ประวัติศาสตร์โลก

ประวัติศาสตร์โลก
World History

ประวัติศาสตร์โลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์โลกหรือประวัติศาสตร์มนุษยชาติเริ่มต้นที่ยุคหินเก่า ประวัติศาสตร์โลกไม่รวมประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่ไม่ใช่มนุษย์และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยา ยกเว้นตราบเท่าที่โลกธรรมชาตินั้นกระทบต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก ประวัติศาสตร์โลกประกอบด้วยการศึกษาทางโบราณคดีและหลักฐานลายลักษณ์อักษรตั้งแต่สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์โบราณที่มีบันทึกเริ่มต้นจากการประดิษฐ์การเขียน ทว่า รากเหง้าแห่งอารยธรรมมีมาแต่ก่อนการประดิษฐ์การเขียน สมัยก่อนประวัติศาสตร์เริ่มต้นในยุคหินเก่า ต่อด้วยยุคหินใหม่และการปฏิวัติเกษตรกรรม(ระหว่าง 8000 ถึง 5000 ปีก่อนคริสตกาล) ในวงพระจันทร์เสี้ยวไพบูลย์ (Fertile Crescent) การปฏิวัติเกษตรกรรมเป็นเครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมนุษย์เริ่มต้นทำการเกษตร คือ กสิกรรมและการเลี้ยงสัตว์อย่างเป็นระบบ เมื่อเกษตรกรรมก้าวหน้าขึ้น มนุษย์ส่วนมากเปลี่ยนจากวิถีชีวิตเร่ร่อนมาเป็นตั้งถิ่นฐานเป็นเกษตรกรในนิคมถาวร การเร่ร่อนยังมีอยู่ในบางที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลซึ่งมีพืชที่เพาะปลูกได้ไม่กี่ชนิด แต่ความมั่นคงสัมพัทธ์และผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นจากกสิกรรมทำให้ชุมชนมนุษย์ขยายเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่า ซึ่งความก้าวหน้าในการขนส่งก็มีส่วนช่วย

เมื่อกสิกรรมพัฒนา การเพาะปลูกธัญพืชมีความซับซ้อนขึ้นและทำให้มีการแบ่งงานกันทำเพื่อเก็บอาหารระหว่างฤดูเพาะปลูก จากนั้นการแบ่งงานทำให้เกิดชนชั้นสูงที่สุขสบายและพัฒนาการนคร สังคมมนุษย์ที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ระบบการเขียนและการบัญชีมีความจำเป็น หลายนครพัฒนาบนตลิ่งทะเลสาบและแม่น้ำ ตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เกิดนิคมโดดเด่นและมีการพัฒนาดียุคแรก ๆในเมโสโปเตเมีย ริมตลิ่งแม่น้ำไนล์แห่งอียิปต์ และหุบแม่น้ำสินธุ อาจมีอารยธรรมคล้ายกันพัฒนาขึ้นตามแม่น้ำสำคัญในจีน แต่หลักฐานทางโบราณคดีของการสร้างเมืองอย่างกว้างขวางในที่นั้นชัดแจ้งน้อยกว่า

ประวัติศาสตร์โลกเก่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน) โดยทั่วไปแบ่งเป็นยุคโบราณ ถึง ค.ศ. 476, สมัยกลาง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 15 ซึ่งรวมยุคทองของอิสลาม (ประมาณ ค.ศ. 750-1258) และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยายุโรปตอนต้น (เริ่มต้นประมาณ ค.ศ. 1300), ยุคใหม่ตอนต้น ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งรวมยุคเรืองปัญญา และยุคใหม่ตอนปลาย นับแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมถึงปัจจุบัน รวมทั้งประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ตะวันออกใกล้โบราณ กรีซโบราณและโรมโบราณมีความโดดเด่นในยุคโบราณ ในประวัติศาสตร์ยุโรปตะวันตก การเสียกรุงโรมมักยึดเป็นการสิ้นสุดของยุคโบราณและการเริ่มต้นของสมัยกลาง ขณะที่ยุโรปตะวันออกมีการเปลี่ยนผ่านจากจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งรุ่งเรืองต่อมาอีกเป็นเวลานาน กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 การประดิษฐ์การพิมพ์สมัยใหม่ของโยฮันน์ กูเทนแบร์ก ซึ่งใช้การสื่อสารแบบเคลื่อนที่ได้และเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง เป็นจุดสิ้นสุดของยุคกลางและนำไปสู่การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 การสะสมความรู้และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ได้ถึงจำนวนวิกฤต (critical mass) อันนำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม

ในส่วนอื่นของโลก เช่น ตะวันออกใกล้โบราณ จีนโบราณ และอินเดียโบราณ เส้นเวลาทางประวัติศาสตร์ได้คลี่ออกต่างกัน อย่างไรก็ดี จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากการค้าโลกที่ขยายตัวและการล่าอาณานิคม ทำให้ประวัติศาสตร์ของอารยธรรมโลกส่วนมากสานเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนา ในช่วงสองร้อยกว่าปีล่าสุด การเติบโตของความรู้ เทคโนโลยี การพาณิชย์ และศักยภาพการทำลายล้างของสงครามได้เร่งให้เกิดขึ้น ก่อให้เกิดโอกาสและอันตรายซึ่งปัจจุบันกำลังเผชิญชุมชนมนุษย์ที่อยู่อาศัยบนดาวเคราะห์ดวงนี้

แปลจากหนังสือ World History โดย...Mcdougal Littel
ผู้แปล...ทรงศักดิ์ สายหยุด

ยุโรปสมัยระบอบศักดินาและยุคกลางสมัยต่อมา

ยุโรปสมัยระบอบศักดินาและยุคกลางสมัยต่อมา
แผนที่ยุโรป ค.ศ. 1000
แผนที่ยุโรป ค.ศ. 1000
แผนที่ลำดับเหตุการณ์ในยุโรปและโลกสมัยโบราณ
แผนที่ลำดับเหตุการณ์ในยุโรปและโลกสมัยโบราณ
แผนที่ลำดับเหตุการณ์ในยุโรปและโลกสมัยโบราณ
แผนที่ลำดับเหตุการณ์ในยุโรปและโลกสมัยโบราณ
ระบอบศักดินาในยุโรปสมัยกลาง
ลักษณะของยุโรปสมัยกลาง
           การล่มสลายของกรุงโรมในคริสต์ศักราช 476 เริ่มขึ้นในช่วงประมาณ 1,000 ปี ซึ่งรู้จักกัน ยุคกลาง (Middle Ages) ระยะเวลานี้ก็ยังรู้จักกันว่า ยุคกลาง ภูมิทัศน์ทางการเมืองและวัฒนธรรมของยุโรปเปลี่ยนแปลงอย่างมากหลังจากการล่มสลายของกรุงโรม
ถ้วยของชนชาวเจอร์มานิค
ถ้วยใบนี้มีลายเพชรพลอย เป็นของชาวแฟรงก์ ซึ่งเป็นกลุ่มชนเจอร์มานิค
ชาวโรมันไม่ได้ปกครองภูมิภาคโดยการรวมกลุ่มต่าง ๆ มากมายภายใต้รัฐบาลเดียวอีกต่อไป แต่มีอาณาจักรดั้งเดิมจำนวนมากปกครองดินแดนเหล่านั้น ซึ่งครั้งหนึ่งเคยปกครองโดยอาณาจักรอันยิ่งใหญ่
   ชาวโรมันมีการปกครองที่ได้รับการพัฒนาอย่างจริงจัง พวกเขายังเน้นการเล่าเรียน อีกประการหนึ่ง ผู้คนสมัยดั้งเดิมอาศัยอยู่ในชุมชนเล็ก ๆ พวกเขามีความเป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยการปกครองและประเพณีที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นผลให้พวกเขาไม่ได้พัฒนาการปกครองที่มีขนาดใหญ่หรือผลิตผลงานด้านวิชาการ
ชนชั้นกลางมีการศึกษาทั้งหมด แต่หายไปในระหว่างยุคกลาง โรงเรียนส่วนใหญ่หยุดการเรียนการสอนและมีคนไม่กี่คนที่สามารถอ่านหรือเขียนภาษาละตินได้ ชาวยุโรปส่วนมากลืมความสำเร็จในศิลปะและการเรียนรู้ของชาวกรีกและชาวโรมัน
    ในขณะที่การค้าขายทั่วยุโรปหดตัวลง หลาย ๆ เมืองก็เป็นเช่นนั้น ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองส่วนใหญ่เลี้ยงชีวิตตนเองโดยการค้าขายสินค้า การขาดการค้าขายทำให้ชาวเมืองจำนวนมากย้ายไปยังชนบทและเลี้ยงชีวิตของตนเองโดยการทำเกษตรกรรม
ปารีสในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 14
กรุงปารีสในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 14  ภาพวาดนี้มาจากหนังสือกำหนดเทศกาล (Book of Hours)
หนังสือสวดมนต์ในยุคกลาง ในภาพนี้ ชาวนากำลังตัดหญ้าและกองไว้นอกกรุงปารีส

การเจริญและแพร่กระจายของศาสนาคริสต์

          สถาบันแห่งหนึ่งที่รอดมาได้จากการล่มสลายของกรุงโรมคือคริสตจักร ผู้ปกครองดั้งเดิมเป็นจำนวนมากและราษฎรอื่น ๆ เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์ ทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์, กลุ่มคนเจอร์มานิก (Germanic)  คือ ชาวแฟรงก์ ได้ก่อตั้งอาณาจักรอันเกรียงไกรขึ้น พวกเขาสนับสนุนศาสนาคริสต์ให้มีความเข้มแข็งอย่างยิ่งใหญ่ในยุโรป

โคลวิสที่ 1 และชนชาวแฟรงก์  ในคริสต์ศักราช 486 ผู้นำชาวแฟรงก์ ชื่อโคลวิสได้บุกดินแดนกอลแห่งโรมัน (ปัจจุบัน คือ ฝรั่งเศส อาจรวมถึงเบลเยี่ยมด้วย) เขาพิชิตกองทัพโรมันอันยิ่งใหญ่แห่งสุดท้ายในดินแดนกอลนี้ แล้วโคลวิสก็ยกทัพไปตีกลุ่มชาวเจอร์มานิกอื่น ๆ ประมาณคริสต์ศักราช 507 อาณาจักรของเขาก็แผ่ขยายดินแดนยาวเหยียดไปทางตะวันตกตั้งแต่แม่น้ำไรน์จนถึงเทือกเขาพิเรนีส (Pyrenees) ไม่ช้าก็เร็ว โคลวิสก็หันไปนับถือศาสนาคริสต์  ต่อมาราษฎรส่วนใหญ่ก็หันไปนับถือศาสนาคริสต์เช่นกัน

การปกครองของชาเลอมาญ (Charlemagne)  ในคริสต์ศักราช 768 ผู้ปกครองคนใหม่ผู้มีความทะเยอทะยาน ซึ่งปกครองอาณาจักรของชาวแฟรงก์  คือ ชาร์ลส์ (Charles) รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า ชาร์เลอมาญ (SHAHR•luh•MAYN) ได้สร้างอาณาจักรยุโรปที่ใหญ่กว่าอาณาจักรใด ๆ ที่รู้จักกันมาตั้งแต่กรุงโรมโบราณ เขาทำเช่นนี้ได้ส่วนใหญ่เพราะชัยชนะของทหารเป็นระยะ ๆ ยาวนานเป็นเวลาหลายปี ประมาณคริสต์ศักราช 800 ยุโรปตะวันตกเป็นอันมากก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิที่บริหารได้เป็นอย่างดีของเขา
ชาร์เลอมาญได้จัดตั้งกฎหมายใหม่เพื่อช่วยรักษาความเป็นระเบียบ เขายังอนุญาตเชลยศึกบางพวกให้รักษากฎหมายแบบดั้งเดิมไว้ตราบจนกระทั่งพวกเขารวบรวมเป็นประมวลกฎหมายและเขียนเป็นลักษณ์อักษร ชาร์เลอมาญได้ปฏิรูปคริสตจักรให้เข้มแข็ง เขาการส่งเสริมการศึกษาของพระในคริสตจักร จัดระเบียบคริสตจักรให้มีอำนาจและสร้างสัมพันธไมตรีกับพระสันตะปาปา
โคลวิสที่ 1
ราชอาณาจักรที่มีอำนาจมากแห่งหนึ่งในยุโรป คือ ราชอาณาจักรแฟรงก์
ผู้น้ำราชอาณาจักรคือ กษัตริย์โคลวิสที่ 1 (ภาพบน)

ระบบศักดินา: การจัดระเบียบทางสังคมแบบใหม่

          หลังจากการตายของชาร์เลอมาญ ในคริสต์ศักราช 814 หลุยส์ลูกชายของเขากลายเป็นจักรพรรดิ  เมื่อหลุยส์เสียชีวิต ลูกชายทั้งสามคนของเขาต่อสู้กันเองเพื่อปกครองอาณาจักร พวกเขาทั้งหมดลงนามในสนธิสัญญา ในคริสต์ศักราช 843 เพื่อแบ่งจักรวรรดิออกเป็นสามส่วน การแบ่งแยกจักรวรรดินี้ทำให้อาณาจักรแฟรงก์อ่อนแอลง  ความเสื่อมลงของการปกครองอาณาจักรแฟรงก์นำไปสู่​​ความวุ่นวายไปทั่วยุโรป
ผู้บุกรุกใช้ประโยชน์จากความวุ่นวายนี้ โจรสลัดสแกนดิเนเวีย ที่เรียกว่าไวกิ้ง (Vikings) ได้คุกคามหมู่บ้านชายฝั่ง กลุ่มที่เรียกว่า แมกยาร์ (Magyar - ชาวฮังการีในปัจจุบัน) ได้โจมตีเมืองต่าง ๆ ทั่วยุโรปตอนกลาง เริ่มต้นในกลางศตวรรษที่ 8 ยุโรปกลายเป็นสถานที่ของความขัดแย้งและสงครามอย่างต่อเนื่อง
--------------------------------
ผู้สร้างประวัติศาสตร์
ชาร์เลอมาญ (มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 742 – 814)
ชาร์เลอมาญ
ชาร์เลอมาญ
          ชาร์เลอมาญดูเหมือนและทำหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพของอาณาจักรขนาดใหญ่ เขาเป็นคนที่สูงและแข็งแรงและมีความสุขกับกิจกรรมการออกกำลังกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการว่ายน้ำ นอกจากนี้ เขาเจริญเติบโตด้วยการนอนหลับเล็กน้อย เขาบอกว่าจะตื่นขึ้นมาสี่หรือห้าครั้งต่อคืน ด้วยการปลุกคนรอบข้างตัวเองให้ตื่นทำภารกิจให้เสร็จสิ้นหรือให้รายงานงาน
  ชาร์เลอมาญยังแสดงความสนใจในเรื่องราวทางวิชาการ รวมทั้งดาราศาสตร์ อย่างไรก็ตาม มีอยู่สิ่งหนึ่งที่อาจจะทำให้เขาไม่ได้รับการเรียนรู้เพิ่มเติม นักประวัติศาสตร์คาดการณ์ว่า กษัตริย์แฟรงก์ผู้เกรียงไกรนั้น ก็เหมือนกับกษัตริย์คนอื่น ๆ ในยุคกลาง คือ อ่านหนังสือไม่ออก
--------------------------------
การเกิดขึ้นของระบบศักดินา ในช่วงเวลาที่มีความรุนแรงนี้ ผู้คนมองหาการคุ้มครองรักษา ข้อนี้นำไปสู่การสร้างระบบการเมืองและสังคมที่รู้จักกัน คือ ระบบศักดินา ระบบศักดินาขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างกลุ่มขุนนางสองกลุ่ม คือ ขุนนางและข้าราชบริพาร  ลอร์ด (Lord) คือ ขุนนางผู้ทรงอำนาจซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขุนนางอนุญาตให้ขุนนางชั้นผู้น้อย ซึ่งเรียกข้าราชบริพาร ใช้ที่ดินหลายส่วน ที่ดินหลายแปลงเหล่านี้ถูกเรียกว่า ศักดินา เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนศักดินา ข้าราชบริพารจะทำหน้าที่ในศาลของและกองทัพบกของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ป้องกันดินแดนไม่ให้มีการโจมตีด้วยกองทัพของข้าราชบริพาร ข้าราชบริพารบางพวกเป็นนักรบ เรียกกันว่า อัศวิน
โครงสร้างของระบบศักดินา  สังคมระบบศักดินาเป็นโครงสร้างชั้นสูง กษัตริย์ปกครองด้านบนของสังคม ต่อมาก็เป็นเจ้าของที่ดินที่มั่งคั่งและสมาชิกระดับสูงของคริสตจักร ถัดลงผู้รับใช้พวกเขา คือ อัศวิน ด้านล่างของสังคม คือ ชาวนา ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นข้าแผ่นดิน ข้าแผ่นดินอาศัยและทำงานอยู่บนที่ดินที่เป็นของขุนนางหรือข้าราชบริพาร ข้าแผ่นดิน เหมือนกับข้าราชบริพาร จะดูแลป้องกันขุนนางระดับสูง (ดูภาพ)
ระบบศักดินาสร้างโครงสร้างทางการเมืองแบบใหม่ในทวีปยุโรป แมนเนอร์ (Manors) คือ คฤหาสน์ที่ครอบครองโดยขุนนางผู้มีอำนาจ เป็นส่วนที่สำคัญของภูมิทัศน์ทางการเมืองแบบใหม่นี้

ระบบศักดินาของยุโรป
ระบบศักดินาของยุโรป
ลำดับระบบศักดินาของยุโรป
1.  กษัตริย์: นั่งอยู่บนยอดสุดของสังคมศักดินา  ครอบครองพื้นดินขนาดใหญ่
2.  เจ้าหน้าที่แห่งคริสตจักรและขุนนาง: เป็นเจ้าของที่ดิน ยึดครองอำนาจและความมั่งคั่งเป็นอันมาก
3.  อัศวิน: เป็นนักรบจัดการด้านการทหารให้กับขุนนาง เพื่อแลกเปลี่ยนที่ดินหลายแปลง
4.  ชาวไร่ชาวนาชาวสวน เกษตรกร: ทำงานให้กับขุนนาง ในฐานะเป็นข้าแผ่นดิน และงานอื่น ๆ ที่เหน็ดเหนื่อยมาก (ดูภาพด้านบน)

บทบาทของแมนเนอร์ (Manor)  ส่วนที่สำคัญของที่ดินของขุนนาง เรียกว่า แมนเนอร์ (คฤหาสน์) ศูนย์กลางของคฤหาสน์เป็นบ้านเจ้านายหรือขุนนางและครอบครัวของเขาอาศัยอยู่ บ่อยครั้งที่อาคารคฤหาสน์เป็นป้อมหรือปราการ รอบ ๆ อาคารคฤหาสน์เป็นที่ดินของเจ้านายหรือขุนนาง ที่ดินส่วนมากประกอบด้วยพื้นที่การเกษตรและหมู่บ้านที่ชาวบ้านอาศัยอยู่

การดำเนินชีวิตและเศรษฐกิจในแมนเนอร์  ชาวนา (ส่วนใหญ่เป็นข้าแผ่นดิน) อาศัยและทำงานอยู่ที่คฤหาสน์ พวกเขาทำไร่ไถนาบนที่ดิน ซึ่งเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจของระบบแมนเนอร์ ข้าแผ่นดินกล่าวได้ว่า "ผูกพันกับที่ดิน" ซึ่งหมายความว่าพวกเขาถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์สมบัติ พวกเขายังคงอยู่บนที่ดินถ้าเจ้านายหรือขุนนางคนใหม่ต้องการ
ชีวิตในระบบศักดินาและแมนเนอร์มีผลกระทบที่มีประสิทธิภาพต่อเศรษฐกิจยุโรปยุคกลาง ที่ดินบนคฤหาสน์ให้สิ่งที่จำเป็นส่วนใหญ่แก่ผู้อยู่อาศัย เป็นผลให้กิจกรรมส่วนใหญ่นับตั้งแต่การทำการเกษตรจนถึงงานไม้ การทำไวน์เกิดขึ้นในคฤหาสน์ Manors กลายเป็นโลกของพวกตัวเองและคนไม่กี่คนที่เคยละทิ้งทรัพย์สมบัติไป
ระบอบแมนเนอร์
        แมนเนอร์ (Manor) เป็นระบบการปกครองในฟิวดัล (ระบบศํกดินา) เจ้าหน้าที่ในเขตปกครอง คฤหาสน์” เรียก “Lord of the Manor”  ขุนนางมีสิทธิ์ครอบครองแมนเนอร์เป็นร้อย ๆ ได้  ในแมนเนอร์มีการทำเกษตรกรรมเป็นหลัก แม้แต่แมนเนอร์ที่เล็กที่สุดมีเนื้อที่ประมาณ 300 – 400 เอเคอร์ และอาจประกอบด้วยหมู่บ้านเดียวหรือมากกว่านั้น แต่ละแมนเนอร์จะมีระบบเศรษฐกิจที่สมบูรณ์ในตัวเอง (Self Sufficiency)  ภายในแต่ละแมนเนอร์จะมี Manor - House ของ Lord อยู่ตรงกลางล้อมรอบด้วยคูกั้นเป็นที่อยู่ของครอบครัวเจ้าของที่ดินและอัศวินทั้งหลาย ตลอดจนผู้จัดการดูแลแมนเนอร์(Bailiff)  และพระของหมู่บ้านแมนเนอร์  ถัดจากคูที่ล้อมรอบ Manor-House เป็นที่อยู่อาศัยของชาวไร่ชาวนา  เลยที่อยู่ของชาวไร่ชาวนาออกไปเป็นไร่นา ส่วนที่ดีที่สุดกันไว้เป็นสมบัติส่วนตัวของเจ้าของที่ดินและพระ ที่เหลือเจ้าของที่ดินจะจัดแบ่งให้พวกไพร่ติดที่ดิน แต่ละครอบครัวทำกินจะขยายหรือโยกย้ายไม่ได้ ถ้าเจ้าของที่ดิน (Lord) ไม่สั่ง                        
          ชนชั้นในแมนเนอร์สามารถแบ่งได้ดังนี้
1.ชนชั้นขุนนางหรือเจ้าของแมนเนอร์   ซึ่งอาจรวมพระ  หรือกษัตริย์   สำหรับแมนเนอร์ใหญ่ๆ จะแต่งตั้งผู้ดูแลกิจการไปทำการดูแล ถ้ามีแมนเนอร์ในครอบครองหลายแห่งก็จะแต่งตั้งผู้แทนของตนไปดูแล ในแมนเนอร์จะมีที่ดินส่วนหนึ่งเรียกว่า ดีมีนส์ (Demesne) เป็นไร่ที่ดินภายใน ซึ่งขุนนางเจ้าของที่ดินของแมนเนอร์เป็นผู้ครอบครอง                       
2.ชนชั้นไพร่  เป็นชนชั้นที่ทำงานให้แก่ชนชั้นขุนนาง ประกอบด้วย                             
        ก.ชนชั้นวิเลนส์ (Villein) เป็นพลเมืองส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในแมนเนอร์ และเป็นชนชั้นที่มีความสำคัญต่อแมนเนอร์มากกว่าชนชั้นอื่น เพราะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการเพาะปลูก ส่วนใหญ่ของแมนเนอร์ ซึ่งผลผลิตที่ได้ใช้เป็นอาหารสำหรับชนชั้นต่างๆ ในแมนเนอร์ ในทางกฎหมายชนชั้นวิเลนส์มีฐานะด้อยกว่าเสรีชนแต่สูงกว่าทาส ไม่ได้รับการคุ้มครองจากขุนนางนอกจากกรณีทำร้ายร่างกาย  
        ข.   ชนชั้นคอททาร์   หรือบางทีเรียก  บอร์ดาร์ (Bordars)   หรือคอทเทเจอร์ส (Cottagers) ชนชั้นนี้มีจำนวนคนรองจากชนชั้นวิเลนส์และมีฐานะด้อยกว่าทั้งในทางสังคมและทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีที่ดินในครอบครองน้อยกว่า จึงต้องพึ่งพาชนชั้นอื่นในการดำรงชีพ โดยเฉพาะการรับใช้ตอบแทนขุนนาง และทำหน้าที่เป็นแรงงานสำรองไว้ในเวลาจำเป็น ดังนั้นจึงมักใช้เวลาว่างไปรับจ้างขุนนางเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัวและดำรงชีพของตน 
        ค.  ชนชั้นทาส (Serf) เป็นพลเมืองส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ในแมนเนอร์ มีพันธะที่จะต้องจ่ายให้เจ้านายของตนในรูปแรงงานและผลผลิต หรือเงินตรา เช่น Serf ต้องเสียภาษีรัชชูปการ ภาษีผลผลิตที่ผลิตได้ ต้องจ่ายค่าบริการให้กับเครื่องมือของ Lord จัดหาไว้ให้ใช้ร่วมกันในการทำการเกษตร  เช่น โรงสี เครื่องคั้นน้ำองุ่น  เตาต้มกลั่น  ให้การต้อนรับเลี้ยงดูเจ้านายและบริวารที่ติดตามเข้ามาตรวจราชการในท้องที่ของตนปีละไม่เกินสามครั้ง  ยอมให้เจ้านายเกณฑ์แรงงานไปสร้างเครื่องสาธารณูปโภค  ขุดคู  สร้างสะพานและเขื่อน  เป็นต้น  ต่อมาจำนวนทาสได้    ลดน้อยลงไปเนื่องจากได้รับอิสรภาพมากขึ้น ได้รับที่ดินทำการเพาะปลูกและเปลี่ยนสภาพมาเป็นชนชั้นคอททาร์ในเวลาต่อมา                       
3.ชนชั้นเสรีชน เป็นชนชั้นอิสระไม่ขึ้นอยู่กับขุนนาง เป็นเจ้าของที่ดินโดยเสรี  ไม่ต้องมีภาระข้อผูกมัดกับชนชั้นอื่นๆ ความสัมพันธ์ระหว่างเสรีชนกับชนชั้นขุนนาง หรือเจ้าของแมนเนอร์ มักอยู่ในรูปของสัญญา เช่น เสรีชนจะสละแรงงานช่วยเหลือขุนนางในการเพาะปลูกเป็นครั้งคราว  แล้วขุนนางจะให้การคุ้มครองป้องกันความปลอดภัยในชีวิตร่างกาย และทรัพย์สินของ เสรีชนเป็นการตอบแทน เสรีชนมีสิทธิที่จะโอนที่ดินของตนไปรับการคุ้มครองจากขุนนางแมนเนอร์คนหนึ่งคนใดโดยไม่ต้องผูกมัดกับขุนนางเดิม

ยุคอัศวิน (The Age of Chivalry)

             อัศวินมักจะเป็นข้าราชบริพารหรือขุนนางชั้นผู้น้อย (ชนชั้นที่ต่ำกว่าขุนนาง) ผู้ต่อสู้ในนามของขุนนางเพื่อแลกเปลี่ยนกับที่ดิน  ในช่วงยุคกลาง ความขัดแย้งมักจะโพล่งออกมาระหว่างขุนนางต่าง ๆ  หลายต่อหลายครั้ง พวกเขาชำระกรรมสิทธิ์ข้อขัดแย้งเหนือที่ดิน ด้วยการโจมตีซึ่งกันและกัน  เมื่อต่อสู้กัน เหล่าขุนนางก็อาศัยอัศวินที่มีฝีมือในการขี่ม้าและเป็นนักสู้

ความเป็นอัศวินและตำแหน่งอัศวิน  เหล่าอัศวินไม่ได้เป็นเพียงนักสู้มืออาชีพเท่านั้น  พวกเขามุ่งมั่นที่จะดำเนินชีวิตด้วยหลักเกียรติยศ ที่รู้จักกันว่า Chivalry (ความกล้าหาญหรือตำแหน่งอัศวิน) พวกเขาจะต้องแสดงให้เห็นถึงความเชื่อทางศาสนาที่แข็งแกร่งและความเต็มใจที่จะปกป้องคริสตจักรคาทอลิก  พวกเขายังมุ่งมั่นที่จะปกป้องผู้หญิงและคนอ่อนแอ นอกจากนี้ อัศวินได้รับการคาดหมายว่าจะต่อสู้กับความอยุติธรรมและแสดงความกล้าหาญในการต่อสู้ทุก ๆ ครั้งที่พวกเขาต่อสู้ การต่อสู้ที่อัศวินและนักรบคนอื่น ๆ ต่อสู้ เริ่มตั้งแต่การต่อสู้หลั่งเลือด ณ ทุ่งโล่งจนถึงการโจมตีอย่างเหน็ดเหนื่อยเหนื่อยบนปราสาท
ในการเข้ายึดปราสาท ขุนนางและอัศวินจะใช้อาวุธ เช่น การกระทุ้งและยิงด้วยก้อนหิน กองกำลังสำหรับโจมตีมักจะล้อมปราสาท  ในขณะล้อมปราสาท กองทัพพยายามป้องกันไม่ให้อาหารหรือวัสดุสิ้นเปลืองเข้าไปในปราสาท เป้าหมายคือการทำให้ผู้คนที่อยู่ภายในให้อดอาหารไปอย่างช้า ๆ และบังคับผู้คนให้ยอมจำนน

เปรียบเทียบอัศวินยุโรปกับซามูไรญี่ปุ่น
 
อัศวิน
อัศวิน
 
ซามูไร
ซามูไร
 อัศวินมักจะสวมชุดเกราะเพื่อป้องกันตัวเองในการสู้รบ ชุดเกราะเมื่อชั่งน้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ  65 ปอนด์ (ประมาณ 30 กิโลกรัม) ซามูไรยังแต่งตัวเพื่อป้องกันตัวในระหว่างการต่อสู้ แต่ชุดเกราะน้ำหนักเบากว่า ชุดเกราะที่เบานี้แสดงให้เห็นว่า ซามูไรผู้ใช้ชุดเกราะนี้ทำให้การเคลื่อนไหวสะดวกมากกว่าเน้นการป้องกัน

1.  ชุดเกราะของนักรบแต่ละคนป้องกันศีรษะและคอ หมวกกันน็อคของอัศวินปกป้องหน้าของเขา แต่มีความจำกัดในด้านการมองเห็น  ใบหน้าของซามูไรไม่ปกปิด แต่มีแผ่นเหล็กป้องกันคอของเขา

2.  ทั้งอัศวินและซามูไรมีแผ่นหน้าอกเพื่อป้องกันอวัยวะที่สำคัญจากลูกธนู ดาบและหอก

3.  นักรบแต่ละคนมีชุดเกราะสวมขา  ของอัศวินยุโรปหนักมากและครอบคลุมขามากกว่า ของซามูไรครอบคลุมขาด้านล่างเท่านั้น

(ดูรูปภาพประกอบ)


สมาคมแห่งอัศวิน  อัศวินบางคนให้ความจงรักภักดีต่อคริสตจักรเพื่อขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น พวกเขากลายเป็นข้าราชบริพารสมเด็จพระสันตะปาปาและก่อตัวขึ้นเป็นองค์กรทหารของศาสนาที่รู้จักกันว่า orders of chivalry (คณะแห่งอัศวินหรือสมาคมแห่งอัศวิน) คณะที่รู้จักกันดีที่สุดก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศักราช 1119 เรียกว่า Poor Knights of Christ และ Temple of Solomon หรือ Knights Templar
เหล่านักรบให้คำสาบานว่าจะเสียสละและเชื่อฟังคริสตจักร พวกเขาอาศัยอยู่ด้วยกัน หลับอยู่ในห้องนอนธรรมดาและรับประทานอาหารร่วมกัน อย่างไรก็ตาม หน้าที่หลักของพวกเขาคือการต่อสู้กับศัตรูของคริสตจักร นักรบและคณะแห่งอัศวินอื่น ๆ ก่อตัวขึ้นเพื่อการต่อสู้กับกองทัพของชาวมุสลิมในและรอบ ๆ กรุงเยรูซาเล็ม บริเวณที่เรียกว่าแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (Holy Land) สงครามที่เกิดขึ้นหลาย ๆ  ครั้งเรียกว่า สงครามครูเสด (Crusades)

การเจริญเติบโตของเมืองต่าง ๆ

          ประมาณคริสต์ศักราช 1000  ชีวิตแบบเมืองเริ่มกลับไปยังยุโรป ขุนนางผู้เรืองอำนาจได้นำความปลอดภัยและสวัสดิภาพไปยังภูมิภาคต่าง ๆ นานา เหล่าพ่อค้าเริ่มออกเดินทางอย่างอิสระมากขึ้นและเริ่มค้าขายสินค้าของพวกเขา   เหล่าพ่อค้าตั้งรกราก ณ ที่ใดก็ตาม ช่างก่อสร้างและพ่อค้าอื่น ๆ ก็มารวมตัวกันอยู่รอบตัวพวกเขา
เมืองส่วนใหญ่ในยุคกลางเป็นสถานที่สกปรก คับแคบและพลุกพล่าน ในใจกลางเมืองมีตลาดนัดและโบสถ์ขนาดใหญ่ ถนนแคบสกปรกและมักจะไม่ได้ปูพื้นถนน หลังจากที่ฝนตก ถนนกลายเป็นโคลนลึกถึงหัวเข่า บ้านส่วนใหญ่สร้างขึ้นมาจากไม้และไฟไหม้ง่าย เป็นผลให้ทั้งเมืองมักจะถูกไฟไหม้บ่อย ๆ  ระหว่างคริสต์ศักราช 1200 และ 1225  เมืองรูอ็องของฝรั่งเศสถูกไฟเผาถึงหกครั้ง!
ในเมืองหลายเมือง ผู้คนที่มีอาชีพเดียวกันก่อรูปเป็นกลุ่มขึ้นเรียกว่า สมาคมอาชีพ (Guilds) สมาคมหลายแห่งสร้างขึ้นโดยเหล่าพ่อค้า เช่น ช่างทอง ช่างทำขนมปัง ช่างทอผ้าและช่างย้อมผ้า สมาคมอาชีพสร้างกฎระเบียบเพื่อควบคุมปริมาณและคุณภาพของการผลิต สมาคมอาชีพดูแลสมาชิกและทำงานเพื่อทำให้ทุกคนแน่ใจว่าจะหาอาชีพได้ สมาคมอาชีพมีความสำคัญพอ ๆ กัน มีอิทธิพลเล็กน้อย รองมาจากคริสตจักรคาทอลิก

การดำเนินชีวิตในคฤหาสน์ที่มีที่ดินล้อมรอบ

ของขุนนางในยุคกลาง


การใช้ชีวิตในไมนอร์
        
          ในช่วงยุคกลางส่วนมาก คฤหาสน์ที่มีที่ดินล้อมรอบของขุนนางทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการดำเนินชีวิตสำหรับคนจำนวนมากในยุโรป  ชนชั้นที่กำหนดไว้ชัดเจนสองจำพวกอาศัยอยู่เคียงข้างกัน ในคฤหาสน์ที่มีที่ดินล้อมรอบของขุนนาง คือขุนนางหรือข้าราชบริพารที่ร่ำรวย และครอบครัว ตลอดจนชาวไร่ชาวนาที่ยากจนหรือข้าแผ่นดิน
A กรรมกรผู้ทรหด งานหลักของข้าแผ่นดินก็คือการทำเกษตรกรรม ฝนตกหรือแดดออก พวกเขาก็ทำงานในทุ่งนาทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์และวันสำคัญทางศาสนา ข้าแผ่นดินต้องทำไร่ไถนาให้กับขุนนางมากที่สุด
B คฤหาสน์มาเนอร์  ขุนนางแห่งคฤหาสน์มาเนอร์อาศัยอยู่กับครอบครัวของเขาในบ้านขนาดใหญ่ที่มักจะสร้างด้วยหิน ชีวิตของพวกเขามีความสะดวกสบายเมื่อเทียบกับข้าแผ่นดิน ในท่ามกลางกิจกรรมอื่น ๆ พวกเขาเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำที่มีขนาดใหญ่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์จำนวนมาก
บ้านเรือนของข้าแผ่นดิน  ข้าแผ่นดินส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกระท่อมขนาดเล็กที่เปียกชื้นทำจากไม้และโคลน พื้นดินเป็นพื้นบ้านเสมอ ๆ กระท่อมแต่ละหลังมักจะมีเตียงเพียงตัวเดียว ซึ่งสร้างขึ้นมาจากกองใบไม้หรือฟางข้าว ครอบครัวจะปรุงอาหารในกระท่อมด้วยการก่อไฟบนพื้นดิน ชาวนาส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่รอดได้ด้วยอาหารที่เรียบง่าย คือ สตูผักและขนมปัง
การพักผ่อนหย่อนใจ  ขุนนางและครอบครัวชอบใช้เวลาพักผ่อนหย่อนใจส่วนมากด้วยการล่าสัตว์ในป่าบนที่ดินของพวกเขา ในขณะเดียวกัน ข้าแผ่นดินจะพักผ่อนหย่อนใจแบบเรียบง่ายเสียเป็นส่วนมาก เกมการเล่นที่นิยมในหมู่ข้าแผ่นดินผู้ที่อายุน้อย คือ หมากเก็บ เล่นกันมากเหมือนกับลูกหิน เว้นเสียแต่ว่า ก้อนที่ใช้เล่นเป็นกระดูกของสัตว์เลี้ยงในฟาร์มก้อนกลม ๆ เล็ก ๆ หลากหลาย

คริสตจักรและสงครามครูเสด
          ในยุคกลาง ชาวยุโรปเกือบทั้งหมดเป็นชาวคริสต์และสมาชิกของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ คนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ต่อไปนี้ เราจะได้เรียนรู้วิธีการที่ชาวคริสต์และชาวมุสลิมเกิดความขัดแย้งกัน
สมเด็จพระสันตปาปาเออร์บันที่ 2
ภาพนี้มาจากภาพต้นฉบับ สมเด็จพระสันตปาปาเออร์บันที่ 2 ทรงบัญชาการชิงชัย
ในแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ ใน ค.ศ. 1095
อิทธิพลของคริสตจักรโรมันคาทอลิก
          นับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 จนถึงที่ 14 บางแง่มุมของระบบศักดินายังคงพบในยุโรป  ตัวอย่างเช่น ขุนนางยังคงปกครองชนบทเป็นส่วนมาก อย่างไรก็ตาม ทั้งคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกและระบอบกษัตริย์ของยุโรปยังคงเรืองอำนาจ คริสตจักรและระบอบกษัตริย์ยังพยายามที่จะเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและกุมอำนาจทางศาสนาอีกด้วย

องค์กรคริสตจักร  นิกายโรมันคาทอลิกต้องการสร้างองค์กรที่แข็งแกร่งในการให้บริการคฤหัสถ์อย่างมีประสิทธิภาพ คฤหัสถ์ (laypeople) คือ ผู้ที่เป็นสมาชิกของคริสตจักร แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกของคณะสงฆ์ คริสตจักรมีระดับของตำแหน่งผู้นำแตกต่างกันในหมู่พระสงฆ์หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจทางพระจากคริสตจักร สมเด็จพระสันตะปาปาเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและทางการเมืองของคริสตจักร ตำแหน่งของพระองค์ เรียกว่าตำแหน่งพระสันตะปาปา (Papacy) เบื้องล่างของพระองค์ มีพระสงฆ์ระดับต่าง ๆ ที่แสดงในภาพประกอบ (ดูภาพประกอบ)
มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส
มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส  สร้างในยุคกลาง เป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมของกอทิกอันโดดเ่ด่น
โครงสร้างที่ยันภายนอก เรียกว่า "ครีบยันลอย" (Flying Buttresses)
บทบาททางการเมืองของพระสงฆ์ (คริสต์)  คนที่มีตำแหน่งสำคัญในคริสตจักรจะมีความสัมพันธ์ทางสังคมและการเมืองที่แข็งแกร่งต่อขุนนางของยุโรป เป็นผลให้ขุนนางและผู้นำคริสตจักรมีมากเหมือนกันและมักจะให้การสนับสนุนซึ่งกันและกัน

คริสตจักรยังมีความมั่งคั่งยิ่งใหญ่ซึ่งทำให้เป็นสถาบันที่มีอำนาจมากยิ่งขึ้น ความมั่งคั่งของตำแหน่งพระสันตะปาปายิ่งใหญ่มากกว่าพระมหากษัตริย์แต่ละองค์ในยุโรป  นอกจากนี้อำนาจของสมเด็จพระสันตะปาปามักจะยิ่งใหญ่มากกว่ากษัตริย์และจักรพรรดิ อำนาจของสมเด็จพระสันตะปาปาเป็นเหตุให้พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ร่วมมือกับคริสตจักร แต่มันก็ทำให้เกิดความขัดแย้งอีกด้วย

ตำแหน่งพระในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาลธอลิก

ลำดับตำแหน่งการปกครองคริสตจักรคาทอลิก
ลำดับตำแหน่งการปกครองคริสตจักรคาทอลิก
1. สมเด็จพระสันตะปาปา (Pope) สมเด็จพระสันตะปาปาเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและทางการเมืองของคริสตจักร
2. พระคาร์ดินัล (พระราชาคณะ - Cardinals) พระคาร์ดินัลช่วยสมเด็จพระสันตะปาปาบริหารงานคริสตจักร
3.  บิชอป (Bishops – หัวหน้าบาทหลวง) บิชอปบริหารงานพื้นที่แขวงการปกครองของบิชอป มีโบสถ์หลายโบสถ์
4.  พระ, นักบวช (Priest – บาทหลวง) ทำหน้าที่บริหารโบสถ์เป็นเอกเทศและบริการฆราวาสโดยตรง
5.  พระ, นักพรต และ แม่ชี (Monks and Nuns) พระสงฆ์และแม่ชีอาศัยอยู่ในชุมชนที่ห่างไกลจากเมืองใหญ่ พวกเขาเรียนอ่านภาษาละติน ผลิตอาหารด้วยตัวเอง คัดลอกและแปลตำราทางศาสนา

คริสตจักร การเมือง และสังคม

ในที่สุด ผู้นำคริสตจักรและพระมหากษัตริย์ยุโรปก็เกิดความขัดแย้งกัน ในคริสต์ศักราช 1075 ข้อพิพาทระหว่างสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 และพระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 แห่งจักรพรรดิโรมันศักดิ์สิทธิ์ถึงจุดวิกฤติ

การปะทะกันของสองมหาอำนาจ  จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ครอบคลุมยุโรปตอนกลางและอิตาลีตอนเหนือมากที่สุด อาณาจักรเริ่มขึ้นในคริสต์ศักราช 962 ในขณะที่กษัตริย์อ็อตโตที่ 1 แห่งเยอรมันปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์โดยสมเด็จพระสันตะปาปา จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์คงอยู่ต่อเนื่องในรูปแบบที่แตกต่างกันจนถึงคริสต์ศักราช 1806
จักรพรรดิองค์ต่อมา คือ พระเจ้าเฮนรีที่ 4 ได้สร้างอำนาจทางการเมืองขึ้น โดยการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คริสตจักร อย่างไรก็ตาม ในคริสต์ศักราช 1075 สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีท้าทายอำนาจของพระเจ้าเฮนรี่ พระองค์ประกาศว่าพระสงฆ์เท่านั้นที่จะสามารถแต่งตั้งคนไปยังสำนักคริสตจักรได้
พระเจ้าเฮนรี่และบาทหลวงที่สนับสนุนพระองค์ได้ประกาศการเลือกตั้งที่ไม่ถูกต้องของสมเด็จพระสันตะปาปา สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรี่ตอบสนองต่อความท้าทายของพระเจ้าเฮนรี่โดยการคว่ำบาตร หรือขจัดพระเจ้าเฮนรี่ออกจากคริสตจักร พระองค์บอกราษฎรของพระเจ้าเฮนรี่ว่า พวกเขาไม่ต้องเชื่อฟังจักรพรรดิอีกต่อไป
ครั้นแล้ว ขุนนางและเจ้าหน้าที่ของคริสตจักรหลายคนหันหลังให้กับพระเจ้าเฮนรี่ พระเจ้าเฮนรี่ตัดสินพระทัยขอให้สมเด็จพระสันตะปาปายกโทษให้พระองค์อย่างชาญฉลาด ในฐานะที่เป็นพระสงฆ์ สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรี่ต้องยกโทษให้พระเจ้าเฮนรี่ พระเจ้าเฮนรี่ฟื้นฟูชื่อเสียงของพระองค์และปกครองราษฎร แต่ความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์ยุโรปกับพระสันตะปาปายังดำเนินต่อไป

คริสตจักรเป็นผู้นำด้านการศึกษา  คริสตจักรมีบทบาทโดดเด่นในด้านการจัดการศึกษา โรงเรียนถูกจัดตั้งขึ้นที่มหาวิหาร  นักศึกษาของโรงเรียนเหล่านี้ มักจะเป็นขุนนางที่เป็นผู้นำทางศาสนาหรือการเมืองเสมอ ๆ โรงเรียนในมหาวิหารเหล่านี้ต่อมาพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยยุคแรก ๆ
นักวิชาการได้ศึกษานักปรัชญายุคคลาสสิก แต่เจ้าหน้าที่คริสตจักบางพวกกังวลว่าแนวคิดยุคคลาสสิกจำนวนมากจะไปขัดแย้งกับคำสอนของคริสตจักรเกี่ยวกับความเชื่อ ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 นักปราชญ์ชาวอิตาลีชื่อโทมัส อไควนัส (Thomas Aquinas - uh•KWY•nuhs) ได้โต้แย้งว่าปรัชญายุคคลาสสิกสามารถอยู่ด้วยกันได้กับความเชื่อทางศาสนาคริสต์ เขาบอกว่าความเชื่อและเหตุผลมาจากพระเจ้า อไควนัสได้รับการจดจำไว้ว่าเป็นนักปราชญ์ทางศาสนาที่ยิ่งใหญ่
คณะสงฆ์ทางศาสนาเป็นสถาบันทางการศึกษาที่สำคัญที่สุดของคริสตจักร คณะสงฆ์ทางศาสนาเป็นกลุ่มของคนที่อาศัยอยู่ตามกฎที่เฉพาะเจาะจงเพื่อระเบียบวินัยของพวกเขา คณะสงฆ์คือกลุ่มคนทางศาสนาที่แยกตัวออกมาจากสังคมเพื่อมุ่งเน้นการสวดมนต์และรับใช้พระเจ้า ผู้ชายที่เข้าร่วมคณะสงฆ์ เรียกว่าพระสงฆ์ พวกเขาอาศัยอยู่ในอาราม ผู้หญิงที่เข้าร่วมคณะสงฆ์ เรียกว่าแม่ชีและพวกเธออาศัยอยู่ในคอนแวนต์ (Convents – อารามของนางชี)

สงครามครูเสดเริ่มต้นขึ้น

          สงครามครูเสดเป็นการเดินทางของทหารจากยุโรปไปยังปาเลสไตน์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ (Holy Land) เยรูซาเล็มตั้งอยู่ในปาเลสไตน์ พื้นที่นี้เป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวคริสต์ ชาวมุสลิมและชาวยิวเหมือนกัน สงครามครูเสดมีผลกระทบระยะยาวต่อสภาพการเมืองและสังคมในยุโรป

สาเหตุของการเกิดสงครามครูเสด  ชาวคริสต์ในยุโรปเริ่มต้นสงครามครูเสดด้วยเหตุผลหลายประการ ราชวงศ์เซลจุคเติร์ก (Seljuk Turks) เข้าปกครองปาเลสไตน์ในคริสต์ศักราช 1071 ซึ่งแตกต่างจากผู้ปกครองก่อนหน้านี้ของกรุงเยรูซาเล็ม ราชวงศ์เซลจุคเดินทางแสวงบุญไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์เกือบจะไม่สำเร็จ
นอกจากนี้เจ้าชายและพ่อค้าชาวยุโรปแต่ละพวกมองเห็นประโยชน์จากสงครามเหล่านี้ เจ้าชายใช้ความสำเร็จในการทำสงครามเพื่อเป็นวิธีที่จะได้มาซึ่งอำนาจ เหล่าพ่อค้าเต็มใจที่จะลงทุนสำหรับสงครามครูเสดเพราะพวกเขาอาจจะเข้าถึงเส้นทางการค้ามากมายที่เชื่อมต่อกับเอเชียไปทางทิศตะวันออก
ในที่สุด กองกำลังเซลจุคก็เข้าโจมตีจักรวรรดิไบเซนไทน์ ทำให้จักรพรรดิแห่งไบเซนไทน์ขอความช่วยเหลือจากสมเด็จพระสันตะปาปา ประมาณคริสต์ศักราช 1095  สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 ออกมาโต้ตอบ และประมาณคริสต์ศักราช 1096 สงครามครูเสดครั้งที่ 1 ก็เริ่มขึ้น

สงครามครูเสดครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2  ในคริสต์ศักราช 1096 กองทัพยุโรปเป็นอันมาก เริ่มออกเดินทางไปยังกรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงแห่งจักรวรดิไบเซนไทน์  จากนั้นพวกเขาก็วางแผนโจมตีปาเลสไตน์  ทหารหลายหมื่นคนเสียชีวิตในระหว่างทาง กองทัพทหารขนาดใหญ่ยังคงเตรียมพร้อมที่จะโจมตีปาเลสไตน์  กองทัพชาวคริสต์ยึดเมืองไนซีอาและแอนติออกได้ และในคริสต์ศักราช 1099 พวกเขาก็ยึดกรุงเยรูซาเล็มได้ พวกเขาแบ่งดินแดนที่พิชิตได้ออกเป็นรัฐนักรบครูเสด (Crusader State) 4 รัฐ คือ เอเดสสา แอนติออ ตริโปลี และเยรูซาเล็ม
สงครามครูเสดครั้งที่สอง (คริสต์ศักราช 1147-1149) เริ่มขึ้นหลังจากที่ชาวเติร์กมุสลิมได้ยึดเอารัฐนักรบครูเสด คือ เอเดสสาในคริสต์ศักราช 1144   กองทัพยุโรปอ่อนแรงจากการเดินทางที่ยากลำบากไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ เป็นผลให้กองกำลังมุสลิมพิชิตนักรบครูเสดที่ดามัสกัส ชาวคริสต์รักษารัฐนักรบครูเสดอื่น ๆ เอาไว้ได้ พวกเขารอดชีวิตมาได้ในส่วนหนึ่งเป็นเพราะความขัดแย้งอย่างต่อเนื่องในหมู่ผู้นำของชาวมุสลิม
นักรบครูเสด
ภาพนี้วาดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12  นักรบครูเสดแล่นเรือผ่านช่องแคบบอสฟอรัส
ผ่านกรุงคอนสแตนติโนเปิล (กรุงอิสตันบูล ประเทศเตอรกีในปัจจุบัน)

ชาวมุสลิมชนะและพ่ายแพ้

           ความขัดแย้งของชาวมุสลิมสิ้นสุดลงในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 ความเป็นเอกภาพนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการอุบัติขึ้นของซาลาห์อัลดินหรือศอลาฮุดดิน (Salah-al-din) ซึ่งเป็นผู้นำทางการเมืองและการทหารของชาวมุสลิม

ซาลาดินหรือศอลาฮุดดิน (Saladin) กับสงครามครูเสดครั้งที่ 3  ซาลาห์อัลดินเป็นที่รู้จักของชาวยุโรปว่า ซาลาดิน (Saladin - SAL•uh•dihn) กว่าหนึ่งปีที่ซาลาดินเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในฐานะผู้นำของชาวมุสลิม ครั้งแรกในอียิปต์และต่อมาในซีเรีย  เขากลายเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นผู้นำอัจฉริยะ ขรึม หนักแน่น และดุดัน แต่ใจกว้างและมีน้ำใจอีกด้วย
ในคริสต์ศักราช 1187 ซาลาดินได้รวบรวมทัพใหญ่โจมตีรัฐนักรบครูเสด กองกำลังของซาลาดินได้รับชัยชนะเป็นอันมากและยึดกรุงเยรูซาเล็มคืนมาได้ ใช้เวลาไม่นานัก ข่าวแห่งชัยชนะของซาลาดินก็แพร่ไปถึงยุโรป
หลังจากการล่มสลายของกรุงเยรูซาเล็ม สมเด็จพระสันตะปาปาต้องการจะให้เกิดสงครามครูเสดอีกครั้ง  ผู้นำที่ทรงอิทธิพลที่สุดของยุโรปบางพวกได้ทำสงครามครูเสดครั้งที่สามต่อไป (คริสต์ศักราช 1189-1192) ในหมู่ผู้นำที่ทรงอิทธิพลเหล่านั้น พระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์แห่งอังกฤษ (King Richard the Lionhearted)  พระเจ้าริชาร์ดกลายเป็นผู้นำนักรบครูเสด เพราะความกล้าหาญ ทักษะและในการสู้รบของพระองค์ นักรบครูเสดประสบความสำเร็จในตอนแรก แต่พวกเขาไม่บรรลุเป้าหมายหลักในการยึดกรุงเยรูซาเล็ม ในคริสต์ศักราช 1192 ซาลาดินและพระเจ้าริชาร์ดได้ตกลงกันเพื่อพักรบ เยรูซาเล็มจะยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของชาวมุสลิม แต่ในทางกลับกัน ซาลาดินตกลงอนุญาตให้ชาวคริสต์ผู้แสวงบุญเดินทางมาเยี่ยมชมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของเมืองได้
แผนที่สงครามครูเสด
แผนที่สงครามครูเสด  ค.ศ. 1096 - 1204
สงครามครูเสด ครั้งที่ 4  การสู้รบไม่ได้ยืดเยื้อและยุโรปได้ประกาศสงครามครูเสด ครั้งที่ 4 (คริสต์ศักราช 1202-1204) เพื่อจ่ายเงินให้กับพ่อค้าชาวอิตาลีที่ลำเลียงพวกเขาไป นักรบครูเสดชาวแซกซันได้ตกลงกันที่จะโจมตีเมืองซารา (Zara) แห่งจักรวรรดิไบเซนไทน์ ครั้นแล้ว พวกนักรบแซกซันก็ขับไล่คอนสแตนติห็เป็นพันธมิตรทางการเมืองในความดูแลของจักรวรรดิไบเซนไทน์ สมเด็จพระสันตะปาปาโกรธพวกนักบที่โจมตีเมืองที่นับถือศาสนาคริสต์ แต่พระองค์ก็ไม่สามารถหยุดพวกเขาได้ การโจมตีทำให้จักรวรรดิไบเซนไทน์อ่อนแอเป็นอันมาก

ผลกระทบจากสงครามครูเสด  การติดต่อกับวัฒนธรรมจากเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกของยุโรปได้วิวัฒนาการขึ้นในช่วงสงครามครูเสด พวกนักรบแซกซันได้นำสินค้าของชาวเอเชียกลับไป ส่งผลให้การค้าเจริญเติบโตขึ้น  สินค้าเหล่านี้ มีเครื่องเทศ ขนสัตว์ ผ้า อ้อย ข้าวและผลไม้ต่าง ๆ การค้าขายที่เจริญเติบโตขึ้นข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้ช่วยเมืองหลายเมืองของยุโรปพัฒนาขึ้นและสร้างบทบาทของพ่อค้าในเมืองให้สำคัญมากขึ้น
สิ่งที่หลงเหลือจากสงครามครูเสดอีกประการหนึ่งคือการที่ชาวคริสต์เป็นปรปักษ์ต่อชาวยิวมากขึ้น ชาวคริสต์มองเห็นผู้ที่ไม่ใช่ชาวคริสต์ทั้งหมดเป็นศัตรูของพวกเขามากขึ้น ๆ  บนทางไปยังปาเลสไตน์ของพวกเขา พวกนักรบแซกซันบางพวกได้สังหารหมู่ชาวยิวในยุโรป การฆ่ายังคงดำเนินอยู่ในปาเลสไตน์ หลังจากสิ้นสุดสงครามครูเสด ชาวยิวถูกขับออกจากประเทศอังกฤษในคริสต์ศักราช 1290 และจากฝรั่งเศสในคริสต์ศักราช 1306 และอีกครั้งในคริสต์ศักราช 1394 พวกยิวเหล่านี้เป็นจำนวนมากได้อพยพไปยังยุโรปตะวันออก
อย่างก็ตาม ชาวมุสลิมก็อนุญาตให้ชาวยิวและชาวคริสต์อาศัยด้วยความสงบในหลายกรณีเป็นส่วนใหญ่ นักรบแซกซันจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในปาเลสไตน์ก็ให้ควมเคารพชาวมุสลิม แต่การขาดความอดทนของชาวคริสต์ที่มีต่อชาวยิวยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
แผนที่เรกองกิสตา
แผนที่เรกองกิสตา ค.ศ. 1000 - 1492
เรกองกิสตา (The Reconquista) ผู้นำมุสลิมได้ขับไล่นักรบแซ็กซันออกจากปาเลสไตน์ แต่ในสเปนเกิดขึ้นตรงกันข้าม ที่นี่เป็นกองทัพชาวคริสต์ที่ขับไล่เหล่าผู้ปกครองชาวมุสลิมออกไป เหตุการณ์นี้เป็นที่รู้จักกันในภาษาสเปน ว่า รีกองกิสตา (reh•kawn•KEES• tah)
ชาวมุสลิมพิชิตคาบสมุทรไอบีเรีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศสเปนและโปรตุเกสในปัจจุบัน ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 อย่างไรก็ตาม ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 10 ความสามัคคีของชาวมุสลิมบนคาบสมุทรพังพินาศลง อาณาจักรสเปนและโปรตุเกสจึงลุกขึ้นพิชิตกองกำลังมุสลิม ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 กษัตริย์เฟอร์ดินานด์และพระราชินีอิซาเบลลา (King Ferdinand and Queen Isabella) ได้รวบรวมสเปนปึกแผ่นด้วยอำนาจทางทหารและทางศาสนา กองทัพของทั้งสองพระองค์ได้ยึดเมืองได้หลายเมืองและเจ้าหน้าที่ของคริสตจักรของพระองค์ได้ใช้ศาลลงโทษคนไม่เห็นด้วยกับคำสอนของคริสตจักร ศาลนี้ ได้ถูกนำมาใช้ทั่วทวีปยุโรป เรียกว่า ศาลไต่สวนศรัทธา (Inquisition) ศาลไต่สวนศรัทธา ได้สืบสวนทรมานและประหารชีวิตชาวยิวและชาวมุสลิมเป็นจำนวนมากในสเปนและโปรตุเกส ในคริสต์ศักราช 1492 กษัตริย์เฟอร์ดินานด์และราชินีอิซาเบลลา ได้ทำเรกองกิสตาจนเสร็จสมบูรณ์ด้วยการบังคับให้ผู้ปกครองชาวมุสลิมพวกสุดท้ายและพรรคพวกของพวกเขาให้ออกไป ชาวยิวเป็นจำนวนมากก็ถูกบังคับให้ออกไปเช่นกัน
อาลัมบรา
พระราชวังที่สร้างเป็นป้อมปราการ มองข้ามจากเมืองกรานาดาในสเปน
เมืองอาลัมบรา เป็นที่ประทับสำหรับผู้ปกครองมุสลิมองค์สุดท้ายในสเปน

โรคระบาดกับสงครามร้อยปี

โรคระบาด

          ก่อนสิ้นศตวรรษ โรคระบาดได้ฆ่าผู้คนในยุโรป แอฟริกาเหนือ และเอเชียตะวันตกหลายสิบล้านคน ในยุโรป ประชากรทั้งหมดประมาณหนึ่งในสามได้เสียชีวิต
การระบาดของโรค  โรคระบาดที่โจมตีทวีปยูเรเซีย (คือทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย) ตะวันตก ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 คือ กาฬโรค ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของมัน จะมีอาการหนาวสั่น ไข้ ชักและอาเจียนอย่างรุนแรง ผู้ประสบภัยยังมีจุดด่างดำเกิดขึ้นบนผิวหนังและมีต่อมปูดขึ้น  ผู้คนที่เป็นโรคกาฬโรคมักจะตายภายในไม่กี่วัน โรคระบาดในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ยังเป็นที่รู้จักกันว่า Black Death
โรคระบาด
โรคระบาด เป็นโรคชนิดหนึ่งมีจุดดำบนผิวหนัง ภาพวาดนี้ วาดขึ้นในยุคเกิดโรคระบาด
--------------------------------

การแพร่กระจายของโรคระบาด

แผนที่การแพร่กระจายของโรคระบาด
แผนที่การแพร่กระจายของโรคระบาด
          นักวิชาการเชื่อว่าโรคระบาดแพร่กระจายจากเอเชียกลาง โดยแพร่กระจายมาทางบกไปตามเส้นทางการค้าจากเอเชียไปยังยุโรป นอกจากนี้ยังแพร่กระจายตามเส้นทางทะเล ในเดือนตุลาคม คริสต์ศักราช 1347 เรือค้าขายได้นำโรคไปยังอิตาลี ครั้นแล้ว โรคระบาดไปทางเหนืออย่างรวดเร็ว ในฤดูใบไม้ผลิต่อมา โรคระบาดได้แพร่กระจายไปยังฝรั่งเศสและเยอรมนี และไปไกลถึงตอนเหนือของอังกฤษ
1. โรคระบาดอาจจะแพร่กระจายจากเอเชียกลาง แต่ไม่สามารถจะทราบได้อย่างชัดเจน
2. หนูเป็นพาหะนำหมัดที่ติดเชื้อเดินทางพร้อมกับพ่อค้าตามเส้นทางการค้า
3.  พ่อค้าชาวอิตาลีนำโรคระบาดไปยังยุโรปโดยไม่รู้ตัว
----------------------------
ผลกระทบจากโรคระบาด  การสูญเสียครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากโรคระบาดมีผลกระทบสำคัญต่อเอเชีย แอฟริกาเหนือและยุโรป ชาวคริสต์และชาวมุสลิมมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อโรคระบาดที่แตกต่างกัน  ชาวคริสต์มักจะมองโรคระบาดเป็นการลงโทษบาป โดยการเปรียบเทียบกัน ชาวมุสลิมมองโรคระบาดเป็นการทดสอบความศรัทธาของตนในพระเจ้า โรคระบาดได้ฆ่าผู้คน 20 ถึง 30 ล้านคน โดยไม่คำนึงถึงศรัทธาของพวกเขา ประมาณคริสต์ศักราช 1400
ในช่วงเวลาสั้น ๆ สงครามได้หยุดลงและการค้าปรับตัวลดลง เจ้าของที่ดินบางพวกเกิดความวิบัติย่อยยับเพราะการขาดแคลนแรงงาน อย่างไรก็ตาม ข้อนี้เป็นผลให้มีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสำหรับบางคนตามมา ตัวอย่างเช่น แรงงานยุโรปหายากมากจนกระทั่งผู้ที่สามารถจะทำงานได้จะเรียกร้องค่าใช้จ่ายสูงขึ้นสำหรับแรงงานของพวกเขา การขาดแคลนแรงงานและค่าจ้างสูงขึ้นทำให้ระบบศักดินาอ่อนแอลง เพราะคนงานเริ่มที่จะย้ายไปค้นหาค่าจ้างที่สูงกว่า
ในยุโรป ความเป็นปรปักษ์ต่อชาวยิวที่ขยายขึ้นในช่วงสงครามครูเสด ก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่เกิดกาฬโรค ชาวยิวมักจะถูกกล่าวหาว่าก่อให้เกิดโรคระบาดด้วยการวางยาพิษบ่อน้ำ พวกเขาถูกขับไล่ออกจากเมืองหลายเมืองในเยอรมันในช่วงที่เกิดโรคระบาด

สงครามร้อยปี
ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 อังกฤษและฝรั่งเศสไม่เพียงเผชิญกับโรคระบาดเท่านั้น แต่ยังเผชิญกับสงครามบ่อย ๆ เช่นกัน ระหว่างคริสต์ศักราช 1337 และ 1453  อังกฤษและฝรั่งเศสต่อสู้กันในสงครามร้อยปี (Hundred Years’ War) จริง ๆ แล้วสงครามเกิดเป็นช่วง ๆ ไม่ใช่ต่อสู้ครั้งเดียวอย่างต่อเนื่อง

เบื้องหลังสงคราม  ดยุควิลเลียมแห่งนอร์มังดี (Normandy) จากภูมิภาคนอร์แมนของฝรั่งเศส อ้างว่าเป็นพระมหากษัตริย์โดยชอบธรรมของอังกฤษ ในคริสต์ศักราช 1066 ดยุควิลเลียมได้ยึดอังกฤษในสิ่งที่เรียกว่าการรุกรานของนอร์แมน พระองค์เป็นที่รู้จักกันว่า วิลเลียมผู้พิชิต และได้เชื่อมสัมพันธ์ขุนนางของฝรั่งเศสกับขุนนางของอังกฤษ ผ่านมาเป็นปี ความตึงเครียดได้เข้าครอบงำผู้ที่มีสิทธิในการปกครองภูมิภาคแต่ละภูมิภาค

หลายปีแห่งการทำสงคราม  ความตึงเครียดเหล่านั้นทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13  อังกฤษอ้างกรรมสิทธิ์ดินแดนในตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ฝรั่งเศสก็สนับสนุนสกอตแลนด์ให้ต่อสู้กับอังกฤษ นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายเกี่ยวกับสิทธิในการเดินทางทางทะเลในช่องแคบอังกฤษ การต่อสู้เริ่มขึ้นเมื่อกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสพยายามที่จะยึดดินแดนทางตอนใต้ของฝรั่งเศสที่อังกฤษอ้างว่าเป็นกรรมสิทธิ์ กษัตริย์อังกฤษตอบโต้ด้วยการอ้างว่าเขาเป็นราชาแห่งฝรั่งเศสโดยชอบธรรม ในคริสต์ศักราช 1337  อังกฤษจึงโจมตีฝรั่งเศส
ในช่วงแรก อังกฤษมีชัยชนะหลายครั้ง  ในคริสต์ศักราช 1428 อังกฤษได้โจมตีเมืองออร์เลอ็อง (Orléans) ซึ่งเป็นหนึ่งในฐานที่มั่นสำคัญของฝรั่งเศสแห่งสุดท้าย เด็กหญิงชาวนาฝรั่งเศสคนหนึ่ง ซึ่งรู้จักกันในนาม โยนออฟอาร์ (Joan of Arc – วีรสตรีเหล็กหัวใจทมิฬ) ได้นำฝรั่งเศสไปสู่ชัยชนะ ประมาณคริสต์ศักราช 1453 ฝรั่งเศสได้ขับไล่อังกฤษออกจากฝรั่งเศสและยุติสงคราม
----------------------------------

โยนออฟอาร์ก หรือ ฌาน ดาร์ก

(Joan fo Arc or Jeanne d'Arc)  

(มีชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1412 – 1431)

โยน ออฟ อาร์ก
ภาพวาดโยนออฟอาร์ก
           โยนออฟอาร์กเกิดเป็นชาวนาในดงเรมี (Domrémy) ฝรั่งเศส ประมาณคริสต์ศักราช 1412 เธอเป็นคาทอลิกที่มีศรัทธาแน่วแน่ เมื่ออายุ 13 ปี เธอเชื่อว่าวิสัยทัศน์ทางศาสนากระตุ้นให้เธอต่อสู้อังกฤษในช่วงสงครามร้อยปี ในคริสต์ศักราช 1429 เธอได้โน้มน้าวใจพระเจ้าชาร์ลส์ ทายาทบัลลังก์แห่งฝรั่งเศส ว่าวิสัยทัศน์ของเธอเป็นของพระเจ้า พระเจ้าชาร์ลส์ได้สร้างให้เธอเป็นอัศวิน ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1429 โยนได้นำฝรั่งเศสไปสู่ชัยชนะในการสู้รบกับอังกฤษที่ออร์เลอ็อง
หนึ่งปีต่อมา โยนก็ถูกจับโดยพันธมิตรของอังกฤษ เธอถูกประหารชีวิตในที่สุด ใน ค.ศ. 1431 เธอกลายเป็นวีรสตรีระดับชาติในฝรั่งเศสและได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยคริสตจักรคาทอลิกในปี ค.ศ. 1920
----------------------------------
อาวุธชนิดใหม่  อาวุธชนิดใหม่ได้เปลี่ยนแปลงสงครามในทวีปยุโรปและทั่วโลก คันธนูขนาดใหญ่ได้ยิงลูกธนูที่มีพลังมากพอที่จะเจาะเสื้อเกราะของอัศวิน  ยุโรปยังใช้ประโยชน์จากอาวุธดินปืนชนิดใหม่ เทคโนโลยีดินปืนมาจากประเทศจีน แต่ยุโรปได้พัฒนาเทคโนโลยีให้เป็นเครื่องมือที่สำคัญของสงคราม ยกตัวอย่างเช่น ปืนไฟขนาดใหญ่สามารถทำลายกำแพงปราสาทลงได้และวิ่งผ่านเกราะของอัศวินได้ อาวุธชนิดใหม่เหล่านี้สามารถเอาชนะอัศวินได้อย่างง่ายดาย กว่า 300 ปีถัดมา ธรรมชาติของสงครามได้เปลี่ยนไปเป็นอย่างมาก

ยุโรปสมัยใหม่ตอนต้นปรากฏตัวขึ้น

ป็นเวลาหลายศตวรรษ  สังคมยุโรปเป็นอันมากดำเนินตามโครงสร้างระบบศักดินา อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป ระบบศักดินาของยุโรปได้ล่มสลายลงและส่งสัญญาณการสิ้นสุดของยุคกลาง

โครงสร้างทางสังคมและการเมือง  การค้าขายของยุโรปได้ขยายตัวตลอดยุคกลาง  จำนวนและขนาดของเมืองได้ขยายตัวไปด้วย ในขณะที่ผู้คนก็อพยพออกมาจากชนบทเพื่อจะแสวงหาโชคลาภของพวกเขา นี้เป็นความจริงแม้ว่าประชากรยุโรปโดยรวมจะใช้เวลาหลายปีในการฟื้นตัวจากโรคระบาด สงครามร้อยปี และสงครามอื่น ๆ
หลายเมืองต้องการความมั่นคงในการทำธุรกิจและการค้าให้น่าเชื่อถือมากขึ้น พ่อค้าผู้มั่งคั่งได้เพิ่มอำนาจทางการเมืองท้องถิ่นของตนขึ้นเรื่อย ๆ พระมหากษัตริย์ของยุโรปยังสนพระทัยพ่อค้าผู้ร่ำรวย นายธนาคารและพ่อค้า ในฐานะเป็นแหล่งที่มาของเงินสดที่เข้มแข็งที่สุดของพวกเขาผ่านการเก็บภาษีและเงินกู้ยืม  พระมหากษัตริย์ที่ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีได้บังคับใช้กฎหมายและความสงบเรียบร้อย โดยการจัดการความมั่นคงให้กับเมืองหลายเมือง เป็นผลให้เมืองหลายเมืองกลายเป็นศูนย์กลางการสนับสนุนกษัตริย์และในทางกลับกันกษัตริย์ก็ขยายอำนาจของตน
กษัตริย์มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นหลังจากสงครามร้อยปี  ยกตัวอย่างเช่น สถาบันพระมหากษัตริย์ของฝรั่งเศสไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการเรียกร้องสิทธิของอังกฤษในราชบัลลังก์ของพวกเขา พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (ค.ศ. 1643-1715) ของฝรั่งเศสกลายเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจของพระมหากษัตริย์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  คือ พระมหากษัตริย์หรือพระราชินีที่มีอำนาจไม่จำกัดและควบคุมทุกแง่มุมของสังคม ด้วยความช่วยเหลือจากองคมนตรีที่มีฝีมือ พระเจ้าหลุยส์จะได้ทำให้ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีอำนาจมากที่สุดในยุโรป
ตลาดสมัยยุคกลาง
ภาพวาดนี้ คือ ร้านค้าในหมู่บ้านในประเทศฝรั่งเสศส แสดงถึงการดำเนินธุรกิจประจำวัน
ภาพนี้วาดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14
แนวความคิดใหม่ ๆ  สำหรับความคิดเห็นของนักประวัติศาสตร์เป็นจำนวนมาก จุดสิ้นสุดของยุคกลางเริ่มต้นขึ้นด้วยการพัฒนาของประเทศขนาดใหญ่ที่มีรัฐบาลกลางทรงประสิทธิภาพบริหารราชการโดยพระมหากษัตริย์ ในขณะที่ยุคกลางมาถึงจุดจบ นักวิชาการก็ยังศึกษาตำราคลาสสิกอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นด้วยนักวิชาการผู้ชาย เช่นโทมัส อไควนัส (Thomas Aquinas)  ความคิดใหม่ ๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ และศิลปะ ได้พัฒนาในเมืองหลายเมืองของอิตาลี ความคิดใหม่ ๆ ได้แพร่กระจายไปตามเส้นทางการค้าขายในยุโรป ยุคใหม่นี้ เรียกว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance)
สงครามร้อยปี
ภาพวาดสงครามร้อยปี  วาดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14
ในภาพมีการใช้ปื่นใหญ่และคันธนูขนาดใหญ่

จุดเริ่มต้นของการปกครองสมัยใหม่

การปกครองของอังกฤษ

ในยุคกลาง อำนาจตามกฎหมายในประเทศอังกฤษเริ่มค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงจากระบบพระมหากษัตริย์ แนวความคิดที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นรากฐานของการปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมายสมัยใหม่เป็นจำนวนมาก
ตราประจำตระกูลของพระเจ้าจอห์น
นี้เป็นตราประจำตระกูลของพระเจ้าจอห์นก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์
ตราประจำตระกูลเป็นชุดของสัญลักษณ์บ่งบอกตระกูลและปัจเจกบุคคล
กฎหมายจารีตประเพณี (Common Law)  พระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 (King Henry II - ค.ศ. 1154-1189) ได้นำความมั่นคงไปสู่ระบบกฎหมายของอังกฤษ โดยการส่งผู้พิพากษาในราชสำนักไปยังทุกส่วนของประเทศ ก่อนหน้านี้กฎหมายก็ขึ้นอยู่กับประเพณีท้องถิ่นและศาลชี้ขาดสมัยก่อน กฎหมายนี้ถูกเรียกว่า กฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) นั่นหมายความว่า การตัดสินในส่วนหนึ่งของอังกฤษอาจจะแตกต่างจากส่วนอื่น ๆ  อย่างไรก็ตาม การตัดสินของผู้พิพากษาในราชสำนักแบบใหม่ ตั้งใจที่จะนำไปใช้กับทุกส่วนของประเทศอังกฤษ กฎมณเฑียรบาลมีแนวโน้มว่าจะทำให้ประชาชนทั่วอังกฤษได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคกันมากขึ้น

ศาลอิสระ 

(Independent Courts – หาคำแปลไม่พบ ผู้รู้โปรดแนะนำ)

          ผู้พิพากษาในราชสำนักมุ่งที่จะเป็นอิสระจากการเมืองท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ได้เป็นอิสระจากรัฐบาลพระราช ศาลยุคกลางของอังกฤษแตกต่างจากศาลในปัจจุบันนี้มาก ตัวอย่างเช่น ศาลของสหรัฐมีความเป็นอิสระจากส่วนอื่น ๆ ทุกส่วนของรัฐบาล นี้เรียกว่าตุลาการอิสระ
พระเจ้าจอห์น
ในภาพนี้ พระเจ้าจอหน์กำลังลงนามในมหากฎบัตร เมื่อประมาณ 800 ปีที่ผ่านมา
เอกสารนี้ยังคงมีอิทธิพลต่อการปกครองในปัจจุบันนี้
มหากฎบัตร (Magna Carta) ในคริสต์ศักราช 1199 บุตรคนสุดท้องในบรรดาบุตรทั้งหลายของพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ชื่อ จอห์น ได้ขึ้นครองอำนาจ พระเจ้าจอห์นได้สู้รบและพ่ายแพ้สงครามเป็นอันมาก สงครามให้อังกฤษอ่อนแอทางการเงิน บารอน (barons) หลายท่าน ซึ่งเป็นสมาชิกของขุนนางอังกฤษไม่เห็นด้วยกับนโยบายของพระเจ้าจอห์น พวกเขาจึงบอกพระเจ้าจอห์นให้ตระหนักถึงสิทธิของพวกเขา พวกเขาแสดงสิทธิดังกล่าวในเอกสารที่เรียกว่า มหากฎบัตร และบังคับให้พระเจ้าจอห์นลงนามในคริสต์ศักราช 1215
มหากฎบัตรรับประกันการคุ้มครองกฎหมายและการพิจารณาคดีโดยคณะลูกขุน ยังรับประกันว่ากษัตริย์ไม่สามารถเก็บเงินจากขุนนางโดยการอนุมัติของพวกเขา อย่างไรก็ตาม คนธรรมดาสามัญชาวอังกฤษไม่ได้รับประโยชน์จากมหากฎบัตรโดยทันที อย่างไรก็ตาม มหากฎบัตรก็เป็นตัวอย่างสำหรับการพัฒนาประชาธิปไตยในระยะต่อมาในอังกฤษและทั่วโลก
หมายเหตุ: มหากฎบัตร (ดูภาพ) ได้ถูกร่างขึ้นครั้งแรกในคริสต์ศักราช 1215 แนวความคิดบางอย่างสามารถหาดูได้จากรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อ 575 มาแล้ว

สถาบันที่เป็นแบบฉบับ

          นักประวัติศาสตร์บางคนเห็นว่าการปฏิบัติทางการเมืองของอังกฤษในยุคกลางเป็นรากฐานของการปกครองแบบตัวแทนสมัยใหม่ แต่การเกิดขึ้นของอำนาจของรัฐสภาล่าช้าและได้มาด้วยความยากลำบาก

สภาสำหรับการปกครองแบบใหม่ ขั้นตอนที่สำคัญเกี่ยวกับการปกครองแบบตัวแทนเกิดขึ้นในคริสต์ศักราช 1264 ขุนนางอังกฤษได้ถอดถอนพระเจ้าเฮนรี่ที่ 3 จากบัลลังก์หลังจากที่พระองค์เลิกสัญญากับพวกเขา พวกเขาให้กลุ่มผู้แทนซึ่งต่อมาเรียกว่ารัฐสภาปฏิบัติหน้าที่แทนพระองค์ รัฐสภาประกอบด้วยขุนนาง เจ้าหน้าที่คริสตจักรระดับสูงและผู้แทนจากเมืองใหญ่และเมืองเล็ก
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 (Edward I) บุตรชายของพระเจ้าเฮนรีได้ยึดบัลลังก์คืนในคริสต์ศักราช 1265 แต่พระองค์ก็ไม่ได้กำจัดรัฐสภาเพราะพระองค์ต้องการการสนับสนุนทางการเมือง ในคริสต์ศักราช 1295 รัฐสภาเป็นที่ประชาชนมาชุมนุกันซึ่งเป็นการยอมรับกันอย่างกว้างขวางเป็นครั้งแรกว่าเป็นรัฐสภาแบบตัวแทนอย่างแท้จริง เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นรัฐสภาที่เป็นแบบอย่าง ผู้แทนจากทุกมณฑล ตำบลและเมืองมาชุมนุมกัน พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดได้เรียกหารัฐสภาตลอดรัชสมัยของพระองค์ อย่างไรก็ตาม แม้ในตอนท้ายของการครองราชย์ของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดในคริสต์ศักราช 1307 อำนาจของรัฐสภาก็ยังคงไม่ชัดเจนโดยสิ้นเชิง
รัฐสภาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1
หนังสือหน้านี้จากต้นฉบับในคริสต์ศตวรรษที่ 14
ในภาพ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 กำลังกำกับดูแลรัฐสภาพแบบใหม่ของพระองค์
อำนาจของรัฐสภา  รัฐสภาก่อรูปขึ้นเป็นสองสภาหรือฝ่ายในการปกครองประเทศ คือ สภาสามัญชน (House of Commons) และสภาขุนนาง (House of Lords) ในที่สุด รัฐสภาก็จะควบคุมการเก็บภาษี ผลที่ตามมามันจะจำกัดอำนาจของระบอบพระมหากษัตริย์ของอังกฤษ ในที่สุด รัฐสภายังสามารถแนะนำและผ่านกฎหมาย พระมหากษัตริย์ไม่สามารถประกาศใช้กฎหมายใหม่ได้โดยปราศจากการอนุมัติของรัฐสภา
อำนาจของรัฐสภาค่อย ๆ เจริญขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้นใช้เวลานานหลายศตวรรษในการพัฒนา แม้ศึกสงครามก็ต่อสู้เพื่อคำถามของผู้มีอำนาจของรัฐสภา แต่การปฏิบัติทางกฎหมายและตามรัฐธรรมนูญของอังกฤษยุคกลางจะเป็นแนวทางให้กับนักคิดทางการเมืองในภายหลัง

การก่อกำเนิดของความคิดแบบประชาธิปไตยสมัยใหม่

          ตุลาการอิสระ สิทธิของประชาชนและรูปแบบของประชาธิปไตยของการปกครองไม่ได้อยู่ในยุคกลางของอังกฤษในขณะที่เรารู้จักอยู่ในทุกวันนี้ เช่น การพัฒนาของรัฐสภา การเจริญเติบโตของความคิดและสถาบันเหล่านี้จะต้องใช้เวลาหลายศตวรรษ ในระหว่างการพัฒนาระบบเหล่านี้ การปฏิบัติตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญของอังกฤษยุคกลางมักจะกลายเป็นแนวทางเสมอ ๆ

ตุลาการอิสระ  ตุลาการอิสระมีการพัฒนาการไปทั่วโลก ในหลายประเทศ ศาลมีอิสระจากสาขาอื่น ๆ ของการปกครองและสามารถตรวจสอบว่ามีความสมดุลของอำนาจ ตัวอย่างเช่น ศาลสามารถป้องกันรัฐบาลไม่ให้ผ่านกฎหมายที่ละเมิดสิทธิของประชาชน
      สิทธิตามกฎหมายอย่างหนึ่งอาจจะเริ่มต้นในอังกฤษยุคกลางคือหมายศาลที่เรียกตัวบุคคลให้มาปรากฏต่อหน้าผู้พิพากษาหรือศาล  (habeas corpus) สิทธิข้อนี้ป้องกันไม่ให้รัฐบาลสั่งจำคุกประชาชนโดยไม่มีสาเหตุ ทุกวันนี้ หมายศาลต้องมีตัวเจ้าหน้าที่แสดงหลักฐานทางกฎหมายเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้บุคคลถูกจำคุก
สิทธิซึ่งระบุไว้ในมหากฎบัตรมีผลกระทบขุนนางอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ ต่อมานักการเมืองได้ขยายการใช้งาน ตัวอย่างเช่น ขุนนางชั้นบารอนกล่าวว่าพระเจ้าจอห์นต้องปรึกษาพวกเขาเมื่อพระองค์ต้องการเงิน หลายศตวรรษต่อมารัฐสภาอังกฤษที่ถกเถียงกันว่าข้อนี้หมายความว่ากษัตริย์ไม่สามารถขอภาษีโดยไม่มีข้อตกลงของรัฐสภา
รัฐสภาอังกฤษ
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซษเบธที่ 2 (ประทับนั่งที่ด้านซ้ายของภาพ)
 ยังคงเป็นประธานในรัฐสภาอังกฤษ
การปกครองแบบผู้แทน รัฐบาลที่ได้รับการเลือกตั้งโดยประชาชนเพื่อเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของพวกเขาคือรัฐบาลแบบผู้แทน การปกครองแบบผู้แทนที่พยายามจะรวมสมาชิกทุกคนในสังคมคือการพัฒนาค่อนข้างไม่นานมานี้  แต่การปกครองเหล่านั้นเป็นส่วนขยายทางตรรกะของระบบรัฐสภา  รัฐสภาเกิดขึ้นเพราะสมาชิกบางพวกของสังคมเรียกร้องให้รัฐบาลพูดวิธีการที่จะดำเนินการ
การลงคะแนนเลือกตั้งของสุภาพสตรี
สตรีในอเมริกาหย่อนบัตรเลือกตั้งเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1920
สตรีได้รับสิทธินี้เมื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 19 ในปีเดียวกัน
วิธีหลักที่ประชาชนแสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาลของพวกเขาจะผ่านการลงคะแนนเสียง  การต่อสู้สำหรับสิทธิในการออกเสียงทั่วไปหรือการเข้าถึงการโหวตใช้มาหลายปีแล้ว คนอังกฤษส่วนใหญ่ไม่สามารถลงคะแนนให้กับสมาชิกรัฐสภาจนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 สำหรับผู้หญิง การเข้าถึงการลงคะแนนเสียงเป็นการยากอย่างยิ่ง ในสหรัฐอเมริกา ผู้หญิงไม่สามารถลงคะแนนเสียงได้จนกระทั่งคริสต์ศักราช 1920 และชาวอเมริกาเชื้อสายแอฟริกันหลายคนถูกกีดกันไม่ให้ออกเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพจนกระทั่งคริสต์ทศวรรษที่ 1960