยชน์จากดินที่อุดมสมบูรณ์ เหล็กและแร่ทองแดง การตกปลาและการขนส่งผ่านแม่น้ำคองโก  ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 14  ชาวคองโกได้ย้ายไปทางใต้ของแม่น้ำคองโกและปกครองคนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนั้น ดินแดนที่พวกเขายึดครองในขณะนี้กลายเป็นอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ที่รู้จักกันว่า คองโก ศูนย์กลางของอาณาจักรคองโกคือเมืองหลวง ชื่อ Mbanza   จากที่นั่น นักปกครองชาวคองโกได้บริหารอาณาจักรอย่างเป็นระเบียบและเป็นผลดี

คองโกและโปรตุเกส ในขณะที่อาณาจักรคองโกเจริญรุ่งเรือง การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ก็กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก  ในทวีปยุโรป คริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นจุดเริ่มต้นของยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่ชาวยุโรปเดินทางแล่นเรือในมหาสมุทรเพื่อการสำรวจดินแดนใหม่ ประเทศโปรตุเกส ซึ่งเป็นประเทศเล็ก ๆ ทางตะวันตกของสเปนในมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นประเทศแรกที่เริ่มเดินทาง  ในต้นทศวรรษที่ 1480 เหล่านักสำรวจชาวโปรตุเกสได้แล่นมาจอดที่ชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกาและพบอาณาจักรคองโก ปฏิสัมพันธ์นี้จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างและความยากลำบากมากมายสำหรับคองโก
ปฏิมากรรมคองโก
ปฏิมากรรมไม้เป็นภาพผู้นำอาณาจักรคองโก
การค้าขายและความเป็นทาส ความสัมพันธ์ในตอนต้นระหว่างโปรตุเกสและคองโกเป็นไปด้วยดี คองโกค้าขายทองแดง เหล็กและงาช้างแก่โปรตุเกส ในทางกลับกัน คองโกก็ได้รับปืน ม้าและผลิตสินค้า
อิทธิพลของโปรตุเกสเพิ่มขึ้นเมื่อ Nzinga Mbemba เป็นผู้ปกครองของคองโกในคริสต์ศักราช 1506 กษัตริย์องค์ใหม่นี้ใช้ชื่อเป็นภาษายุโรปว่า Afonso ที่ 1 และลอกเลียนแบบวิธีการหลายอย่างของโปรตุเกส พระองค์ได้เรียนรู้การอ่านและเขียนภาษาโปรตุเกส สถาปนาศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นศาสนาทางราชการ นอกจากนี้ ยังได้เปลี่ยนแปลงระบบการเมืองของคองโกเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงประเพณียุโรป

ในช่วงต้นของความสัมพันธ์ทางการค้า คองโกได้เริ่มการจัดหาทาสชาวแอฟริกาให้แก่ชาวโปรตุเกส ชาวโปรตุเกสต้องการคนที่เป็นทาสไปทำงานในดินแดนที่พวกเขาพิชิตได้ เช่นบราซิลและเกาะเซาตูเม (São Tomé) ไกลออกไปทางฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา ในการแลกเปลี่ยน ผู้ปกครองคองโกได้รับสินค้าจากยุโรปตามที่พวกเขาต้องการ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ความต้องการใช้แรงงานทาสของโปรตุเกสเพิ่มขึ้น การค้าขายทาสเริ่มระบายประชากรของทวีปแอฟริกาตะวันตก กษัตริย์ Afonso เรียกร้องให้กษัตริย์โปรตุเกสหยุดการกระทำเช่นนั้น แต่การเรียกร้องของพระองค์ หยุดได้เพียงเล็กน้อย เมื่อกษัตริย์ Afonso เสียชีวิตในคริสต์ศักราช 1543  โปรตุเกสก็จับชาวแอฟริกันไปเป็นทาสปีละหลายพันคน ในคริสต์ศักราช 1561 ราชอาณาจักรคองโกก็แยกตัวเองออกจากโปรตุเกส


อาณาจักรคองโกประสบความไม่มีเสถียรภาพหลังจากการเสียชีวิตของกษัตริย์ Afonso เมื่อไม่สามารถที่จะชนะสงครามกับอาณาจักรเพื่อนบ้าน คองโกได้ขอร้องโปรตุเกสให้ช่วยเหลือ ราชอาณาจักรจึงมีเสถียรภาพอย่างช้า ๆ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16