ประวัติศาสตร์โลก

ประวัติศาสตร์โลก
World History

ประวัติศาสตร์โลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์โลกหรือประวัติศาสตร์มนุษยชาติเริ่มต้นที่ยุคหินเก่า ประวัติศาสตร์โลกไม่รวมประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่ไม่ใช่มนุษย์และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยา ยกเว้นตราบเท่าที่โลกธรรมชาตินั้นกระทบต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก ประวัติศาสตร์โลกประกอบด้วยการศึกษาทางโบราณคดีและหลักฐานลายลักษณ์อักษรตั้งแต่สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์โบราณที่มีบันทึกเริ่มต้นจากการประดิษฐ์การเขียน ทว่า รากเหง้าแห่งอารยธรรมมีมาแต่ก่อนการประดิษฐ์การเขียน สมัยก่อนประวัติศาสตร์เริ่มต้นในยุคหินเก่า ต่อด้วยยุคหินใหม่และการปฏิวัติเกษตรกรรม(ระหว่าง 8000 ถึง 5000 ปีก่อนคริสตกาล) ในวงพระจันทร์เสี้ยวไพบูลย์ (Fertile Crescent) การปฏิวัติเกษตรกรรมเป็นเครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมนุษย์เริ่มต้นทำการเกษตร คือ กสิกรรมและการเลี้ยงสัตว์อย่างเป็นระบบ เมื่อเกษตรกรรมก้าวหน้าขึ้น มนุษย์ส่วนมากเปลี่ยนจากวิถีชีวิตเร่ร่อนมาเป็นตั้งถิ่นฐานเป็นเกษตรกรในนิคมถาวร การเร่ร่อนยังมีอยู่ในบางที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลซึ่งมีพืชที่เพาะปลูกได้ไม่กี่ชนิด แต่ความมั่นคงสัมพัทธ์และผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นจากกสิกรรมทำให้ชุมชนมนุษย์ขยายเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่า ซึ่งความก้าวหน้าในการขนส่งก็มีส่วนช่วย

เมื่อกสิกรรมพัฒนา การเพาะปลูกธัญพืชมีความซับซ้อนขึ้นและทำให้มีการแบ่งงานกันทำเพื่อเก็บอาหารระหว่างฤดูเพาะปลูก จากนั้นการแบ่งงานทำให้เกิดชนชั้นสูงที่สุขสบายและพัฒนาการนคร สังคมมนุษย์ที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ระบบการเขียนและการบัญชีมีความจำเป็น หลายนครพัฒนาบนตลิ่งทะเลสาบและแม่น้ำ ตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เกิดนิคมโดดเด่นและมีการพัฒนาดียุคแรก ๆในเมโสโปเตเมีย ริมตลิ่งแม่น้ำไนล์แห่งอียิปต์ และหุบแม่น้ำสินธุ อาจมีอารยธรรมคล้ายกันพัฒนาขึ้นตามแม่น้ำสำคัญในจีน แต่หลักฐานทางโบราณคดีของการสร้างเมืองอย่างกว้างขวางในที่นั้นชัดแจ้งน้อยกว่า

ประวัติศาสตร์โลกเก่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน) โดยทั่วไปแบ่งเป็นยุคโบราณ ถึง ค.ศ. 476, สมัยกลาง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 15 ซึ่งรวมยุคทองของอิสลาม (ประมาณ ค.ศ. 750-1258) และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยายุโรปตอนต้น (เริ่มต้นประมาณ ค.ศ. 1300), ยุคใหม่ตอนต้น ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งรวมยุคเรืองปัญญา และยุคใหม่ตอนปลาย นับแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมถึงปัจจุบัน รวมทั้งประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ตะวันออกใกล้โบราณ กรีซโบราณและโรมโบราณมีความโดดเด่นในยุคโบราณ ในประวัติศาสตร์ยุโรปตะวันตก การเสียกรุงโรมมักยึดเป็นการสิ้นสุดของยุคโบราณและการเริ่มต้นของสมัยกลาง ขณะที่ยุโรปตะวันออกมีการเปลี่ยนผ่านจากจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งรุ่งเรืองต่อมาอีกเป็นเวลานาน กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 การประดิษฐ์การพิมพ์สมัยใหม่ของโยฮันน์ กูเทนแบร์ก ซึ่งใช้การสื่อสารแบบเคลื่อนที่ได้และเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง เป็นจุดสิ้นสุดของยุคกลางและนำไปสู่การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 การสะสมความรู้และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ได้ถึงจำนวนวิกฤต (critical mass) อันนำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม

ในส่วนอื่นของโลก เช่น ตะวันออกใกล้โบราณ จีนโบราณ และอินเดียโบราณ เส้นเวลาทางประวัติศาสตร์ได้คลี่ออกต่างกัน อย่างไรก็ดี จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากการค้าโลกที่ขยายตัวและการล่าอาณานิคม ทำให้ประวัติศาสตร์ของอารยธรรมโลกส่วนมากสานเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนา ในช่วงสองร้อยกว่าปีล่าสุด การเติบโตของความรู้ เทคโนโลยี การพาณิชย์ และศักยภาพการทำลายล้างของสงครามได้เร่งให้เกิดขึ้น ก่อให้เกิดโอกาสและอันตรายซึ่งปัจจุบันกำลังเผชิญชุมชนมนุษย์ที่อยู่อาศัยบนดาวเคราะห์ดวงนี้

แปลจากหนังสือ World History โดย...Mcdougal Littel
ผู้แปล...ทรงศักดิ์ สายหยุด

สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I)

สงครามโลกครั้งที่ 1
(World War I)
การเริ่มขึ้นของสงครามโลก
            ในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1914 (พ.ศ. 2457) เริ่มขึ้นในทวีปยุโรป หลายชาติจากทั่วโลกก็เข้าร่วมการสู้รบในทันที มีปัจจัยหลายอย่างที่นำไปสู่ความขัดแย้งของโลกในครั้งนี้ ซึ่งเรียกว่า สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I)

สาเหตุที่สำคัญ
            ประมาณศตวรรษที่ 1900 ลัทธิชาตินิยมได้สร้างการแข่งขันขึ้นในหลายประเทศของทวีปยุโรป ผู้คนกำลังมุ่งไปสู่สงครามเพื่อพิสูจน์ความยอดเยี่ยมของชาติตนเอง ในเวลาเดียวกันนั้น บางกลุ่มที่ต้องการก่อตั้งรัฐประชาชาติ (ปัจจุบันเรียก รัฐชาติ) ของตนเองขึ้นก็ยังถูกชาติอื่นปกครองอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ผู้คนในคาบสมุทรบอลข่านในทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ต้องการเป็นอิสระจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จึงเริ่มเคลื่อนไหวลัทธิชาตินิยมขึ้นซึ่งสร้างความตึงเครียดในคาบสมุทรบอลข่าน
ลัทธิจักรวรรดินิยมได้เพิ่มปัญหาให้กับทวีปยุโรป ชาติอุตสาหกรรมได้แข่งขันกันล่าอาณานิคมอย่างรุนแรง ประชาชนจำนวนมากมีความเชื่อว่า ถ้าประเทศของพวกเขามีจักรวรรดิ ก็จะมีอำนาจที่ยิ่งใหญ่ การแข่งขันเพื่อยึดครองดินแดนโพ้นทะเลได้นำไปสู่วิกฤตการณ์มากมายซึ่งจวนเจียนจะก่อให้เกิดสงคราม
ในต้นศตวรรษที่ 1900 ชาติยุโรปหลายชาติยังเริ่มสร้างกองทัพขนาดใหญ่อีกด้วย หลายชาติใช้เวลาสร้างอาวุธที่ทันสมัยอย่างหนัก หลายประเทศได้ใช้กองทัพทั้งแสดงความแข็งแกร่งและคุกคามศัตรู
ชาตินิยมเข้มข้นขึ้น การแข่งขันตึงเครียดขึ้น และกองทัพเจริญเติบโตขึ้น จึงทำให้ชาติยุโรปหลายชาติเกิดความกลัวซึ่งกันและกัน จึงเริ่มสร้างสัมพันธมิตรใหม่ ๆ ขึ้นเพื่อปกป้องตนเอง สมาชิกของสัมพันธมิตรเดียวกันได้ตกลงสัญญาจะปกป้องซึ่งกันและกันถ้าชาติใดถูกโจมตี

การจุดประกายสงคราม
            ใน ค.ศ. 1914 (พ.ศ. 2457) ทวีปยุโรปตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยงต่อการเกิดสงคราม ความตึงเครียดได้ระเบิดขึ้นระหว่างจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีกับเซอร์เบียเหนือบริเวณบางส่วนของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีซึ่งชาวเซิร์บมีความปรารถนาที่เลวร้าย ครั้นแล้ว ในวันที่ 28 มิถุนายน พวกชาตินิยมเซอร์เบียก็ได้ปลงพระชนม์อาร์ชดยุก ฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์ (Archduke Francis (or Franz) Ferdinand - ตำแหน่งเจ้าชายของออสเตรีย) ซึ่งเป็นรัชทายาทที่จะขึ้นครองบัลลังก์จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและชายาของพระองค์ ด้วยความพยายามในการแก้แค้น จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีก็ได้ประกาศสงครามกับเซอร์เบีย
ระบบสัมพันธมิตรได้แบ่งแยกทวีปยุโรปออกเป็นฝ่ายสงครามสองฝ่าย มหาอำนาจกลาง (Central Powers) นำโดยจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีกับเยอรมนี ฝ่ายสัมพันธมิตรที่ตรงข้าม คือ สหราชอาณาจักร (Great Britain) ฝรั่งเศส และรัสเซีย เมื่อเวลาผ่านไป ประเทศอื่น ๆ ที่อยู่ทั่วโลกก็เข้าร่วมในการสู้รบ

สนธิสัญญาแวร์ซาย (The Treaty of Versailles)
            ภายหลังสิ้นสุดสงคราม เหล่าผู้นำของสัมพันธมิตรได้ประชุมกันที่แวร์ซาย (Versailles) ใกล้กรุงปารีสเพื่อเจรจาสันติภาพ ประธานาธิบดีวูดโรว์  วินสัน (Woodrow Wilson) ของสหรัฐเสนอแผนการมุ่งหมายที่จะสนับสนุนประชาธิปไตยและป้องกันสงครามในอนาคต แนวความคิดของเขาข้อหนึ่งคือการสร้างสันนิบาตชาติ (the League of Nations) ได้แก่องค์การที่ประเทศทั้งหลายควรพยายามมาแก้ปัญหากันด้วยสันติภาพ


การลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันด์แห่งออสเตรียกับพระชายาเป็นชนวนให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1
วิลสันยังมีความเชื่อว่า ประชาชาติทั้งหลายควรจะปกครองตนเอง ด้วยการปฏิบัติตามแนวความคิดนี้ สัมพันธมิตรจึงทำให้แผนที่ของทวีปยุโรปเปลี่ยนแปลง โดยยึดดินแดนจากรัสเซียและเยอรมนีและทำลายจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและจักรวรรดิออตโตมัน  ประเทศใหม่ ๆ 7 ประเทศได้เกิดขึ้นจากดินแดนเหล่านี้ (เช่น เชโกสโลวาเกียและยูโกสลาเวียแยกออกจากรัสเซีย ออสเตรีย  ฮังการี  ถูกแยกออกจากกัน   โปแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย แยกเป็นประเทศใหม่)
สัมพันธมิตรยังบังคับให้เยอรมนียอมรับการประณามว่าเป็นผู้เริ่มก่อสงครามอีกด้วย เยอรมนีจึงต้องแบ่งขนาดของกองทัพ สละอาณานิคมและจ่ายเป็นค่าเสียหายการทำสงคราม
ประชาชนมากมายไม่ชอบสนธิสัญญาแวร์ซาย เยอรมนีคิดว่ามันรุนแรงเกินไป ไม่ใช่ประชาชาติทั้งหมดที่มีชาติของตนเอง บางประเทศไม่พอใจที่สูญเสียดินแดน ดังนั้น แทนที่จะนำไปสู่สันติภาพยั่งยืน สนธิสัญญาจะเป็นเวทีแห่งความขัดแย้งอันกว้างไกล

การปฏิวัติรัสเซีย (The Russian Revolution)
            ผลลัพธ์อีกประการหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 1 คือการปฏิวัติในประเทศรัสเซีย ปัญหาและความเจ็บปวดได้เกิดขึ้น ณ ที่นั้นมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ชาวนาและกรรมกรตกอยู่ในความยากจน ความขาดแคลนอาหารในภาวะสงครามและการสูญเสียชีวิตอย่างหนักทำให้ประชาชนหันไปต่อต้านรัฐบาลอย่างหนัก ในเดือนมีนาคม 1917 (พ.ศ. 2460) พระเจ้าซาร์  นิโคลัสที่ 2 (Czar Nicholas II) ผู้ปกครองรัสเซียถูกบังคับให้สละอำนาจ
รัฐบาลใหม่เข้าปกครอง แต่ไม่สามารถรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยได้ การก่อการกบฏจึงกระจายไปทั่วรัสเซีย ผู้สนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์ บอลเชวิก (Bolsheviks) จึงเกิดความเข้มแข็งขึ้น ลัทธิคอมมิวนิสต์คือระบบเศรษฐกิจและการเมืองซึ่งรัฐบาลเป็นเจ้าของธุรกิจทั้งหมดและควบคุมเศรษฐกิจ วลาดีมีร์  เลนิน (Vladimir Lenin) ผู้นำบอลเชวิก ได้สร้างกำลังใจให้กับกรรมกรและทหาร ในเดือนพฤศจิกายน 1917 (พ.ศ. 2460) บอลเชวิกได้ล้มล้างรัฐบาล และเลนินได้สร้างรัฐคอมมิวนิสต์ขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก คือ สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (the Union of Soviet Socialist Republics = USSR) หรือสหภาพโซเวียต (the Soviet Union)



สงครามโลกครั้งที่ 1
แผนที่สงครามโลกครั้งที่ 1


สงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามสนามเพลาะ
หมายเลข 1 สนามเพลาะขุดแบบซิกแซกเพื่อให้ศัตรูไม่สามารถยืนที่ปลายด้านหนึ่งได้และไม่สามารถยิงปืนลงตามแนวยาวของสนามได้
หมายเลข 2 สนามเพลาะแถวหนึ่งที่ด้านหลังใช้สำหรับส่งอาหาร อาวุธยุทธภัณฑ์ และจดหมายให้กับทหารที่อยู่แนวหน้า
หมายเลข 3 สนามเพลาะบางแห่งใช้เป็นที่ตั้งสำหรับปฐมพยาบาลซึ่งทหารที่ได้รับบาดเจ็บจะได้รับการดูแลก่อนที่โยกย้าย
หมายเลข 4 สนามเพลาะของเยอรมนีและของสัมพันธมิตรแยกออกจากกันด้วยแนวลวดหนาม สนามเพลาะบางแห่งเป็นแนวคอนกรีตเพื่อทนทานต่อการโจมตีด้วยปืนใหญ่
หมายเลข 5 เนื่องจากรถถังของทหารไม่เกิดความเสียหายจากปืนกลหรือปืนไรเฟิลได้ การใช้รถถังเป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้นการสิ้นสุดสงครามสนามเพลาะ
หมายเลข 6 กองทัพทหารขว้างระเบิดมือไปยังสนามเพลาะฝ่ายตรงข้ามและกองทัพทหารที่กำลังยกทัพมาเพื่อปกกันไม่ให้เดินรุดหน้าไปได้

อาวุธชนิดใหม่ที่เกิดในสงครามโลกครั้งที่ 1


สงครามโลกครั้งที่ 1



แก๊สพิษ
            ทหารจะสวมหน้าหน้ากากเหมือนภาพด้านซ้ายเพื่อป้องกันตัวจากแก๊สพิษ แก๊สนำเข้ามาใช้โดยประเทศเยอรมนีแต่ใช้ทั้งสองฝ่าย แก๊สบางชนิดทำให้ตาบอดหรือทำให้เกิดแผลพุพอง บางชนิดทำให้ตายเพราะสำลัก

ปืนกล
               ปืนกลซึ่งยิงกระสุนโดยอัตโนมัติได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ปืนตามภาพด้านซ้ายมือสามารถกวาดล้างคลื่นของผู้บุกรุกและทำให้กองกำลังบุกไปข้างหน้าได้ยากลำบาก

รถถัง
            รถถังตามภาพด้านซ้ายมือเป็นยานพาหนะต่อสู้หุ้มเกราะที่เคลื่อนไปบนสายพานลูกโซ่และด้วยเหตุนั้นจึงสามารถวิ่งข้ามภูมิประเทศชนิดต่าง ๆ มากมาย รถถังถูกนำมาใช้โดยอังกฤษในปี ค.ศ. 1916 (พ.ศ. 2459) ที่ยุทธการแม่น้ำซอม

เรือดำน้ำ
            ในปี ค.ศ. 1914 (พ.ศ. 2457) เยอรมนีได้นำเรือดำน้ำมาใช้เป็นเรือสงครามได้ผลเป็นอย่างดี อาวุธหลักของเรือดำน้ำที่ต่อสู้กับเรือคือตอร์ปิโด ซึ่งเป็นขีปนาวุธใต้น้ำ

การบินของทหาร
          สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้นำยุทธการทางอากาศยานมาใช้ และด้วยการกระทำเช่นนั้นจึงเป็นการเปิดตัวยุคแห่งความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ในด้านการบินทหาร แม้ว่าเครื่องบินเองเมื่อเปรียบกับอาวุธชนิดอื่นจะเป็นของใหม่และยังไม่ได้รับการทดสอบประมาณ ปี ค.ศ. 1914 (พ.ศ. 2457) ก็ตาม ประเทศที่ทำสงครามก็ตระหนักถึงศักยภาพอย่างรวดเร็วว่าเป็นอาวุธอันทรงประสิทธิภาพ ตลอดเวลาที่อยู่ในช่วงเกิดความขัดแย้ง หลายประเทศทั้งสองฝ่ายได้สร้างอากาศยานที่เร็วและแข็งแรงและออกแบบเพื่อให้ทิ้งระเบิดและยิงอีกฝ่ายหนึ่งในอากาศได้ ในระหว่างการเริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดสงคราม จำนวนเครื่องบินทั้งหมดที่คู่ต่อสู้ส่วนใหญ่นำมาใช้พุ่งขึ้นจาก 850 ลำ ถึงเกือบ 10,000 ลำ ภายหลังสิ้นสุดสงคราม หลายประเทศยังคงรักษาอากาศยานให้มีความเข้มแข็งและก้าวหน้าต่อไป ในขณะที่ประเทศเหล่านั้นมีความตระหนักว่าความยิ่งใหญ่ของอากาศยานเป็นกุญแจหลักที่นำไปสู่ชัยชนะของทหาร

(ขวา) นักบินในสงครามโลกครั้งที่ 1 แสดงการใช้อุปกรณ์สื่อสารจากอากาศสู่พื้นดินในยุคแรก



สงครามโลกครั้งที่ 1

สงครามโลกครั้งที่ 1
หมายเลข 1 นักออกแบบจะควบคุมน้ำหนักเกือบทั้งหมดไว้ที่จุดศูนย์กลาง เพื่อให้เครื่องบินมีความคล่องตัวสูง
หมายเลข 2 อุปกรณ์จับเวลาช่วยให้ปืนกลยิงผ่านใบพัดได้
หมายเลข 3 เครื่องยนต์ได้รับการปรับปรุงให้แข็งแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความเร็วให้มากขึ้นและความสามารถในการบรรทุก

สงครามโลกครั้งที่ 1