ประวัติศาสตร์โลก

ประวัติศาสตร์โลก
World History

ประวัติศาสตร์โลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์โลกหรือประวัติศาสตร์มนุษยชาติเริ่มต้นที่ยุคหินเก่า ประวัติศาสตร์โลกไม่รวมประวัติศาสตร์ธรรมชาติที่ไม่ใช่มนุษย์และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยา ยกเว้นตราบเท่าที่โลกธรรมชาตินั้นกระทบต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก ประวัติศาสตร์โลกประกอบด้วยการศึกษาทางโบราณคดีและหลักฐานลายลักษณ์อักษรตั้งแต่สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์โบราณที่มีบันทึกเริ่มต้นจากการประดิษฐ์การเขียน ทว่า รากเหง้าแห่งอารยธรรมมีมาแต่ก่อนการประดิษฐ์การเขียน สมัยก่อนประวัติศาสตร์เริ่มต้นในยุคหินเก่า ต่อด้วยยุคหินใหม่และการปฏิวัติเกษตรกรรม(ระหว่าง 8000 ถึง 5000 ปีก่อนคริสตกาล) ในวงพระจันทร์เสี้ยวไพบูลย์ (Fertile Crescent) การปฏิวัติเกษตรกรรมเป็นเครื่องหมายการเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์มนุษย์ โดยมนุษย์เริ่มต้นทำการเกษตร คือ กสิกรรมและการเลี้ยงสัตว์อย่างเป็นระบบ เมื่อเกษตรกรรมก้าวหน้าขึ้น มนุษย์ส่วนมากเปลี่ยนจากวิถีชีวิตเร่ร่อนมาเป็นตั้งถิ่นฐานเป็นเกษตรกรในนิคมถาวร การเร่ร่อนยังมีอยู่ในบางที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลซึ่งมีพืชที่เพาะปลูกได้ไม่กี่ชนิด แต่ความมั่นคงสัมพัทธ์และผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นจากกสิกรรมทำให้ชุมชนมนุษย์ขยายเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่า ซึ่งความก้าวหน้าในการขนส่งก็มีส่วนช่วย

เมื่อกสิกรรมพัฒนา การเพาะปลูกธัญพืชมีความซับซ้อนขึ้นและทำให้มีการแบ่งงานกันทำเพื่อเก็บอาหารระหว่างฤดูเพาะปลูก จากนั้นการแบ่งงานทำให้เกิดชนชั้นสูงที่สุขสบายและพัฒนาการนคร สังคมมนุษย์ที่ซับซ้อนมากขึ้นทำให้ระบบการเขียนและการบัญชีมีความจำเป็น หลายนครพัฒนาบนตลิ่งทะเลสาบและแม่น้ำ ตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาล เกิดนิคมโดดเด่นและมีการพัฒนาดียุคแรก ๆในเมโสโปเตเมีย ริมตลิ่งแม่น้ำไนล์แห่งอียิปต์ และหุบแม่น้ำสินธุ อาจมีอารยธรรมคล้ายกันพัฒนาขึ้นตามแม่น้ำสำคัญในจีน แต่หลักฐานทางโบราณคดีของการสร้างเมืองอย่างกว้างขวางในที่นั้นชัดแจ้งน้อยกว่า

ประวัติศาสตร์โลกเก่า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุโรปและเมดิเตอร์เรเนียน) โดยทั่วไปแบ่งเป็นยุคโบราณ ถึง ค.ศ. 476, สมัยกลาง ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 15 ซึ่งรวมยุคทองของอิสลาม (ประมาณ ค.ศ. 750-1258) และยุคฟื้นฟูศิลปวิทยายุโรปตอนต้น (เริ่มต้นประมาณ ค.ศ. 1300), ยุคใหม่ตอนต้น ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งรวมยุคเรืองปัญญา และยุคใหม่ตอนปลาย นับแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมถึงปัจจุบัน รวมทั้งประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ตะวันออกใกล้โบราณ กรีซโบราณและโรมโบราณมีความโดดเด่นในยุคโบราณ ในประวัติศาสตร์ยุโรปตะวันตก การเสียกรุงโรมมักยึดเป็นการสิ้นสุดของยุคโบราณและการเริ่มต้นของสมัยกลาง ขณะที่ยุโรปตะวันออกมีการเปลี่ยนผ่านจากจักรวรรดิโรมันเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งรุ่งเรืองต่อมาอีกเป็นเวลานาน กลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 การประดิษฐ์การพิมพ์สมัยใหม่ของโยฮันน์ กูเทนแบร์ก ซึ่งใช้การสื่อสารแบบเคลื่อนที่ได้และเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง เป็นจุดสิ้นสุดของยุคกลางและนำไปสู่การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18 การสะสมความรู้และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป ได้ถึงจำนวนวิกฤต (critical mass) อันนำมาซึ่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม

ในส่วนอื่นของโลก เช่น ตะวันออกใกล้โบราณ จีนโบราณ และอินเดียโบราณ เส้นเวลาทางประวัติศาสตร์ได้คลี่ออกต่างกัน อย่างไรก็ดี จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากการค้าโลกที่ขยายตัวและการล่าอาณานิคม ทำให้ประวัติศาสตร์ของอารยธรรมโลกส่วนมากสานเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนา ในช่วงสองร้อยกว่าปีล่าสุด การเติบโตของความรู้ เทคโนโลยี การพาณิชย์ และศักยภาพการทำลายล้างของสงครามได้เร่งให้เกิดขึ้น ก่อให้เกิดโอกาสและอันตรายซึ่งปัจจุบันกำลังเผชิญชุมชนมนุษย์ที่อยู่อาศัยบนดาวเคราะห์ดวงนี้

แปลจากหนังสือ World History โดย...Mcdougal Littel
ผู้แปล...ทรงศักดิ์ สายหยุด

ราชวงศ์จีน จีนรวมตัวขึ้นมาอีกครั้ง

ราชวงศ์จีน
จีนรวมตัวใหม่
ลำดับเหตุการ์ในจีนโบราณและโลก
แผนที่ลำดับเหตุการณ์ในจีนและโลกสมัยโบราณ
แผนที่ภูมิศาสตร์ทางกายภาพของจีนในปัจจุบัน
แผนที่ภูมิศาสตร์ทางกายภาพของจีนในปัจจุบัน
แผนที่ลำดับเหตุการณ์จีนและโลกสมัยโบราณ
แผนที่ลำดับเหตุการณ์จีนและโลกสมัยโบราณ
การล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น
          ราชวงศ์ฮั่นก่อตั้งขึ้น ในช่วงเวลา 202 ปี ก่อนคริสต์ศักราช จีนประสบช่วงเวลาของความเจริญก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรือง อย่างไรก็ตาม ในที่สุด การต่อสู้ทางการเมือง ปัญหาทางสังคมและขยายช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน ทำราชวงศ์ฮั่นอ่อนแอลง ซึ่งตกอยู่ในคริสต์ศักราช 220

ความขัดแย้งและความโกลาหล ระยะเวลาความโกลาหลอันยิ่งใหญ่ก็ตามมา  อาณาจักรต่าง ๆ ต่อสู้กันเอง พวกร่อนเร่บุกรุกจากทางทิศเหนือข้ามที่ราบสูงมองโกเลียเข้ามาสู่ทางตอนเหนือของประเทศจีน (ชนเผ่าเร่ร่อนคือบุคคลที่ย้ายจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง) น้ำท่วม ภัยแล้งและการขาดแคลนอาหารยังทำให้เกิดโรคระบาดไปทั่วแผ่นดิน
แม้จะมีปัญหาเหล่านี้ วัฒนธรรมจีนก็ยังอยู่รอด  ในตอนเหนือ ผู้บุกรุกร่อนเร่ก็ตั้งรกรากและรับเอาขนบธรรมเนียมของจีนมาเป็นของตนในที่สุด  ในตอนใต้ การเก็บเกี่ยวได้ผลดีและการค้าขายที่เจริญเพิ่มขึ้นคนช่วยให้ผู้คนประสบความสำเร็จ แม้กระนั้น คนจีนส่วนใหญ่นำชีวิตไปสู่ความยากลำบาก
เทือกเขาหิมาลัย
เทือกเขาหิมาลัยอันยิ่งใหญ่นี้เป็นแนวกั้นจีนจากการรุกรานทางตะวันตกเฉียงใต้

การเปลี่ยนแปลงระบบความเชื่อ

          ความวุ่นวายหลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่นที่นำไปสู่​​การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในระบบความเชื่อของจีน การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีอิทธิพลต่อวิธีที่ผู้คนดำเนินชีวิต

ลัทธิขงจื้อ เป็นเวลาหลายศตวรรษ ชาวจีนหันไปหาลัทธิขงจื้อเพื่อความสะดวกสบายและคำแนะนำ  ลัทธิขงจื้อเป็นระบบความเชื่อ ที่อยู่บนพื้นฐานความคิดของขงจื้อ (มีชีวิตอยู่ระหว่าง 551-479 ปี ก่อนคริสต์ศักราช) เขาเป็นนักปราชญ์ผู้สอนคุณธรรมศีลธรรมและจริยธรรม ซึ่งเป็นความคิดที่เกี่ยวกับความถูกต้องและความผิด ในคำสอนของขงจื๊อเน้นหลักการเหล่านี้:
การใช้ความสัมพันธ์ที่เหมาะสมในการจัดระเบียบทางสังคม
การเคารพครอบครัวและปู่ย่าตายาย (คนรุ่นก่อน ๆ)
การทำให้ประชาชนและสังคมได้รับการศึกษา
การกระทำในวิถีทางที่ถูกต้องทางศีลธรรม

ลัทธิขงจื้อมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของชาวจีน ลัทธิขงจื้อมีผลต่อรูปโฉมหลายแง่มุมของการปกครองและสังคมจีน ตัวอย่างเช่น ขงจื๊อสอนว่า คนจะก้าวหน้าในชีวิตด้วยการศึกษา  การเน้นความสำคัญกับการศึกษาก่อให้เกิดการจัดตั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีประสิทธิภาพ ผ่านการฝึกอบรมอย่างดี
แนวความคิดของขงจื๊อยังมีอิทธิพลต่อสังคม  เขาคิดว่าสังคมควรจะจัดการความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานห้าอย่าง มาตรฐานทางจริยธรรมจะดูแลความสัมพันธ์เหล่านี้ ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์อย่างหนึ่งระหว่างผู้ปกครองและประชาราษฎร์ ขงจื๊อสอนว่าผู้ปกครองควรจะมีความเที่ยงธรรมและมีเมตตา ราษฎรควรจะซื่อสัตย์และเชื่อฟังกฎหมาย ความสัมพันธ์ด้านอื่น ๆ อยู่บนพื้นฐานของครอบครัว ขงจื๊อเชื่อว่า ลูก ๆ จะต้องมีความเคารพต่อพ่อแม่และปู่ย่าตายายของพวกเขา  อย่างไรก็ตาม ประมาณคริสต์ศักราช 200  ลัทธิขงจื้อเริ่มเสื่อมอิทธิพลเมื่อราชวงศ์ฮั่นสูญเสียอำนาจ

การเผยแพร่เข้ามาของพุทธศาสนา ในขณะที่ลัทธิขงจื้อเสื่อมอิทธิพลลง ชาวจีนจำนวนมากหันไปนับถือศาสนาพุทธ พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เริ่มต้นในอินเดียและมีพื้นฐานมาจากคำสอนของ เจ้าชายสิทธารถะ  เคาตะมะ (Siddhartha Gautama - sihd• DAHR•tuh GOW•tuh•muh - บาลี เป็น สิทธัตถะ โคตมะ) พระองค์มีชีวิตอยู่ประมาณ 566-486 ปี ก่อนคริสต์ศักราช และเป็นที่รู้จักว่า พระพุทธเจ้า หรือ "ผู้ตรัสรู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (Enlightened One)"
พุทธปฏิมากร
พระพุทธปฏิมากรประทับนั่งขนาดมหึมานี้ ประดิษฐานอยู่ในถ้ำ ไกลจากกรุงปักกิ่งไปทางตะวันตก
ประมาณ 150 ไมล์ (ประมาณ 240 กิโลเมตจร) น่าจะสลักประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 5
พุทธศาสนาสอนหลักการดังต่อไปนี้:
ความทุกข์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต (ทุกข์)
เหตุผลที่คนประสบความทุกข์ก็เพราะพวกเขายึดมั่นกับวัตถุและความเห็นแก่ตัวจนเกินไป (ตัณหา)
ด้วยการดำเนินชีวิตอย่างชาญฉลาด (ใช้ปัญญา ไม่ใช้ตัณหาในการดำเนินชีวิต) มีคุณธรรมและมีความคิดที่มีเหตุผล รู้จักปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นจนเกินไป รู้จักพอเพียง ในที่สุด คนก็สามารถเรียนรู้การพ้นจากความทุกข์ได้ (นิโรธและมรรค) สรุปก็คืออริยสัจ 4 (น่าสังเกต ฝรั่งยังเข้าใจศาสนาพุทธมากกว่าคนไทยที่ถือว่าตัวเองเป็นชาวพุทธ – ผู้แปล)
ในช่วงคริสต์ศตวรรษแรก คณะผู้สอนศาสนาและเหล่าพ่อค้าก็นำคำสอนทางพุทธศาสนาไปยังประเทศจีน (ดูแผนที่) เมื่อเวลาผ่านไป ศาสนาพุทธก็เผยแพร่ออกไปในเกาหลีและญี่ปุ่นด้วย พุทธศาสนากลายเป็นศาสนาที่ผู้คนถือปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง หลังจากที่ได้รับการฝึกฝนราชวงศ์ฮั่นลดลง คำสอนทางพุทธศาสนาช่วยให้ผู้คนอดทนต่อความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการล่มสลายของราชวงศ์
แผนที่การเผยแพร่พุทธศาสนา
แผนที่การเผยแพร่พุทธศาสนา 500 ปี ก่อน ค.ศ. - ค.ศ. 500
อิทธิที่มีต่อลัทธิขงจื้อ ลัทธิขงจื้อเริ่มพอใจไปกับการฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่ละน้อย ๆ เริ่มเกิดขึ้นในความคิดขงจื้อ ศาสนาพุทธและลัทธิเต๋าก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางส่วนเหล่านี้ ลัทธิเต๋าเป็นระบบความเชื่อที่พยายามกลมกลืนกับธรรมชาติและความรู้สึกภายใน ลัทธิเต๋าเริ่มต้นขึ้นในประเทศจีนในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช
ลัทธิขงจื้อได้จัดตั้งจริยธรรมทางสังคมและหลักการทางการเมืองเป็นส่วนใหญ่ เพราะราชวงศ์ฮั่น ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งหรือซ้อง  นักปราชญ์ขงจื้อได้ผสมผสานศาสนาพุทธและลัทธิเต๋าเข้าในลัทธิขงจื้อ เป็นผลให้ลัทธิขงจื้อขยายมุมมองของตนกว้างออกไป
การเปลี่ยนในความคิดของขงจื้อ ลัทธิขงจื้อแนวใหม่นี้เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์และความสัมพันธ์กับจักรวาลของบุคคลเป็นอย่างมาก เน้นที่หลักการต่อไปนี้:
หลักศีลธรรมคือเป้าหมายสูงสุดที่คนสามารถเข้าถึงได้
ศีลธรรมนี้สัมฤทธิ์ผลได้ด้วยการศึกษา
การศึกษาสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยหนังสือ การสังเกตหรือการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ ที่ชาญฉลาด

ราชวงศ์สุย (Sui) และราชวงศ์ถัง (Tang) รวบรวมจีนขึ้นมาใหม่

          หลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ฮั่น ประชาชนชาวจีนอดทนกับความสับสนวุ่นวายและความขัดแย้งมากกว่า350 ปี ในที่สุด ราชวงศ์สุย (หมายความว่า พลิ้วไหว) ก็รวบรวมจีนขึ้นใหม่ในคริสต์ศักราช 589 และจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ราชวงศ์สุยปกครองจนถึงคริสต์ศักราช 618

ราชวงศ์สุย หยางเจียนได้ก่อตั้งราชวงศ์สุย เขาเป็นแม่ทัพในกองทัพของราชวงศ์โจว (โจ้ – Zhou, Joh) ซึ่งเป็นผู้ปกครองทางตอนเหนือของจีน ในคริสต์ศักราช 581 เขาเข้ามากุมอำนาจด้วยการฆ่าทายาทและมอบราชบัลลังก์ให้กับโจว หลานชายของตัวเอง ครั้นแล้ว เขาก็สังหารหมู่พระราชโอรส 59 พระองค์  ประมาณคริสต์ศักราช 589 เขาพิชิตตอนใต้และรวบรวมจีนขึ้นใหม่ เขาประกาศตัวเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกแห่งราชวงศ์สุย ต่อมา เขาก็กลายเป็นที่รู้จักกันในนาม เหวินตี้ (Wendi)
กำแพงเมืองจีน
กำแพงเมืองจีนสร้างขึ้นใหม่หลายส่วนในสมัยจักรพรรดิเหวินตี้ เพื่อป้องกันการบุกรุกจากภายนอก
ทอดยาวไปตามภูเขาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงปักกิ่ง
เหวินตี้รวบรวมจีนเป็นเอกภาพอีกครั้ง ในช่วงการปกครองของเหวินตี้ ทำให้ชาวจีนรู้สึกเป็นเอกภาพมากขึ้น เขาฟื้นฟูประเพณีทางการเมืองแบบเก่าที่ทำให้ชาวจีนนึกถึงความรุ่งโรจน์ในอดีตของพวกเขา ตัวอย่างเช่น ในการขึ้นครองบัลลังก์ เขายอมรับของขวัญที่ยิ่งใหญ่แบบดั้งเดิม คือ ประตูบ้านสีแดงและเสื้อคลุมมีผ้าคาดเอวสีแดง
เหวินตี้ ยังช่วยลดความขัดแย้งด้วยการปล่อยให้ประชาชนปฏิบัติตามระบบความเชื่อของตัวเอง แม้ว่าเขาจะเป็นชาวพุทธเขาก็ให้การสนับสนุนความเชื่อและการปฏิบัติของเต๋า (เหมือนกษัตริย์พุทธคนอื่น ๆ เช่น พระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดียว หรือแม้แต่ในหลวงของไทยเราในปัจจุบัน)
เหวินตี้ ยังได้เริ่มโครงการงานสาธารณะอีกด้วย  เขาได้สร้างกำแพงเมืองจีน (the Great Wall) บางส่วนขึ้นมาใหม่ เขายังเริ่มสร้างคลองต้ายุ่นเหอหรือต้ายวิ่นเหอ (Grand Canal) เชื่อมต่อแม่น้ำฮวงเหอหรือแม่น้ำเหลือง (Yellow River) และแม่น้ำชางเจียง (Chang Jiang หรือ Yangtze River - แม่น้ำแยงซี) เชื่อมโยงจีนตอนเหนือและตอนใต้ ชาวไร่ชาวนาหลายพันคนใช้แรงงานขุดคลองต้ายุ่นเหอถึงห้าปี เกือบครึ่งหนึ่งเสียชีวิตในระหว่างโครงการ
เหวินตี้และทายาทของเขา ชื่อ หยางตี้ ได้เพิ่มภาษีเพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทนโครงการเหล่านี้ทั้งหมด  ในที่สุด ชาวจีนก็เหน็ดเหนื่อยจากภาษีสูงและพวกเขาก็ไม่เห็นด้วย เป็นผลให้ราชวงศ์ล่มสลายหลังจากนั้นเพียง 37 ปีเท่านั้น
แผนที่ราชวงศ์สุยและถัง
แผนที่ราชวงศ์สุยและถัง  ค.ศ. 581 - 907
ราชวงศ์ถัง แม้ว่า ราชวงศ์สุยจะครองบัลลังก์เพียงเวลาเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ก็สร้างรากฐานให้กับราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ถังเริ่มต้นขึ้นในคริสต์ศักราช 618 และปกครองมานานเกือบ 300 ปี ในช่วงเวลานี้ จีนได้ขยายชายแดนทุกด้าน นอกจากนี้ จักรพรรดิถึงก็ขยายเครือข่ายถนนและคลองเพื่อนำประเทศไปพร้อม ๆ กัน  การค้าขายได้เจริญรุ่งเรืองบนถนนสายไหมและจีนได้สร้างการเชื่อมโยงไปยังตะวันตกได้อย่างเข้มแข็ง อาณาจักรขนาดใหญ่เช่นนั้น จำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่จำนวนมากเพื่อบริหารจัดการอาณาจักร ดังนั้น จักรพรรดิถังจึงนำความคิดของขงจื้อเกี่ยวกับวิธีการที่รัฐบาลควรจะดำเนินงานมาใช้อย่างเต็มที่  ราชวงศ์ถังก็เหมือนกับราชวงศ์สุย ใช้การตรวจสอบรัฐเพื่อหาบุคคลที่มีคุณสมบัติในการทำงานของรัฐบาล ระบบรัฐบาลถังเป็นหนึ่งในรัฐที่ทันสมัยและมีความซับซ้อนที่สุดของโลกในเวลานั้น

จักรพรรดิถัง จักรพรรดิไท่จง (Taizong - ty•johng) ช่วยพ่อของเขา คือ เกาจู่ (gow•joo) ก่อนตั้งราชวงศ์ถัง ไท่จงยึดบัลลังก์ในคริสต์ศักราช 626 หลังจากที่ฆ่าพี่น้องสองคนของตัวเองและลูกชายทั้งสิบของพี่น้องของตัวเอง แม้ว่าไท่จงจะใช้ความรุนแรงเพื่อขึ้นสู่อำนาจ ชาวจีนจำนวนมากคิดว่าเขาเป็นผู้นำที่ยุติธรรมและเที่ยงตรง ยกตัวอย่างเช่น เขาไม่ได้เก็บภาษีชาวนาสูงเกินไป นอกจากนี้เขายังเอาดินแดนบางส่วนจากดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มอบให้แก่ชาวนา
ในคริสต์ศักราช 690 อู่เจ้า (Wu Zhao - woo jow) ได้ประกาศตัวเองเป็นจักรพรรดิ เธอเป็นผู้หญิงคนเดียวที่มีชื่อในการครองบัลลังก์ของจีน อู่เจ้าได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นผู้นำที่มีความสามารถ เธอลดภาษี กำจัดการทุจริตของรัฐ และสนับสนุนพุทธศาสนาในประเทศจีนอย่างเข้มแข็ง เธอไม่ได้สละอำนาจจนกระทั่งคริสต์ศักราช 705 ซึ่งในขณะนั้นเธออายุมากกว่า 80 ปี
-----------------------------------------

ผู้สร้างประวัติศาสตร์

   อู่เจ้า (มีชีวิตระหว่างคริสต์ศักราช 627-705)
อู่เจ้า
อู่เจ้า
          อู่เจ้า ยังได้รับการเรียนขานว่า อู่ เจ๋อเทียน (Wu Zetian) อีกด้วย ถูกส่งไปยังราชสำนักของจักรพรรดิจีนตอนอายุ 14 ปี เธอได้รับมอบหมายให้ทำงานในการศึกษาของจักรพรรดิซึ่งเธอได้เรียนรู้เกี่ยวกับการต่างประเทศ การเมือง และการสร้างนโยบายสาธารณะ ความรู้นี้ได้ช่วยเธอตอนที่เธอกลายเป็นจักรพรรดิ   
        ภายใต้การนำของอู่เจ้า การเกษตรของจีนได้ปรับตัวดีขึ้น เธอกระตุ้นให้เกษตรกรพัฒนาที่ดินมากขึ้นเพื่อใช้การชลประทานและการทดลองเทคนิคใหม่ ๆ นอกจากนั้นเธอยังต่อสู้ในการนำความเสมอภาคมาให้สตรีมากขึ้นและให้นักวิชาการเขียนชีวประวัติของผู้หญิงที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์จีน
----------------------------------------
วัฒนธรรมถัง ในสมัยราชวงศ์ถัง วรรณกรรมและศิลปะจีนได้เจริญถึงจุดสูงสุด ยุคสมัยราชวงศ์ถัง เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในเรื่องบทกวีชั้นเยี่ยมและมีชีวิตชีวา ผู้ชายทุกคน ที่ถือว่าตัวเองว่าเป็นสุภาพบุรุษ ภาคภูมิใจในความสามารถการเขียนบทกวี นักประวัติศาสตร์คาดการณ์ว่า นักกวีมากกว่า 2,200 คนมีชีวิตอยู่ในสมัยราชวงศ์ถัง บทกวีของพวกเขาเกือบ 50,000 บทยังคงเหลืออยู่
รูปปั้นม้าแห่งราชวงศ์ถัง
รูปปั้นม้าราชวงศ์ถังนี้ เคลือบเงาด้วยสีหลากหลาย
ประติมากรรมยุคราชวงศ์ถังงามสง่า ศิลปินเคลือบรูปปั้นดินเหนียว มีความสวยงาม สีแดง สีเขียว สีขาวและสีส้ม เป็นเงามัน ใบหน้าของสัตว์เป็นงานฝีมือที่เยี่ยม ซึ่งแต่ละอันมองดูโดดเด่น ที่พบมากที่สุดเป็นประติมากรรมอูฐและม้า เพราะความงามของประติมากรรม ผลงานเหล่านี้เป็นรายการสินค้าที่มีคุณค่า  นอกจากนี้ผู้คนมักจะวางประติมากรรมไว้ในหลุมฝังศพของญาติพี่น้องที่เคารพนับถือ
  ความเจริญก้าวหน้า
ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้อง

การสร้างรัฐของจักรพรรดิ

           การปกครองประเทศที่มีขนาดใหญ่เช่นประเทศจีนเป็นงานที่ยาก เพื่อให้การปกครองมีประสิทธิภาพมากขึ้น เหล่าผู้ปกครองราชวงศ์ถัง จึงได้พัฒนารัฐแบบจักรวรรดิ
    ราชวงศ์ถังใช้ความคิดหลายอย่างที่ได้เรียนรู้จากราชวงศ์สุยเพื่อจัดตั้งรัฐบาลที่มีการบริหารจัดการที่ดี การบริหารและการจัดการด้านทหารได้ดำเนินตามแบบราชวงศ์สุยเป็นส่วนใหญ่  นอกจากนี้ ราชวงศ์ถังได้ใช้ระบบภาษีแบบราชวงศ์สุย แม้พวกเขาจะยกเมืองหลวงของราชวงศ์สุย คือ ฉางอาน (Ch'ang-an) ให้เป็นเมืองหลวงของพวกเขา ฉางอานเป็นสิ่งสำคัญเพราะตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าที่สำคัญ
ทรัพย์สินของหวางเหว่ย
ภาพนี้วาดเลียนแบบนักกวีและศิลปินที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งราชวงศ์ถัง คือ หวางเหว่ย
การปกครองของจีน การปกครองของราชวงศ์ถังเป็นเหมือนกับรูปปิรามิด จักรพรรดิปกครอง ณ จุดสูงสุดและคนจำนวนมากทำหน้าที่ในระดับต่าง ๆ อยู่ใต้จักรพรรดิ หัวหน้าที่ปรึกษาจักรพรรดิรับใช้จักรพรรดิโดยตรง พวกเขาอยู่ในระดับสูงสุดรองลงมาจากจักรพรรดิในระบบปกครองแบบรูปพีระมิด
ด้านล่างที่ปรึกษาเหล่านี้เป็นระบบราชการ  ระบบราชการคือการปกครองที่แบ่งออกเป็นแผนก แต่ละแผนกในจีนจะรับผิดชอบหน้าที่ที่แน่นอน เช่น เก็บภาษี การเกษตรหรือกองทัพ ระบบการเมืองนี้ได้ปกครองจีนทั้งหมด รัฐบาลท้องถิ่นทั่วประเทศจีนต้องรายงานราชการส่วนกลาง

ประมวลกฎหมาย  เหล่าผู้ปกครองแห่งราชวงศ์ถัง ได้สร้างประมวลกฎหมายขึ้นมาใหม่ ซึ่งบรรจุกฎหมายของประเทศจีนทุกฉบับเพื่อให้กฎหมายที่คล้ายกันใช้ได้ในทุก ๆ ที่ ประมวลกฎหมายใหม่นี้พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูง จีนใช้ประมวลกฎหมายนี้ตั้งแต่ประมาณคริสต์ศักราช 624 จนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12

นักปราชญ์ราชบัณฑิต ราชวงศ์ถังจำเป็นต้องให้การศึกษาแก่ประชาชนเพื่อการทำงานในระบบราชการ สำหรับงานจำนวนมากในระบบราชการ ผู้คนต้องได้รับการทดสอบจากรัฐบาล ราชวงศ์ฮั่นและราชวงศ์สุย ยังทดสอบผู้สมัครงานอีกด้วย  แต่ผู้ปกครองแห่งราชวงศ์ถังได้ขยายระบบ อย่างกว้างขวาง การสอบของรัฐได้ทดสอบความรู้เกี่ยวกับความคิด บทกวีของขงจื้อและวิชาอื่น ๆ การทดสอบใช้เวลานานและยาก คนส่วนใหญ่ที่เข้ามาทดสอบประสบความล้มเหลว
คนที่ผ่านการทดสอบของรัฐจะเป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต ซึ่งเป็นผู้ที่มีการศึกษามีตำแหน่งในรัฐบาล นักปราชญ์ราชบัณฑิตเกือบทั้งหมดมาจากสังคมชั้นสูง คนรวยส่วนใหญ่มีญาติทำงานอยู่ในรัฐบาลและญาติมักจะช่วยกันเข้าทำงาน  โดยทั่วไป จะมีเพียงคนร่ำรวยเท่านั้นที่สามารถจ่ายเงินเพื่อการศึกษาที่จำเป็นในการผ่านการทดสอบ
ขงจื๊อ
ขงจื๊อเป็นนักปราชญ์จีนที่สอนเรื่องศีลธรรมจริยธรรม
นักปกครองจีนสอนว่าประชาชนที่ปฏิบัติตามแนวคำสอนของขงจื๊อจะเป็นข้าราชการที่ดี
ราชวงศ์ซ้อง (หรือซ่ง) หลังจากสิ้นสุดราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ้องหรือซ่งได้ปกครองตั้งแต่คริสต์ศักราช 960-1279  ราชวงศ์ซ่งได้ขยายและปรับปรุงระบบการสอบ โดยการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นเป็นอันมากและเปลี่ยนแปลงการสอบเพื่อให้ครอบคลุมวิชาการปฏิบัติให้มากขึ้น คนเข้ามาสอบ ผ่านการทดสอบ และเข้ารับราชการมากขึ้น  แต่กระนั้น เจ้าหน้าที่ของรัฐส่วนมากก็มาจากครอบครัวที่ร่ำรวยเต็มไปด้วยอิทธิพลทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง
รัฐทำการสอบผู้เข้ารับราชการ
ภาพวาดนี้เล่าเรื่องประวัติศาสตร์จีน เขียนขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16
ในภาพ นักปราชญ์กำลังทำการสอบเพื่อเข้าราชการต่อหน้าจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ซ้องที่สวมชุดเหลือง

ความเจริญรุ่งเรืองจากการค้าขายและการทำการเกษตร

          ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้อง เศรษฐกิจจีนขยายตัวขึ้น ในความเป็นจริงประเทศจีนกลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยและมีการพัฒนามากที่สุดในโลก ปัจจัยหนึ่งในการเจริญเติบโตนี้คือระบบการขนส่งที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น

การเปลี่ยนแปลงในการเดินทางและการค้าขาย รัฐบาลสร้างถนนและทางน้ำหลายสาย ระบบการขนส่งนี้ช่วยเชื่อมโยงจักรวรรดิจีนร่วมกัน
การขนส่งที่ดีขึ้นได้ปรับปรุงการค้าขายให้ดีขึ้น  เหล่าพ่อค้าได้ใช้ถนนใหม่ขนย้ายเมล็ดข้าว ชาและสินค้าอื่น ๆ  ตามถนนมีโรงแรมขนาดเล็กที่นักท่องเที่ยวสามารถพักแรมได้ คนส่งสาส์นและคนส่งข่าวขี่ม้านำสาส์นทางราชการไปบนถนน ซึ่งทำให้การสื่อสารดีขึ้นเป็นอย่างมาก
ทางน้ำมีความสำคัญมากทีเดียว รัฐบาลจึงซ่อมแซมคลองเก่าและสร้างคลองใหม่ขึ้นเพื่อเชื่อมโยงแม่น้ำสายหลัก ส่งผลให้การขนส่งทางน้ำเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าและผู้คน
การค้าขายปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีหลาย ๆ อย่าง รวมทั้งเรือขนาดยักษ์ขับเคลื่อนด้วยฝีพายและใบเรือ เรือนั้นทำให้การเดินทางเร็วขึ้นและปลอดภัยมากขึ้น การพัฒนาเข็มทิศแม่เหล็กได้ทำให้การเดินทางในทะเลอันเวิ้งว้างให้ดีขึ้นด้วย
----------------------------------------

การเชื่อมโยงกันระหว่างภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์

การทำนาข้าวแบบขั้นบันได

การทำนาแบบขั้นบันได
การทำนาแบบขั้นบันได
1. เกษตรกรชาวจีนได้ขนย้ายดินจำนวนมหาศาลเพื่อเปลี่ยนความชันของเนินเขาให้เป็นขั้นบันไดตามลำดับ
2. แล้วเกษตรกรก็สร้างคันดินขึ้นตามขอบของขั้นบันไดแต่ละขั้น
3.  ท้ายสุด เกษตรกรก็ไขน้ำเข้านาใหม่ก่อนที่จะปลูกต้นกล้า โดยทั่วไป ข้าวจะได้รับการปลูกในน้ำสูงประมาณสี่นิ้ว
----------------------------------------
การเปลี่ยนแปลงในด้านเกษตรกรรม ประมาณคริสต์ศักราช 1000 เกษตรกรชาวจีนก็เริ่มปลูกข้าวชนิดใหม่จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้าวชนิดนี้สุกเร็วกว่าชนิดที่พวกเขาเคยใช้มาก่อน เพราะข้าวชนิดใหม่ เกษตรกรสามารถส่งเสริมพืชพันธุ์ธัญญาหารสองหรือแม้กระทั่งสามอย่างต่อปีแทน การกระจายอาหารได้ขยายอย่างรวดเร็วช่วยให้ประชากรเจริญเติบโตไปประมาณ100 ล้านคน
ในสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้อง ชาวจีนได้เปลี่ยนพื้นที่ลุ่มแม่น้ำฉางเจียงให้เป็นนาข้าวอันอุดม เกษตรกรใช้เครื่องสูบน้ำและคลองเพื่อระบายน้ำจากบึง พวกเขาสร้างที่ดินเป็นขั้นบันไดบนเนินเขาและใช้ระบบชลประทานที่ซับซ้อนเพื่อนำน้ำลงไปสู่บึง  ด้วยการเปลี่ยนสภาพแวดล้อม เกษตรกรจีนได้รับที่ดินทำกิน  ที่ดินที่เพิ่มขึ้นช่วยให้พวกเขาปลูกข้าวได้มากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้และภูมิอากาศหนาวทำให้จีนตอนใต้ปลูกข้าวได้มากกว่าคนที่อยู่ในพื้นที่ที่จำเป็น เกษตรกรได้ขายข้าวพิเศษให้กับพ่อค้า ซึ่งจัดส่งทางคลองไปยังศูนย์กลางของจักรพรรดิในทางตอนเหนือของประเทศจีน การมีอาหารพิเศษหมายความว่าคนน้อยคนนักที่จำเป็นจะต้องทำงานเป็นเกษตรกร เป็นผลให้ผู้คนจำนวนมากสามารถทำงานด้วยการค้าขาย

การเปลี่ยนแปลงในด้านการพาณิชย์ ในสมัยราชวงศ์ซ้อง การค้ากำลังเจริญรุ่งเรืองในประเทศจีน เรือและเรือสินค้าบรรทุกสินค้าไปตามคลองและแม่น้ำและตามแนวชายฝั่งของประเทศจีน ตลอดจนบรรทุกอาหารและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของจีนไปยังดินแดนต่างประเทศเช่นเกาหลีและญี่ปุ่น
การเจริญเติบโตของการค้าขายนำไปสู่การขยายตัวอย่างรวดเร็วในการใช้เงินในรูปแบบของเหรียญ เพื่อ ชำระค่าสินค้า  อย่างไรก็ตาม เหรียญจำนวนมากก็หนักและยากที่จะนำติดตัวไป  เพื่อแก้ปัญหานี้  รัฐบาลแห่งราชวงศ์และราชวงศ์ซ้อง
เริ่มที่จะพิมพ์เงินกระดาษ เป็นรัฐบาลแรกในประวัติศาสตร์ ที่ทำเช่นนั้น
เงินจีน
ชาวจีนพัฒนาธนบัตรเป็นครั้งแรกในโลก
ในขณะที่การค้าขายเจริญเจริญขึ้น ผู้คนกลายเป็นพ่อค้ามากขึ้น ชนชั้นพ่อค้าของจีนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตเมืองใหญ่และเมืองเล็ก ซึ่งมีการค้าขายส่วนตัวมากที่สุด เมืองใหญ่เจริญเติบโตและเจริญรุ่งเรือง ในสมัยราชวงศ์ซ้อง จีนมีเมืองใหญ่ไม่กี่เมืองมีประชากรประมาณ 1,000,000 คน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ปารีส ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปเมืองหนึ่ง มีประชากรเพียง 150,000 คนเท่านั้นในช่วงเวลานั้น

ยุคแห่งความสำเร็จที่ยอดเยี่ยม

          ราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้องอยู่ท่ามกลางยุคที่สร้างสรรค์ที่สุดในประวัติศาสตร์อันยาวนานของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทกวีและศิลปะเจริญรุ่งเรืองในเวลานั้น
ยุคทองของบทกวีและศิลปะ นักเขียนแห่งราชวงศ์ถังสามคน คือ หลี่ไป๋ (Li Bai) ตู้ฝู่ (Du Fu) และหวังเหว่ย (Wang Wei) ถือว่าเป็นนักกวีจีนผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดทุกยุค หลี่ไป๋ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับความสุขของชีวิต ตู่ฝู่ยกย่องความเป็นระเบียบเรียบร้อยและคุณธรรมของขงจื้อ และหวังเหว่ย ได้เขียนถึงความงามของธรรมชาติและสาระสำคัญของชีวิต
ศิลปินแห่งราชวงศ์ถังยังเป็นที่รู้จักกันในการผลิตตุ๊กตาดินที่สวยงาม ในสมัยราชวงศ์ซ้อง การวาดภาพภูมิทัศน์กลายเป็นรูปแบบศิลปะที่มีความสำคัญ จิตรกรแห่งราชวงศ์ซ้องใช้เพียงหมึกสีดำในทุก ๆ เฉดสีตั้งแต่สีเทาอ่อนจนถึงสีดำทึบ ในขณะที่ศิลปินแห่งราชวงศ์ซ้องคนหนึ่ง บันทึกไว้ว่า "สีดำคือสีสิบสี"  ปัจจุบันนี้ รูปปั้นตุ๊กตาดินแห่งราชวงศ์ถังและภาพทิวทัศน์แห่งราชวงศ์ซ้องสามารถพบได้ในพิพิธภัณฑ์ทั่วโลก
-----------------------------------------

แหล่งที่มาปฐมภูมิ

หวังเหว่วย
ภาพวาดหวังเหว่ย
ภูมิหลัง หวังเหว่ย (ดูรูป) มีชีวิตอยู่ระหว่างคริสต์ศักราช 699-759 เป็นหนึ่งในกวีที่ยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ถัง
----------------------------------------
กระดาษและการพิมพ์ ในสมัยราชวงศ์ฮั่น จีนเริ่มทำกระดาษจากเส้นใยเยื่อไม้ กระดาษใช้เขียนได้ดีกว่าเขียนบนไม้ไผ่ขนาดใหญ่หรือผ้าไหมที่มีราคาแพง ในขณะที่ราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้องเจริญรุ่งเรือและการค้าขยายตัว รัฐบาลก็ได้มีการบันทึกมากขึ้นเพื่อเก็บรักษาไว้ ดังนั้นจีนเริ่มที่จะทำและใช้กระดาษในปริมาณมาก
ชาวจีนได้ใช้แม่พิมพ์บล็อกไม้ ช่างพิมพ์ได้แกะสลักแม่พิมพ์ไม้ที่มีตัวอักษรพอที่จะพิมพ์หน้าทั้งหน้า ต่อมา ช่างพิมพ์ในเอเชียตะวันออก ได้สร้างตัวพิมพ์ที่เคลื่อนย้ายได้  โดยใช้กระดาษและการพิมพ์ ชาวจีนสามารถพิมพ์หนังสือได้ง่ายขึ้น หนังสือที่สมบูรณ์แบบที่เก่าแก่ที่สุด ที่พิมพ์ในประเทศจีน สร้างขึ้นในคริสต์ศักราช 868 หนังสือนั้นรวบรวมคำสอนของพุทธศาสนาที่เรียกว่า วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร (the Diamond Sutra)
ปืนและเข็มทิศ เทคโนโลยีของจีนมีผลกระทบไปทั่วโลก หนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญที่สุดของจีน คือ ดินปืน   ชาวจีนใช้ดินปืนครั้งแรกเป็นดอกไม้ไฟและพลุสัญญาณและต่อมาใช้เป็นอาวุธ ตัวอย่างเช่นพวกเขาผูกห่อดินปืนกับลูกศร ครั้นแล้วก็ขมวดลูกศรเข้าด้วยกันและยิงไปที่ศัตรู
การใช้ดินปืนแพร่กระจายไปทั่วเอเชียและยุโรป คนใช้ดินปืนในการพัฒนาอาวุธใหม่ ๆ เช่น ปืนใหญ่และอาวุธปืน ลูกปืนใหญ่สามารถถล่มกำแพงปราสาทและลูกกระสุนปืนอาจจะตรงไปทะลุเกราะ อาวุธเหล่านี้ได้ทำสงครามให้ร้ายแรงมากขึ้น
เข็มทิศแม่เหล็กที่ทำให้การเดินทางในมหาสมุทรปลอดภัยกว่าเคยเป็นมาก่อน จีนค้นพบว่าเข็มแม่เหล็กที่ลอยอยู่ในชามน้ำมักจะชี้ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ นี้กลายเป็นครั้งแรกที่เข็มทิศแม่เหล็กถูกใช้บนเรือ ด้วยการใช้เข็มทิศ ชาวจีนจึงแล่นเรือไปทั่วเอเชีย ในคริสต์ศตวรรษที่ 13  ชาวจีนเดินทางไปไกลถึงแอฟริกา ความรู้เกี่ยวกับเข็มทิศแม่เหล็กช่วยทำให้ยุคแห่งการสำรวจของชาวยุโรปมีศักยภาพ

เครื่องลายครามและชา ชาวจีนมีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวัน ด้วยการส่งออกเครื่องลายครามและชาไปทั่วโลก เครื่องลายครามคือเซรามิกสีขาวแข็งมักจะเรียกว่า china  ผู้คนต้องการเครื่องลายครามเพราะความงามของมัน มันกลายเป็นสินค้าส่งออกที่มีคุณค่ามากที่สุดอย่างหนึ่งของประเทศจีน
เป็นเวลาหลายศตวรรษ ชาวจีนได้ใช้ชาเป็นยา  ในสมัยราชวงศ์ถัง มันกลายเป็นเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยม ต่อมา พ่อค้าได้นำชาจากเอเชียตะวันออกไปยังยุโรป ชากลายเป็นรายการที่สำคัญของการค้าขายในตลาดต่างประเทศ
แม้จะมีความก้าวหน้าอย่างมาก จีนก็ยังคงต้องเผชิญกับอันตรายจากคนเผ่าร่อนเร่ ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ผู้นำของคนเผ่าร่อนเร่เหล่านี้อาจจะเป็นหนึ่งของผู้พิชิตที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทุกยุคทุกสมัย เขาคือ เจงกีสข่าน (Genghis Khan)
ถ้วยน้ำชาจีน
ถ้วยน้ำชาของจีน จีนทำเครื่องลายคราม เช่น ถ้วยน้ำชาวใบนี้ ขายไปไกลถึงยุโรป
และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (แถบตะวันออกกลาง)
 จักรวรรดิมองโกล

การรุกรานของมองโกล

          มองโกลคือนักรบเร่ร่อนที่ดุร้ายอาศัยอยู่ในที่ราบกว้างใหญ่ไปถึงทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 พวกมองโกลบุกเข้ามาจีนและพิชิตจีนได้

ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ ชาวมองโกลอาศัยเป็นกลุ่มครอบครัวที่เป็นอิสระ เรียกว่า เผ่า (clans) ชนเผ่าเหล่านี้รวมเข้าด้วยกันเป็นหลายชนเผ่าซึ่งเป็นอิสระจากกัน แต่ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 1206 ผู้นำที่เข้มแข็งชื่อ เตมูจิน (Temujin - TEHM•yuh•juhn) ได้รวบรวมชนเผ่ามองโกลเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อต่อสู้ตัวต่อตัวเพื่อเลือกผู้นำ เตมูจินเอาชนะคู่แข่งทั้งหมด ด้วยการทำเช่นนี้ เตมูจินก็กลายเป็นข่าน (khan) หรือผู้ปกครองของชาวมองโกลทั้งหมด เขาได้นามว่า เจงกีสข่าน (Ghenghis Khan - JEHNG•gihs KHAN) ซึ่งหมายความว่า "นักปกครองผู้ยิ่งใหญ่ (Universal ruler)" เจงกีสข่าน ได้จัดระเบียบนักรบมองโกลให้เป็นกองทัพเพื่อการต่อสู้อันเกรียงไกรและเริ่มทำการศึกษาสงครามเพื่อพิชิตดินแดนต่าง ๆ  เจงกีสข่านนักยุทธศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมซึ่งใช้กลอุบายและกลยุทธ์ความหวาดกลัวโหดร้ายเพื่อสร้างความสับสนให้กับศัตรู เขาบุกเข้ามาในจีนตอนเหนือ จากนั้นก็เคลื่อนทัพไปทางทิศตะวันตกข้ามเอเชียกลาง
ย้อนดูประวัติศาสตร์ทั้งหมด ชนเผ่าเร่ร่อนมักจะมีความได้เปรียบทางทหารมากกว่าคนที่ตั้งหลักแหล่งอยู่เดิม ผู้คนที่ตั้งหลักแหล่งอยู่เดิมพยายามที่จะปกป้องเมืองใหญ่และเมืองเล็กของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ชนเผ่าเร่ร่อนเคลื่อนย้ายได้อย่างรวดเร็ว มองหาจุดที่อ่อนแอ โจมตีและเคลื่อนย้ายออกไปอยู่ ข้อนี้ ช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในสงคราม ประมาณคริสต์ศักราช 1227 ชาวมองโกลได้พิชิตเอเชียกลางทั้งหมด
ภาพวาดนักรบมองโกล
ภาพวาดนักรบมองโกลนี้ได้จากเปอร์เซียวาดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14
ในภาพ นักรบมองโกลเตรียมทำสงคราม โกลน (ห่วงที่ห้อยลงจากอานม้าสำหรับใช้เท้าเหยียบ)
ทำให้นักรบใช้เหยียบและใช้มือทั้งสองข้างต่อสู้
จักวรรดิมองโกล เมื่อเจงกีสข่านเสียชีวิตในคริสต์ศักราช 1227 (พ.ศ. 1770) บุตรชายและหลานชายของเขายังต่อสู้เพื่อพิชิตดินแดนต่าง ๆ ต่อไป  พวกเขาเคลื่อนทัพไปทางทิศเหนือและทิศตะวันออกพิชิตส่วนที่เหลือของจีนตอนเหนือและเกาหลีทุ้งหมด ต่อมา พวกเขาเคลื่อนทัพไปทางทิศตะวันตกข้ามเอเชียเข้าไปในรัสเซียและยุโรปตะวันออก ในที่สุดพวกเขาก็เคลื่อนทัพลงมาทางใต้และยึดครองเปอร์เซีย การโจมตีเฉพาะในญี่ปุ่นและบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ
ประมาณคริสต์ศักราช 1279 มองโกลปกครองดินแดนจักรวรรดิที่เป็นปึกแผ่นอันกว้างใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ในการปกครองพื้นที่อันยิ่งใหญ่ มองโกลแบ่งดินแดนออกเป็นสี่ภูมิภาค  ในแต่ละภูมิภาค เรียกว่า khanate (อาณาจักรข่าน) ปกครองโดยทายาทของเจงกีสข่าน
แผนที่จักรวรรดิมองโกล
แผนที่จักรวรรดิมองโกล  ค.ศ.  1294 ในขณะที่กุบไลข่านเสียชีวิต
การปกครองของมองโกล หลานชายของเจงกีส คือ กุบไล ข่าน (Kublai Khan - KOO•bly KAHN) ปกครอง Khanate ของข่านผู้ยิ่งใหญ่ Khanate นี้เป็นช่วงเวลาที่มีค่าที่สุดของภูมิภาคทั้งสี่เพราะมันรวมดินแดนจีน กุบไลข่านเป็นนักปกครองคนแรกใน 300 ปีที่ปกครองจีนทั้งหมด นอกจากนี้ยังไม่เคยมีอำนาจจากต่างแดนที่ปกครองจีน กระทั่งมองโกลเข้ามาปกครอง กุบไลปกครองเป็นเวลา 15 ปีก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในคริสต์ศักราช 1294

การเรียนรู้ในการปกครอง ชาวมองโกลไม่ได้มีประสบการณ์มากกับการปกครองอย่างเป็นทางการ อีกประการหนึ่ง ชาวจีนมีประวัติศาสตร์อันยาวนานเกี่ยวกับการจัดการการปกครอง ดังนั้น กุบไลจึงรักษาการปกครองของจีนไว้หลายแง่มุม การใช้รูปแบบที่คุ้นเคยของการปกครองทำให้การปกครองจีนได้ง่ายขึ้นสำหรับชาวมองโกล กุบไลได้ย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงปักกิ่งและสั่งให้สร้างกรุงปักกิ่งขึ้นในสไตล์จีนแบบดั้งเดิม เขาประกาศตัวเองเป็นจักรพรรดิและในคริสต์ศักราช 1279 ได้ก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์หยวนหรือยูอาน (Yuan - YOO•AHN)

การประคับประคองการปกครอง  กุบไลได้รักษาเอกลักษณ์รูปแบบการปกครองของจีนไว้ แต่เขาสร้างความมั่นใจว่านักการเมืองจีนไม่ได้รับอำนาจมากเกินไป เขายังคงควบคุมจีนในเงื้อมือของมองโกล เขายุติระบบการตรวจสอบของรัฐในการเลือกเจ้าหน้าที่ เขาให้งานด้านการปกครองที่สำคัญแก่ชาวมองโกล หรือชาวต่างชาติที่เชื่อถือได้  ชาวมองโกลเชื่อว่าชาวต่างชาติน่าเชื่อถือกว่าชาวจีน เพราะชาวต่างชาติไม่มีความจงรักภักดีต่อประเทศ (คือถ้าเป็นชาวจีนอาจจะก่อกบฏได้ เพราะรู้สึกจงรักภักดีต่อประเทศที่ถูกคนอื่นครอบครอง) เจ้าหน้าที่จีนได้รับตำแหน่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น งานเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับท้องถิ่นและมีอำนาจน้อย
แต่กระนั้น อิทธิพลความคิดของขงจื้อยังคงแข็งแกร่ง ในระหว่างการปกครองของมองโกล  เจ้าหน้าที่มองโกลนำได้วิธีการขงจื้อมาใช้กับการปกครอง นอกจากนี้ กุบไลยังได้แต่งตั้งนักปราชญ์ขงจื้อให้การศึกษาแก่ลูกหลานของขุนนางมองโกล
การค้าขายของมองโกล แม้จะมีความแตกต่างกับจีน กุบไลข่านก็เป็นผู้นำที่มีความสามารถ เขาทำงานในการสร้างจีนขึ้นมาใหม่หลังจากสงคราม เขารื้อฟื้นคลองต้ายวิ่นเหอ (Grand Canal) และขยายขึ้นไปทางเหนือ 135 ไมล์ไปยังกรุงปักกิ่ง และเขาได้สร้างทางหลวงลาดยางยาวกว่า 1,100 ไมล์และเชื่อมต่อกับกรุงปักกิ่งและหางโจว ทางบกและทางน้ำเหล่านี้ทำให้การเดินทางระหว่างทางเหนือและทางใต้ง่ายขึ้น การค้าระหว่างสองภูมิภาคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรทางตอนใต้ที่อุดมสมบูรณ์ขายข้าวให้กับคนทางตอนเหนือที่แห้งแล้วได้มากขึ้น กุบไลยังทำให้มีการเปลี่ยนแปลงด้วยการช่วยส่งเสริมการค้าและการติดต่อกับส่วนอื่น ๆ ของโลก
-----------------------------------------

ผู้สร้างประวัติศาสตร์

กุบไล ข่าน (มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1215 – 1294)
กุบไลข่าน
ภาพวาดกุบไลข่าน
          กุบไลข่านเป็นข่านผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งผู้นำของชาวมองโกลทั้งหมด เขาได้รับชื่อนี้ในคริสต์ศักราช 1260 และตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดิของจีนประมาณคริสต์ศักราช 1279
  กุบไล แตกต่างจากชาวมองโกลส่วนใหญ่ ได้ให้ความสนใจในวัฒนธรรมจีน ในเวลาเดียวกัน กุบไลยังคงจงรักภักดีต่อรากฐานมองโกล เพื่อเตือนให้ตัวเองนึกถึงบ้านเกิด เขาจึงปลูกหญ้าจากที่ราบภาคเหนือในสวนหลวงของตนเองที่ปักกิ่ง นอกจากนี้เขายังให้เกียรติบรรพบุรุษของพวกเขาในสไตล์มองโกล ทุก ๆ เดือนสิงหาคม เขาดำเนินการพิธีกรรมพิเศษด้วยการโปรยนมม้าลงพื้นดินและตะโกนเรียกชื่อปู่ของเขา คือ เจงกีส ข่าน
----------------------------------------
การเปิดจีนไปสู่โลก  ในช่วงการปกครองกุบไลข่าน จีนเปิดประตูไปสู่โลกภายนอก ชาวมองโกลได้พัฒนาการค้าขายทางทะเลอันเจริญรุ่งเรืองและการต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

เส้นทางการค้าขาย  ชาวมองโกลได้ให้การสนับสนุนการค้าขายโดยการปกป้องนักท่องเที่ยว ในอดีตที่ผ่านมา บางครั้ง จีนได้ปิดเส้นทางการค้าขายทางบก เนื่องจากสงครามและการโจรกรรม ตอนนี้ ชาวมองโกลได้ควบคุมเอเชียกลางทั้งหมด การปกครองของมองโกลทำให้การเดินทางทางบกปลอดภัย ในระยะเวลานี้ ตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 บางครั้งเรียกว่า Pax mongolica หรือสันติสุขมองโกล
กองคาราวานได้เคลื่อนย้ายไปตามถนนสายไหม เส้นทางการค้าโบราณที่ทอดยาวออกจากประเทศจีนไปยังทะเลดำ เหล่าพ่อค้าเอาผ้าไหม เครื่องลายคราม ชา และสินค้าอื่น ๆ ไปยังเอเชียตะวันตกและยุโรป แล้วนำอาหารใหม่ ๆ  พืชและแร่ธาตุกลับมา นอกจากนี้ ชาวมองโกลยังได้ให้การสนับสนุนการค้าขายทางทะเลกับประเทศที่ตั้งอยู่บนมหาสมุทรอินเดียและทะเลจีนใต้ เหล่าพ่อค้าในเมืองท่าจีนได้ทำการค้าขายสินค้าทั้งจากตะวันออกและตะวันตกอย่างคึกคัก ความคิดและสิ่งประดิษฐ์ เช่น ดินปืน เดินทางไปพร้อมกับสินค้าสำหรับค้าขาย  สิ่งประดิษฐ์จีนได้เข้าไปยังยุโรป บางส่วนของเอเชียและแอฟริกาในช่วงเวลานี้

การติดต่อกับต่างประเทศ  การค้าขายได้เจริญสัมพันธไมตรีกับผู้คนและวัฒนธรรมต่างประเทศ ผู้คนที่มาจากอารเบีย เปอร์เซียและอินเดียมาเยี่ยมชมมองโกลจีน บ่อย ๆ นักการทูตจากที่ไกล ๆ เช่นยุโรปได้เดินทางไกล อาคันตุกะเหล่านี้ช่วยกระจายข่าวเกี่ยวกับความสำเร็จของอารยธรรมจีน
นอกจากนี้ ผู้แทนแห่งศรัทธาทางศาสนาต่าง ๆ ยังเข้ามาเยี่ยมชมประเทศจีน กุบไลข่านได้ให้การสนับสนุนพระพุทธศาสนา แต่เขาก็ยินดีต้อนรับผู้คนต่างความเชื่อทั้งหมด เขาได้เชิญชาวคริสต์ มุสลิมและชาวพุทธไปยังเมืองหลวงเขาอยากให้คนเหล่านั้นบรรยายความคิดของตน
อาคันตุกะชาวยุโรปที่มีชื่อเสียงที่สุดในช่วงเวลานี้ คือ มาร์โค โปโล (Marco Polo) โปโล เป็นพ่อค้าหนุ่มจากเมืองเวนิส อิตาลี ได้เดินทางตามเส้นทางสายไหมกับพ่อและลุงของเขา เขาเดินทางมาถึงประเทศจีนประมาณคริสต์ศัการาช 1275 และอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 17 ปี โปโลกลายเป็นผู้ช่วยกุบไลข่านและได้เดินทางไปทั่วประเทศจีนด้วยภารกิจของรัฐบาล  ต่อมา เขาได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการผจญภัยของเขา หนังสือของโปโลประสบความสำเร็จอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ชาวยุโรปหลายคนค้นพบเรื่องเล่าเกี่ยวกับประเทศจีนของเขา ซึ่งยากที่จะเชื่อ
แม้จักรวรรดิกุบไลข่านจะมีความแข็งแกร่ง ก็อยู่ได้ไม่นานหลังจากที่กุบไลข่านเสียชีวิต ในเวลาน้อยกว่าหนึ่งศตวรรษ ชาวจีนได้ล้มล้างมองโกลและสร้างจักรวรรดิจีนขึ้นมาใหม่

 จีนกลับมาปกครองอีกครั้ง

การล้มล้างมองโกล

            หลังจากกุบไลข่านเสียชีวิตในคริสต์ศักราช 1294  มองโกลอ่อนแอลงอย่างช้า ๆ  ในคริสต์ศักราช 1368 กองทัพกบฏนำโดยจู้หยวนจาง (Joo yoo•ahn•jahng) ได้ล้มล้างจักรพรรดิมองโกล
แจกันราชวงศ์หมิง
แจกันลายครามแห่งราชวงศ์หมิงเป็นรูปดอกบัว ซึ่งเป็นศิลปะพื้นบ้านทั่วไปในจีน
จักรพรรดิหมิงองค์แรก  จู้หยวนจางได้ก่อตั้งราชวงศ์หมิงในคริสต์ศักราช 1368 และกลายเป็นจักรพรรดิองค์แรก ภายใต้ชื่อหงหวู่ (Hongwu - hung•woo) พระองค์ได้ให้การสนับสนุนลัทธิขงจื้อและได้นำการสอบเข้ารับราชการกลับมาใช้ พระองค์ได้สร้างถนนและคลองขึ้นมาใหม่เพื่อช่วยการค้าขาย  นอกจากนี้เขาสร้างและขยายกำแพงเมืองจีนใหม่เพื่อปรับปรุงระบบการป้องกันจีน หงหวู่ ยังช่วยเกษตรกรโดยการลดภาษีและให้พวกเขามีที่ดินทำกิน
อย่างไรก็ตาม หงหวู่ ได้เริ่มขยายอำนาจส่วนตัว พระองค์ได้ล้มเลิกตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีและเข้าควบคุมหน่วยงานราชการทั้งหมด พระองค์ตัดสินใจด้วยพระองค์เองโดยไม่ได้ปรึกษาที่ปรึกษา พระองค์ได้จัดตั้งหน่วยสืบราชการลับไปสอดแนมผู้คน นอกจากนี้ พระองค์รับสั่งให้จับกุมผู้คนหลายหมื่นคนในข้อหากบฏและรับสั่งให้ฆ่า
พระราชวังต้องห้าม
พระราชวังต้องห้าม ส่วนใหญ่สร้างในสมัยราชวงศ์หมิง เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวชั้นนำของจีน
การปกครองของหย่งเล่อ (Yongle) หงหวู่เสียชีวิตในปีคริสต์ศักราช 1398 พระองค์ได้แต่งตั้งหลานชายเพื่อให้เขาประสบความสำเร็จ แต่ทุกคนไม่ยอมรับทางเลือกนั้น การต่อสู้เพื่ออำนาจจึงเริ่มขึ้น หลังจากกานต่อสู้ผ่านไปเกือบห้าปี หย่งเล่อ (yung•law) บุตรชายคนหนึ่งในบรรดาบุตรชายหลายคนของหงหวู่ ประกาศตัวเองเป็นจักรพรรดิ
หย่งเล่อ ก็เหมือนบิดาของเขา เป็นผู้นำที่มีความแข็งแกร่ง มีความสามารถ ภายใต้การปกครองของเขา ราชวงศ์หมิงมีอำนาจรุ่งเรืองสุดขีด ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างหนึ่งของเขาคือการขยายเมืองหลวงปักกิ่ง ณ ส่วนหนึ่งของเมือง มีกำแพงสูงถึง 30 ฟุต ล้อมรอบอาคารและวัดวาอารามที่ซับซ้อนมากกว่า 800 แห่ง ความสลับซับซ้อนนี้กลายเป็นที่รู้จักกันว่า เป็นพระราชวังต้องห้าม (Forbidden City) เพราะไพร่เมืองและชาวต่างชาติไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเมืองนั้น พระราชวังต้องห้ามเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจและความสามารถของจีน
หย่งเล่อต้องการให้ชาวโลกรู้จักความยิ่งใหญ่ของเขา ความปรารถนานั้นได้นำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่อีกอย่างหนึ่ง ในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 หย่งเล่อได้ส่งคณะเดินทางทางทะเลหนึ่งชุดไปแสวงหาอารยธรรมอื่น ๆ

การค้าขายและเดินทางไปยังต่างประเทศ

          หย่งเล่อต้องการเครื่องบรรณาการจากประเทศอื่น ๆ เครื่องบรรณาการคือค่าตอบแทนที่ผู้ปกครองหรือคณะผู้บริหารประเทศประเทศหนึ่งให้กับอีกประเทศหนึ่งเพื่อความแน่ใจในการปกป้อง  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ หย่งเล่อได้สร้างเรือเดินสมุทรอันยิ่งใหญ่
แผนที่การเดินเรือของเจิ้งเหอ
แผนที่การเดินเรือของเจิ้งเหอ  ค.ศ. 1405 - 1433
การเดินเรือของเจิ้งเหอ (Zheng He) หย่งเล่อได้เลือกเจิ้งเหอ (Zheng He – juhng huh) เป็นผู้บัญชาการเรือ เจิ้งเหอเป็นมุสลิมที่เจริญเติบโตขึ้นมาในทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ภายใต้การดูแลของหย่งเล่อ เขาเป็นผู้นำการเดินทางเจ็ดครั้ง การเดินทางเหล่านี้เสร็จสมบูรณ์ระหว่างคริสต์ศักราช 1405 และ 1433 นักวิชาการประเมินการเดินทางว่าครอบคลุม 100,000 ไมล์และแวะเยือนประเทศประมาณ 30 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย อารเบียและแอฟริกา (ดูแผนที่)
การเดินเรือไปยังต่างประเทศของเจิ้งเหอเป็นที่น่าประทับใจ หลายครั้งมีเรือมากที่สุดถึง 300 ลำและผู้คนถึง 28,000 คน นอกจากกะลาสีและลูกเรือแล้ว ยังมีทหาร แพทย์ พ่อครัว อาลักษณ์และช่างไม้เป็นคณะ ๆ  เรือบรรทุกอาหารเพียงพอสำหรับการเดินเรือทุกครั้ง  น้ำถูกเติมเต็มทุก ๆ สิบวัน เรือบรรทุกทองและเงิน ผ้าไหม เครื่องลายครามและน้ำหอม
ในขณะที่เดินทาง เจิ้งเหอได้เผยแพร่สิ่งของเหล่านี้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าจากประเทศที่เขาไปเยือน เขานำเครื่องเทศ อัญมณี สมุนไพรและสัตว์ที่แปลกใหม่ เช่น ม้าลายนกกระจอกเทศและยีราฟกลับมาสู่ประเทศ ในการเดินทางครั้งหนึ่ง เขากลับมาพร้อมกับตัวแทนรัฐบาลจากประเทศ 30 ประเทศที่แตกต่างกัน การค้าขายยังต่างประเทศและชื่อเสียงของจีนเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น เพราะการเดินทางของเจิ้งเหอ การเดินทางยังให้ข้อมูลไปยังราชสำนักเกี่ยวกับต่างประเทศ

การเปลี่ยนแปลงนโยบาย ประมาณคริสต์ทศวรรษที่ 1430 หย่งเล่อและเจิ้งเหอเสียชีวิต ผู้นำของจีนได้ถกเถียงกันว่าจะดำเนินการการส่งกองทัพเรือขนาดใหญ่ออกเดินทางไกลต่อไปหรือไม่ ผู้นับถือลัทธิขงจื้อบางพวกไม่เห็นด้วยกับการเดินทางเพราะพวกเขากลัวว่าการค้าขายมากขึ้นจะทำให้จีนเป็นประเทศเชิงพาณิชย์มากเกินไป พวกเขาต้องการให้จีนยังคงเป็นประเทศเกษตรกรรม ผู้นำคนอื่น ๆ ต้องการเงินมาใช้ในการป้องกันประเทศมากกว่าการสำรวจ พวกเขาคิดว่าจีนจำเป็นต้องมีการป้องกันที่ดีจากการโจมตีโดยพวกที่ร่อนเร่จากเอเชียกลาง
ผู้นำจีนจำนวนมากได้ถกเถียงกันว่าประเทศจีนเป็นประเทศมีสังคมที่มั่งคั่งและทันสมัยมาก​​ที่สุดในโลกอยู่แล้ว พวกเขาเชื่อว่าจีนไม่จำเป็นต้องรับส่วยจากดินแดนต่างประเทศ  นอกจากนี้ พวกเขาเชื่อว่าผู้คนที่อยู่ในสถานที่อื่น ๆ ก็ไม่มีอะไรที่จะสอนจีน ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 การปกครองของราชวงศ์หมิงได้ยุติการสำรวจทางทะเล
แม้ว่าการสำรวจจะยุติลง จีนไม่ได้ถูกแยกออกจากส่วนอื่น ๆ ของโลก พ่อค้าชาวจีนได้ขยายการค้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้  เรือชาวอังกฤษ โปรตุเกสและดัตช์ ก็ได้เดินทางไปยังประเทศจีน ประมาณตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 จีนได้ค้าขายผ้าไหม ชาและเครื่องลายครามแลกกับความหลากหลายของสินค้าตะวันตกรวมทั้งเงิน

ราชวงศ์สุดท้าย

          ราชวงศ์หมิงเสื่อมอำนาจลงหลังจากผ่านไปเกือบ 300 ปี นักปกครองอ่อนแอ ภาษีสูงและข้าวยากหมากแพงนำไปสู่การก่อจลาจล ทางทิศเหนือของจีนเรียกว่าภูมิภาคแมนจูเรีย (Manchuria) ชาวแมนจูเรียได้รับการเรียกขานว่า แมนจู (Manchus) ในคริสต์ศัคกราช 1644  ชาวแมนจูใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของราชวงศ์หมิงและพิชิตจีน พวกเขาเริ่มก่อตั้งราชวงศ์ชิง (Qing หรือ chihng)
เช่นเดียวกับผู้ปกครองราชวงศ์หมิง ราชวงศ์แมนจู ได้อนุญาตให้มีการค้าขายบางส่วน  โดยทั่วไป แม้ว่าพวกเขาจะจำกัดการติดต่อกับต่างประเทศ แต่ความพยายามของพวกเขาที่จะจำกัดอิทธิพลจากต่างประเทศในประเทศจีนก็ล้มเหลว ชาวต่างชาติส่วนใหญ่มาจากยุโรปมีความกระตือรือร้นที่จะทำการค้ากับประเทศจีน  ด้วยการสนับสนุนจากอำนาจทางทหาร ชาวต่างชาติเหล่านี้ก็บังคับให้จีนค้าขายกับพวกเขา ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18  อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน รัสเซีย และญี่ปุ่น แต่ละประเทศก็ได้จัดตั้งพื้นที่อิทธิพลพิเศษขึ้นในประเทศจีน ในพื้นที่เหล่านี้พวกเขาได้ควบคุมเศรษฐกิจของจีน
การเจริญเติบโตของอิทธิพลจากต่างประเทศในประเทศจีนทำให้อำนาจของผู้ปกครองราชวงศ์ชิงอ่อนแอลง  นอกจากนี้ยังทำให้ชาวจีนจำนวนมากเคียดแค้นอีกด้วย ในคริสต์ศักราช 1911 การปฏิวัติก็เริ่มขึ้น ซึ่งในไม่ช้าก็ล้มล้างจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชิง การบริหารแบบใหม่เป็นสาธารณรัฐมีผู้นำที่ได้รับเลือกมาจากการเลือกตั้ง ตั้งแต่การปฏิวัติครั้งนั้น จีนไม่เคยกลับไปปกครองแบบราชวงศ์อีกเลย

มรดกของจีน

          สิ่งประดิษฐ์ของชาวจีนจำนวนมากยังคงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเราในปัจจุบันนี้ เข็มทิศ รถสาลี่และร่มเป็นสิ่งประดิษฐ์เพียงไม่กี่ชิ้นในบรรดาสิ่งประดิษฐ์ของจีนจำนวนมากที่ผู้คนยังคงใช้อยู่ สิ่งประดิษฐ์เหล่านี้บางอย่างเป็นผลมาจากการแก้ปัญหา สิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ อาจเป็นเพียงเหตุบังเอิญ
เครื่องวัดการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว
เครื่องวัดการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (Seismoscope)
เครื่องวัดการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว
อดีต  นักวิทยาศาสตร์จีนได้ประดิษฐ์เครื่องวัดการสั่นสะเทือนของแผ่นไหว ที่เรียกว่า Seismoscope ขึ้นในปี ค.ศ. 132  เป็นแจกกันสัมฤทธิมีมังการ 8 ตัวอยู่รอบแจกัน แต่ละตัวจะคาบลูกกลม ๆ ไว้ในปาก เมื่อแผ่นดินไหว ลูกกลม ๆ จะตกลงไปในปากกบ (ดูภาพด้านล่าง) ข้างใดตก อาจจะเป็นไปได้ว่า แผ่นดินไหวเกิดขึ้นทางทิศนั้น

เครื่องการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว


เครื่องวัีดแผ่นดินไหว
เครื่องวัดแผ่นดินไหวในปัจจุบัน
ปัจจุบัน  พวกเราใช้เครื่องวัดแผ่นดินไหวที่สามารถบันทึกแผ่นดินไหวได้ พร้อมทั้งวัดขนาดของแผ่นดินไหวได้ด้วย (เป็นริกเตอร์)

ธนบัตร
ธนบัตร
จีนเป็นประเทศแรกที่ใช้ธนบัตร
อดีต  จีนเป็นชาติแรกที่ใช้ธนบัตร ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 สมัยราชวงศ์ถัง เรียกว่า "Flying Cash" 

ปัจจุบัน  ธนบัตรมีใช้ทุกประเทศทั่วโลก

การสอบเข้ารับราชการ
การสอบเข้ารับราชการ
การสอบเข้ารับราชการ
อดีต  จีนเป็นประเทศแรกที่ใช้การทดสอบเข้ารับราชการในราชสำนัก
ปัจจุบัน  มีการทดสอบการเรียนการสอนไปทั่วโลก ทั้งในโรงเรียน และสอบเข้ารับราชการ

ดอกไม้เพลิง

พลุไฟ
พลุไฟ
อดีต  กว่า 1,000 ปีมาแล้วที่พ่อครัวชาวจีนได้ทำผงสีดำที่จุดไฟแล้วระเบิด เมื่อผลสีดำใส่ในบั้งไม้ไผ่แล้วจุดไฟ มันจะพุ่งขึ้นไประเบิดบนท้องฟ้า
ปัจจุบัน  เทคโนโลยีนี้นำมาใช้ผลิดดินปืนและเป็นอาวุธในปัจจุบัน  ดอกไม้ไฟก็ใช้จุดฉลองในโอกาสต่าง ๆ